ประสบการณ์คุณอำนวย


การจัดการความรู้จะนำสู่การปฏิบัติ "ประสบการณ์คุณอำนวยปี47"

เรื่องเล่า......เมื่อวันวาน

  การจัดการความรู้จะนำสู่การปฏิบัติ .....ในองค์กรของคุณได้อย่างไร

 ประสบการณ์จากคุณอำนวย..... โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรฯ

      เป็นที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันสังคมโลกได้มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและแข่งขันกันอย่างรุนแรง  การเรียนรู้ให้ทันต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อการอยู่รอด  ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์กร จำเป็นต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบให้สามารถหยิบใช้และต่อยอดให้สามารถสร้างนวัตกรรมและสร้างการเรียนรู้ใหม่ได้อย่างต่อเนื่องจากการที่ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการจัดการความรู้กับสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) และสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ประมาณ 5  เดือน บทบาทที่ได้รับในการร่วมโครงการในครั้งนี้เป็นบทบาท คุณอำนวย หรือ ผู้อำนวยความสะดวกในการจัดการความรู้ (Knowledge  Facilitator)  ในโรงพยาบาล      ทั้งนี้เนื่องจากโดยส่วนตัวแล้วมีความสนใจในเรื่องการการจัดการความรู้  (Knowledge  management) อยู่เป็นทุนเดิม บ้างแล้ว    และยอมรับว่าการอ่านแต่ส่วนทฤษฎีนั้นเป็นสิ่งที่เข้าใจยากเพราะเป็นเรื่องนามธรรมค่อนข้างมาก จากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมของโครงการได้ประมาณ 3 ครั้ง ( ก.ค.-พ.ย. 47)  มีความรู้สึกว่าได้สัมผัสบรรยากาศแบบกัลยาณมิตรจากโครงการการจัดการความรู้ ที่เต็มไปด้วยพลังอันเป็นแรงกระตุ้นให้อยากจะนำไปใช้  (Implement) ในองค์กร     โดยมี ศ.นพ.วิจารณ์  พานิช และ ดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด   ซึ่งถือได้ว่าเป็น ผู้รู้ (Guru) ที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการจัดการความรู้ และนำไปสู่การประยุกต์ปฏิบัติ อย่างที่ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( Share & Learn )  ที่ผู้เข้าร่วมโครงการจะเห็นปรากฏการณ์ของความวุ่นวาย ( Chaos) เกิดขึ้นซึ่งเป็นการบริหารสมองไปในตัว   ทำให้คิดได้ถึงวิธีการใหม่ๆ     นอกจากนั้นในทุกๆครั้งก็ยังมีการเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ  มาจากทุกสารทิศให้มาร่วมให้ความรู้อีกด้วย    (น่าประทับใจจริงๆ)เมื่อกลับมาที่โรงพยาบาลก็ตัดสินใจด้วย  ความเชื่อ ( Beliefs) ว่า  KM เป็นเครื่องมือตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพ   จึงได้นำมา Implement   ถือว่าเป็นขั้นตอนของการนำความรู้มาสู่การปฏิบัติคือเป็นการเปลี่ยน Knowledge มาเป็นการกระทำ ( Doing ) ในโรงพยาบาลค่ายฯ    โดยมองการจัดการความรู้ว่าเป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพงานให้มีประสิทธิภาพ    ซึ่งรพ.ค่ายฯ ก็อยู่ในระหว่างการพัฒนาคุณภาพ ( HA)    ปัญหาในการทำการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในขณะนี้คือ    การดำเนินงานของทีม PCTในเรื่องการทบทวนการดูแลผู้ป่วย C3THER   คำถามก่อนนำสู่การปฏิบัติ  สำหรับตัวผู้เขียน คือ จะใช้การจัดการความรู้ในการพัฒนาดูแลผู้ป่วย ด้วยC3THER ได้หรือไม่    แล้ววิธีการ  ( How to )  ล่ะ จะทำอย่างไร?       ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งท้าทายในการนำหลักการมาสู่การปฏิบัติในองค์กรในครั้งนี้การนำ KM มาใช้ในการทบทวนการดูแลผู้ป่วยด้วย C3THER      เป็นสิ่งที่ได้มาจากการวิเคราะห์หาจุดอ่อนในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล    พบว่าการทำงานของทีม PCT  ยังขาดประสิทธิภาพเนื่องจากเปลี่ยนทีมผู้ทำงานบ่อย  เพื่อลดจุดอ่อน  เพิ่มจุดแข็ง และให้ได้เห็นผลลัพธ์ของทีม PCT ที่ชัดเจน      จึงได้ประสานกับประธาน PCT (คนใหม่  ไฟแรง)      โดยเสนอว่าสนใจที่จะนำ KM ลงในการพัฒนาทีม PCT ไหม!      ซึ่งได้รับคำตอบว่า สนใจ    จึงได้เขียนโครงการการพัฒนาการจัดการความรู้ในการทบทวนดูแลผู้ป่วยด้วย C3THER     ซึ่งผู้บริหารได้อนุมัติโครงการ     จึงได้รีบดำเนินโครงการ     สำหรับปัญหาก่อนดำเนินโครงการพบว่า   1) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( ระหว่างบุคคล  หอผู้ป่วย ) ในองค์กรน้อย    2) ความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพน้อย  3) เอกสารการพัฒนาคุณภาพซ้ำซ้อนทำเรื่องเดียวกัน    4) ไม่มีบรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  5) มีปัญหาเรื่องการประสานงานของบุคลากร    ช่วงการดำเนินการของโครงการจะเน้น การทำงานเป็นทีม การ Coaching  และจะสร้างคุณอำนวย ( Knowledge FA ) ไว้ประจำทุกหน่วยงาน (ซึ่ง จะเป็น FA เดิมของการพัฒนาคุณภาพ HA )     จากการดำเนินโครงกามาระยะหนึ่ง ได้มีการประเมินผล   พบว่า 1) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ การใช้แนวปฏิบัติที่ดี (Good  Practice) ในการดูแลผู้ป่วยมากขึ้น 2 ) ความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ ชัดเจนขึ้น  3) การจัดหมวดหมู่เอกสาร การจัดเก็บความรู้ เพื่อให้ค้นหา  สามารถนำไปใช้ได้ง่าย  4) มีบรรยากาศ  ไว้วางใจกันในบุคลากร กล้าพูด กล้าแสดงคิดเห็นมากขึ้น  5)  การประสานงานของบุคลากรสะดวก ชัดเจนขึ้น 6) ผู้ป่วยได้รับการดูแลตามมาตรฐานวิชาชีพและพึงพอใจ

KFC  IS  MY CONCEPT OF KNOWLEDGE FACILITATOR 

หลักการ  NATO ( No Action  Talk  Only ) ที่อาจารย์ประพนธ์ กล่าวไว้เป็นสิ่งเตือนใจไว้เสมอว่าต้องไม่แค่พูด แต่รีบทำเพื่อให้เห็น Outcome ในองค์กร     การลองผิดลองถูกเป็นสิ่งที่ควบคู่ไปกับการเรียนรู้    Concept  KFC  จึงเกิดขึ้นในใจคุณอำนวยรพ.ค่ายฯ    ก่อนและหลังการทำโครงการ KM   ขอสรุปองค์ประกอบ KFC  ของการเป็นคุณผู้อำนวยความสะดวกในจัดการความรู้ (Knowledge  Facilitator)  ของโรงพยาบาล     ( ที่ไม่ใช่สูตรตายตัว เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ได้ตลอดเวลา ) ขอนำมา Share กัน  เพื่อนำมาแนวทางในการทำงาน โดย K หมายถึง องค์ความรู้ ( knowledge ) คือ คุณอำนวยต้องค้นคว้าหาความรู้ในเรื่องการจัดการความรู้   ด้านการจัดการเกี่ยวกับคน  (Manage  People)    ด้านการจัดการสารสนเทศ  (Manage Information)    F  หมายถึง การประสานงาน (Facilitate )  ซึ่ง  Core competency  อันประกอบด้วย ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational Leadership )  การบริหารความขัดแย้ง ( Negotiating skill) การทำกิจกรรมกลุ่มสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือการแสดงความคิดเห็นจะมีความแตกต่างกันไป  ควรแก้ไขให้เป็นลักษณะ Win - Win  ซึ่งจะทำให้บุคลากรทำงานอย่างมีความสุข    การบริหารเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้มีประสิทธิภาพ     สุดท้ายที่สำคัญมากสำหรับตัวเองคือ  ต้องกล้าเสี่ยง (Risk Taker) เพราะ  KM เป็นเรื่องใหม่ที่คนในองค์กรไม่รู้จัก  ทำอย่างไรให้คนในองค์กรยอมรับ กลยุทธ์คงไม่ตายตัว   สุดท้าย ตัวสุดท้ายตัว C หมายถึง Communication การสื่อสารซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก   ซึ่งในการดำเนินการในครั้งนี้ได้ใช้การสื่อสารทุกรูปแบบ การประชุม  การจัดบอร์ดสื่อสารความรู้  การออกหนังสือเวียน การโทรศัพท์  การใช้Intranet   การจัดเวทีเสนอผลงานคุณภาพเห็นจะดูมีพลังที่สุดเพราะจะเกิดการ    Share& Learn  ความรู้ฝังลึกในคน (Tacit Knowledge ) ได้พรั่งพรูออกมาเล่าจากประสบการณ์การทำงานจริง      รวมทั้งจะมี Document มานำเสนอ  ก็ขอเรียกว่าเป็น Explicit Knowledge   เมื่อมีการนำไปลองปฏิบัติและปรับปรุงในการทำงานของแต่ละหน่วยงานก็จะเกิดการยกระดับความรู้  (Knowledge  Leverage)  ขึ้นในองค์กร   สุดท้ายก็จะเกิดความรู้ใหม่  หรือเกิดนวัตกรรมคุณภาพ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร และเกิดความยั่งยืนต่อไป สุดท้าย..... การจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นในองค์กร  เป็นกระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในองค์กร  ซึ่ง คน  เป็นปัจจัยในความสำเร็จที่ก่อให้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ( Learning Organization) ซึ่งกระบวนการจัดการความรู้นั้นมีทฤษฎีที่หลากหลาย สามารถนำมาประยุกต์ใช้    สำหรับผู้เขียนได้ใช้มุมมองของกระบวนการการจัดการความรู้ของ Marquardt (1996)  คือ  1) การแสวงหาความรู้ (Knowledge Acquisition)  2)  การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Creation)  3) การจัดเก็บข้อมูลและสืบความรู้  (Knowledge Storage and Retrieval)   4)การถ่ายโอนความรู้และการใช้ประโยชน์ (Transfer Utilization) ร่วมกับโมเดลปลาทูของดร.ประพนธ์  ผาสุขยืด  ( KM  =  KV+KS+KA)   ร่วมกับการคิดนอกกรอบในบางครั้ง      ซึ่งตัวเองได้นำมาเป็นทิศทาง  เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบท (Context) ของตนเองมากที่สุด     สิ่งที่จะบอกถึงความสำเร็จของคุณอำนวย ณ ขณะนี้คงไม่ได้อยู่ที่ผลลัพธ์ที่ต้องเป็นในทางบวกเสมอไป   แต่อยู่ที่การได้นำไปใช้ปฏิบัติในการทำงานจริงในองค์กรแล้วติดตามผลลัพธ์     เพื่อนำมา Share & Learn ในบริบทต่างๆกัน  ของโรงพยาบาลภาคเหนือตอนล่าง 17 โรงพยาบาล   และนำข้อมูลที่ได้มา วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อสร้าง  Core Competency  ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะกับองค์กรสุขภาพของเรา( คนไทย) มากที่สุด   ก็จะเข้าสู่ Process KM โดยไม่รู้ตัว ..วัน เวลาไม่เคยรอใคร  แต่ KM รอคุณอำนวย(ตัดสินใจ) นะค่ะ! ไม่ทำไม่รู้...จาก. คุณอำนวยโรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

                            E-mail moleudee17@ hotmail.com

หมายเลขบันทึก: 147297เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2007 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาให้กำลังใจ
  • อยากเห็น KM ที่เป็นบริบทของคนไทย
  • ไม่ใช่แบบฝรั่งจ๋าครับ
  • ทุกอย่างที่เราเรียนศึกษามาคงต้องนำมาปรับให้เข้ากับบ้านเราครับ
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณที่ให้คำแนะนำค่ะ ว่างๆจะเล่าประสบการณ์ที่ทำในรพ.แลกเปลี่ยนค่ะ         

                                        จานแดง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท