ฝึกโยคะ เพื่อช่วยฟื้นฟูไต


โยคะเพื่อสุขภาพ

โรคไตเป็นโรคที่ไม่มีใครอยากเป็น เพราะค่ารักษาแพงมาก เพราะไม่ใช่รักษากันเพียงครั้งเดียว หากอาการรุนแรงถึงขั้นต้องฟอกไต ก็ต้องเตรียมใจทั้งคนที่ดูแล และ คนไข้ ที่ต้องทรมารจากการเจ็บป่วย ค่าใช้จ่าย ก็ไม่ใช่น้อย หากโชคดี มีคนบริจาคไต และไตสามารถทำงานร่วมกับร่างกายเราได้ ก็โชคดี หากไม่ได้ ก็ต้อง ดูแลกันต่อไป ตัวอย่างที่เห็นใกล้ตัวมีคุณแม่ของเพื่อน เป็นคนแข็งแรง อายุ ประมาณ 65 ปี หลังจากพบว่าป่วยเป็นโรคไต ร่างกายก็อ่อนแอลงทันที โรคแทรกซ้อนอื่นๆประดังกันเข้ามาเป็นระยะ ร่างกายจากที่เคยอ้วนท้วม ดูสดใส ก็เปลี่ยนเป็นซูบผอมลงอย่างเห็นได้ชัด ผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ไม่สามารถเดินเหินเองได้ และต้องไปฟอกไตทุกสัปดาห์ ลูกๆก็ต้องผลัดกันพาแม่ไปโรงพยาบาล ล้างไตครั้งนึงไม่ต่ำกว่า 3,000 บาท คุณแม่ท่านทรมานมาก ในที่สุดท่านก็เสียชีวิตลงหลังจากป่วยเป็นโรคไตอยู่ 2 ปี เมื่อเห็นแล้ว ก็อยากให้คนที่กำลังป่วยหรือ หากมีแววว่าอาจจะป่วยได้มีโอกาสดูแลรักษาตัว นอกจากต้องพึ่งทางการแพทย์แผนสมัยใหม่แล้ว จะได้ใช้โยคะมาช่วยในการบำบัดอีกด้วยค่ะ

อาสนะโยคะเพื่อช่วยกระตุ้นให้ไตทำงานดีขึ้น
ท่าอาสนะข้างล่างนี้นอกจากจะช่วยกระตุ้นไต ยังช่วยในเรื่องของคนที่มีปัญหาปัสสาวะกระปิดกระปอย, คนที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่, คนที่มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ, และคนที่เป็นโรค ED

อรรถมัสเยนทรา

ปัจจิโมตาสนะ
>
พัทธะ

พักศพ


ท่าอาสนะเหล่านี้ให้ทำสลับไปมา แต่ละท่าค้างท่าให้นาน 2-3 นาทีต่ออาสนะ
นอกจากนี้ยังสามารถใช้การเล่นปราณควบคู่กับการเล่นอาสนะ โดยเฉพาะการเล่น ท่าพัทธะโกนาสนะ พร้อมกับปราณ เป็นปราณที่กระตุ้นการทำงานของช่องท้อง (สำหรับคนที่สนใจของปราณอาจจะต้องเขียนมาคุยกันอีกทีค่ะ)

หน้าที่ของไต

ไตมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ
1.  ขับถ่ายของเสียอันเกิดจากการเผาผลาญอาหารประเภทโปรตีน (มีมากในเนื้อสัตว์ และอาหารจำพวกถั่ว) ซึ่งของเสียประเภทนี้ ได้แก่ ยูเรีย ครีเอตินีน กรดยูริค และสารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ
2.  ควบคุมปริมาณน้ำ และเกลือแร่ น้ำและแร่ส่วนที่เกินควรจำเป็นจะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ เกลือแร่ดังกล่าว เช่น โซเดียม โปตัสเซียม แคลเซียมฟอสฟอรัส เป็นต้น
3.  ผลิตและควบคุมการทำงานของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียม ฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง 
 
อาการของโรคไต
เหนื่อยเหนื่อยง่าย  หน้ามืด  เป็นลมบ่อย ๆ, อ่อนเพลีย,ปวดเมื่อยหลัง, ผิวมีสีเหลืองซีด, การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง,  การปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไตคือบริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย, การปวดท้องอย่างรุนแรง ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด  ปัสสาวะขุ่น  หรือมีกรวดทราย  แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ

การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย  ปัสสาวะแสบ  ปัสสาวะราด  เบ่งปัสสาวะ   และท่อทางเดินปัสสาวะปัสสาวะกระปิดกระปอย, ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้  โดยจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสด ๆ เลือดเป็นลิ่ม ๆ

 อาการบวม  โดยเฉพาะการบวมที่บริเวณหนังตาในตอนเช้า หรือหน้าบวม ซึ่งถ้าเป็นมากจะมีอาการบวมทั่วตัว

ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต  สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมาก ๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้
 
อย่างไรก็ตามควรต้องไปพบแพทย์  ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด เอ็กซ์เรย์ จึงจะพอบอกได้แน่นอนขึ้นว่าเป็นโรคไตหรือไม่
 

วีธีดูแลตนเอง

- ดื่มน้ำให้พอ
- กินอาหารโปรตีนต่ำ หรืออาหารโปรตีนต่ำมากร่วมกับกรดอะมิโนจำเป็น  โดยกินอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง  ซึ่งหมายถึงโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ทุกชนิดจำนวน 0.6 กรัม ของโปรตีน / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม / วัน
- กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ  โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังควรควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารแต่ละวันไม่ให้เกิน 300 มิลลิกรัม / วัน   ด้วยการจำกัดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลมาก  เช่น  ไข่แดง  เครื่องในสัตว์ทุกชนิด และนม เป็นต้น
- ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่ไม่มีอาการบวม   สามารถทานเกลือในปริมาณไม่มากนัก แต่ไม่ควรกินเกลือเพื่อการปรุงรสเพิ่ม ผู้ป่วยที่มีอาการบวมร่วมด้วย ควรจำกัดปริมาณเกลือที่กินต่อวันให้น้อยกว่า 3 กรัมของน้ำหนักเกลือแกง (เกลือโซเดียมคลอไรด์) ต่อวัน  ซึ่งทำได้โดยกินอาหารที่มีรสชาติจืด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม เช่น  เนื้อเค็ม  ปลาแห้ง กุ้งแห้ง  รวมถึงหมูแฮม  หมูเบคอน  ไส้กรอก  ปลาริวกิว หมูสวรรค์  หมูหยอง  หมูแผ่น  ปลาส้ม  ปลาเจ่า  เต้าเจี้ยว  งดอาหารบรรจุกระป๋อง เช่น ปลากระป๋อง เนื้อกระป๋อง
- อย่ากลั้นปัสสาวะ เพราะอาจจะทำให้เกิดความดันในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อ
- ทานผลไม้ที่มีน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงผลไม้แห้งเพราะ ผลไม้กลุ่มนี้จะดูดซึมน้ำออกจากร่างกายเพื่อร่างกายสามารถย่อยได้ หากจะทานผลไม้แห้งควรจะดื่มน้ำตามให้มากๆ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อไต เช่น เส้นใยบัวนำมาต้มและดื่มทุกวันจะช่วยบำรุงไตและหัวใจ
- ควรเน้นการออกกำลังกายที่ช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหาร(ระบบโซลาเพลกซัส) เพื่อช่วยในการบริหารไต และเวลาที่ออกกำลังกายไม่ควรดื่มน้ำระหว่างที่ออกกำลังกาย เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักขึ้น ควรจะให้ร่างกายขับเหงื่อออกมาให้มากที่สุด ก่อน หลังจากนั้นถึงจะดื่มน้ำหลังการออกกำลังกายได้
- หากระดับน้ำตาลสูงขึ้นให้รีบลด เพราะนั่นหมายถึงไตขาดเลือดเนื่องจากเกิดการอุดตัน

 

คำสำคัญ (Tags): #สุขภาพ#โยคะ#ไต
หมายเลขบันทึก: 148639เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2007 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 15:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ คุณครู fontok

ได้มาอ่านบันทึกนี้เป็นประโยชน์มากๆ คะ

การดูแลร่างกายสำคัญมากๆ เลยคะ

ขอบคุณมากคะ

ขอบคุณค่ะ

บันทึกนี้ดีมากค่ะ

อธิบายได้ละเอียดค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท