กระบวนการพยาบาล


กระบวนการพยาบาล OPD

โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาเป็นโรงพยาบาลศูนย์ขนาด 400 กว่าเตียง กลุ่มการพยาบาลมีการดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล โดยการจัดตั้งคณะกรรมการ พัฒนาคุณภาพการพยาบาล เป็น

1.      QAทีม1 ประกอบด้วยผู้บริหารทางการพยาบาลที่เป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย

2.      QAทีม2 (ผู้ประสานงานคุณภาพการพยาบาล) แบ่งสาย อายุรกรรม ศัลยกรรม สูติ นรีเวชกรรม กุมารเวชกรรมและด่านหน้า

3.      QAทีม3 ทุกหอผู้ป่วยต้องแต่งตั้งคณะกรรมการQAทีม3 ประกอบด้วย หัวหน้าหอผู้ป่วย และพยาบาลวิชาชีพอีก 2 คน

การทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลทั้งหมด งานหลักที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการนิเทศการใช้กระบวนการพยาบาล เราเป็นคณะกรรมการ QAทีม2 ของด่านหน้า ต้องนิเทศการใช้กระบวนการพยาบาลของ OPD และ PCU เราจึงเริ่มการพัฒนาการใช้กระบวนการพยาบาลของ OPD โดยการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการหลักในการทำงานของ OPD และนำมา รวมกับรวมกับแนวคิดของการใช้กระบวนการพยาบาลในการทำงานของพยาบาล

 ปัญหาและอุปสรรที่พบคือ

  การประเมินผลการพยาบาลของ OPD ค่อนข้างจะมองเป็นรูปธรรมในวันที่ผู้ป่วยมารับบริการได้ยาก

การให้คำแนะนำหรือความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง ค่อนข้างยากเพราะมีผู้มารับบริการ จำนวนมาก พยาบาลต้องคอยตอบคำถาม หรือ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าอยู่ตลอดเวลา

พยาบาลต้องมีหน้าที่ในการตรวจสอบสิทธิการรักษาของผู้ป่วย ซึ่งควรเป็นหน้าที่ของศูนย์สิทธิบัติมากกว่า พยาบาลควรมีหน้าที่ในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลกับผู้มารับบริการมากกว่า

    การนำกระบวรการพยาบาลมาลงใน Blog นอกจากจะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันแล้ว ยังต้องการข้อเสนอแนะ วิพากษ์ จาก อาจารย์ ท่านผู้รู้ที่ทรงคุณวุฒิทั้งหลาย เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาต่อไปค่ะ  

   ขอขอบพระคุณสำหรับข้อเสนอแนะและทุกความคิดเห็นค่ะ

 

 

กระบวนการพยาบาล งานผู้ป่วยนอก (Outpatient Nursing Process)

            กระบวนการพยาบาลคือ การวินิจฉัย การรักษาและการตอบสนองของบุคคล ครอบครัวและชุมชน ต่อปัญหาสุขภาพในปัจจุบันหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตหรือต่อกระบวนการของชีวิตและกระบวนการพยาบาลยังเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่พยาบาลใช้ในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการซึ่งประกอบด้วย  1) การประเมินสภาพ(Assessment) ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินข้อมูลแล้วนำข้อมูลมาพิจารณาดูว่าข้อมูลใดบ้างที่บ่งชี้ถึงปัญหาทางการพยาบาล หรือการวินิจฉัยทางการพยาบาลนั่นเอง 2) การวินิจฉัยทางการพยาบาล (Nursing diagnosis) เป็นการกำหนดข้อความที่แสดงถึงภาวะสุขภาพหรือการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงถาวะสุขภาพของผู้รับบริการ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณทั้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือกำลังจะเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บ  3) การวางแผนการพยาบาล (Planning) ให้แนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมทางการพยาบาลที่ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พยาบาลสามารถปฏิบัติได้ตามกฎหมาย การวางแผนการพยาบาลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือวัตถุประสงค์และแนวทางการปฏิบัติการพยาบาล   4) การปฏิบัติการพยาบาล(Implement)ประกอบด้วยกิจกรรมสำคัญ 3 ประการ คือ ตรวจสอบแผนการพยาบาล ปฏิบัติ การพยาบาลและบันทึกทางการพยาบาล 5) การประเมินผลการพยาบาล (Evaluation)   เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเพื่อเปรียบเทียบภาวะของผู้ป่วยว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่  โดยพยาบาลและผู้ป่วยจะเป็นผู้ประเมินร่วมกัน  โดยมีเกณฑ์การประเมินผลเป็นหลักในการเปรียบเทียบ  

  

 

 

ดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่ากระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือที่พยาบาลใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างครอบคลุม และทำให้เกิดการปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพคือ

 1.   ผู้รับบริการ ได้รับการตอบสนองความต้องการเฉพาะรายส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองรวมถึงการส่งเสริมและการป้องกันหรือการแก้ปัญหา ผู้รับบริการได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้รับบริการพึงพอใจ

2. พยาบาลปฏิบัติการพยาบาลอย่างเป็นระบบใช้ความรู้ความสามารถอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหา มีการแลกเปลี่ยนความรู้กับทีมทำงานให้มีประสิทธิภาพ

3.  วิชาชีพ เพิ่มคุณค่าการพยาบาล/วิชาชีพ ส่งเสริมให้พยาบาลคิดค้นในการทำวิจัยมากขึ้น สร้างมาตรฐานในการปฏิบัติการพยาบาล   

  

กระบวนการพยาบาลงานผู้ป่วยนอก   การบริการงานผู้ป่วยนอกหมายถึง การบริการที่ครอบคลุมการตรวจรักษาพยาบาล    การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการฟื้นฟูสภาพสำหรับผู้ที่มีสุขภาพดีและผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพอนามัย  งานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาประกอบด้วย คลินิกตรวจโรคและสุขภาพทั่วไป คลินิกตรวจโรคเฉพาะทางแต่ละสาขา พยาบาลปฏิบัติงานโดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นแนวทางส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถดูแลสุขภาพตัวเองได้ ปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับกระบวนการตรวจรักษา ซึ่งกระบวนการหลักการปฏิบัติงานของงานผู้ป่วยนอกประกอบด้วย

 

 

1.  การบริการก่อนตรวจ ซึ่งประกอบด้วย การคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น การซักประวัติและการเตรียมแฟ้มประวัติที่ห้องบัตร และการประเมินซ้ำก่อนแพทย์ตรวจรักษา การซักประวัติเพิ่มเติมแต่ละระบบ การตรวจสัญญาณชีพและการติดตามผลการInvestigate ต่างๆ

2.  การบริการขณะตรวจรักษา การช่วยเหลือแพทย์ขณะตรวจรักษา ส่งเสริมให้ญาติและครอบครัวมีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาล  การให้ยาและการปฐมพยาบาลรวมทั้งการแก้ปัญหาฉุกเฉินและการพยาบาลที่สอดคลองกับกระบวนการตรวจรักษา

3. การบริการหลังการตรวจ -  ผู้ป่วยกลับบ้าน ซึ่งประกอบด้วย การให้คำแนะนำ การนัดและติดตาม การส่งต่อ รวมทั้งการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับยาและการชำระเงินผู้ป่วยรับไว้รักษาในโรงพยาบาล การให้ข้อมูลกับผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล  การลงนามยินยอม การตรวจสอบเอกสารการนอนโรงพยาบาล การประสานงานและการส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วย        

4. ประเมินผลการพยาบาล การเฝ้าระวังความเสี่ยง การตรวจสอบการบันทึก

5.  กิจกรรมคู่ขนานเป็นการพิทักสิทธิผู้ป่วย 

โอกาสพัฒนา(Plan)  

งานบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาเป็นโรงพยาบาลศูนย์ทำให้มีการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอำเภอและโรงพยาบาลทั่วไปมารับริการเฉพาะทางมากขึ้นทำให้มีผู้รับบริการจำนวนมาก ให้บริการทั้งการตรวจรักษาโรคทั่วไป และการตรวจรักษาคลินิกเฉพาะทางแต่ละสาขาและคลินิกประกันสังคม พยาบาลปฏิบัติงานโดยเฉลี่คลินิกละ 2 คน แต่ละคลินิกมีแพทย์ออกตรวจรักษาครั้งละ 1 – 3 คน พยาบาลตรวจคัดกรอง ช่วยแพทย์ทำหัตถการ ให้บริการหลังการตรวจรักษา ทำให้เกิดปัญหาคือ

1.   การลงบันทึกไม่ครอบคลุม

2.  การคัดกรองหรือการประเมินผู้ป่วยไม่ครอบคลุม

3.  ขาดการสื่อสารและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเอง ของผู้รับบริการ

4.  ความพึงพอใจของผู้รับบริการผู้ป่วยนอกน้อยลง  

การพัฒนาการใช้กระบวนการพยาบาลงานผู้ป่วยนอก(Do)

1.      พัฒนาแนวทางการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลงานผู้ป่วยนอก

2.      กำหนดให้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล(QA2)นิเทศการใช้กระบวนการพยาบาล

3.      นำกระบวนการหลักของการปฏิบัติงานงานผู้ป่วยนอกมาวิเคราะห์ โดยใช้กรอบแนวคิดการทำงานโดยใช้กระบวนการพยาบาลที่ประกอบด้วย

·        การประเมินหรือการรวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ

·        การวินิจฉัยการพยาบาล

·        การวางแผนการพยาบาล

·        การปฏิบัติการพยาบาล

·        การประเมินผลการพยาบาล จากนั้นกำหนดเป็นแนวทางการปฏิบัติงานโดยใช้กระบวนการพยาบาลของงานผู้ป่วยนอก

4.      ประชุมชี้แจงร่วมกับพยาบาลที่ปฏิบัติงานงานผู้ป่วยนอก

5.       คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล(QA2)นิเทศการใช้กระบวนการพยาบาลงานผู้ป่วยนอกโดยการสุ่มนิเทศแต่ละคลินิกที่ให้บริการงานผู้ป่วยนอก

6.  เก็บรวบรวมข้อมูลและคะแนนการนิเทศการใช้กระบวนการพยาบาลทุกเดือน  

ผลการนิเทศการใช้กระบวนการ(Check)  

หน่วยงาน

เดือน

Assessment

Nursing Diagnosis

Select Intervention

Evaluation

OPD อายุรกรรม 

กรกฎาคม

4.00

3.91

3.66

4.00

กันยายน 50

4.00

4.00

3.12

4.00

OPD ศัลยกรรม

กันยายน 50

3.54

4.00

3.81

4.00

OPD ศัลยกรรมกระดูก

สิงหาคม 50

3.63

3.63

3.09

4.00

OPD กุมาร

สิงหาคม 50

4.00

3.85

3.42

4.00

OPD โรคทั่วไป

กรกฎาคม 50

4.00

3.42

3.42

4.00

ผ่าตัดเล็ก

กันยายน 50

4.00

4.00

4.00

4.00

ทำแผล ฉีดยา

กันยายน 50

4.00

4.00

4.00

4.00

OPD ตา

สิงหาคม 50

3.00

4.00

3.00

4.00

OPD หู คอ จมูก

กรกฎาคม 50

3.63

4.00

3.72

หมายเลขบันทึก: 149668เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2007 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • แวะมาลงชื่อก่อนค่ะ

 

สวัสดีค่ะคุณ pa_daeng ดีใจมากเลยค่ะที่แวะมาทักทาย ยินดีที่จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นค่ะ

ดิฉันจะเข้ามาขอบคุณ ที่ท่านได้Post ข้อมูลดีๆ ดิฉันเป็นพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพัทลุง รับผิดชอบงานตรวจสอบการบันทึก แต่ไม่มีข้อมูลที่เป็นแนวทาง ในการทำงาน มาเจอที่บล็อกของท่านดิฉันดีใจมากขอยืมไปปรับใช้ท่านคงไม่ว่ากันนะคะ

ยินดีมากค่ะที่ใช้ข้อมูลของพี่เป็นประโยชน์ในการพัฒนางานด้านการพยาบาล และรู้สึกดีใจที่ได้ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพ

วันนี้ หนูได้รับ email ขอบคุณจาก พี่ สุภัสสรา เอมเอก ที่ได้นำกระบวนการพยาบาลของ OPD ไปทดลองใช้ ก็ดีใจที่ได้ทำประโยชน์ให้กับวิชาชีพพยาบาล แต่ถ้าใช้แล้วมีข้อเสนอแนะ ช่วยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นกับหนูด้วยจะขอบคุณมากเลยค่ะ

ดิฉันได้ นำApie ไปปรับใช้แล้วนะคะ สะดวกขึ้นวันหลังจะส่งแบบฟอร์มที่ปรับแล้วมาให้ดูนะคะ

จะรอดูค่ะส่งมาให้ดูทาง go to know ก็ได้ค่ะเผื่อว่าคนอื่นจะนำไปใช้ด้วย ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ต้องการรู้เรื่องระบบการนิเทศการบันทึกทางการพยาบาลค่ะว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ต้องการรู้เรื่องระบบการนิเทศการบันทึกทางการพยาบาลค่ะว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

หวัดดีค่ะ...

แวะมาเจอโดยบังเอิญ

ดีใจจังเลย...

เก่งจังเลย...เพื่อนเรา

ต้องขอโทษ คุณ poon ด้วยไม่ได้เข้ามาอ่านนานแล้ว เอาไว้จะเขียนเรื่องการนิเทศน์เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณืให้อ่านน่ะค่ะ

น้องแจ๋ว ขอบคุณมากสำหรับคำชม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท