การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันที่ถูกวิธี


ทุก ๆ สิ่งในโลกล้วนมีทั้งดีและไม่ดี เรานำสิ่งที่ดีของสิ่งเหล่านั้นมาใช้ปรับปรุงให้เข้ากับตัวเรา ดีกว่ามัวแต่สนใจแต่เรื่องไม่ดี แล้วทำให้ชีวิตเศร้าหมอง

บันทึก  การจัดการความรู้   :  KMวันที่  17    ตุลาคม    2550ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าเรือ  สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านนาเดิม เรื่อง  การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันที่ถูกวิธี                    ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าเรือ   โดยดิฉัน  นางสาวนันทวัน  วัฒนา  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร  4    เลขานุการศูนย์ ฯ    จัดอบรมถ่ายทอดความรู้  เรื่อง  การใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันที่ถูกวิธี     ศาลาหมู่ที่  6  ตำบลท่าเรือ  อำเภอบ้านนาเดิม  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  โดยนัดเกษตรกรกลุ่มปลูกปาล์มน้ำมัน  จำนวน  40  คน  ในเวลา  13.30 น.  การนัดเกษตรกรของดิฉัน  ดิฉันจะใช้วิธีการหลายวิธี   คือ  วิธีแจกจดหมายเชิญโดยการสนับสนุนจากคณะกรรมการศูนย์ ฯ    วิธีการใช้หอกระจายข่าวหมู่บ้าน  วิธีการใช้วิทยุชุมชน             
เวลา  13.30 น.
            เกษตรกรกลุ่มปลูกปาล์มน้ำมันเริ่มทยอยมาลงทะเบียน  และรับเอกสารเกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน  ซึ่งดิฉันได้เตรียมไว้  เอกสารดังกล่าวดิฉันสะสมไว้ทุกครั้งที่ไปรับการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องดังกล่าวเพื่อต่อไปจะมีประโยชน์ต่อเกษตรกรของดิฉัน  เวลา  14.00 น.  วิทยากรเกษตรกร  ลุงสมนึก  บัวอินทร์  จากตำบลทุ่ง  อำเภอไชยา   ซึ่งประสบความสำเร็จในการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน  โดยได้ผลผลิตประมาณ  6  ตันต่อไร่ต่อปี เดินทางมาถึง  ลุงสำนึกดำเนินการถ่ายทอดความรู้  โดยใช้วิธีเล่าเรื่องจากประสบการณ์จริง และมีเอกสารเกี่ยวกับปุ๋ยสูตรต่างๆ  มาแจกให้สมาชิกได้รับทราบ    การจัดการสวนปาล์มน้ำมันเริ่มจากการเลือกพันธุ์ที่จะนำมาปลูก  จะเลือกจากแปลงที่ได้รับการรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร  ต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง  ในการปลูกจะปลูกแบบสามเหลี่ยม  ได้ไร่ละ  22  ต้น  แต่ลุงจะเน้นการใส่ปุ๋ยเป็นสำคัญนั้นคือ  ปาล์มน้ำมันจะเน้นปุ๋ยเชิงเดี่ยวคือแม่ปุ๋ย  3  ตัว   ได้แก่  ไนโตรเจน  ฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยม  และที่ขาดไม่ได้อีก  2  ชนิด  คือ  แมกนีเซี่ยม  และโบรอน  ลุงสมนึกแนะนำวิธีการใส่ในสวนของลุงคือ  นำปุ๋ยทั้ง  5  ชนิดใส่รถกระบะ  เมื่อถึงต้นใดก็ดูลักษณะอาการ  แล้วจึงจะใส่ปุ๋ยชนิดนั้นๆ ใส่ต้นละ ประมาณ  1  แก้ว  โดยไม่ได้นำปุ๋ยมาผสมกันเลย   ดูแลกันต้นต่อต้น  ลุงเปรียบเทียบปาล์มน้ำมันเหมือนภรรยาเมื่อเราเอาใจใส่ดูแลดีก็จะได้ลูก (ผลผลิต) ดีด้วย   การใส่จะใส่ปีละ  3  ครั้ง  แต่ที่สำคัญ    ในแต่ละปีลุงจะต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์  ซึ่งได่แก่  ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยน้ำชีวภาพ  อย่างน้อย  1  ครั้ง  แต่ไม่นิยมซื้อที่มีขายในท้องตลาด  เนื่องจากมักจะผสมดินเสียส่วนใหญ่  เหตุผลที่ต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพราะว่าปุ๋ยอินทรีย์เปรียบเสมือนฟองน้ำช่วยซับปุ๋ยเคมีไว้ให้ต้นปาล์มน้ำมันใช้    ดิฉันได้ช่วยเสริมตรงจุดนี้ว่า   ปุ๋ยเคมีเมื่อเราใส่มาก ๆ  ทุกปี  ก็จะทำให้ดินแข็งแต่ปุ๋ยอินทรีย์เป็นจุลลินทรีย์ที่ช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินทำให้ดินร่วนซุย  การใส่ปุ๋ยจึงจำเป็นต้องผสมผสานทั้งอินทรีย์และเคมีด้วยกัน  เพราะมีประโยชน์ทั้งสองฝ่าย  (  ทุก ๆ สิ่งในโลกล้วนมีทั้งดีและไม่ดี   เรานำสิ่งที่ดีของสิ่งเหล่านั้นมาใช้ปรับปรุงให้เข้ากับตัวเรา  ดีกว่ามัวแต่สนใจแต่เรื่องไม่ดี  แล้วทำให้ชีวิตเศร้าหมอง )  การให้น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญของลุงสมนึกอีกอย่างหนึ่งในการจัดการสวน  เพราะว่าน้ำถ้าต้นไม้ได้รับอย่างสม่ำเสมอผลผลิตออกมาก็จะดีด้วย  ลุงจะให้น้ำโดยใช้ระบบน้ำเป็นแบบหัวฉีด  ให้ตลอด  24  ชัวโมง  โดยใช้มอเตอร์  2  ตัวสลับไปมา  แหล่งน้ำที่ใช้คือ  น้ำบาดาล  เกษตรกรได้สอบถามว่าถ้าในสวนมีน้ำขัง  ลุงแนะนำให้ระบายน้ำออกเพราะถ้าปล่อยไว้ต้นจะเหลืองซีด  ปุ๋ยไม่สามารถใส่ได้  และเนื่องจากพื้นที่ในการปลูกปาล์มน้ำมันของตำบลท่าเรือและอำเภอไชยาคล้ายคลึงกัน  คือปลูกในนาข้าวเดิม  ลุงจึงไม่แนะนำให้ขุดเป็นร่องปลูก  แต่แนะนำให้มีคูระบายน้ำได้  เพราะการขุดเป็นร่องปลูกทำให้มีน้ำขังตลอดเวลาปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำขัง  แต่ถ้าพื้นที่นั้นจำเป็นต้องขุดร่องก็อนุโลมได้แต่ต้องทำการระบายน้ำอย่างดี   มีเกษตรกรซักถามเรื่องการใส่ปุ๋ยว่าจะใส่กี่กิโลกรัมต่อต้น  ลุงแนะนำจากการใส่ในสวนคือ  อายุ  6  ปี  ขึ้นไปใส่ประมาณ  12  กิโลกรัมต่อต้นต่อปี    ถ้าอายุน้อยกว่าก็ลดหลั่นลงมาตามความเหมาะสม  ในระหว่างการถ่ายทอดความรู้เกษตรอำเภอได้เดินทางมาร่วมรับฟังด้วย  และได้พูดคุยพบปะกับเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน           
เวลา  16.00 น.  ลุงสมนึกไดเดินทางกลับแต่ก่อนจะกลับลุงแนะนำการทดสอบดูว่าพื้นที่ใดมีน้ำบาดาลพื้นที่ใดไม่มีน้ำบาดาลโดยใช้เหล็กเส้นจากเสาไฟฟ้า  2  เส้น  มาทำการทดสอบ  ดังรูป  เกษตรกรที่สนใจลองทดสอบดูด้วยความสนุกสนาน
            จากการถ่ายทอดความรู้ในครั้งนี้  สรุปได้ว่า  เกษตรกรตำบลท่าเรือไม่กล้าปฏิบัติด้วยตนเองเพราะเรื่องที่รับฟังในวันนี้เกษตรกรตำบลท่าเรือส่วนใหญ่รับทราบมาแล้ว  แต่เมื่อเรานำเกษตรกรด้วยกันที่ประสบความสำเร็จมาถ่ายทอดให้ฟังก็จะเชื่อถือและกล้าที่จะนำไปปฏิบัติ  ดิฉันคิดว่าเหตุผลนั้นคืองานที่ดิฉันต้องนำไปเป็นการบ้านในการทำงานต่อไป ( การเปลี่ยนแปลงความเชื่อเรื่องเก่า ๆ  เป็นเรื่องที่ยากมาก  ๆ )  สู้ตายค่ะ 
ผู้เล่าเรื่อง  นางสาวนันทวัน  วัฒนา
ผู้บันทึก  นางสาวนันทวัน  วัฒนา                     
วันที่  1
9   ตุลาคม   2550

 

หมายเลขบันทึก: 148090เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2007 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)
    ***เป็นองค์ความรู้ที่เยี่ยมมากครับ เพราะเกษตรกรได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของลุงนึก เพื่อที่จะนำไปปรับใช้กับงานของตนเองได้อย่างเหมาะสมและลงตัวครับ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นค่ะ

หวัดดีน้องแอน

  • ได้ทั้งเครือข่าย ได้ทั้ง งานในพื้นที่
  • ไม่ทราบว่า เชิญลุงนึก มาได้อย่างไรครับ
  • และพี่ๆในหน่วยงานละ

หวัดดีน้องแอน

พี่จะคอยอ่านตอนต่อไปและเป็นกำลังใจให้จ๊ะ

เชิญลุงสมนึกผ่านหมอดินตำบลค่ะ  เพราะว่าหมอดินตำบลไปอบรมการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันของสถานีพัฒนาที่ดิน  หน.  เลยให้เบอร์มา  และกำลังของบจาก  อบต.  ไปดูงานที่แปลงลุงสมนึกอยู่ค่ะ
สวัสดีครับ คุณหมูอ้วน ดีจังเลยครับ พัทลุงเริ่มปลูกปาล์ม จะนำไปประยุกต์ใช้ครับ

ได้อ่านแล้วสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง นน่าสนใจมาก

ถือว่าเป็น Best practice การใส่ปุ๋ยปาล์ม

ว่างๆจะไปดูงานนะครับ...ขอบคุณครับ 

คุณฉุย...สมุย

ปาล์มน้ำมันจะเน้นปุ๋ยเชิงเดี่ยวคือแม่ปุ๋ย 3 ตัว ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปรแตสเซี่ยม และที่ขาดไม่ได้อีก 2 ชนิด คือ แมกนีเซี่ยม และโบรอน ให้ดูลักษณะอาการการขาดธาตุอาหาร แล้วจึงจะใส่ปุ๋ยชนิดนั้นๆ

ในแต่ละปีจะต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งได่แก่ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำชีวภาพ อย่างน้อย 1 ครั้ง

ครับเป็นการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้องครับ ที่สำคัญต้องดูอาการขาดธาตุอาหารของปาล์มให้ถูกต้อง ช่วยลดต้นทุน แต่จะให้ดีใส่แต่ละครั้งร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ไปเลยดีกว่า

เหตุผล

-จุลินทรีย์ในปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานสามารถช่วย ในกระบวนการตรึงไนโตรเจน ตลอดจนกระบวนการย่อยสลายอินทรีวัตถุเร็วขึ้น ทำให้ประโยชน์ของ ไนโตรเจน ฟอตฟอรัส หรือกำมะถันเพิ่มขึ้น ลดการระเหย และการชะล้าง

บริษัท ไอออนิค จำกัด www.ionique.co.th รัฐบาลร่วมลงทุน

เกษตรกรปรึกษาได้ที่ คุณมานพ 0841895550/0856555217สุราษ

ขอบคุณ คุณเอนก มาก ที่แสดงความคิดเห็น จริงๆแล้วเรื่องปุ๋ยปาล์มมีมากกว่าที่เขียนถ้าลงมาอยู่ในพื้นที่เพราะว่าความรู้มักจะมาจากประสบการณ์ที่ลงมือทำ

ได้อ่านแล้ว มีกำลังใจทำสวนขึ้นเยอะ ที่ได้ข้อมูลว่า โดยเฉลี่ย ได้ประมาณ 6 ตันต่อปี

แต่ที่ใส่ปุ๋ยเชิงเดี่ยว ขอรบกวนอีกนิดครับ ใช้สูตรอะไรครับ เพราะมีหลายสูตร จะได้เดินตามแบบครับ ขอบคุณครับ

คุณทองหยอด ช่วยเข้าไปอ่าน ในเรื่องปุ๋ยเชิงเดี่ยวในสวนปาล์ม นะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ผมปลูกปาล์ม 50 ไร่ 1000 ต้น

โดนหนูกินไป 300 ต้น

ต้องปลูกใหม่ หนูกินอีก

มีวิธีป้องกันอย่างไรครับ

ขอคำแนะนำด้วยครับ

( ตัวกระผมอยู่ต่างอำเภอกับสวนครับ )

สง่า

089-6572822

ตูเอง เจ้าของสวนปาล์มตัวจริง

ใช้ยาเบื่อหนูผงสีดำคลุกปลาย่างโรยให้รอบสวน เดือนละครั้ง หนูตายเรียบครับคุณสง่า

หวัดดี พี่แอน

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ กำลังศึกษาเรื่องปุ๋ยปาล์ม ได้อ่านแล้วจะนำไปทดลองใช้ต่อค่ะ

หวัดดีคะ

เพิ่งปลูกปาล์มได้ 3ปี แต่รู้สึกไม่โตเท่าที่ควร ขอบคุณคะสำหรับความรู้ที่เผยแพร่ เพราะอ่านแล้วจะได้เอาไปปรับปรุงที่สวน

สวัสดีค่ะ...แวะเข้ามาอ่านเป็นครั้งแรกค่ะ ไม่เคยรู้เรื่องปาล์มเลย แต่ปีหน้าจะเข้าไปอยู่ที่สวนปาล์มแล้วค่ะ คงต้องมาหาอ่านอีก เป็นประโยชน์ค่ะ ขอบคุณค่ะ

ผมหนักใจเกี่ยวกับสวนปาล์มมากครับ ปาล์มให้ผลผลิตไม่เต็มที่ คือผมเพิ่งซื่อจากเจ้าของเดิมมาได้ 2เดือนแล้ว ต้นปาล์มอายุ 6ปี ผมเพิ่งมีสวนปาล์มเป็นครั้งแรก ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย ผมไม่รู้ไปปรึกษาใครดี ปาล์ม 12ไร่ ประมาณ 210 ต้น ได้ผลผลิตประมาณ 1 ตัน/ครั้ง ครั้งละ 20วัน แทบจะไม่พอผ่อนธนาคาร จนผมคิดกับครอบครัวว่าจะขายดีไหม ผมไม่รู้จะปรึกษาใครดี ใครที่ให้ความรู้กับผมได้บ้างครับ

ติดต่อผมได้ที่เบอร์

086-3130511

E-MAIL [email protected]

ขอคุณครับ

อยากทราบว่าการใช้สารไคโตซานในสวนยางช่วยให้ปาล์มโตเร็วและเพิ่มผลผลิต

หรือไม่

ต้นปาลม์มีอายุ 6 ปีแล้ว ไม่ได้ใส่ปุ๋ยมา 2ปี แล้ว ถามว่าถ้าเราจะใส่แต่ ปุ๋ยอินทรีย์ อย่างเดียวจะได้มั้ย โดยไม่ใส่ปุ๋ยเคมี ช่วยตอบด้วยค่ะ

  • บันทึกนี้ ดีมาก ๆ เลยนะครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ
  • ขอเป็นกำลังใจด้วยอีกคนนะครับ

อยากทราบว่าถ้าเราใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในปาล์มที่มีอายุ 1 ปี ใส่ครั้งหนึ่ง 1 กระสอบปุ๋ยจะมากไปหรือเปล่า  และใส่ตั้งแต่โคนต้นมาเลยหรือว่าใส่ตรงทางใบ  ขอบคุณมากนะค๊ะ

ทีบ้านเป็นพื้นที่ติดทะเลคะ แต่มันไม่ได้โดนน้ำทะเล100%อยากจะทดลองปลูกก่อนประมาณสัก60ต้น

ไม่ทราบว่าปัญหามันจะมีมากกว่าปลูกพื้นที่อื่นไม่คะ ขอคำแนะนำหน่อยอยากรู้จิงๆคะ

ผมปลูกปาลม์แล้วไม่ได้ใส่ปุ๋ยเลยคับผมจะใช้น้ำขี้หมูรด ต้นปาลม์ได้ป่าวคับจะผลทำให้ปาลม์ตายได้ป่าวคับถ้ารดน้ำขี้หมูมากเกินไป

ช่วยตอบด้วยนะคับไม่มีความรู้เลยในด้านนี้

ตอบคุณชาญชัย ปาล์มน้ำมัน และพืชทุกชนิดต้องการปุ๋ยทั้งนั้นค่ะ ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยแล้วพืชจะเอาที่ไหนมาปรุงอาหารค่ะ โดยเฉพาะปาล์มนั้นต้องการมากเพื่อการเจริญเติบโตในระยะการสร้างต้น (อายุ 1-3ปี) ส่วนขี้หมูนั้นเป็นอินทรีย์ช่วยทำให้โครงสร้างของดินร่วนซุยรากสามารถชอนไชหาอาหารได้สะดวก ควรมีการใส่เคมี (อนินทรีย์) บ้าง การใส่ขี้หมูมากน้อยไม่เป็นปัญหาค่ะ การปลูกปาล์มต้องศึกษามากๆค่ะ ที่สำคัญควรนำดินไปวิเคราะห์ธาตุอาหารก่อนปลูก ใน KM ของดิฉันมีสูตรปุ๋ยที่ทางกรมวิชาการเกษตรแนะนำลองศึกษาดูนะจ๊ะ ขอบคุณมากที่เข้ามาอ่าน

ผมขอความรู้ในการใส่ปุ่ยอายุปาล์ม 4 - 5 ปี ปลูกในนาข้าวขุดร่อง เลยหน้าฝนมาสังเกตุต้นปาล์มใบจะเหลือง

ไม่ทราบว่าจะใส่ปุ่ยสูตรอะไรดี

กลับจากการประชุม สมาคมสวนปาล์มน้ำมัน ที่โรงแรม สยามธานี ฟังลุงสมนึกบรรยายเรื่องการทำปาล์มน้ำมันให้ได้ 6 ตันแล้ว

ต้นทุนสูงมาก รามทั้งวิธีการ และการจัดการ อีกทั้งการจัดการในการใส่ปุ๋ยก็ไม่ชัดเจน ผมไม่แน่ใจว่าจะได้กำไร หรือขาดทุน หากจัดการแบบที่ลุงสมนึกจัดการ ใว้ว่างๆ ผมจะไปเก็บข้อมูลรายละเอียดต้นทุนมาให้ พี่น้องทราบ หรือหากว่าใครมีข้อมูลจากลุงสมนึกช่วยบอกเล่าเก้าสิบด้วย เพื่อเป็นวิทยาทาน

ขายปุ๋ยชีวภายสำหรับปาล์มนำมันราคาถูกมาก โทร. 086-3575326

ขอบคุณมากน่ะค่ะ สำหรับวิธีการใส่ปุ๋ย อ่านแล้วรู้สึกว่าการใส่ปุ๋ย การบำรุงต้นปาล์มนั้นไม่ยากอย่างที่เราคิด

แต่อยากทราบว่า การปลูกบนเนื้อที่ที่เป็นที่สูง แร่ธาตุ อาหารมันจะต่างกับพื้นที่ราบหรือเป่า ค่ะ

แล้ววิธีการดูแล จะต่างกับที่ราบหรือเปล่าค่ะ

ตอบ คุณจินตนา ต่างกันเรื่องน้ำ ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำสูง เฉลี่ยแล้วเป็นร้อยลิตรต่อต้น เคยพาเกษตรกรไปดูงานที่บริษัทยูนิวานิช กระบี่ เขาปลูกที่ดอนเขาใช้ระบบน้ำหยดทุกต้น ที่สูงจังหวัดอะไรละค่ะ จากการอ่านหนังสือของศูนย์วิจัยปาล์มเขาปลูกกันได้ไม่เกินจังหวัดชุมพรถึงจะให้ผลผลิตที่ดี ยิ่งใกล้เส้นศูนย์สูตรยิ่งดี (มาเลเซีย)

สวัสดีครับ คุณแอน ผมมีสวนปาล์มอยู่ที่เคียนซา ผลผลิตไม่ค่อยดีเลยครับ ปีที่ผ่านมา( 2552) เฉลี่ยที่ประมาณ 2.5 ตันต่อไร่ต่อปี ผมกำลังศึกษาเรื่องการดูแลปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตที่ดี คุณแอนพอจะมีคำแนะนำบ้างไหมครับ สำหรับมือใหม่ ขอบคุณมากครับ

ตามคำแนะนำด้านบน หรือติดต่สำนักงานเกษตรอำเภอเคียนซา เพราะว่ามีนักวิชาการเก่งๆหลายคน

ดิฉันมีสวนปาล์มอยู่ที่อำเภอปะทิว ชุมพร ผลผลิตไม่ค่อยดี มีลักษณะที่เรียกว่า ขาดคอ อยากได้คำแนะนำเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต คุณแอนมีข้อแนะนำมั๊ยค๊ะ เป็นมือใหม่ในการดูแลสวนปาล์ม

คุณนันทวัน รบกวนขอเอกสารการใส่ปุ๋ยปาล์มน้ำมันด้วยครับ [email protected]

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท