เศรษฐกิจพอเพียง @ ในศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง


เศรษฐกิจพอเพียง @ ในศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง

การผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ  ศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง  หมู่ที่ 1 ตำบลหลุมเข้า อำเภอหนองขาหย่าง  จังหวัดอุทัยธานี

นางประภัสสร   โปริสบ้านเลขที่ 12/1 หมู่ที่ 1 ตำบลหลุมเข้า อำเภอหนองขาหย่าง  จังหวัดอุทัยธานี เกิดเดือน  สิงหาคม  พ.ศ. 2498 เบอร์โทร. 086-9252276   ปัจจุบันอายุ  53  ปี 

คติพจน์ในการดำรงชีวิตแบบพอพียง

พออยู่พอกิน  หนี้สินไม่มี   อยู่ดีมีสุข   ไร้ทุกโรคภัย  

ใช้จ่ายอย่างมีสติ  คิดอย่างมีปัญญา   นำพาความพอเพียง 

เริ่มทำการประกอบอาชีพ 

 โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง  เมื่อปี  พ.ศ. 2537

กิจกรรมในฟาร์ม               

 1.  นาข้าว   45  ไร่               

 2.  น้อยหน่า    0.5  ไร่               

 3.  ผักต่าง ๆ   0.5  ไร่

การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่เป็นการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้โดยการทำใช้เองซึ่งการใช้ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพยังเป็นการฟื้นฟูสภาพของดินให้ร่วนซุยเหมาะกับการปลูกพืช  ลดการสูญเสียของหน้าดินจากการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน  และยังเป็นการสนับสนุนนโยบายของทางราชการ ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย หวังว่าเอกสารวิชาการเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจในการที่จะนำไปเป็นคู่มือสำหรับการทำปุ๋ยน้ำหมักใช้เอง

การผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ เร่งต้นเร่งดอก

 การผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพเป็นการนำวัสดุต่าง ๆ เช่น เศษวัสดุเหลือใช้   ต้นพืช  ผลผลิตพืช  หอยเชอรี่  ซึ่งวัสดุเหล่านี้สามารถหาได้ในพื้นที่อยู่แล้ว  มาหมักจนกลายเป็นปุ๋ย  และใช้เป็นอาหารของพืช  ซึ่งในกระบวนการหมักไม่ยุ่งยาก  โดยในที่นี้ จะเป็นการสอนการผลิตปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ สำหรับการเร่งลำต้นเร่งดอก 

วัสดุอุปกรณ์                               

1.ถังหมักพลาสติก   ขนาด  200  ลิตร  จำนวน  1  ถัง                               

2.หน่อกล้วย                             จำนวน   1  หน่อ                               

3.กากน้ำตาล                            จำนวน   1  กิโลกรัม                               

4.หัวเชื้อจุลินทรีย์                    จำนวน   1  ลิตร                               

 5.ยอดผักต่าง ๆ                        จำนวน   1  กิโลกรัม                               

6.ผลไม้สุก  ต่าง ๆ                     จำนวน   1  กิโลกรัม                               

 7. น้ำสะอาด                             จำนวน   -   ลิตร 

วิธีการทำ               

1.  เก็บยอดผักต่าง ๆ เช่น ผักบุ้ง  ตำลึง  ให้เก็บในช่วงก่อนที่พระอาทิตย์ขึ้น เพราะธาตุอาหารของพืชเมื่อได้รับแสงแดดจะเปลี่ยนสภาพ ถ้านำมาหมักแล้วจะไม่ได้สารอาหารที่เราต้องการ

2.  นำหน่อกล้วยมาหั่นและสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำไปลงถังหมัก 

3.  ใส่หัวเชื้อจุลินทรีย์ กากน้ำตาลและน้ำคนให้ส่วนผสมเข้ากัน

4.  หมักทิ้งไว้  30  วันโดยเก็บถังไว้ในที่ร่มไม่ให้โดนแสงแดด

วิธีการใช้

1.  นำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพที่ทำขึ้นมา  2  ช้อนแกง  ผสมน้ำสะอาด  ได้  20  ลิตร

2.  นำไปฉีดพ่นในแปลงข้าว  พืชผัก  ไม้ผล  พืชไร่ ต่าง ๆ เพื่อเป็นการเร่งให้ลำต้นแข็งแรง  เร่งการสร้างดอกให้สมบูรณ์  ซึ่งจะทำให้ติดผลได้มากขึ้น  ทำให้ขั้วเหนียวไม่หลุดล่วงได้ง่าย

3.  ควรพ่นปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ ในช่วงเวลาเช้า เพราะปากใบของพืชจะเปิดรับอาหารได้

วิธีการเก็บรักษา

1.  การเก็บรักษาควรเก็บไว้ในที่เย็น ไม่โดนแสงแดด 

2.  เมื่อเก็บไว้ประมาณ  3  เดือน ให้เติมน้ำมะพร้าว  เพื่อเป็นการเติมสารอาหารให้กับจุลินทรีย์ ซึงจะเป็นการรักษาปริมาณความหนาแน่นของจุลินทรีย์

3.  ไม่ควรเก็บน้ำหมักชีภาพนี้ไว้นานเกิน   6   เดือน  เพราะจุลินทรีย์ไม่มีอาหารกินก็จะตายในที่สุด  

วิเชียร

โดย....สะแกกรัง

หมายเลขบันทึก: 147574เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2007 11:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท