เปลือยประสบการณ์ ถอดความรู้ คุณอำนวย?....


“ คุณอำนวย...คือใคร? ทำอะไร? อย่างไร? กับงานส่งเสริมการเกษตร , ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับเกษตรกร

   

                            เปลือยประสบการณ์….. ถอดความรู้.....คุณอำนวย?

กับงานส่งเสริมการเกษตร


           ในวันพฤหัสบดีที่ 4  สิงหาคม  2548  ณ  ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร (ชั้น 5) 
ได้มีการระดมพลังความรู้และประสบการณ์ที่ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ หรือ Facilitator  ได้สั่งสมการเรียนรู้มาเป็นเวลาช้านาน บางคนเกือบตลอดชีวิตที่ได้ทำงานในเรื่องนี้  แต่โดยเฉลี่ยแล้วมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ประมาณ  3 – 10 ปี  ซึ่งวันนี้ผู้รู้เหล่านี้ได้มารวมกัน ประมาณ  190 คน  ที่เป็นบุคลากรของกรมส่งเสริมการเกษตรทั่วประเทศเพื่อมาเสวนาแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ระหว่างกันมีทั้งสิ่งที่ตัวเองรู้และสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ ที่เกิดขึ้นจากการค้นหาและการพัฒนาตนเองตามสถานการณ์และสถานที่ต่างๆ ที่เป็นเวทีให้เกิดการเรียนรู้และทดลองทำอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเขาเหล่านี้มีจิตสำนึกของการทำงานเพื่อองค์การและส่วนรวม  เขาเหล่านี้ลืมคำว่า “เพื่อตัวเอง” ทุกคนขวนขวายและดิ้นรนเพื่อให้หน่วยงานส่งเสริมการเกษตรมีเนื้องานและ
องค์ความรู้เป็นของตนเอง  บางครั้งต้องคิดและทำงานนอกกรอบหรือนอกเส้นทางเดินที่คนอื่น
ขีดไว้ให้  แต่ทุกคนมีสิ่งหนึ่งที่ห่วงใยก็คือ  เกษตรกร 

      
“ ทำอย่างไรให้เกษตรกรพึ่งพิงตนเองได้ ” 
      “ ทำอย่างไรให้เกษตรกรทำอาชีพเกษตรกรรมได้ตลอดรอดฝั่ง ”   
      “ ทำอย่างไรให้ทั้งเราและเขาอยู่รอดปลอดภัย ”

            ณ  ห้องประชุมกรมส่งเสริมการเกษตร (ชั้น 5) ได้มีการระดมพลังความรู้และประสบการณ์ที่ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ หรือ Facilitator  ได้สั่งสมการเรียนรู้มาเป็นเวลาช้านาน บางคนเกือบตลอดชีวิตที่ได้ทำงานในเรื่องนี้  แต่โดยเฉลี่ยแล้วมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ประมาณ  3 – 10 ปี  ซึ่งวันนี้ผู้รู้เหล่านี้ได้มารวมกัน ประมาณ  190 คน  ที่เป็นบุคลากรของกรมส่งเสริมการเกษตรทั่วประเทศเพื่อมาเสวนาแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ระหว่างกันมีทั้งสิ่งที่ตัวเองรู้และสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ ที่เกิดขึ้นจากการค้นหาและการพัฒนาตนเองตามสถานการณ์และสถานที่ต่างๆ ที่เป็นเวทีให้เกิดการเรียนรู้และทดลองทำอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเขาเหล่านี้มีจิตสำนึกของการทำงานเพื่อองค์การและส่วนรวม  เขาเหล่านี้ลืมคำว่า ทุกคนขวนขวายและดิ้นรนเพื่อให้หน่วยงานส่งเสริมการเกษตรมีเนื้องานและองค์ความรู้เป็นของตนเอง  บางครั้งต้องคิดและทำงานนอกกรอบหรือนอกเส้นทางเดินที่คนอื่นขีดไว้ให้  แต่ทุกคนมีสิ่งหนึ่งที่ห่วงใยก็คือ  เกษตรกร       


   สันติสุขของอาชีพจึงเดินทางเข้ามาหากัน  ต่างมาหาความร่วมมือ  ความร่วมความคิด  และ
ความ ร่วมงานที่จะไปด้วยกัน  ที่เรียกว่า  เปลือยประสบการณ์..... ถอดความรู้.....คุณอำนวย?
วันหนึ่ง ที่เป็นวันนี้ ที่ทุกคนต่างมีคำถามเกิดขึ้นมากมายกับการทำงานมีส่วนร่วม 
    

     “ ตกลงแล้วมันคืออะไรกันแน่ ”
     “ แล้วที่ฉันทำไปนั้น มันใช่หรือเปล่า”
     “ เรื่องนี้เขาทำกันมาตั้งนานแล้ว ไม่ใช่เรื่องใหม่ ”
     “ พูดกันนัก พูดกันหนา แล้วจะเอายังไงกันแน่ ”


   เป็นเรื่องจริงที่มีการกล่าวขานกันมาช้านาน (ประมาณ 3 – 10 ปี)  ทุกคนต้องการคำตอบจาก คำถามที่เกิดขึ้น  บางคนเดินทางไปแสวงหาคำตอบจากผู้รู้ต่าง ๆ และบางคนมีวิธีหาคำตอบโดยการจดจำและฟังผู้อื่นพูด  แต่ก็ได้มีคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นพลังสมองในการกระทำเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นและมองเห็นเป็นรูปธรรมออกสู่สาธารณชน  เพราะ “ถ้าองค์การอยู่รอดเราก็อยู่รอด”  และ             “ถ้าเกษตรกรอยู่รอดเราก็อยู่รอด”  ดังนั้น  แล้วใครละที่จะทำให้สิ่งนี้อยู่รอดได้ ถ้ามิใช่ “ ตัวเราเองเป็นผู้สร้างและลงมือทำมันขึ้นมา ”  เวลาของการเรียนรู้ยังมีอีกยาวนาน  แต่เวลาของการสร้างสิ่งที่มีคุณค่าและทันกับความต้องการนั้นมีไม่มากนัก

     “ ตกลงแล้วเวลาของการเรียนรู้นั้นพอแล้วหรือยัง”
     “ตกลงแล้วเวลาของการสั่งสมประสบการณ์พอแล้วหรือยัง”
     “ตกลงแล้วการเรียนรู้และประสบการณ์นำไปใช้ได้หรือยัง”
     “ตกลงแล้วเราจะพูดกันไปเรื่อย ๆ หรือ จะลองหันมาลงมือทำกัน”


   ทุกคนต่างพูด ทุกคนต่างให้ข้อคิดเห็น  และทุกคนต่างรู้เรื่องต่าง ๆ ไปทั้งหมด  งานส่งเสริมการเกษตรที่เป็นภารกิจและกำลังดำเนินการกันอยู่นั้น  “ กำลังต้องการนักธรรม ” (ธรรม  หมายถึง ผู้ทำหน้าที่ที่ปฏิบัติของตนเอง) ที่จะมาช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  ดังนั้น  การพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานส่งเสริมการเกษตรแบบมีส่วนร่วม (Facilitator)  จึงได้เปิด “ เวทีอย่างเป็นทางการ ”  ขึ้นเพื่อคนทุกคนที่อยากรู้  ทุกคนที่อยากจะฟัง  ทุกคนที่อยากจะแลกเปลี่ยน  และทุกคนที่อยากจะเติมองค์ความรู้ ให้กับตนเอง


    การสั่งสมองค์ความรู้ของแต่ละบุคคลที่เป็นนักวิจัยธรรมชาติที่มีความสมัครใจทำกันนั้น  ได้มีสื่อกลางที่จัดโอกาสให้มาหาข้อสรุปร่วมกันโดยเรียกว่า  “ข้อสรุป : Facilitator”  ได้ทำหน้าที่จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับทุกคน  ซึ่งเมื่อมีการเสวนากัน  มีประเด็นพูดคุย  องค์ความรู้ต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย  เนื้อหาสาระและเนื้องานส่งเสริมการเกษตรก็มีเกิดขึ้นเป็นของตนเอง  เพราะต่างคนต่าง“แพร่กระจายนวัตกรรมการเรียนรู้”ที่ค้นพบและนำเอามารวมกันไว้เพื่อสรุปร่วมกัน คือ


     1.  การพัฒนาตนเองให้เป็น “Facilitator”  ที่ดีควรทำอย่างไร?
     2.  บทบาทหน้าที่ของ “Facilitator” ในงานส่งเสริมการเกษตรมีอะไรบ้าง?
     3.  ข้อคิดจากความล้มเหลวในการเป็น “Facilitator”
     4.  เงื่อนไขสำคัญที่สนับสนุนการเป็น “Facilitator”
     5.  เทคนิคและเครื่องมือในการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของ “Facilitator”
     6. วิธีการพัฒนาเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรให้เป็น “Facilitator”ที่ดีควรทำอย่างไร
     7.  เรื่องที่อยากจะคุยเกี่ยวกับ “Facilitator” (กลุ่มคิดประเด็นเอาเอง)

   สิ่งที่ปรากฏให้เห็น  ทุกคนได้ประมวลข้อมูล  อภิปรายแลกเปลี่ยน  และสรุปเป็นองค์ความรู้ของกลุ่ม  ซึ่งขณะที่ทำการให้และรับข้อมูลระหว่างกันนั้น  บรรยากาศการสนทนามีแต่มิตรภาพและเพื่อนร่วมแนวคิดเดียวกัน  

   สุดท้าย ของการเสาะแสวงหาองค์ความรู้ “ คุณอำนวย..... คือใคร?  ทำอะไร?  อย่างไร? 
กับงานส่งเสริมการเกษตร” 
ทำให้เห็นความร่วมมือร่วมใจที่เกิดจากหยาดเหงื่อ  แรงกาย  และ  แรงใจ  ที่ทุกคนซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรได้ทำการ “สร้างนวัตกรรมทางการถ่ายทอดความรู้” ให้กับเนื้องานส่งเสริมการเกษตรขึ้น โดยการทำบทบาทและหน้าที่ของ
“นักส่งเสริมการเกษตรมืออาชีพ”  และถือได้ว่า “นักส่งเสริมการเกษตรสายพันธุ์ใหม่”  ได้ถือกำเนิด และเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ  โดยบุคลากรชุดนี้ได้ปรับบทบาทของตนเองให้ทำหน้าที่เป็น “Facilitator” หรือ “ ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้กับเกษตรกร”  ที่ยอมละและลดบทบาทของตนเองจากที่ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยี  มาเป็น  ยึดเกษตรกรเป็นศูนย์กลางแทน  นับเป็นนิมิตหมายของการเปลี่ยนแปลงตนเองให้ก้าวทันเทคโนโลยีและสภาพ แวดล้อมได้ทัน.

                   ศิริวรรณ  หวังดี     เขียน
                 

หมายเลขบันทึก: 14867เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2006 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท