ข้อเสนอเชิงระบบและการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช(6)


ทุกส่วนงานต้องแข่งขันกันทำหน้าที่ของตนเองอย่างจริงจัง ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นทีม เรียนรู้จากกันระหว่างทีมงานต่างหมู่บ้าน/ตำบล/อำเภอและโซนเพื่อผลลัพท์ร่วมกันในระดับจังหวัดที่เป็นผลงานร่วมกันของทุกคนและทุกส่วนงาน
แนวทางใหม่ที่รัฐบาลกำลังขมวดให้งบประมาณถูกใช้เพื่อท้องถิ่น/ชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดคือ

1)การให้ความสำคัญกับที่มาของโครงการพัฒนา ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมามีความรู้พอที่จะฟันธงได้แล้วว่า ต้องผ่านกระบวนการจัดทำบัญชีรับจ่าย เพื่อนำสู่การประเมินศักยภาพรายครัวเรือน รวบรวมวิเคราะห์ภาพรวมเป็นศักยภาพของชุมชนระดับหมู่บ้าน/ตำบล นำสู่การวางแผนพัฒนาด้วยการจัดทำโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่ซึ่งเน้นการพึ่งตนเอง พึ่งพากันภายในมากกว่าการพึ่งพิงภายนอก ที่เรียกว่า กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง

2)การเชื่อมโยงแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองเข้ากับแผนพัฒนาตำบลของอบต.และประสานกับแผนสนับสนุนของอบจ.

3)การเสริมกำลังด้วยโครงการ/กิจกรรมที่มาจากกรมต่างๆผ่านหน่วยงานปฏิบัติในพื้นที่อย่างบูรณาการ 

งบตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขต้องการเข้ามาสร้างเงื่อนไขการพัฒนา รวมทั้งขจัดเงื่อนไข   ที่เป็นอุปสรรคโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกลไกดำเนินการในส่วนของภาครัฐ รวมทั้งการเข้ามาเป็นเจ้าภาพดำเนินกิจกรรมด้วยตนเองของชุมชน ด้วยการุท่มเงินจำนวน90%จาก10,000ล้านบาทเพื่อเสริมแรงของชุมชนตามระดับการพัฒนาโดยตรง  อีก10%จัดสรรเพื่ออำนวยการ จัดกระบวนการเรียนรู้ และติดตามประเมินผลอย่างบูรณาการ ในระดับจังหวัดตามชื่อยุทธศาสตร์ คือ

จังหวัดอยู่ดีมีสุขนั้นเป็นอย่างไร สัมฤทธ์ผลแค่ไหน อย่างไร?

ในกรณีของจังหวัดนครศรีธรรมราช โชคดีที่เรามีผู้นำที่มีบารมีซึ่งเป็นต้นแบบของการเคลื่อนงาน ดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องคือ

1)น้าประยงค์ รณรงค์และชุมชนไม้เรียง ถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ กระบวนการแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองอย่างเต็มภาคภูมิ

2)ผู้ว่าราชการจังหวัด นายวิชม ทองสงค์ ถือเป็นต้นแบบของการขับเคลื่อนงานจัดการความรู้เพื่อบูรณาการหน่วยงานภาครัฐ ภาคีวิชาการ ภาคชุมชนและประชาสังคมให้ร่วมแรงร่วมใจกันขับเคลื่อนงานตามโครงการชุมชนอินทรีย์อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ซึ่งเป็นที่มาของยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข เราจึงรวมยุทธศาสตร์ทั้งสองเป็น ชุมชนอินทรีย์อยู่ดีมีสุข

ในปี2551นี้ ถือเป็นปีที่ความคิดและประสบการณ์ในการเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชมีความสุกงอมอย่างเต็มที่ ด้วยแรงเสริมจากยุทธศาสตร์สังคม          ไม่ทอดทิ้งกัน  โครงการของกรมตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการความร่วมมือฯ และกรอบกิจกรรมตามยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขซึ่งถือเป็นเครื่องมือ/กลไกกลางที่จะขับเคลื่อนงานดังกล่าวให้รุดหน้าไปอย่างเป็นรูปธรรมทั่วทั้งจังหวัด

กลไกกลางที่พวกเราร่วมคิด คือ กลไกคุณเอื้อจังหวัด และคุณอำนวยจังหวัดนั้น จำต้องมีกลไกระดับอำเภอ ตำบลและหมู่บ้านที่เข้ามาขยายผลการทำงานให้ทั่วถึง

ข้อเสนอที่ผมคิดไว้มีดังนี้

1)คุณอำนวยอำเภอ มีนายอำเภอเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอ ภาคชุมชน และประชาสังคมร่วมเป็นคณะทำงาน ถือเป็นคณะที่มีความสำคัญมากเพราะจะเป็นหน่วยจัดการงบประมาณเพื่อสื่อสารสร้างความเข้าใจ และสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับคณะคุณอำนวยตำบลที่จะเข้าไปสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ทีมงานเสนอให้จัดสรรงบลงอำเภอโดยอิงจำนวนหมู่บ้านในแต่ละอำเภอ โดยหน่วยงาน องค์กรจากภาคส่วนต่างๆร่วมกันผิดชอบในฐานะเลขานุการของทีมงานระดับอำเภอ ตัวเลขที่เป็นตุ๊กตา หมู่บ้านละ12,000บาท คือ

ปกครองรับไป 3 อำเภอ

พัฒนาชุมชน 3 อำเภอ

เกษตร 3 อำเภอ

กศน. 3 อำเภอ

สาธารณสุข 3 อำเภอ

ท้องถิ่นกับพมจ. 4 อำเภอ

ชุมชนกับประชาสังคม 4 อำเภอ

2)คุณเอื้อตำบล นายอำเภอแต่งตั้งนายกอบต.และกำนันทุกตำบลร่วมเป็นคณะคุณเอื้อตำบลในระดับอำเภอ ปลัดปกครองและท้องถิ่นเป็นกรรมการ โดยมีนายอำเภอเป็นประธานอีกคณะหนึ่ง

3)คุณอำนวยตำบลคือ ผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ที่มาจากภาคส่วนต่างๆทั้ง 9 ภาคีตำบลละ 9 คน ทำหน้าที่เสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับหมู่บ้าน/ตำบลผ่านคณะผู้นำหมู่บ้านๆละ8คนซึ่งเป็นคุณกิจแกนนำ แบ่งกำลังคนกันลงไปจัดวงเรียนรู้ร่วมกับคณะผู้นำ8คน ผู้นำกลุ่มองค์กรต่างๆ สมาชิกในองค์กรและชาวบ้านในหมู่บ้าน เลือกแกนนำหมู่บ้านจากคณะผุ้นำ8คนมาจัดวงเรียนรู้ระดับตำบลและระหว่างตำบลจนสรุปเป็นวงเรียนรู้ระดับอำเภอ โดยที่กระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดมาจากการออกแบบจัดการของคณะคุณอำนวยอำเภอตามกรอบงบประมาณที่จัดสรรให้

3)คณะคุณอำนวยอำเภอ คุณอำนวยตำบล และคุณกิจแกนนำจำนวนหนึ่งจะเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่มโซน โดยมีคุณอำนวยจังหวัดจัดทีมลงไปสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ และจัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานในระดับจังหวัด

ทุกหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ จะมีประเด็นเรียนรู้ที่สอดคล้องเชื่อมโยงกันเป็นลำดับคือ การเรียนรู้(ที่มาจากการปฏิบัติ)ในเรื่องดังกล่าวต่อไปนี้
1)การจัดทำฐานข้อมูลคณะผู้นำที่เข้าร่วมกระบวนการทั้งหมด รวมทั้งข้อมูลคุณอำนวยตำบล และคุณอำนวยอำเภอ โดยร่วมกันให้นิยามคณะผู้นำที่มีคุณภาพว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง? คุณอำนวยตำบลที่มีคุณภาพว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง? คุณอำนวยอำเภอที่มีคุณภาพว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง?
ทำตารางอิสรภาพ ประเมินตนเองและเป้าหมายที่ต้องการพัฒนาเพื่อยกระดับตนเองและกระบวนการสืบทอดผู้นำรุ่นใหม่ ร่วมเรียนรู้ทำกิจกรรมตลอดกระบวนการจนสิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน 2551 จากนั้นสรุปประเมินผลตนเอง ทุกคน ทุกระดับ
2)บัญชีครัวเรือน การวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินศักยภาพรายครัวเรือน

3)ข้อมูล การวิเคราะห์และประเมินศักยภาพรายหมู่บ้าน/ตำบล/อำเภอ

4)การจัดทำแผนแม่บทหมู่บ้าน/ตำบลที่มาจากฐานข้อมูล การวิเคราะห์อย่างมีคุณภาพและสรุปภาพรวมในระดับอำเภอ

5)เรียนรู้เรื่องแผนพัฒนาของอบต. แผนพัฒนา/โครงการของหน่วยงานต่างๆตามโครงสร้างหน้าที่ในระดับหมู่บ้านตำบล และโครงการจากส่วนงานอื่นๆที่เข้ามาในหมู่บ้าน/ตำบล ให้ข้อมูลสร้างความเข้าใจกับชาวบ้าน หารือการทำงานในกลุ่มแกนนำที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สอดคล้องเสริมหนุนกัน

6) การสนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ความหมายศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง การบันทึกข้อมูล จำนวน กิจกรรมของศูนย์เรียนรู้และผลจากการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ตลอดทั้งโครงการ

7)บูรณาการองค์กรการเงินเพื่อสวัสดิการชุมชนและส่งเสริมพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน

ศึกษาอย่างมีส่วนร่วม ข้อมูลจำนวนกลุ่ม สมาชิก กิจกรรม การบูรณาการระดับหมู่บ้าน/ตำบล    ผลจากการดำเนินงาน

ระบบสวัสดิการชุมชนมีรูปแบบการจัดการอย่างไรบ้าง ผลเป็นอย่างไร? เป็นต้น

7)มาตรฐานสุขภาพชุมชน เรียนรู้ให้นิยามตามกรอบของสาธารณสุข เสริมเติมแต่งโดยชุมชน จัดทำข้อมูล ติดตามกิจกรรม และประเมินผลแบบมีส่วนร่วม

8)มาตรฐานชุมชน ผู้นำอยู่ในข้อ1 กลุ่มอยู่ในข้อ5และ6บางส่วน เครือข่ายอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ระดับตำบล/อำเภอ

มาตรฐานชุมชนเป็นการประเมินโดยกรอบของพช.และสรุปเข้ามาในกรอบชุมชนอินทรีย์คือ                 นำองค์ประกอบ5ประการมาพิจารณาคือ คณะผู้นำที่มีคุณภาพและมีการสืบทอด แผนแม่บทชุมชนที่มีคุณภาพ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงที่มีประสิทธิภาพ บูรณการองค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชน มาตรฐานสุขภาวะและมาตรฐานชุมชนตามกรอบของพช. ประเมินร่วมกันกับชาวบ้าน คณะผู้นำ คุณอำนวย โดยพิจารณาประเด็นอื่นๆประกอบ ให้ความหมายของคำว่าชุมชนอินทรีย์และชุมชนอยู่ดีมีสุข จัดระดับหมู่บ้าน/ตำบลเป็น A B C และสรุปภาพรวมในระดับอำเภอ

 กระบวนการต่างๆถือเป็นการพัฒนาชุมชนตามแนวทางชุมชนเป็นแกนกลาง ทุกคนตั้งแต่คุณอำนวยอำเภอ คุณอำนวยตำบลและคุณกิจแกนนำ8คนจะผ่านการเรียนรู้ตามบทบาทหน้าที่ที่อาจจะมีความชำนาญ เชี่ยวชาญกันคนละเรื่อง เป็นการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานเพื่อผลลัพท์ตามเป้าหมายคือ ชุมชนอินทรีย์อยู่ดีมีสุข และยกระดับการพัฒนาตนเอง การทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานอย่างขนานใหญ่9)สุดท้ายคือ การติดตามประเมินผล จะใช้การประเมินผลภายในอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมกระบวนการเรียนรู้ แทนการประเมินผลปลายปีเพื่อชี้วัดตัดสินเพียงอย่างเดียว ทีมวิชาการน่าจะร่วมกันทำแบบฟอร์มข้อมูล โปรแกรมภาพรวมการพัฒนา แผนที่ศักยภาพระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอและสรุปเป็นภาพรวมทั้งจังหวัดที่บอกให้ทราบถึงสถานะภาพของชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลที่ได้คือ

1)ภาพรวมการพัฒนาในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ โดยสามารถจัดระดับชุมชนอินทรีย์ตามกรอบ5ข้อและจากการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีข้อมูลความรู้ใน5องค์ประกอบและข้อมูลอื่นๆ   ที่เกี่ยวข้องประกอบอย่างชัดแจ้ง

2)การพัฒนายกระดับความสามารถ/คุณภาพของคนทำงาน ตั้งแต่คุณกิจแกนนำ8คน/หมู่บ้าน คุณอำนวยตำบล และคุณอำนวยอำเภอ โดยมีข้อมูล ความรู้ในประเด็นการเรียนรู้ที่สามารถเขียนสรุปเป็นประสบการณ์น บอกเล่าความสามารถที่เพิ่มขึ้นในบทบาทดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง

ทุกส่วนงานต้องแข่งขันกันทำหน้าที่ของตนเองอย่างจริงจัง ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันเป็นทีม เรียนรู้จากกันระหว่างทีมงานต่างหมู่บ้าน/ตำบล/อำเภอและโซนเพื่อผลลัพท์ร่วมกันในระดับจังหวัดที่เป็นผลงานร่วมกันของทุกคนและทุกส่วนงาน

คือแนวทางการบูรณาการทุกภาคส่วน เสริมพลังด้วยการจัดการความรู้  สู่เป้าหมายชุมชนอินทรีย์อยู่ดีมีสุข ทำให้ 1+1+1+1+1+1+1+1+1+1 เท่ากับ1,550 เป็นผลงานร่วมที่จะเป็นของขวัญให้กับผู้ว่าวิชม ทองสงค์ในงานเกษียณราชการในเดือนกันยายน2551 เป็นงานถวายในหลวงตามแนวทาง รู้รักสามัคคี ขาดทุนคือกำไร ในปีมหามงคลพระชนม์มายุครบ 80 พรรษาในปี2550นี้

ที่สำคัญคือ เป็นงานเพื่อชุมชน หน่วยงาน/องค์กร และเพื่อความก้าวหน้าของตัวเราเองด้วย  
หมายเลขบันทึก: 147174เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2007 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
      ตามอ่านการพัฒนาจังหวัดนครศรีฯ ทั้ง 6 ตอนแล้วเป็นประโยชน์มากน่าจะมีการสื่อสารในวงกว้างมากขึ้นเพื่อเความเข้าใจที่ตรงกัน วันนี้หลังจากเข้าร่วมการประชุมยุทธศาสตร์อยู่ดัมีสุขที่ศาลากลางจังหวัดแล้วทีมงานมาคุยกันต่อที่สนง. โครงการความร่วมมือฯ ที่หมู่บ้านการเคหะ  และชวนกันอ่านBiog และขอช่วยให้น้องซาบีอา ช่วยรวบรวมทั้ง 6 ตอน และถ่ายเอกสารให้พรรคพวกได้นำไปอ่านกัน   
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท