เฟือง คณะกรรมการ ที่เป็นสนิม


เฟืองเหล่านี้ไม่ค่อยได้ทำงาน ที่สำคัญคือ งบประมาณ และระบบ รวมทั้งคนทำงานของกองเลขาซึ่งเป็นคนชงเรื่อง

ผมกำลังตามดูกลไกที่ใช้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมและการจัดสวัสดิการสังคม/ชุมชนท้องถิ่น

ผมเข้าใจว่า เฟืองที่ทำให้นาฬิกาเดิน คือภาพความเข้าใจของคำว่า กลไก ที่ง่ายที่สุด

ผมตามดูเฟืองที่มีภารกิจระบุไว้โดยตรงคือ

1)คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติซึ่งดูภาพใหญ่ของประเทศ เขียนภาพสังคมไว้ในแผน10คือ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เลขาคือ สำนักงานสศช. หรือสภาพัฒน์ฯที่เราคุ้นเคย

2)คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมระดับชาติ มีกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นเลขา และแตกลูกเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สังคมในแต่ละจังหวัด มีสำนักงานพมจ.ในแต่ละจังหวัดเป็นกองเลขา

3)เรื่องสวัสดิการสังคม ชุมชนท้องถิ่น มีหลายหน่วยงาน

เอาเร็วๆเท่าที่มีประสบการณ์ในตอนนี้ คือ

เฟืองเหล่านี้ไม่ค่อยได้ทำงาน ด้วยหลายเหตุผล

ที่สำคัญคือ งบประมาณ และระบบ รวมทั้งคนทำงานของกองเลขาซึ่งเป็นคนชงเรื่อง

มันเป็นธรรมชาติของสังคมไทยหรืออย่างไรไม่ทราบ เพราะผมไม่เคยได้เรียนรู้จากสังคมอื่น

เรื่องเหล่านี้ ทำให้เวลาประชุมร่วมกับกลุ่มชาวบ้าน ทำให้ผมนึกถึงเฟืองในระบบที่มีภารกิจและน้ำมันหล่อลื่นค่อนข้างดี แต่ไม่ได้ทำอะไรมาก หรือทำในเรื่องที่ไม่เป็นโล้เป็นพาย ก็นึกชมกลุ่มชาวบ้าน

เรื่องใกล้ตัวในที่ทำงานที่ศูนย์บริการวิชาการที่ต้องเป็นกองเลขาให้กับ คณะกรรมการศูนย์ฯเพื่อให้ความเห็น สนับสนุนการทำงาน เพราะมีส่วนงานที่ต้องเกี่ยวข้องกัน ก็ยังทำได้ไม่ดีนัก

เรื่องใกล้ตัวที่มหาวิทยาลัยต้องเป็นกองเลขาให้สภาฯ ในคณะย่อยคือ กรรมการยุทธศาสตร์ก็มีเรื่องเล่าที่ตอกย้ำความเข้าใจในการทำงานที่เป็นองค์คณะในรูปคณะกรรมการ และสำนักงานที่เป็นกองเลขาว่า เรามีความอ่อนแอทั้งระบบ

เฟืองคณะกรรมการ คณะทำงานที่มีประสิทธิภาพที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยจัดการ โดยหน่วยจัดการเป็นกองเลขา ต้องมาจากศักยภาพของหน่วยจัดการเองด้วย

ถ้าหน่วยจัดการไม่มีน้ำยา คณะกรรมการก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก เป็นได้เพียงตราตั้งให้เป็นหน้าตาของหน่วยจัดการเท่านั้น
คำสำคัญ (Tags): #กลไกขับเคลื่อน
หมายเลขบันทึก: 147957เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2007 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
นกน้อยทำรังแต่พอตัว
เรื่องที่อาจารย์เขียน มีความรู้สึกว่าการทำงานของส่วนราชการนั้นทำงานร่วมกับขบวนการชาวบ้านคงจะเหนื่อยน่าดู จากที่ได้เข้าไปสัมผัสในหลายเรื่องทำให้คนที่ตั้งใจทำงานให้กับชุมชนด้วยใจอาสาเกิดความท้อแท้กับการทำงานทุกครั้งที่ต้องการหน่วยงานสนับสนุน ที่จะต้องช่วยกันขับเคลื่อนขบวนการชาวบ้าน เหนื่อยใจมากนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ภีม

ไม่ได้เจอกันนานมาก กลายเป็นคุณลุงภีมไปซะแล้วหล่ะมั้งคะ

ไม่ว่าจะที่ไหนก็เหมือนกันค่ะ เฟืองที่เป็นกลไกของรัฐมีน้ำมันหล่อลื่นมากเกินไปกระมังค่ะเลยทำให้หกหล่นเลอะเทอะอยู่ข้างๆหลายเป็นน้ำมันที่ใช้งานไม่ได้ไป

แต่น้ำมันหล่อลื่นของกลุ่มชาวบ้านเป็นแบบมีน้อยแต่ก็ต้องพอเพียงค่ะ เป็นน้ำมันเสียๆไม่ได้ หากเป็นขยะเราก็จะนำกลับมาใช้ซ้ำค่ะ

ไม่ว่าจะสมุทรปราการหรือเชียงใหม่ก็ไม่มีความแตกต่าง ชุมชนที่เข้มแข็งก็จะดูแลตัวเองได้อย่างไม่ลำบาก แต่ชุมชนไหนที่คนในชุมชนอ่อนแอ ผู้นำชุมชนอ่อนแอก็จะอยู่แบบพึ่งพาหน่วยงานรัฐตลอด

ตอนนี้ทำงานชุมชนค่ะแต่เปลี่ยนจากการเงินมาเป็นสุขภาพ ที่ต้องเจ็บป่วยจากการใช้สารเคมีค่ะ เป็นอีกวังวนหนึ่งของชาวบ้านที่ต้องใช้จ่ายไปมากมาย 2 เรื่องค่ะจากการใช้สารเคมีคือ เรื่องสารเคมีทั้งปุ๋ย ยา ที่มีราคาแพง อีกทั้งยังปลอมปนมากมาย เมื่อใช้แล้วก็มีปัญหาสุขภาพตามมา แต่อย่างว่า ไม่ทำก็ไม่ได้เพราะไม่รู้จะทำอะไร ทำไปก็ถูกเอารัดเอาเปรียบก็ต้องทำ

ลืมไปใกล้ปีใหม่ขอแบบบรรยากาศสบายๆละกันค่ะ

ขอให้อาจารย์ภีมและครอบครัว

มีความสุขมากๆนะคะ

มีสุขภาพกายที่แข็งแรงและก็มีสุขภาพใจที่เข้มแข็ง

เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท