สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน


เปลี่ยนสินทรัพย์เป็นทุนทางสังคม

ผมเคยเขียนบทความลงในมติชนรายวันหัวข้อ "แปลงสินทรัพย์เป็นทุนหรือหนี้สิน" ด้วยความรู้งูๆปลาๆเพราะไม่ได้เรียนมาทางด้านนี้ แต่ใช้ความเข้าใจสมการทางคณิศาสตร์อธิบายว่า สินทรัพย์จะเปลี่ยนเป็นทุนเมื่อทำให้เป็น รายรับ แต่จะกลายเป็นหนี้สิน เมื่อทำให้เป็น รายจ่าย
ในการทำงานเกี่ยวข้องกับองค์กรการเงินชุมชน ผมมักได้ยินคำว่า"หมุนหนี้" บ่อย เพราะการเติมเงินลงไปในชุมชน         ก็เหมือนกับการให้ตุ่มน้ำ เมื่อมีหลายใบ ทั้งเงินมิยาซาว่าหมู่บ้านละ 1 แสนบาท เงินแก้ไขปัญหาความยากจนหมู่บ้านละ 2.8 แสนบาท เงินกิจกรรมจากโครงการปกติที่ผันเป็นกองทุนหมุนเวียน  รวมทั้งตุ่มน้ำที่ชาวบ้านสร้างขึ้นเอง เช่น กลุ่มออมทรัพย์ และตุ่มนอกหมู่บ้านเช่น ธกส. เป็นต้น
ชาวบ้านย่อมยักย้ายถ่ายเทน้ำจากตุ่มนี้ไปตุ่มโน้นเป็นธรมดา เพราะไม่สามารถทำให้สินทรัพย์แปรเปลี่ยนเป็นรายได้มากกว่ารายจ่ายที่เกิดขึ้นได้ ทางแก้คือ ต้องเพิ่มตุ่มน้ำลงไปเพื่อให้เกิดการหมุนเวียนต่อไป เพราะการเล่นเกมนี้ สุดท้ายแล้วน้ำจะรั่วไหลหรือถ่ายเทไปยังคนกลุ่มหนึ่ง ถ้าแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ได้ ก็ต้องผันเงินลงไป คราวนี้จะผันเงินSMLเพื่อให้เกิดสินทรัพย์สาธารณะที่เป็นรายจ่าย ไม่ให้เกิดภาระหนี้สินส่วนบุคคลขึ้น โดยคาดหวังเช่นเดียวกับนโยบายกองทุนหมู่บ้านว่า จะเป็นกระบวนการเรียนรู้การหมุนหนี้เพื่อลดรายจ่าย สร้างสินทรัพย์ให้เป็นทุนทั้งส่วนบุคคลและชุมชน (ทุนวัฒนธรรมการรวมกลุ่ม ทุนความรู้)เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่ดี แต่การนำแนวคิดที่ดีสู่ภาคปฏิบัติไม่ใช่เรื่องง่าย
อ.ไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์ ได้สรุปกระบวนการไหลเวียนของเงินในเขตชุมชนเมืองและชนบทอย่างน่าสนใจและน่าทึ่ง
ผู้สนใจสามารถ downlode power point ที่อ.ฝากให้ผมได้ในข้อคิดเห็นในหัวข้อที่แล้ว

ต้องขอบคุณอาจารย์มากครับ

ประเด็นที่ผมกำลังดำเนินการคือ สนับสนุนให้ชุมชนใช้การจัดการความรู้เพื่อทำให้สินทรัพย์ของกลุ่มเปลี่ยนเป็นทุนขององค์กรและของสมาชิกโดยความหมายอย่างกว้างที่อ.ไอศูรย์สรุปไว้ด้วยคือ นอกจากเป็นทุนเงินตราแล้ว ยังเป็นทุนทางสังคม/วัฒนธรรม และทุนความรู้ด้วย ซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก
หวังว่าจะได้รับข้อแนะนำจากอาจารย์เพิ่มเติมครับ

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1474เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2005 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์

4-5 วันมานี้ ติดภารกิจหลายอย่าง และต้องรับแขกที่มาเยือนในช่วง Long Weekend เพิ่งจะมีโอกาสเข้ามาอ่าน Blog ของ อ.ภีม

ขอบคุณมากครับที่ช่วยกันต่อยอดความคิดจากมุมมองและประสบการณ์ ผมเอาใจช่วยและยินดีเป็นกำลังให้ อ.ภีม ซึ่งกำลังทำเรื่อง องค์กรการเงินชุมชน ขอเวลาสัก 3-4 วัน ผมจะค่อย ๆ อธิบาย PowerPoint ที่ อ.ภีม กล่าวถึงลงใน Blog เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันครับ.

มีชาวกศน.ชุมพรคุยผ่านBlogประชาคมวลัยลักษณ์เรื่องการจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชน ถ้าได้กำลังของอาจารย์ไอศูรย์ช่วยน่าจะก่อรูปเครือข่ายที่ชุมพรได้

ห้องเรียนของชุมชนคือกลุ่ม วิชาที่เรียนคือการจัดการกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ เข้มแข็ง อาจารย์ชำนาญเรื่องการเงิน ผมอยากชวนอาจารย์ช่วยสอน(สนับสนุนการจัดการความรู้)ให้กลุ่มการเงินที่ชุมพรเป็นวิทยาทานด้วยครับ

ผมเห็นว่าชาวกศน.สามารถทำหน้าที่คุณอำนวยได้เป็นอย่างดีครับ

ภีม

 

ไอศูรย์ ภาษยะวรรณ์

อ.ภีม...ครับ

ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้เจอกันเมื่อวันอังคารที่ ม.ราชภัฏ สุราษฎร์ฯ เกรงใจท่านอาจารย์ผู้จัดมากเพราะเมื่อคราวที่คณะของ ม.ราชภัฏ มาประชุมเรื่องยุทธศาสตร์การวิจัยที่ จ.ชุมพร ท่านอุตส่าห์ฝากหนังสือและย้ำเตือนให้ผมไปร่วมให้ได้ ตั้งใจไว้อย่างดิบดีแต่พอถึงเวลาก็ทิ้ง Class ไม่ลงจริง ๆ ครับ กำลังเข้มช้น และต่อเนื่องอยู่พอดี

ผมได้โทรกลับไปที่เบอร์ซึ่งไม่ได้รับสาย พอได้ยินเสียงระบบตอบรับของ ม.วลัยลักษณ์ ก็คาดว่าจะเป็นสายของ อ.ภีม พอดีเวลาช่วงเบรคค่อนข้างจำกัดอยู่สักหน่อยไว้ติดต่อกันอีกครั้งหนึ่งนะครับ.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท