เกือบไม่เกิดแล้ว และเกือบเอาตัวไม่รอด


                วันพุธที่ ๑๔ พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ผมได้รับกาเชื้อเชิญให้ไปเป็นคุณอำนวย สำหรับการพูดคุยในห้วข้อ การสร้างและเขียนบทความและงานวิจัยที่มาที่ไปของการเกิดเวทีนี้ คือ ทางกองบรรณาธิการ วารสาร มฉก.วิชาการ คือ ดร.วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย (อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์) และ ดร.ภุชงค์ เสนานุช (อาจารย์ประจำ คณะสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม) อยากที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้คณาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยได้สามารถสร้างและเขียนบทความวิชาการ และงานวิจัยได้ โดยเมื่อทั้งสองท่านได้ทราบแนวคิดของการจัดการความรู้ จึงอยากจะลองจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขึ้น เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาคณาจารย์ และงานนี้ก็เกิดขึ้นพร้อมกับความร่วมมือของอีกหลายๆ ฝ่าย โดยทาง สำนักพัฒนาวิชาการ ได้รับหน้าที่เป็นกองเลขานุการ ทำหน้าที่ประสานงาน เชิญคณาจารย์เข้าร่วม โดยมี รักษาการรองอธิการบดี ผศ.ดร.ดร.อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนน์ เป็นคุณเอื้อ สำหรับกิจกรรมในวันนั้น

                 จริงๆ แล้วก่อนจะเกิดเวทีในวันนั้น มีการเลื่อนกำหนดการจัดมาหลายครั้ง เนื่องจากติดกำหนดการสำคัญของทางมหาวิทยาลัย เรียกว่าคุยกันมาตั้งแต่ สิงหาคม จนกระทั้งมาจัดได้จริงประมาณ พฤศจิกายน ดังนั้นจึงเป็นเวทีทีคณาจารย์หลายท่านที่รู้ข่าว ต่างตั้งหน้าค่อย แต่ด้วยภารกิจการสอนและการประชุมต่างๆ ก็ทำให้มีผู้เข้าร่วมประชุมในวันนั้นประมาณ ๓๐ ท่าน คณาจารย์หล่ายท่านยังคิดสงสัยว่าเวที คงไม่ได้จัดแล้ว

               หลังจากได้รับมอบหมายให้ไปช่วยเป็นคุณอำนวย ก็มีการเตรียมเวที หรือ จะเรียก BAR ก็ได้ครับ แต่เป็นแบบการพูดคุยโดยอาศัยเทคโนโลยีผ่าน e-mail เพื่อกำหนดประเด็นร่วมกัน หลังจากนั้นผมก็เดินหน้าประสานงาน เพื่อหาผู้เล่าเรื่องเพื่อเปิดเวที โดยทางสำนักัฒนาวิชาการได้ให้รายชื่อ ดร.พรรัชนี วีระพงศ์ คณะกายภาพบำบัด ผศ.โสภา อ่อนโอภาส คณะสังคมสงเคราะห์ศาสาตร์และสวัสดิการสังคม และอาจารย์นวลใย วัฒนกูล คณบดี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสาตร์และสวัสดิการสังคม มาจึงเดินหน้าทาบทามเพื่อให้เล่าเรื่องเปิดเวที

               พอถึงวันจริงหลังจากการกล่าวเปิดพิธี โดยคุณเอื้อ ผศ.ดร.ดร.อุไรพรรณ เจนวาณิชยานนน์ รักษาการรองอธิการบดี และการบอกที่มาที่ไปของการจัดกิจกรรมในวันนั้น จากทางกองบรรณาธิการ ผมเลยเชิญให้ผู้เข้าร่วมแนะนำตัวและบอกสิ่งที่คาดหวังจากการเข้าร่วมกิจกรรม หลังจากนั้นก็บอกกติการการพูดคุย โดยให้มีการรับฟังอย่างตั้งใจ ฟังอย่างไม่ตัดสิน แต่ฟังเพื่อค้นหาแนวทางในการไปปรับใช้กับตนเอง เน้นการถามคำถามเพื่อการชื่นชม และให้เล่าประสบการณ์ในการเขียนและสร้างงานวิจัยที่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้นก็เริ่มด้วยการให้ ดร.พรรัชนี วีระพงศ์ จากคณะกายภาพบำบัดเล่าเปิดเรื่อง และผมก็ถามคำถามเพื่อลงลึกให้มีการถ่ายทอดเทคนิคและวิธีการในการเขียนและสร้างงานวิจัยออกมาแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น

               พอมาสักพักซิครับ มีผู้เข้าร่วมประชุมบางท่าน ที่มาด้วยวาระที่ไม่ใช่ลักษณะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่คล้ายการบ่นถึงระเบียบวิธีการในการรับบทความเข้าตีพิมพ์ เรียกว่าทำเอาบรรยากาศหลังการออกตัวที่กำลังจะไปได้ดี กลับออกมาเป็นตึงเครียด ทำให้คุณอำนวยมือใหม่อย่างผม ต้องใช้สติ และประคับประคองเวทีไม่ให้มีการพูดคุยในลักษณะเหมือนกับการโต้กันไป โต้กันมาระหว่างผู้เข้าร่วม

               ผมคงต้องเรียกว่าเบรคโดยใช้วิธีการถามคำถามให้ลงลึกถึง วิธีการรายละเอียดต่างๆ ของการสร้างและเขียนงานวิจัยที่อาจารย์ท่านบอกว่าไม่เคยถูกปฏิเสธไม่ให้ตีพิมพ์เลย และพยายาหาจุดที่ผู้เข้าร่วมท่านอื่นสามารถที่จะเรียนรู้ร่วมกับประสบการณ์ต่างๆที่อาจารย์ท่านนั้นมีได้ ผมเองคิดว่าพอช่วยได้บ้างครับ เรียกว่าผมต้องเตือนตนเองตลอดเวลา เพื่อระวังบรรยากาศไม่ให้เครียด และพยายามจับประเด็นเรื่องราวที่อาจารย์เล่า เพื่อชวนอาจารย์ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อไป และได้ชักชวนให้ผู้เข้าร่วมให้มาอยู่ที่การนำประสบการณ์และเรื่องราวดีดี มาแลกเปลี่ยนกัน ไม่ใช่เป็นเวทีเพื่อมาตำหนิกัน

              หลังจากนั้นบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนก็เริ่มดีขึ้นครับ ได้ทั้งเคล็ดลับและเรื่องราวดีดี ออกมามากมาย ตอนปิดการประชุม ทางคุณเอื้อ คือ รักษาการรองอธิการบดี ยังบอกว่า ไม่เชื่อว่าจะสามารถนั่งอยู่จนครบ ๓ ชั่วโมงได้ เนื่องจากมีภารกิจค้างอยู่ แต่พอฟังไปแล้วเพลิน ซึ่งก็คล้ายกับบทสรุปของแต่ละท่าน ที่มีกำลังใจเพิ่มมากขึ้น และ จะกลับไปพัฒนางานวิจัย หรือ รวมทีมกันทำวิจัยมากขึ้น

             ผมเองคิดว่าเกือบจะไม่เกิดเวที่นี้แล้ว และเกือบเอาตัวไม่รอดในการเป็นคุณอำนวย สำหรับการจัดเวทีครั้งนี้ ถือว่าเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับผมทีเดียว

คำสำคัญ (Tags): #km#kmd
หมายเลขบันทึก: 146867เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 09:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจด้วยนะ อ. เอ็ม   ในที่สุดก็เกิดสำเร็จนะ  .....(อ้อ) 

เรียนท่านอาจารย์มณฑล

หลังจากgotoknow เปลี่ยนหน้าแรก แบบจัดกลุ่มเรื่องบันทึก เลยไม่ค่อยได้อ่านบันทึกท่านอาจารย์

ผมเคยไปเล่าสู่กันฟังสองสามที่ ใจความสำคัญคือ เราคงต้องปรับวัฒนธรรมใหม่แล้ว ซึ่งเคยชินกับการฟังบรรยาย ต้องเปลี่ยนมาเป็น กระบวนการกลุ่ม ซึ่งผมคิดว่าเป็นประโยชน์ที่สุด

จาก การ เป็น วิทยากร เปลี่ยนเป็น คุณอำนวย กระบวนการ

การได้ ลปรร. กัน ผมถือว่าดีที่สุดครับ

แต่ก่อนเริ่มกระบวนการกลุ่มนั้น คุณอำนวย ต้องชี้แจงวัตถุประสงค์ การทำโจทย์ ที่ชัดเจน พร้อมกับมีคำตอบในทุกประเด็นสำหรับคำถามครับ

ขอบคุณครับที่แวะเข้ามาเยี่ยมเสมอมาครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท