กลุ่ม "ทองหลาง"
นศ.มรภ.พระนคร ศูนย์เรียนรู้สุราษฎร์ธานี

สวัสดิการนักศึกษา "กลุ่มสัจจะออมทรัพย์นักศึกษา"


กลุ่มออมทรัพย์สวัสดิการนักศึกษา

ประเภทสวัสดิการ  กลุ่มสัจจะออมทรัพย์

ชื่อกลุ่มสวัสดิการชุมชน “ กลุ่มสัจจะออมทรัพย์นักศึกษา”
                                             ศูนย์เรียนรู้สุราษฎร์ธานี
นักศึกษาโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต  มรภ.พระนคร 
ศูนย์เรียนรู้อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หลักการและเหตุผล

กลุ่มสัจจะออมทรัพย์สวัสดิการนักศึกษา เกิดขึ้นเมื่อ  กรกฎาคม พ.ศ.2550  เป็นกิจกรรมหนึ่งประกอบการศึกษาวิชาการบริหารจัดการสวัสดิการชุมชน  เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดประสบการณ์ในการจัดตั้งและพัฒนากองทุนและสวัสดิการชุมชนในกลุ่มนักศึกษาด้วยกันเอง  เป็นการรวมตัวออมทรัพย์เพื่อเตรียมไว้สำหรับการเข้ารับปริญญาบัตรในอนาคตของนักศึกษาเอง  สมาชิกกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ต้องเข้าใจและยอมรับหลักการของกลุ่ม คือ  ความรู้สึกเป็นเจ้าของ, การพึ่งตนเอง – ความซื่อสัตย์ , ความทนอด- ความอดทน, หลักคุณธรรม และหลักการควบคุมกันเอง 
ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การสร้างกองทุนสวัสดิการที่ดีแก่สมาชิกหรือชุมชน  ดังนั้น  สิ่งสำคัญที่ยึดเหนี่ยวให้กลุ่มสัจจะออมทรัพย์สามารถดำเนินการได้อย่างลุล่วง  คือ การถือสัจจะ  โดยที่สมาชิกในกลุ่มจะต้องยึดถือในความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา หากละเมิดกฎ กติกา ก็จะสูญเสียสัจจะ ความเชื่อถือในหมู่สมาชิกด้วยกัน 

ทุนชุมชน/แผนที่ชุมชน

 ทุนชุมชนที่มี  คือ องค์ความรู้ของนักศึกษา  การวางแผนและการทำโครงการที่รัดกุม
ระบบการบริหารจัดการที่โปร่งใสสมาชิกตรวจสอบได้ตลอดเวลา
นำหลักวิชาที่ได้จากการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดเห็นผลสำเร็จ
 
วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างประสบการณ์  /  องค์ความรู้  กระตุ้นให้เกิดกองทุนสวัสดิการที่นักศึกษาทุกคนร่วมกันจัดตั้ง
2. เพื่อสร้างความสามัคคีและปรับความสัมพันธ์ในเกิดการร่วมกลุ่มที่เน้นเฟ้นแข็งแรงเป็นแบบอย่างที่ดีในโอกาสต่อไป
3. เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ในหลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
 4. เพื่อให้สมาชิกมีเงินออม  มีสวัสดิการ  มีเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางและประกอบกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัยในวันรับปริญญาบัตรเมื่อจบการศึกษา  โดยไม่ต้องไปกู้จากนายทุนภายนอก 
 5.  เพื่อสร้างเสริมความมีวินัย  ใส่ใจและการกระตุ้นเตือนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง  ๆ  ที่มีคุณค่าและสามารถนำไปใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัวรวมไปถึงการเผยแพร่แก่ส่วนรวม

โครงสร้างองค์กร

กฎกติกาต่าง ๆ ล้วนเกิดจากข้อตกลงที่สมาชิกกลุ่มร่วมกันคิด ปรับเปลี่ยน และแก้ไข  สมาชิกจะได้มีส่วนขับเคลื่อนกระบวนการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์  โดยคัดสรรผู้รับผิดชอบจำนวน 2-3 คน  รวมทั้งปรับเปลี่ยนกฎระเบียบที่ติดขัด เป็นกระบวนการที่ยึดความโปร่งใส  ตรวจสอบและสามารถแสดงได้ในทุกกรณี  ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้สมาชิกเชื่อมร้อยกันเหนียวแน่น  เกิดความเป็นอันหนึ่งเดียวกันในองค์กร

กิจกรรม/ขั้นตอนการดำเนินการ

 กิจกรรมและขั้นตอนการดำเนินการของกลุ่มเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับกลุ่มดังต่อไปนี้

• คุณสมบัติของสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ 

ผู้ที่จะเป็นสมาชิก คือ  นักศึกษาโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต  หลักสูตร สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  มรภ.พระนคร  ศูนย์เรียนรู้อำเภอเมือง  จังหวัดสุราษฎร์ธานี
• การฝากเงิน 
สมาชิกจะต้องฝากเงินตามสัจจะที่ให้ไว้กับกลุ่ม  คือ  ฝากเป็นเดือน ๆ  ละ  100  บาท  จนกว่าจะจบการศึกษา

 ผลการดำเนินงาน

  จากผลการดำเนินการ

            ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ        62 คน 
ระยะเวลาดำเนินงาน      3       เดือน
ยอดเงินในบัญชีรวม        17,100         บาท
ค่าดอกเบี้ย       2.83      บาท

  ที่ทำได้ไม่ดี

1. กลุ่มไม่สามารถทำให้สมาชิกเคารพกฎระเบียบได้  100%
2. สมาชิกบางรายไม่ส่งเงินสัจจะตามระยะเวลาที่กำหนด  เพราะไม่ได้เข้าชั้นเรียนซึ่งขาดเรียนเป็นประจำมาแต่วันสำคัญคือ  วันสอบ  และวันกิจกรรมที่มีมาตรการบังคับที่เข็มงวดโดยคณะอาจารย์

จากการดำเนินงาน  ทำให้นักศึกษาได้รู้จักการจัดการระบบกองทุนมากยิ่งขึ้น  เมื่อได้จัดตั้งและดำเนินกิจกรรมตามกระบวนการเรียนรู้ในวิชา  การบริหารจัดการสวัสดิการชุมชน 

  ผลประโยชน์ของสมาชิกที่จะได้รับ

1. สมาชิกจะได้รับเงินปันผลซึ่งเป็นดอกเบี้ยจากการการออม  เมื่อสิ้นสุดโครงการหรือจบการศึกษา
2. สมาชิกมีสวัสดิการ  มีเงินค่าใช้จ่ายในการเดินทางและประกอบกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัยในรับปริญญาบัตรเมื่อจบการศึกษา  โดยไม่ต้องไปกู้จากนายทุนภายนอก  ซึ่งสามารถลดภาระหนี้นอกระบบของสมาชิกได้ดีในระดับหนึ่ง
3. ให้สมาชิกทุกคนมีเงินออม  รู้จักการวางแผนจัดสรรเงินเพียงบางส่วนเก็บออมไว้ในอนาคต

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

• ปัจจัยด้านบวก

1. การบริหารจัดการที่ดี  ทำให้ไม่มีปัญหาที่จัดการไม่ได้  สามารถจัดการปัญหาให้คลี่คลายได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว
2. สมาชิกส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่กลุ่มกำหนด
3.  ความตั้งใจทำงาน  ความซื่อสัตย์ของคณะกรรมการกลุ่ม  มีความโปร่งใส  ตรวจสอบการทำงานได้ทุกเมื่อ  แม้ไม่มีค่าตอบแทน

• ปัจจัยด้านลบ

1. ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ  ทำให้สมาชิกมีปัญหาทางการเงิน  จึงส่งผลกระทบต่อการส่งเงินสัจจะไม่ตรงเวลา
2. ปัญหาการขาดชั้นเรียนของสมาชิก  ทำให้พลาดข้อมูลข่าวสาร  จึงไม่ได้ส่งสัจจะตามกำหนด
3. การนำระเบียบกฎเกณฑ์มาใช้กับสมาชิกยังไม่รัดกุมพอ  เนื่องจากยังมีการยืดหยุ่น  มีความเห็นอกเห็นใจ  จนทำให้สมาชิกบางคนไม่มีสำนึกถึงส่วนรวม  มองเห็นแก่ผลประโยชน์ตัวเองจนไม่มีการปรับปรุงหรือแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีของตน
4.  ผู้นำดำเนินการไม่มีความชัดเจนในการบริหารจัดการเพื่อให้โครงการดังกล่าวนี้สามารถเดินไปได้ในรูปแบบที่มีระเบียบแบบแผนให้สมาชิกได้ปฎิบัติอย่างเคร่งครัด  แต่อาศัยความเป็นส่วนตัวซึ่งใช้มาจนชินมาใช้  ทำให้ผู้มีหน้าที่แต่คนละส่วนต้องแบกรับภาระในบางเรื่องที่ตนเองไม่ได้ทำต้องทำการแทนกลายเป็นความไม่เป็น  “ระเบียบ” 
5.  การประสานงานของผู้นำยังไม่เป็นมืออาชีพขาดความพร้อมในการทำงานต้องรอให้บอกกล่าวหรือสมาชิกต้องถามเองว่าเมื่อไหร่จะเก็บเงินสัจจะ

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน

1.  การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของกลุ่มโดยสมาชิกบางคน
2.  สมาชิกขาดการเข้าร่วมประชุม/ไม่เข้าชั้นเรียนโดยพร้อมเพรียง  ทำให้พลาดการรับข่าวสาร  ข้อมูลที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง  รวมถึงอาจได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง  ไม่ชัดเจน อันจะส่งผลกระทบสมาชิกโดยตรง
3. สมาชิกขาดความรู้และความเข้าใจในกฎระเบียบกติกา  การบริหารจัดการ   กลุ่มสัจจะออมทรัพย์

4.  ผู้นำ/ประธานนักศึกษาและคณะกรรมการที่ได้รับการคัดเลือกจากนักศึกษาไม่มีความชัดเจนในการบริหารจัดการเพื่อก่อให้เกิดเป็นระเบียบอย่างมีระบบ
5.  ขาดการประชาสัมพันธ์  แต่อาศัยการสอบถามกันเองปากต่อปากทำให้ทราบข่าวสารไม่พร้อมกัน  บางครั้งอาจทำให้ข่าวสารคลาดเลื่อน
        กลุ่มยังไม่สามารถใช้ระเบียบบังคับกับสมาชิกได้เต็มที่  เพราะยังใช้ความเป็นกันเองในการบริหารจัดการอยู่  จึงพบว่าสมาชิกที่มีความประพฤติเหลวไหล  ไม่ตรงต่อเวลา  ก็ยังคงไม่ปรับปรุงตนเอง  ใช้ความสะดวกส่วนตัวมากกว่าความเป็นส่วนรวม  สมาชิกบางคนขาดการมาเรียนพลาดการทราบข่าวสาร

ข้อเสนอแนะ

        เพื่อยกระดับคุณภาพ  การบริหารจัดการองค์กรสวัสดิการชุมชนในอนาคต    เพื่อให้การบริหารจัดการสวัสดิการชุมชนสามารถดำเนินกิจกรรมไปได้ตามวัตถุประสงค์ของการก่อตั้งกลุ่ม  และมีการพัฒนาที่เป็นระบบอย่างยั่งยืนต่อไป  ควรจัดกระบวนการเรียนรู้โดยสมาชิก  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากสมาชิกในชุมชนเอง เกิดเป็นข้อตกลงร่วมกัน และนำมาเป็นแนวทางปฏิบัติที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น  ควรมีการจัดสรรเงินกองทุนเป็นส่วน ๆ และจัดระบบสวัสดิการที่ชัดเจนกว่าที่เป็นอยู่  

        นอกจากนี้  ควรปลูกฝังจิตสำนึกของสมาชิกให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก  เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจของสมาชิก  มีความรักในองค์กร  รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของกลุ่มองค์กรร่วมกัน  สมาชิกทุกคนควรมีส่วนช่วยกันเป็นหูเป็นตา  สอดส่องดูแลความประพฤติของสมาชิกที่ปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม  ซึ่งอาจนำมาซึ่งความเดือดร้อนเสียหายแก่องค์กรได้  

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 149394เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2007 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขอขอบคุณลุงเอกค่ะ  ที่เข้ามาทักทายและกำลังใจแก่พวกเรา  ยินดีน้อมรับคำแนะนำและคำติชมเพื่อปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป  ขอบพระคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท