ระเบียบกรมการขนส่งทางบก


ว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ใช้รถในการรับจ้างรับส่งนักเรียน

ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ใช้รถในการรับจ้างรับส่งนักเรียน  พ.ศ. ๒๕๔๗

                     เพื่อให้การปฏิบัติเกี่ยวกับการขออนุญาตและการอนุญาตใหใช้รถในการรับจ้างรับส่งนักเรียนเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและถูกต้อง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.๒๕๒๒  อธิบดีกรมการขนส่งทางบกจึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้ 

     ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการขออนุญาตและการอนุญาตให้ใช้รถในการรับจ้างรับส่งนักเรียน พ.ศ. ๒๕๔๗

           ข้อ ๒  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นไป

         ข้อ ๓  บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

         ข้อ ๔  ในระเบียบนี้การรับจ้างรับส่งนักเรียน หมายความว่า การรับส่งนักเรียนด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์เพื่อสินจ้างรถรับส่งนักเรียน หมายความว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน (รย. ๒) ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่นำไปใช้ในการรับจ้างรับส่งนักเรียนนักเรียน หมายความว่า บุคคลซึ่งกำลังศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ

         ข้อ ๕  ผู้ใดประสงค์จะใช้รถรับส่งนักเรียนให้ยื่นคำขอตามแบบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด ณ ที่ทำการของนายทะเบียนที่รถนั้นอยู่ในเขตความรับผิดชอบและนำเข้ารับการตรวจสภาพพร้อมด้วยหลักฐานประกอบคำขอ ดังต่อไปนี้

               (๑)  บุคคลธรรมดา

                   (ก) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของดรถหรือผู้ครอบครองตามหลักฐาน

                        ที่ ปรากฏทางทะเบียน

                       (ข) ใบคู่มือจดทะเบียนรถและภาพถ่าย

               (๒) นิติบุคคล

                            ก) หนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคลของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

                     (ข)  ภาพถ่าย บัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล

                     (ค)  ใบคู่มือจดทะเบียนรถและภาพถ่าย

         ข้อ ๖ รถรับส่งนักเรียนต้องมีเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถครบถ้วนถูกต้องตามที่กฏหมายกำหนดและเป็นรถที่ไม่ค้างชำระภาษีประจำปี รวมทั้งต้องจัดให้มี

               (๑) แผ่นป้ายพื้นสีส้มขนาดกว้างไม่น้อยกว่า ๒๕ เซนติเมตร ยาวไม่น้อยกว่า ๖๐ เซนติเมตร มีข้อความว่า รถ-รับส่งนักเรียน เป็นตัวอักษรสีดำความสูงไม่น้อยกว่า ๑๕ เซนติเมตร ติดอยู่ที่ด้านหน้า และด้านท้ายของตัวรถให้สามารถมองเห็นข้อความได้โดยชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า ๕๐ เมตรเมื่อมิได้ใช้รถนั้นรับส่งนักเรียนให้ถอดแผ่นป้ายออกหรือปิดคลุมข้อความดังกล่าว                                

             (๒) ไฟสัญญาณสีเหลืองอำพันหรือสีแดง ปิดเปิดเป็นระยะ ติดไว้ที่ด้านหน้าและด้านท้ายของตัวรถ เพื่อให้ผู้ขับขี่ที่สวนมาหรือตามหลังมาเห็นได้โดยชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า ๑๕๐ เมตร

เมื่อมิได้ใช้รถนั้นรับส่งนักเรียนให้งดใช้สัญญาณไฟดังกล่าว

            (๓) เครื่องมือเครื่องเครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือนักเรียนเมื่อมีอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน เกิดขึ้นดังต่อไปนี้                    

                  (ก) เครื่องดับเพลิงที่มีขนาดพอสมควรและติดตั้งไว้ภายในรถในที่เหมาะสม   ปลอดภัย พร้อมที่จะใช้การได้ทุกขณะ             

                  (ข) ฆ้อนทุบกระจก ๑ อัน สำหรับรถที่มีลักษณะเป็นรถตู้โดยสาร  ฆ้อนทุบกระจกต้องเก็บไว้ในที่ปลอดภัยและสามารถนำมาใช้งานได้โดยสะดวก

        ข้อ ๗  ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้รถรับส่งนักเรียนต้องไม่บรรทุกหรือยินยอมให้ผู้อื่นบรรทุก      ผู้โดยสารอื่นปะปนไปกับนักเรียน เว้นแต่ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนหรือผู้ปกครอง

        ข้อ ๘  ผู้ขับรถรับส่งนักเรียนต้องไม่เป็นผู้มีประวัติเสียหายอันเกิดจากการขับรถและเป็น     ผู้ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถทุกประเภทตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก หรือใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ หรือใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลที่ได้รับอนุญาตมาแล้วไม่น้อยกว่า ๓ ปี

        ข้อ ๙ ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้รถรับส่งนักเรียนต้องจัดให้มีผู้ควบคุมดูแลนักเรียน ซึ่งมีอายุ ไม่ตำกว่า ๑๘ ปี ประจำอยู่ในรถตลอดเวลาที่ใช้รับส่งนักเรียน

        ข้อ ๑๐ ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้รถรับส่งนักเรียนต้องส่งนักเรียนให้ถึงโรงเรียนหรือที่อยู่อาศัย หรือส่งมอบให้แก่ผู้ปกครองโดยตรง หรือส่ง ณ สถานที่ที่ตกลงกัน

       ข้อ ๑๑  หนังสืออนุญาตให้ใช้รถรับส่งนักเรียนให้เป็นไปตามแบบแนบท้ายระเบียบนี้ และให้นายทะเบียนอนุญาตให้ใช้รถรับส่งนักเรียนได้ ไม่เกินครั้งละ ๖ เดือนนับแต่วันอนุญาตหนังสืออนุญาตตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ได้รับอนุญาตเก็บไว้ภายในรถเพื่อใช้แสดงต่อผู้มีอำนาจตรวจสอบ

      ข้อ ๑๒  ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้รถรับส่งนักเรียนผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามความในข้อ ๖ ข้อ ๗  ข้อ ๘  ข้อ ๙  ข้อ ๑๐ หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสืออนุญาตตามข้อ ๑๑ ให้นายทะเบียนยกเลิกการอนุญาต

       ข้อ ๑๓  ให้รองอธิบดี (ฝ่ายปฏิบัติการ) กรมการขนส่งทางบก รักษาการตามระเบียบนี้ 

                               ประกาศ ณ วันที่ ๑ กันยายน   พ.ศ  ๒๕๔๗

                                                                                                                                                      

                                                    (นายปิยะพันธ์  จัมปาสุต)

          

                                                    อธิบดีกรมการขนส่งทางบก

หมายเลขบันทึก: 147873เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2007 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เป็นระเบียบที่ละเอียดมาก ฯ

แวะมาทักทายครับ.

ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้

ยินดีต้อนรับสมาชิกชุมชน blog ร.ร. พระมารดาฯค่ะ

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทาย

สงสัยจบกฎหมายมาแหง่ๆ เลยนะเนี่ย

ว่างๆ แวะมาให้ความรู้ในบล็อกน้องได้อีกนะคะ

  มีแบบสั้นๆ เป็นข้อ ๆ เข้าใจง่าย ๆ  ใหมครับพี่

ขอบคุณครับ สำหรับคำติชม

ข้อ ๔ ในระเบียบนี้“การรับจ้างรับส่งนักเรียน” หมายความว่า การรับส่งนักเรียนด้วยรถยนต์ส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์เพื่อสินจ้าง“รถรับส่งนักเรียน” หมายความว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน (รย. ๒) ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ที่นำไปใช้ในการรับจ้างรับส่งนักเรียน“นักเรียน” หมายความว่า บุคคลซึ่งกำลังศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ทั้งสายสามัญและสายอาชีพ

ข้อความ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน แต่ที่เห็นอัดกันไส่รถกระบะ 20 กว่าคน

ขอสอบถามหน่อย ถ้าเป็น บัส 6 ล้อ 30 ที่นั่งจะจดทะเบียนอยางไร

แล้วรถกระบะแค็ป ธรรมดา จดทะเบียนติดตู้หลังแล้ว วิ่งรถนักเรียนต้องจดทะเบียนหรือป่าว

เพราะในระเบียบไม่มี เพราะเป็นรถบบรทุกหรือรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งหรือมากกว่านั้น

งง กับระเบียบครับ กลัวตำรวจเล่นงานครับ

ผมว่าจะเข้าไปคุยกับขนส่งครับกับระเบียบ เพราะมีรถบัสวิ่งโดยสารประจำ อ้างว่าต้องขอเส้นทาง

แต่รถโดยสารนั้นรับบุคคลทั่วไปและนักเรียนรวมกัน แต่เรารับเฉพาะเด็กนักเรียน กะว่าไม่ต้องจดนะครับ

ช่วยแนะได้ครับ ตามเมล์ [email protected] ขอบคุณล่วงหน้าครับ

แถวบ้านมีทั้งหกล้อป้ายขาวดำและกระบะป้ายขาวเขียวใส่หลังคา บรรทุกนักเรียนยืนห้อยโหนและนั่งบนหลังคาไม่เห็นเป็นไรตำรวจก็ไม่จับขนส่งก็ไม่จับเขาใช้กฏหมายเดียวกันอะเปล่างง

ระเบียบของกรมการขนส่งทางบกฉบับนี้ มาจากนโยบายแก้ไขปัญหาที่ชาวบ้านนำรถส่วนตัว(จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยนต์) มาวิ่งรับส่งคนโดยสาร และเก็บค่าโดยสารแบบรถประจำทาง ซึ่งถือว่าเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก มีโทษทั้งจำและปรับ 

รถเหล่านี้ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่รถประจำทางในต่างจังหวัดเป็นอย่างมาก เพราะไปวิ่งแย่งรับคนโดยสารของรถโดยสารประจำทางที่มีเส้นทางถูกต้องตามกฏหมาย เมื่อกลุ่มรถโดยสารประจำทางร้องเรียนให้กรมการขนส่งทางบกและเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม ก็จะมีข้ออ้างว่า ทำมาหากินสุจริต ไม่ได้ไปจี้ไปปล้นใคร ไม่เห็นจะเป็นไร แบ่งๆ กันหากิน ต่อมาเมื่อการเมืองเข้ามายุ่ง จึงหาทางสร้างคะแนนเสียง ด้วยการช่วยคนผิดให้เป็นคนถูก จึงได้ออกระเบียบดังกล่าว เพื่อให้รถผิดกฏหมายเหล่านั้น เป็นรถถูกกฎหมาย ใครก็จับไม่ได้ เพราะดำเนินการทางกฎหมายถูกต้อง มีสิทธิตามกฎหมายทุกประการ ส่วนรถโดยสารประจำทางก็ต้องผิดหวังกล้ำกลืนต่อไป เพราะคนผิดเป็นคนถูก และเมื่อพิจารณาระเบียบดังกล่าวให้ชัดเจน จะเห็นว่าในข้อที่ 7 เป็นช่องว่างที่ทำให้รถนักเรียนเหล่านี้ ไปรับส่งคนโดยสารอย่างรถโดยสารประจำทางได้ เพราะคำว่า "เว้นแต่ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนหรือผู้ปกครอง" หมายถึงบุคคลที่อยู่บนรถที่มิใช่นักเรียน เพราะถูกเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ก็จะอ้างว่า เป็นผู้ปกครองบ้าง ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนบ้าง จึงจะเห็นได้ว่า รถนักเรียนทุกจังหวัด มีทั้งนักเรียนและผู้ที่มิใช่นักเรียน

ถ้าจะพิจารณาอย่างเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการรถโดยสาร จะเห็นได้ว่า รถโดยสารประจำทาง จะมีกฏหมายตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก กำหนดให้วิ่งรถรับส่งผู้โดยสารตามเส้นทางที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น จะวิ่งเกินกว่าเส้นทาง หรือไม่ครบเส้นทาง ที่ได้รับอนุญาตไม่ได้  ค่าโดยสารก็ถูกกำหนดควบคุมโดยคณะกรรมการของจังหวัด  รถเหล่านี้เป็นรถที่ถูกต้องตามกฏหมายและต้องถูกบังคับโดยผลของกฏหมาย จึงไม่สามารถนำรถไปรับผู้โดยสารจากหน้าบ้านไปสิ่งหน้าโรงเรียนแบบรถนักเรียนเหล่านี้ได้

ถ้าจะพิจารณาในแง่ของกฏหมายหมาชนแล้ว ซึ่งเป็นความคิดเห็นส่วนตัว ดังนี้

1.ระเบียบนี้น่าจะขัดต่อกฏหมาย เพราะรถที่ใช้ขนส่งเพื่อสินจ้าง ต้องจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก  แต่รถนักเรียนจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยนต์ นำไปรับจ้างได้ ถ้าเป็นแบบนี้ได้ รถยนต์ส่วนตัวในกรุงเทพ ก็นำไปวิ่งรับจ้างแบบรถแท็กซี่ได้

2.ในข้อ 7 ใช้คำว่า "เว้นแต่ผู้ควบคุมดูแลนักเรียนหรือผู้ปกครอง" เป็นการบัญญัติกฏหมายที่กำกวม ทำให้เกิดช่องว่างของกหมาย สมควรที่จะตัดทิ้ง 

3.กิจการขนส่งผู้โดยสารเป็นกิจการด้านสาธารณูปโภคที่รัฐใช้อำนาจนิติรัฐ เข้ามาควบคุมเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบและระบบ ในเมื่อรัฐได้กำหนด พ.ร.บ.การขนส่งทางบกมาแล้ว ซึ่งเป็นการจำกัดและรอนสิทธิบางประการของผู้ประกอบการขนส่งและเจ้าของรถโดยสาร  ตามหลักนิติรัฐ กรมการขนส่งทางบกก็ต้องให้ความเป็นธรรมและเสมอภาคแก่ผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางและเจ้าของรถด้วย กรมการขนส่งทางบกจะต้องรับรองและคุ้มครองสิทธิของผู้ประกอบการขนส่งและเจ้าของรถเหล่านั้นด้วย จึงจะเกิดความเสมอภาคและเป็นธรรมด้วยกันทั้งสองฝ่าย ระเบียบดังกล่าวเอื้อประโยชน์เฉพาะรถส่วนบุคคลที่นำมารับส่งนักเรียนและผู้ที่อ้างว่าเป็นผู้ปกครอง  แล้วกรมการขนส่งทางบกเยียวยาช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งและเจ้าของรถที่ถูกแย่งผู้โดยสารนั้นอย่างไร หรือปล่อยให้ผู้ประกอบการเหล่านั้น ต้องเลิกกิจการไปทีละราย ดังจะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการขนส่งรถหมวด 3 และหมวด 4 ในต่างจังหวัด ต่างคืนใบอนุญาตประกอบการขนส่งกันมากขึ้น ซึ่งกรมการขนส่งก็ไม่เคยทำการสอบถามหรือศึกษาวิจัยว่าเพราะเหตุใด และจะช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ยังเหลืออยู่ให้อยู่รอดได้อย่างไร

ที่กล่าวมาเป็นความคิดเห็นส่วนตัว อาจจะไม่ถูกใจหลายท่าน แต่ก็เป็นอีกมุมมองหนึ่ง ที่สะท้อนให้เห็นปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการแก้ไขปัญหาของรัฐ ซึ่งควรจะ win-win ทั้งสองฝ่าย มิใช่ฝ่ายเดียว  แต่จะอย่างไรก็ตาม ผมทราบมานานแล้วว่า ถึงระบบการขนส่งจะล่มสลาย หรือผู้ประกอบการขนส่งหมดเนื้อหมดตัว ตั้งแต่ท่านอธิบดีกรมการขนส่งทางบก ถึงนักการภารโรง ก็ยังได้เงินเดือนและมีสวัสดิการตามเดิม

ขอบคุณครับ

ฉัตรไชย ภู่อารีย์

ขออนุญาตครับ รถรับส่งนักเรียนจำเป็นต้องย้ายทะเบียนเข้ามายังจังหวัดที่รถวิ่งอยู่หรือเปล่าครับ และระหว่างรถที่ขออนุญาตกับรถที่ไม่ได้ขอการปรับคิดอัตรายังไง และถ้าเจ้าหน้าที่ขนส่งจับแล้วเลือกที่จะจับ(เลือกปฏิบัติแต่ละคน)มีความผิดอย่างไร รถที่บรรทุกเกินจำนวนมีความผิดอย่างไร

ฉัตรไชย ภู่อารีย์

ขออนุญาตตอบคุณ tttt

1. กรณีนำรถไปวิ่งรับส่งนักเรียนนอกพื้นที่ ที่จดทะเบียนรถ ทำไม่ได้ ครับ  การปฏิบัติที่ถูกต้องจะต้องย้ายไปจดทะเบียน ณ จังหวัดหรือในเขตที่ต้องการใช้เป็นรถรับส่งนักเรียน

2. โทษปรับไม่แน่ใจครับ เพราะในระเบียบเรื่องรถนักเรียนไม่มีกำหนดไว้ แต่จะค้นคว้ามาตอบในภายหลัง 

3. เจ้าหน้าที่ขนส่งส่วนใหญ่จะไม่เลือกปฏิบัติครับ แต่อาจจะเลือกตั้งข้อหาได้  เช่น ถ้าคุณนำรถที่จดทะเบียนเป็นรถส่วนบุคคลมารับส่งนักเรียน ซึ่งถือว่าเป็นความผิดต่อกฏหมาย 2 ฉบับ คือ ถ้าเลือกจับตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ต้องส่งให้ศาลปรับสถานเดียว ประมาณ 20,000 บาท รอลงอาญาผู้ขับรถและเจ้าของรถ 1 ปี-2ปี  แต่ถ้าจับตาม พ.ร.บ.รถยนต์ ปรับที่ขนส่ง 200 ก็ปรับได้ครับ (แบบนี้แหละรถเถื่อนถึงเต็มเมือง)

สวัสดีครับ

ฉัตรไชย ภู่อารีย์

ขอถามหน่อยครับใบอนุญาตรถรับ ส่งนักเรียนหมดอายุต้องไปต่อต้องนำหลักฐานอะไรไปด้วยครับ(คือว่านำเฉพาะใบที่หมดอายุไปต่อได้เปล่า)

อยากทราบว่า ถ้าเป็นรับรถส่งนักเรียน มากกว่า 20 คน ต้องจดทะเบียน รย. อะไรค๊ะ

รึว่าจดแบบไหมถึงจะถูกต้องค๊ะ

ตำแหน่งนายช่างตรวจสภาพรถมีเกษียรกันยายน 54 จำนวน 6 คนนะครับมีการเรียกบรรจุเพิ่มได้ไหมจากบัญชีที่ค้างอยู่ จะว่าขยายเวลาไม่ได้ก็ไม่ไช่ซะทีเดียว ครูก็ขยายตั้ง 3 เดือนเพราะตำแหน่งรออยู่อีก 3 เดือนข้งหน้า กรมราชทัณฑ์ , พัฒนาชมชน

ผมว่ามันควรมากกว่าให้ย้ายมากจากตำแหน่งอื่น ที่ไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อทางราชการเลย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบและเห็นควรอนุมัติ

เพ็ญพร สวาสดิพันธ์

ถูกใจในทุุกคำตอบ ได้ความรู้ดีมาก

1.ดิฉันอ่านพบว่ามีคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ อ.422/2553 พิพากษาว่าระเบียบนี้ไม่ชอบด้วยกฏหมาย ดังนั้นระเบียบนี้จะมีผลอย่างไรต่อไปคะ

2.ถ้ารถนักเรียนบรรทุกนักเรียนเกินกว่าที่ได้รับอนุญาต จะมีความผิดอย่างไร หรือไม่ ตามกฏหมายใดบ้างคะ

สวัสดีครับ

1.ผลตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด แดง อ.422/2553 มีผลทำให้ระเบียบนี้เป้นโมฆะ การจดทะเบียนรถนักเรียนที่ผ่านมาทั้งหมด ต้องยกเลิก เจ้าของรถไม่สามารถนำรถไปรับส่งนักเรียนได้ ถือเป็นความผิดตามกฎหมาย

เท่าที่ผมทราบ ขณะนี้กรมการขนส่งทางบก ได้พยายามจดทะเบียนรถนักเรียนให้ใหม่ โดยอาศัยอำนาจตาม มาตรา 21 พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งผมเห็นว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายอีก เพราะ รถรับส่งนักเรียนมีระเบียบของกรมการขนส่งทางบกอยู่แล้ว การที่จะให้รถที่จดทะเบียนรถยนต์ มาใช้รับจ้างรนับส่งนักเรียน ก็ต้องดำเนินการตามระเบียบมาด้วยรถนักเรียนเท่านั้น กรมการขนส่งทางบก จะดำเนินการตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก ก็ต้องถือว่า ผิดกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ

แต่เรื่องดังกล่าวมาทางออกครับ และสามารถทำได้ เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ผมได้เคยเสนอให้กรมการขนส่งทางบก จัดประชุมปัยหาเรื่องรถนักเรียน เพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหา แต่กรมการขนส่งทางบกเพิกเฉย ผมก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร

2. เมื่อการจดทะเบียนรถนักเรียนเป็นโมฆะ รถที่จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.รถยนตื คือรถป้ายดำ จะนำไปใช้รับส่งนักเรียนไม่ได้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท