การแปรูปทะลายปาล์ม


ทะลายปาล์มสีเขียว

 

                ตำบลตะกรบเป็นตำบลที่เกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงและเกษตรกรรม  พืชส่วนใหญ่ที่ปลูก คือ ปาล์มน้ำมัน  และมีอาชีพเสริม  คือ  การเพาะเห็ดฟางจากทะลายปาล์ม  ซึ่งจะทำให้มีทะลายปาล์มที่เหลือจากการเพาะเห็ดฟาง จำนวนมากมาย  เกษตรกรส่วนใหญ่จึงเผาทิ้ง  เหมือนกับการกำจัดขยะทั่วไป

                ดังนั้นหลังจากที่เกษตรกรได้เข้าร่วมกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร  เมื่อมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  จึงเกิดแนวคิดที่จะแปรรูปทะลายปาล์มที่เหลือ  ให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกรโดยตรง  โดยการเปลี่ยนวิธีการคิดและกระบวนในการปฏิบัติ  คือ  การนำทะลายปาล์มที่เหลือจากการเพาะเห็ดฟางมาผลิตปุ๋ยหมัก  เพิ่มการย่อยสลายให้เร็วขึ้นด้วยสารเร่ง พด.1  ของกรมพัฒนาที่ดิน  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยสลายทำให้สามารถนำปุ๋ยหมักที่ได้มาใช้กับพืชชนิดต่าง ๆ ที่ปลูกได้  ซึ่งเป็นการทำการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  โดยการลดต้นทุนในการผลิตและหมุนเวียนทรัพยากรในท้องถิ่น ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  นำสู่การได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยจากสารพิษ เพื่อเป็นการสนองนโยบายระดับชาติ  ซึ่งในการพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้นี้  สมาชิกในกลุ่มยังสามารถขยายผลไปยังพื้นที่ข้างเคียงและหมู่บ้านอื่น ๆ อีกด้วย  เพื่อเป็นทางหนึ่งที่จะดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง  อันเป็นรากฐานที่จะทำให้สังคมและชุมชนอยู่แบบพึ่งตนเองได้       

ปุ๋ยหมักจากทะลายปาล์มน้ำมัน บ้านตะกรบ

อุปกรณ์

1.      ทะลายปาล์ม  1,000  กิโลกรัม
2.      มูลสัตว์  200  กิโลกรัม
3.      ปุ๋ยยูเรีย  4  กิโลกรัม
4.      สารเร่ง พด.1  1  ซอง5.      น้ำสกัดชีวภาพ  1  ลิตร 

วิธีการทำ

1.      นำสาร เร่ง พด.1 จำนวน  1  ซอง  ละลายในน้ำ  1  ถัง  (20 ลิตร)  คนให้เข้ากันประมาณ  15  นาที
2.      ราดสารละลาย พด.1  ลงในกองปุ๋ยหมัก
3.      นำน้ำสกัดชีวภาพ  1  ลิตร  ผสมน้ำ  200  ลิตร  ราดให้ทั่วกองปุ๋ยหมัก
4.      ทำกองปุ๋ยหมัก  กว้าง  2  เมตร  ยาง  3  เมตร  สูง  1-5 เมตร  รดน้ำให้ชุ่ม
5.      ทำการกลับกองปุ๋ยทุก ๆ 15  วัน  เป็นจำนวน  3  ครั้ง
6.      เมื่อปุ๋ยย่อยสลายดีแล้ว  จะมีสีน้ำตาลเข้มดำยุ่ยละเอียดไม่มีกลิ่นเหม็น  ก่อนนำไปใช้ต้องเกลี่ยกองเพื่อลดความร้อนก่อน 

อัตราและวิธีการใช้

1.      ปาล์มน้ำมัน  เล็ก  อายุ  1 2  ปี  ใช้ในอัตราตันละ  20  กิโลกรัม
2.      ปาล์มน้ำมัน  ใหญ่  อายุ  3  ปี  ขึ้นไป  ใช้ในการอัตราตันละ 20 50 กิโลกรัม   (ผสมด้วยปุ๋ยเคมีสูตร  0-0-60  จำนวน  1  กิโลกรัม)  โดยการโรยบริเวณรอบ   ทรงพุ่ม 

ผลของการใช้

1.      ปาล์มน้ำมัน เล็ก  อายุ  1 2 ปี  ใบจะมีลักษณะสีเขียวสดเป็นมันการแตกยอดดี  โคนโตเร็ว     ดินบริเวณต้นร่วนมีไส้เดือน อาศัยอยู่
2.      ปาล์มน้ำมัน ใหญ่  อายุ  3  ปี  ขึ้นไป  มีใบสีเขียว  เป็นมันทรงพุ่มสวย  เร่งการติดดอกและผลดี 

 

หมายเลขบันทึก: 148667เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2007 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กรกฎาคม 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณค่ะ เดี๋ยวจะเซฟเก็บไว้เลย

วันก่อนดูทีวี ม.แม่โจ้ร่วมกับการไฟฟ้า

ผลิตเครื่องจักรที่ใช้ผลิตไบโอดีเซล ซึ่งได้จากการสกัดน้ำมันปาล์ม 70% และ น้ำมันดีเซล 30%

เห็นแล้วตาลุกวาว ถ้ามีเงินอยากได้มาไว้สัก 2 เครื่อง ไว้ทำกิจการเล็กๆ เพราะแถวบ้านก็มีสวนปาล์มมาก

จะได้ใช้ประโยชน์จากปาล์มได้ครบวงจรเลย

*** ฝันๆ เอาไว้ก่อน เผื่อจะทำให้มันเป็นจริงได้

สวัสดีครับ..เธียรไชยา

  • มาดูการแปรรูปทะลายปาล์มมาทำน้ำหมัก
  • และเพาะเห็ด
  • ขอบคุณมาก

สวัสดีครับ

  • เป็น Bestpractice เรื่องการการแปรรูปทะลายปาล์ม ของตำบลตะกรบ
  • เห็นบางพื้นที่ เขาทิ้งไว้เฉยๆ แล้วเสียดายครับ

 

  • ขอบคุณค่ะคุณเธียรไชยาที่นำมาฝาก เพราะตอนนี้ก็กำลังหันไปดำเนินชีวิตรอยตามเตี่ยและแม่ที่เป็นเกษตรกร
ขอบคุณทุกท่านครับที่ร่วมกันแลกเปลี่ยนครับ และผมคงจะได้รับความอนุเคราะห์จากทุกท่านบ้างนะครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • แวะตามมาขอบคุณค่ะ
  • นำสาระดี ๆ มาฝากกันอีกแล้ว ดีจังเลย
  • ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณครับสำหรับความรู้การทำปุ๋ยหมัก

ขอบคุณม่ากค่ะ กะลังทำโปรเจคเกี่ยวกับปุ๋ยหมักจากทะลายปาล์มพอดีค่ะ^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท