ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตำบลบ่อปลาทอง


ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนตำบลบ่อปลาทอง
   การได้ศึกษาชุมชน/หมู่บ้าน ทำให้พวกเราได้รับรู้ถึงความเป็นมาของหมู่บ้านหรือชุมชนเมื่อในอดีต ทำให้เราเกิดจินตนาการมองย้อนกลับไปดูอดีตเมื่อ 40 -50 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลในปัจจุบันทำให้เราทราบว่า ปู่ ย่า ตา ยาย ของพวกเราท่านอยู่กันอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร ทำไมพวกท่านเหล่านั้นถึงอยู่กันได้ มีทั้งความสุขและความพอเพียง มีลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมืองมาจนถึงปัจจุบัน          50 กว่าปีผ่านมา ย้อนกลับไปหมู่บ้านเล็กๆ ชนกลุ่มน้อยๆ นั่นแหละคือบรรพบุรุษของพวกเรา รก-ราก-เหง้า ของเรา การศึกษาน้อยแต่มากด้วยประสบการณ์ เก่งกาจทางยุทธวิธี มีพระเป็นศูนย์รวมจิตใจ พึ่งพาอาศัยกันและอยู่ร่วมกันอย่างพี่น้อง ขอให้พวกเราตระหนักกันไว้เถอะว่าบรรพบุรุษของเราคือ สุดยอดคน          การสร้างบ้านแบ่งเมืองของชุมชนในอดีต จากข้อมูลทำให้เรารู้ว่าเมื่อมีการสร้างหมู่บ้านที่ไหน ก็จะสร้างวัดไปพร้อมๆ กัน เพราะถือได้ว่า วัดกับพระ  คนกับวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ พร้อมๆ กับมีประเพณีต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ปฏิบัติกันสืบมาและสืบทอดเป็นวัฒนธรรมมาจนถึงปัจจุบัน        ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ตำบลบ่อปลาทอง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา  ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำการศึกษาการดำเนินวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนรุ่น   ปู่ ย่า ตา ยาย ของพวกเราท่านอยู่กันอย่างไร มีความเป็นมาอย่างไร การทำมาหากินทำอย่างไร มีวิธีการจัดการอย่าง ทำไมพวกท่านเหล่านั้นถึงอยู่กันได้ มีทั้งความสุขและความพอเพียง ถ้าเรานำมาปฏิบัติหน้าจะได้ชุมชนที่เข้มแข็งและยั่งยืน  ประวัติความเป็นมาของชุมชน สภาพทั่วไป             ตำบลบ่อปลาทอง  อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอปักธงชัย  มีระยะทางห่างจากอำเภอธงชัย  ประมาณ  30 กิโลเมตร และอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดนครราชสีมา ห่างจากจังหวัดนครราชสีมา  ระยะทางประมาณ  65 กิโลเมตร ตำบลบ่อปลาทอง มีเนื้อที่ประมาณ  49 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 30,625 ไร่อาณาเขตติดต่อ   ทิศเหนือ          ติดต่อกับตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา  โดยมีแนวเขตเริ่มต้น บ้านกระเชาะราก หมู่ที่ 7 ตำบลบ่อปลาทอง อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา บริเวณพิกัด r s 137240 ไปทางทิศตะวันออก ตามแนวลำคลองลำพระเพลิง ถึงบ้านบุพรมราช หมู่ที่ 6 ตำบลสุขเกษม อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา  บริเวณพิกัด  r s 141299 ไปทางทิศตะวันออกผ่านเขตบ้านพระบึง หมู่ที่ 5 ตำบลบ่อปลาทอง อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา  ตามแนวเขตเขาตำแย ผ่านคลองท่ายาง  บริเวณพิกัด r s 12208  คลองห้วยซับน้ำโซ่ บริเวณพิกัด r s สิ้นสุดที่กึ่งกลางห้วยซับเสม็ด บริเวณพิกัด  r s 196178 ระยะทางประมาณ  7 กิโลเมตรทิศตะวันออก  ติดต่อกับตำบลภูหลวง อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา โดยมีเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางห้วยซับเสม็ด บริเวณพิกัด  r s 196178  ไปทางทิศใต้ตามแนวช่องเขาภูหลวงถึงเชิงเขาภูหลวงด้านตรงข้ามสิ้นสุดที่กึ่งกลางคลองลำนางแก้ว บริเวณพิกัด r s 175150 ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตรทิศใต้                    ติดต่อกับตำบลลำนางแก้ว อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากกึ่งกลางคลองลำนางแก้ว บริเวณพิกัด r s 175150 ปางทิศตะวันตก ตามแนวเขาหลอบฟาง ถึงคลองลำนางแก้ว  บริเวณพิกัด r s 13161 ไปทางทิศตะวันตก ผ่านแนวเขตบ้านพัดทะเล หมู่ ที่ 2  ตำบลลำนางแก้ว ผ่านบ้านวังตะเคียน  หมู่ที่ 8  ตำบลลำนางแก้ว สิ้นสุดที่กึ่งกลางคลองลำพระเพลิง  บ้านดอนใหญ่  หมู่ที่  1  ตำบลบ่อปลาทอง บริเวณพิกัด r s 076180 ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรลักษณะภูมิประเทศ                                  ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปของตำบลบ่อปลาทอง เป็นที่ราบสูงสลับภูเขา   ลักษณะ พื้นดินเป็นดินร่วนปนทราย ภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุกในช่วงฤดูฝน ( เดือน พฤษภาคม เดือน ตุลาคม )  พื้นดินสำหรับทำเกษตรกรรมยังมีความสมบูรณ์ทางธรรมชาติ บางแห่งใช้ปลูกพืชแบบผสมผสาน  ปลูกผักสวนครัวแบบระบบธรรมชาติ โดยใช้ปุ๋ยที่ผลิตได้เอง เช่น ปุ๋ยหมัก ทั้งชนิดน้ำ และชนิดแห้ง  จากมูลสัตว์ และเศษวัชพืชนำมาผลิตปุ๋ยน้ำ(จุลินทรีย์) ตำบลบ่อปลาทอง (2)มีทรัพยากรธรรมชาติ คือ เขาตำแย ซึ่งโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน พยายามสำรวจเพื่อดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ เผ่าพันธุ์ อาชีพ ศาสนา ความเชื่อ                ประชาชนในชุมชน/ตำบลบ่อปลาทอง มีเชื้อสายมาจาก สมัยสงครามยุคเจ้าพระยานครราชสีมาและยุคคุณหญิงโม จากการกวาดต้อนเฉลยศึกมาตั้งรกรากที่ด่านจะโปะ และแตกเหล่าแตกกอ  ออกไปตั้งหมู่บ้านอีกหลายหมู่บ้าน หนึ่งในนั้นก็คือตำบลบ่อปลาทองในปัจจุบัน                       อาชีพทั่วไปของประชาชนชาวตำบลบ่อปลาทอง ยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักเช่น ทำนา ทำสวน ทำไร่ รองลงมาก็รับจ้างทั่วไป                        ด้านศาสนาทั่วไปนับถือศาสนาพุทธ ยังมีความเชื่อผี พราหมณ์ พุทธ คละกันไป เช่น รำผีฟ้อน การตั้งศาลพระภูมิ การตั้งชื่อก็ไปหาหลวงพ่อที่วัดตั้งให้ รายได้-รายจ่ายของครอบครัวและชุมชน                รายได้ของคนในชุมชนตำบลบ่อปลาทองส่วนใหญ่ได้มาจากการรับจ้าง การขายพืชผลทางเกษตรกรรม ในเรื่องของรายจ่ายก็เหมือนๆกับชุมชนหมู่บ้านอื่น นั่นคือ รายจ่ายในครอบครัว ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเล่าเรียนบุตร ค่าเหล้า ค่าบุหรี่ หวยเถื่อน และรายจ่ายฟุ่มเฟือย เช่น ค่าโทรศัพท์ และการเปลี่ยนโทรศัพท์ให้ทันยุคสมัย และปัจจัยที่ 5 คือ รถยนต์ เป็นต้น ก็เลยทำให้ภาพรวมโดยทั่วไปของชาวตำบลบ่อปลาทอง รายรับไม่พอกับรายจ่าย                        สภาพหนี้สินของครอบครัวและชุมชน                สภาพหนี้สินโดยรวมของชาวตำบลบ่อปลาทอง นอกจากรายรับไม่พอกับรายจ่ายจากสาเหตุดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีสาเหตุที่เกิดจากการเป็นหนี้ ธกส. กองทุนหมู่บ้าน หนี้สินจากการกู้นอกระบบจนถึงวันนี้ก็ยังไม่มีแนวทางและวิธีการใดหรือหน่วยงานไหนมาแก้ไขปัญหาได้เลย ไม่ว่าจะรายครัวเรือนหรือแม้กระทั่ง ทั้งชุมชนก็ตาม                   ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น                        จากการพูดคุยสอบถามชาวบ้านพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาเกิดจากการสื่อสารที่ล้มเหลว การพูดคุยติดต่อสื่อสารกันไม่ชัดเจน การแบ่งแยกมีความขัดแย้ง มีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน การบริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับมาไม่โปร่งใสมีการใช้งบประมาณไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ และการทำงานของภาครัฐไม่เอาจริงเอาจัง   (3) ความต้องการของชาวบ้านในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น                ชาวตำบลบ่อปลาทองอยากเห็นความเจริญในหมู่บ้านและตำบลฯของตนเอง อยากมีท่อระบายน้ำ อยากมีไฟฟ้าสาธารณะ ระบบสวัสดิการชุมชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของตำบลฯ อยากให้มีการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำประปาทุกหมู่บ้าน  อยากให้มีการก่อสร้างทำนบกั้นน้ำ ฝายน้ำล้น เพื่อใช้ในการเกษตรกรรม   เพราะที่ผ่านมาปัญหาเรื่องน้ำไม่พอใช้ยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาแก้ไขแบบจริงจังสักหน่วยงานเลย                        ศักยภาพความรู้ ความสามารถของคนในครอบครัว /ชุมชน                ชาวตำบลบ่อปลาทองส่วนใหญ่ก็เหมือนกับหมู่บ้านหรือชุมชนอื่นทั่วไป ที่ยังมีโอกาสทางการศึกษาต่ำกว่าที่กำหนด เพราะพื้นฐานทำอาชีพเกษตรกรรมอยู่แล้ว และก็ออกหารับจ้างงานทั่วไป การได้ร่ำเรียนสูงๆ จึงเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในปัจจุบันยุคลูกหลานก็เริ่มมีการศึกษาที่สูงขึ้นไปกว่ายุคพ่อและแม่ บางคนก็เป็นข้าราชการ พนักงานบริษัท ส่วนผู้ปกครองก็จบ ป.4 กันส่วนใหญ่ แต่ก็มากด้วยประสบการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการทอผ้า จักสาน เทคนิคการปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์ ไก่ชน ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความรู้ ความสามารถทางภูมิปัญญาแทบทั้งสิ้น ความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นกับโครงการศูนย์เรียนรู้ฯ.                        โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   ก่อตั้งขึ้นพื่อ ทำการศึกษาปัญหาของชุมชนและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจนขอพี่น้องเกษตรกรโดยการใช้ภูมิปัญญาของเกตษรกรที่มีอยู่มาแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ร่วมกัน อย่างมีระบบ  โดยยึดหลักร่วมกันคิดร่วมกันทำจึงจะประสบผลสำเร็จ  

ประวัติความเป็นมาของโครงการศูนย์เรียนรู้ฯ.

ความเป็นมา                        กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอัดเม็ดบ้านเพลิงหลง ตำบลบ่อปลาทอง ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ จากการรวมตัวของเกษตรกรบ้านเพลิงหลง ตำบลบ่อปลาทอง อำเภอปักธงชัย โดยนายอภิชาติ พจน์ฉิมพลี และครอบครัว เนื่องจากเล็งเห็นปัญหาและโทษภัยของการใช้สารเคมีในการเกษตร ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ จึงได้หันมาปลูกผักและผลไม้ โดยไม่ใช้สารเคมี (การทำเกษตรแบบธรรมชาติหรือเกษตรผสมผสานในขณะนั้น) รวมทั้งดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีผลดีต่อการประกอบอาชีพด้านการเกษตรของสมาชิกและเพื่อเกษตรกร ตลอดจนสิ่งแวดล้อมกิจกรรมที่เกิดขึ้นมีลักษณะครบวงจร เช่น มีการผลิต การแปรรูป การตลาด การฝึกอบรม ฯลฯ ซึ่งจะนำไปสู่กระบวนการพึ่งตนเองได้ในอนาคต(4)                ปัจจุบันการดำเนินงานของกลุ่มฯ มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น  โดยมีกิจกรรมเพิ่มขึ้น จำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้น จากช่วงเริ่มต้นที่มีสมาชิกเพียง ๔๒ คน ในปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก ๒๐๐ คน จาก ๑๐ หมู่บ้านและตำบลใกล้เคียง ในเขตอำเภอปักธงชัย นอกจากนี้ยังได้มีการติดต่อประสานงานและขยายเครือข่ายของการดำเนินกิจกรรมไปยังอำเภอต่าง ๆ ภายในจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอัดเม็ดบ้านเพลิงหลง ตำบลบ่อปลาทอง อำเภอปักธงชัย  ได้ขึ้นทะเบียนเป็น กลุ่มวิสาหกิจชุมชน” “ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพอัดเม็ดบ้านเพลิงหลงตำบลบ่อปลาทอง เมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ รหัสทะเบียนเลขที่๔๓๐๑๔-๒๐/๑-๐๐๐๑ ที่สำนักงานเกษตรอำเภอปักธงชัย มีสมาชิกเครือข่ายอีก ๑๗ กลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนภายในตำบลบ่อปลาทอง ตามเอกสารประกอบโครงการฯ การพัฒนาของกลุ่มฯ.1.    ขึ้นทะเบียนวิสาหกิจชุมชนเมื่อ 20 เมษายน 2549 รหัสทะเบียน 43014 20/1 -00012.    สมัครเป็นเครือข่ายศูนย์ศึกษาการพัฒนาของชาวบ้าน โครงการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  อำเภอวังน้ำเขียว (สนับสนุนด้านวิชาการ)3.    การดำเนินการตามโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ปี 2549  4.    ดำเนินการตามโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ปี 2550    ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ของจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  และได้ขึ้นทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ใช้ชื่อวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2550 รหัสทะเบียน 43014 20/1 - 0017เข้าร่วมกิจกรรมสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย สิงหาคม    ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ศูนย์ศึกษาการพัฒนาของชาวบ้าน  โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นศูนย์ฯ เครือข่ายของ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาของชาวบ้านฯ ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ชาวบ้านเป็นผู้ดำเนินการ ภารกิจที่สำคัญยิ่งในขณะนี้ คือ การฝึกอบรมเกษตรกรที่ลงทะเบียนคนจนและเกษตรกรที่เป็นหนี้ ธกส. โครงการนำร่องการปลูกไม้ใช้หนี้ อันเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ซึ่งอบรมไปแล้ว 6 รุ่น รวม 360 คน และในปี 2550 มีแผนอบรมอีก 19 รุ่น กว่า 1,500 คน ณ ศูนย์ฯ แห่งนี้ยังมีความจำเป็นอีกมากที่จะต้องพัฒนาเพื่อให้มีขีดความสามารถ ในการเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบ เพื่อทำหน้าที่ฟื้นวิกฤตคนของแผ่นดิน การเสนอโครงการขอรับการสนับสนุนจากโครงการเร่งด่วน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นการต่อยอด เพื่อขยายผลโครงการเดิมให้มีความสมบูรณ์ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านการเกษตรด้านชุมชนในรูปแบบของการฝึกอบรมและการลงแปลงปฏิบัติจริงเพื่อเตรียมความพร้อมให้เกษตรกรเพื่อรองรับแผนงานต่างๆที่จะลงสู้เกษตรกร เช่น โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ฯลฯ จะทำให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาของชาวบ้านแห่งนี้ เป็นศูนย์ฯที่มีศักยภาพในการมีส่วนร่วม (5)เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและชุมชน ส่งเสริมอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงให้กับเกษตรกร และเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาให้เกิดเครือข่ายองค์กรชุมชน ที่สนับสนุนการรวบรวมผลผลิตเพื่อจำหน่ายผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โครงการส่งเสริมการปลูกพุทรานมสดเพื่อการส่งออก  ลักษณะของโครงการ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างภาคราชการ บริษัทส่งออกเอกชน และเกษตรกรอย่างเป็นระบบครบวงจรโดย ภาคราชการ เป็นผู้พิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุน การประสานงาน การคัดเลือกพื้นที่ การคัดเลือกเกษตรกร การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการฝึกอบรมร่วมกับบริษัทเอกชน และ บริษัทเอกชน เป็นผู้จัดหาปัจจัยการผลิตที่สำคัญ และรับซื้อผลผลิตตามสัญญาที่กำหนด เกษตรกร เป็นผู้ดำเนินการปลูก ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว และส่งผลผลิตขายให้บริษัทเอกชน ทั้งนี้นั้น 3 หน่วยงานจะต้องมีการทำความร่วมมือจัดทำข้อตกลงร่วมกันก่อนที่จะดำเนินงาน ผ่านโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ในลักษณะวิสาหกิจชุมชน โดยมีหลักเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้1.    พื้นที่ปลูกของเกษตรกรควรมีแหล่งน้ำที่เพียงพอ2.    เกษตรกรต้องจัดให้มีระบบการให้น้ำ (สปริงเกอร์) ทุกพื้นที่ก่อนปลูก3.    การชำระค่าพันธุ์ ปุ๋ย และสารกำจัดโรคแมลง (ปุ๋ยและสารกำจัดโรคแมลงเป็นระบบอินทรีย์ชีวภาพทั้งหมด ในปีที่ 1 เกษตรกรจะต้องชำระครั้งเดียวผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ.ให้กับบริษัท4.     การส่งมอบต้นพันธุ์ ปุ๋ย และยา จะส่งมอบผ่านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ.5.    เกษตรกรจะต้องนำต้นพันธุ์ไปปลูกเพื่อนำผลผลิตมาจำหน่วยให้โครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน เท่านั้น  เพื่อจัดส่งให้บริษัทฯ ต่อไป ห้ามขยายขายพันธุ์เพื่อการ ปลูกขยายพื้นที่ หรือจำหน่ายพันธุ์ โดยเด็ดขาด 6.    เกษตรกรควรปลูก 3-5 ไร่ (พื้นที่โครงการฯ เป็นผู้จัดสรรให้ตามความเหมาะสม)7.    เกษตรกรจะต้องใช้พันธุ์ที่ทางโครงการฯ/บริษัทกำหนดให้เท่านั้น8.    เกษตรกรจะต้องเป็นผู้จัดหา และดำเนินการในรายการดังต่อไปนี้ ด้วยงบประมาณของตนเอง โดย ประสานงบประมาณจากวิสาหกิจชุมชนศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน เป็นผู้ประสานให้ หรือผู้นำกลุ่มเป็นหลัก       (6)วัตถุประสงค์   1.    เพื่อพัฒนาพื้นที่และองค์ประกอบต่าง ๆ ของศูนย์ฯ ให้มีความพร้อมและมีขีดความสามารถที่จะเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ฝึกทักษะประสบการณ์ ศึกษาดูงานในกิจกรรมการเพาะปลูก โดยไม่ใช้สารเคมี และกิจกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง ให้กับเกษตรกร2.    เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็ง ทั้งด้านความคิดและการปฏิบัติของเกษตรกรกลับสู่แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง3.    เพื่อส่งเสริมกิจกรรมธุรกิจชุมชนให้แก่เกษตรกร และความเข้มแข็งของชุมชน ในด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยประชาชนมีส่วนร่วม4.    เพื่อส่งเสริมการจ้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรในชนบทและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมพื้นที่ป่าต้นน้ำ                                การขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางพระราชดำริ จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2517 สรุปความได้ว่า การพัฒนาประเทศต้องทำตามลำดับ โดยสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้น ใช้วิธีการและอุปกรณ์แบบประหยัดแต่ถูกต้อง ตามหลักวิชา เมื่อมีพื้นฐานที่มั่นคงและปฏิบัติได้จริงจึงเสริมสร้างความเจริญและฐานะเศรษฐกิจชั้นสูงขึ้นโดยลำดับต่อไป  ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพระราชทานแนวทางพัฒนาแบบเศรษฐกิจพอเพียงเป็นครั้งแรก  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ เป็นปรัชญาที่ชี้ให้เห็นถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับประเทศ ในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปบนทางสายกลาง ทั้งนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะคือ                ความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดี ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่น                ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง ต้องเป็นไปอย่างมีเหตุและผล โดยคำนึงถึงเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบครอบ                การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  หมายถึง   เตรียมตัวให้พร้อมต่อการรองรับผลกระทบใดๆ จากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก                โดยต้องตั้งอยู่บนเงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่ 1.เงื่อนไขความรอบรู้ รอบคอบ คือ นำวิชาการต่างๆ มาประกอบกันอย่างเหมาะสมรอบด้านในการวางแผน และ 2.เงื่อนไข(7)คุณธรรม คือ ตระหนักในคุณธรรมมีความซื่อสัตย์สุจริตและความพากเพียรในการดำเนินชีวิต ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยการพัฒนาการเกษตรใน 3 ขั้นตอน คือ 1) การผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงเกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ 2) การรวมกลุ่มในการผลิต การตลาด ความเป็นอยู่ในชุมชน เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและ 3)การสร้างเครือข่ายโดยประสานความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ และองค์กรพัฒนาเอกชน นำไปสู่การลดต้นทุน การพัฒนาคุภาพชีวิต และสร้างความเข้มแข็งในระดับประเทศ ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานได้แก่                1.ส่งเสริมการเรียนรู้ในการพัฒนาการเกษตรตามแนวทางทฤษฎีใหม่ ประกอบด้วยแผนงานการจัดประชุมชี้แจง และฝึกอบรมความรู้ให้แก่เกษตรกร โดยใช้ศูนย์ศึกษาพัฒนาฯ. และศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนฯ.                2.แผนการส่งเสริมภาคปฏิบัติตามขั้นตอนการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่                3.การพัฒนาการเกษตรสู่ระบบเกษตรอินทรีย์ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง                 4.การวางแผนการตลาด การผลิตและการแปรรูปผลผลิต·       รายได้หลัก ได้มาจากการทำเกษตรแบบผสมผสาน เช่น ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ผลิตปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักทั้งชนิดน้ำและแห้ง สมุนไพรไล่แมลงทุกชนิด มีรายได้ประมาณเดือนละ 20,000.- บาท ในพื้นที่ 5-7 ไร่·       รายได้เสริม ได้รับความไว้วางใจจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอปักธงชัย ให้เป็นวิทยากร กระบวนการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน
หมายเลขบันทึก: 146840เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 15:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ถ้าผมจะพาทีมงานไปศึกษาดูงานที่ศูนย์จะได้ไหมครับ

 

 

จากกำนันประคอง   พงษ์สูงเนิน

ผมสนใจการปลูกกล้วยหอมเป็นอาชีพคับ แต่ผมไม่มีความรู้ด้านนี้เลย ไม่ทราบว่าจะสามารถไปขอคำแนะนำวิธีการปลูกได้หรือเปล่าคับ โทร0840024147

การปลูกกล้วยหอมในพื้นที่ ต.บ่อปลาทอง น่าสนใจมาก ผมมีทีนาอยู่ที่บ้านเพลิงหลง

แต่ถ้าจะให้เป็นระบบและชาวสวนได้ประโยชน์จริงๆ กลุ่มควรหาบริษัทมารองรับผลผลิตเหมือนกลุ่มปลูกกล้วยหอมที่ จ.เพชรบุรีนะครับ ถือว่าเป็นแหล่งปลูกกล้วยหอมส่งญี่ปุ่น

ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จริงๆ รายละเอียดของกลุ่มบ่อปลาทองผมยังไม่ทราบ

เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท