บันทึก จัดการความรู้แก้จนเมืองนคร เตรียมทีมงานวิชาการ(ความรู้+ ปฏิบัติ)


คณะทำงานสนับสนุนทางวิชาการด้านการจัดการความรู้มีหน้าที่ สนับสนุนการดำเนินงานการจัดการความรู้(KM)ด้านวิชาการทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอและหมู่บ้าน

ความรู้แรกของการทำงานในฐานะ คณะทำงานสนับสนุนทางวิชาการด้านการจัดการความรู้คือ การเตรียมความพร้อมคณะทำงานในการทำงานตามบทบาทเพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมาย ที่ตั้งไว้

คณะทำงานสนับสนุนทางวิชาการด้านการจัดการความรู้มีหน้าที่ สนับสนุนการดำเนินงานการจัดการความรู้(KM)ด้านวิชาการทั้งในระดับจังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอและหมู่บ้าน

ผมทำหน้าที่เลขานุการคณะทำงาน ตอนนี้ยังไม่รู้จักหัวหน้าคณะทำงานและผอ.สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชเลย(นอกนั้นรู้จักเป็นการส่วนตัวแล้ว) ยังไม่รู้ว่าแต่ละท่านมีความเข้าใจโครงการนี้อย่างไร มีความรู้เรื่องการจัดการความรู้(KM)อย่างไร มีบทบาทในฐานะผู้บริหารในหน่วยงานของท่านอย่างไรบ้าง(เพราะเป็นคณะทำงานโดยตำแหน่ง) จึงอยากเรียนเชิญมาร่วมปรึกษาหารือกันเพื่อทำความรู้จักในหัวข้อข้างต้น และเพื่อเตรียมการประชุมวันที่ 21 ก.พ.นี้ ซึ่งเป็นงานแรกตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดังนี้

ตอนนี้ยังไม่รู้จักหัวหน้าคณะทำงานและผอ.สถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชเลย(นอกนั้นรู้จักเป็นการส่วนตัวแล้ว) ยังไม่รู้ว่าแต่ละท่านมีความเข้าใจโครงการนี้อย่างไร มีความรู้เรื่องการจัดการความรู้(KM)อย่างไร มีบทบาทในฐานะผู้บริหารในหน่วยงานของท่านอย่างไรบ้าง(เพราะเป็นคณะทำงานโดยตำแหน่ง) จึงอยากเรียน และเพื่อนี้ ซึ่งเป็นงานแรกตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายดังนี้

1)รองอธิการบดีฝ่ายวิทยบริการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหน้าคณะทำงาน
2)ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะทำงาน
3)คณบดีสำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะทำงาน
4)ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช คณะทำงาน
5)นางพัชนี พนิตอังกูร คณะทำงาน
6)นายภีม ภคเมธาวี คณะทำงาน/เลขานุการ
7)นางสาวหทัย เหมทานนท์ ผู้ช่วยเลขานุการ
8)นางสาวจิรา กาญจนภักดิ์ ผู้ช่วยเลขานุการ

ผมเห็นว่านอกจากคณะทำงาน 8 คนโดยคำสั่งแล้ว ก็น่าจะเชิญผู้เกี่ยวข้องในคณะกรรมการและ ที่ปรึกษาท่านอื่นร่วมหารือด้วยคือ

9)ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ที่ปรึกษา
10)ผู้อำนวยการธกส. กรรมการอำนวยการ
11)ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวะศึกษานครศรีธรรมราช(ยังไม่มีในคำสั่งแต่ทราบว่ากรมมีนโยบาย)
12)เกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช กรรมการอำนวยการ
13)พัฒนาการจังหวัดนครศรีธรรมราช กรรมการอำนวยการ
14)ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช กรรมการอำนวยการ
15)นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช กรรมการอำนวยการ
16)จ่าจังหวัดนครศรีธรรมราช กรรมการอำนวยการ
17)นายประยงค์ รณรงค์ กรรมการอำนวยการ

นัดประชุมที่ห้องประชุม2 อาคารวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เวลา 9.30 - 12.00 น.และร่วมรับประทานอาหารเที่ยง

ผมคิดว่าในหัวข้อหารือดังกล่าว ประกอบด้วย
1)น้ายงค์และจ่าจังหวัดพูดถึงแนวคิด การดำเนินงานทั้งหมดของโครงการ และสถานะภาพของงานในปัจจุบัน
2)ผอ.กศน.และผมจะพูดถึงแนวคิดการดำเนินงานการจัดการความรู้ต่อยอดจากงานที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งเป็นประเด็นหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โดยของผมจะมีโมเดลการจัดการความรู้ แก้จนเมืองนครเป็นเอกสารนำเสนอ
3)จากนั้น จะหารือการประชุมวันที่ 21 ก.พ.
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประชุม
ผู้เข้าร่วมประชุม
กระบวนการประชุม (กำหนดการ บทบาท ผู้รับผิดชอบ)

ผมกำลังบันทึกกระบวนการทำงานของคณะทำงานทางวิชาการด้านการจัดการความรู้แก้จน เมืองนคร บันทึกนี้จะจัดส่งให้ผู้เข้าร่วมพร้อมจดหมายเชิญประชุมและเอกสารแนบโมเดลจัดการความรู้แก้จนเมืองนคร พร้อมข้อคิดของดร.ประพนธ์ และAARของอ.วิจารณ์ ซึ่งจะเรียนผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานคณะกรรมการทราบด้วย

ผมถือโอกาสแจ้งให้ภาคีที่สนใจทราบพร้อมกันด้วย


หมายเลขบันทึก: 14875เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2006 10:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท