เด็กอัจฉริยะวิทยาศาสตร์ ตอนที่ 1


ครูวิทยาศาสตร์กับการพัฒนางานเด็กอัจฉริยะ

ครูวิทยาศาสตร์จะสังเกตได้อย่างไรว่าห้องเรียนของเรามีเด็กอัจฉริยะทางวิทยาศาสตร์

     เด็กที่มีความสามารถพิเศษ : จะเป็นผู้ที่มีความรู้  มีความสนใจ  มีความมุ่งมั่น  และมีความสุขที่จะได้ศึกษาเล่าเรียนหรือทำกิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์ สามารถศึกษาและเรียนรู้สิ่งที่ตนเองชอบ รัก ถนัด และสนใจอย่างรวดเร็วและลึกซึ้งมากกว่าเพื่อในวัยเดียวกัน

     เด็กอัจฉริยะที่มีความสามารถพิเศษระดับสูง ประมาณ 1-3%บนของกลุ่มอายุ : หากถูกจัดให้เรียนตามหลักสูตรปกติเช่นเดียวกับเด็กคนอื่น ๆ อาจทำให้เกิดความเบื่อหน่าย เป็นบ่อเกิดแห่งการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เกเร จนบางครั้งครูวิทยาศาสตร์ไม่สามารถรับได้ เกิดปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างเด็กและครูอย่างรุนแรง หลายคนต้องลาออกหรือย้ายไปเรียนโรงเรียนอื่น  บางคนมีพฤติกรรมเก็บกด  เสียโอกาสที่จะได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ ทำให้ประเทศชาติเสียกำลังคนที่มีศักยภาพสูงมาช่วยพัฒนาประเทศ.......................น่าเสียดาย

            ขอแนะนำโรงเรียนวิทยาศาสตร์.................โรงเรียน            มหิดลวิทยานุสรณ์......สรรหาเด็กที่มีความสามารถพิเศษ              วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เข้าเรียน ชั้น ม.4 ปีละ 240 คน

       บทบาทสำคัญของเด็กอัจฉริยะ

  • หัวใจของการเรียนรู้ คือ การใฝ่รู้ด้วยใจรักที่จะรู้ด้วยสมองโดยใช้ความรู้และปัญญาที่สะสมมาจากความรู้ในอดีต ที่วิเราะห์  สังเคราะห์ ไปสู่ความใฝ่ฝันที่ประสงค์  และด้วยฝีมือที่ขยัน   หมั่นเพียร ด้วยวิริยะอุตสาหะ  ด้วยใจ  ด้วยสมอง และด้วยฝีมือ  ที่มุ่งไปยังการเป็นผู้ใฝ่รู้  ใฝ่ฝัน  ทำความฝันให้เป็นจริง  นี่คือ     หัวใจของการเรียนรู้ที่มีคุณค่า

         @@@อย่าลืมติดตาม ตอนที่ 2 นะคะ จะเป็นบทบาทของครูวิทยาศาสตร์  และพ่อแม่ผู้ปกครองค่ะ.........................

 

หมายเลขบันทึก: 148617เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2007 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 01:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท