การเปลี่ยนแปลง


ถ้าคุณมีความเป็นผู้นำ ต้องรู้จักการเปลี่ยนแปลง
1.ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของ Kurt  Lewin   เป็นนักจิตวิทยาสังคมชาวเยอรมัน   ได้รับการยกย่อง   ว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง   องค์ประกอบของทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของ       Kurt     Lewin      ประกอบด้วย                -การเปลี่ยนแปลง(Change)                   -แรงขับ( Driving  Force)                -แรงต้าน(Restraining  Force)                -การละลายเจตคติ(Unfreezing)                -การมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลง(Moving)                -การคงการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ไว้(Refreezing)การเปลี่ยนแปลงของ    Kurt  Lewin ประกอบด้วย  3  ขั้นตอน                -การละลาเจตคติ(Unfreezing)                -การมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลง(Moving)                -การคงสิ่งใหม่ไว้(Refreezing)สาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของ    Kurt  Lewin                1.แรงผลัก   เท่ากับแรงต้าน    เกิดภาวะสมดุล                2.แรงผลัก  มากกว่าแรงต้าน   เกิดการเปลี่ยนแปลง                3.แรงผลัก  น้อยกว่าแรงต้าน   เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่พึงปรารถนา                           แรงต้าน                                                    แรงต้าน 
Unfreezing                Moving     ดุลยภาพใหม่                            Refreezing                                            แรงขับ                                                                แรงขับ              รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของ   Kurt  Lewin  2.ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของลิมปิตท์  เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อมีการยอมรับและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน        การวินิจฉัยปัญหาเน้นความร่วมมือกันระหว่างบุคคลสำคัญในองค์กร     เพื่อรวบรวมข้อมูลและบ่งชี้ปัญหา                          ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของลิมปิตท์ประกอบด้วย   7  ขั้นตอนดังนี้                                                                                                                  วินิจฉัยปัญหา                                                    ประเมินความสามารถในการเปลี่ยนแปลง  
                   ประเมินแรงจูงใจของผู้นำการเปลี่ยนแปลง และแหล่งประโยชน์  
                กำหนดวัตถุประสงค์  วางแผน   และเลือกยุทธวิธีในการเปลี่ยนแปลง  
                                                       เลือกบทบาทของผู้นำการเปลี่ยนแปลง                                                                       ดำรงการเปลี่ยนแปลงไว้  
                                                                สิ้นสุดกระบวนการเปลี่ยนแปลง                                            3.ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงของ สเปดเลย์  (Spradley’s    Pland   Change   Model)กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสเปดเลย์  มี 8  ขั้นตอนดังนี้1.การตระหนักถึงอาการแสดง(Recognize  the  symptom) โดยมีพยานหลักฐานว่ามีบางสิ่งบางอย่างจำเป็นที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง2.วินิจฉัยปัญหา (Diagnosis  the  problem) รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่ออภิปรายถึงสาเหตุ ปรึกษากับบุคลากรทางการพยาบาล และความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์3.วิเคราะห์ทางเลือกการแก้ไขปัญหา  (Analyze   alternative   solutions)    ใช้วิธีการระดมสมอง  ประเมินภาวะเสี่ยงและผลประโยชน์ กำหนดเวลา  แผนงาน  ทรัพยากรและค้นหาอุปสรรค4.เลือกการเปลี่ยนแปลง (Select   the   change) เลือกทางเลือกที่สามารถสนับสนุนให้เกิดความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง    ระบุถึงแรงผลักและแรงต้าน   การใช้ความท้าทายที่ดึงดูดฝ่ายตรงกันข้ามให้เห็นด้วย5.การเปลี่ยนแปลง (Plan the  change) ต้องทำให้เฉพาะเจาะจง  การวัดผลที่ให้ความเชื่อถือการปฏิบัติ  ตารางเวลา  ทรัพยากร งบประมาณ  วิธีการประเมินผล เช่น  การใช้เทคนิค การทบทวนประเมินผล โปรแกรมและแผนสำหรับการจัดการต่อต้านและการคงอยู่6.การดำเนินการเปลี่ยนแปลง  (implement  the  change) โดยมีการวางแผนกลยุทธ์      การเตรียมการ   การเข้าไปเกี่ยวข้อง  การฝึกหัด  การช่วยเหลือและการสนับสนุน7. การประเมินผลการเปลี่ยนแปลง   (  evaluate      change )       วิเคราะห์ความสำเร็จของวัตถุประสงค์ และการตรวจสอบ8.การเปลี่ยนแปลงคงที่ ( stabilize  the  change) โดยการติดตามผลจนกระทั่งคงที่ 
หมายเลขบันทึก: 149318เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2007 15:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีจ้า

อ่านแล้วปวดหัวจังอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท