ดินพร้อมปลูก


การจัดการความรู้ในชุมชน
องค์ความรู้และภูมิปัญญาเรื่องดิน 1.1 องค์ประกอบและความหมายของดิน                 ดินเป็นทรัพยากรที่มีคุณประโยชน์มากมายเพราะดินเป็นแหล่งของปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของมนุษย์ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม กรใช้ที่ดินที่ผ่านมาอย่างไม่ระมัดระวัง เป็นการเร่งให้ดินเสื่อมคุณคุณภาพเร็วขึ้น สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ไปอย่างรวดเร็ว มรการปนเปื้อนของสารพิษ แน่นทึบ รวมทั้งมีการกร่อนของดินมากขึ้น เป็นลำดับ ปัญหาเหล่านี้ไม่สามารถแก้ไขหรือฟื้นฟูให้กลับสู่สภาพเดิมโดยรวดเร็วได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนทุกคนจะต้องรู้จักและเข้าใจถึงความสำคัญของดิน เพื่อที่จะได้ใช้ดินอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป                ถ้ามองดินในแง่ของการใช้ประโยชน์ทางการเกษตรแล้ว ดิน หมายถึง เทหวัตถุที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จากส่วนผสมของหินและแร่ที่สลายตังผุพังจนเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยรวมเข้ากับซากพืชซากสัตว์ที่สลายตัวผุพังจนเป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อมีน้ำและอากาศในสัดส่วนที่เหมาะสมแล้ว จะสามารถค้ำจุน ทำให้พืชเจริญเติบโตและยังชีพอยู่ได้ จากความหมายที่กล่าวนี้สามารถแยกองค์ประกอบของดินได้ 4 ส่วนคือ 1) แร่ธาตุหรือส่วนที่เป็นอนินทรียสาร 2) ซากพืชซากสัตว์หรือส่วนที่เป็นอินทรีสาร 3) น้ำ และ4) อากาศ  ซึ่งแต่ละส่วนจะมีความสำคัญที่แตกต่างกันไป1.2 ความสำคัญขององค์ประกอบของดิน แร่ธาตุในดิน   แร่ธาตุในดินมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในดินดังนี้1)   ให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและจุลินทรีย์ในดิน ธาตุอาหารที่เป็น ประโยชน์ต่อพืชและสิ่งมีชีวิตในดิน ส่วนใหญ่จะได้รับมาจากดิน ธาตุเหล่านั้นได้แก่ ไนโตรเจน ฟอฟอรัส โพแทสเซียม โบรอน คลอรีน ดมลิบดีมัน ประมาณและชนิดของธาตุอาหารในดินอาจแตกต่างกันออกไป  ขึ้นอยู่กับชนิดของดินซึ่งเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดที่แตกต่างกัน2)   เป็นที่ยึดเกาะของรากพืชและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในดิน ส่วนใหญ่แล้ว             จุลินทรีย์หลายชนิดในดิน ได้แก่ แบคทีเรีย แอคติโนไมซีต รา และโปรโตซัว  จะเกาะอยู่ที่ผิวของอนุภาคดิน ในช่องว่างระหว่างอนุภาคดิน และในเยื่อน้ำที่ล้อมรอบผิวอนุภาคดินอินทรียวัตถุในดิน   อินทรีย์วัตถุในดินมีความแตกต่างกันทั้งชนิดและประมาณ มีตั้งแต่ชนิดที่ยังปรากฏให้เห็นเป็นชิ้นส่วนที่แยกได้ชัดเจน เช่น เป็นเศษชิ้นส่วนของราก ใบ และปีกแมลง บางส่วนเป็นอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายแล้ว  เป็นสารินทรีย์ปกติที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งในพืชและสัตว์ เช่น น้ำตาล  เซลลูโลศ เฮมิเซลลูโลส กรดอะมิโม ลิกนิน ไวตามิน เป็นต้น อีกทั้งยังปรากฏในรูปของสารประกอบอินทรีย์ชิงซ้อนสีคล้ำที่เรียกว่า ฮิวมัส  ซึ่งถือว่าเป็นอินทรียวัตถุที่สำคัญมากในดิน แหล่งสำคัญของอินทรียวัตถุในดินนั้นส่วนใหญ่จะมาจากส่วนของพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากส่วนของรากพืชนั่นเองในพืชบางชนิดอาจมีส่วนของรากหรือส่วนที่อยู่ในดินมากถึง 50 % ได้อินทรียวัตถุในดินมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตในดินโดยสังเขปดังนี้  1)   เป็นอาหารของจุลินทรีย์ จุลินทรีย์พวกเฮกเทอโรโทรพ ใช้สารอินทรีย์เป็นแหล่งของพลังงานได้ด้วย2)   พืชสามารถใช้อินทรียวัตถุเป็นอาหารได้ เมื่ออินทรียวัตถุในดินสลายตัวลงก็จะปลดปล่อยแร่ธาตุอาหารชนิดต่าง ๆ ออกมาในรูปไอออน เช่น ไนเตรต แอมโมเนียม ฟอสเฟต ซัลเฟต ลงสู่ดิน เรียกกระบวนการนี้ว่า มิเนอรัสไลเซซัน  ธาตุอาหารเหล่านี้ พืชรวมทั้งจุลินทรีย์ทั้งเฮทเท อโรโทรพ และ ออโตโทรพ  สามารถใช้ประโยชน์ได้ สารอินทรีย์บางชนิดที่เกิดจากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุ สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชได้ เช่น อ๊อกซิน ไซโตคีนิน และจิบเบอเรลลิน เป็นต้น3)   เป็นที่ยึดเกาะของรากพืชและเป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์4)   ทำหน้าที่ดูดซับน้ำและธาตุอาหารไว้สำหรับพืชได้ดี โดยทั่วไปแล้ว อินทรีย์วัตถุสามารถดูดซับน้ำได้มากกว่าส่วนที่เป็นอนินทรีย์สารของดิน อาจดูดได้ มากกว่าถึง 10 เท่าเมื่อน้ำหนักเท่ากัน นอกจากนี้แล้วอินทรียวัตถุยังมีค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออน สูงมาก อาจถึง 300 me ต่อ 100 กรัม จึงสามารถดูดซับแคตไอออนของธาตุอาหารพืชไว้ได้มาก5)   อินทรียวัตถุช่วยส่งเสริมให้เกิดการเกาะตัวกันของเม็ดดิน ทำให้ดินโปร่งมีการระบายน้ำและอากาศดี และในบางโอกาสจะช่วยลดการกร่อนของดินได้ด้วยนอกจากนี้แล้ว  อินทรีย์วัตถุในดินยังมีหน้าที่อื่น ๆ อีก เช่น ทำหน้าที่ต้านทานการเปลี่ยนแปลง PH  ของดิน ส่งเสริมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน รวมทั้งประโยชน์ในแง่ของการลดชนิดและปริมาณของเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อสาเหตุของโรคพืชบางชนิดได้ด้วยน้ำในดิน สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการน้ำเพื่อการยังชีพและการเจริญเติบโต กล่าวโดยรวมแล้ว น้ำในดินทำหน้าที่สำคัญ 2 ประการ คือ1)   ทำหน้าที่ละลายแร่ธาตุและอาหารต่าง ๆ ในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ทั้งพืชและจุลินทรีย์ รวมทั้งทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแพร่ของธาตุอาหารจากดินเข้าสู่พืชและจุลินทรีย์ต่าง ๆ ด้วย2)   เป็นอาหารของพืชและจุลินทรีย์ในดินโดยตรงเพื่อนำไปสร้างเป็นสารประกอบอินทรีย์ต่อไป  กระบวนการสร้างอาหารที่ต้องใช้น้ำเป็นวัตถุดิบได้แก่ การสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างแป้งและน้ำตาลโดยพืชรวมทั้งจุลินทรีย์บางชนิดด้วย3)   น้ำในดินเป็นที่อยู่อาศัยและช่วยในการเคลื่อนที่ของจุลินทรีย์หลายชนิด4)   อากาศในดิน        ดินและอากาศเหนือดินมีส่วนประกอบของอากาศที่คล้ายกัน  แตกต่างกันที่ความเข้มข้นของก๊าซบางชนิดเท่านั้น เนื่องจากในดินจะมีส่วนของรากพืชและจุลินทรีย์ในดินเป็นสิ่งมีชีวิตที่สำคัญ  ดังนั้นอากาศในดินจึงมีหน้าที่ให้ก๊าซชนิดต่าง ๆ แก่สิ่งมีชีวิต ดังนี้1)   ให้ก๊าซออกซิเจน  แก่จุลินทรีย์พวกแอโหรบ โดยทั่วไปแล้วไปแล้วนดินมีก๊าซออกซิเจนในระดับความเข้มที่น้อยกว่าในบรรยากาศเหนือดิน2)   ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อรักษาสภาพอับอากาศ แก่ดิน ซึ่งจะเป็นสภาพที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์พวกที่เรียกว่า แอบแอโหรบ โดยปกติแล้วในดินจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในระดับความเข้มข้นที่สูงกว่าในบรรยากาศเล็กน้อย3)   ให้ก๊าซไนโตรเจน แก่จุลินทรีย์ที่ตรึงก๊าซไนโตรเจนได้ ปกติแล้วปริมาณก๊าซไนโตรเจนในบรรยากาศและในดิน จะมีความเข้มข้นที่ใกล้เคียงกันองค์ประกอบหลักของดินที่กล่าวมาแล้วทั้ง 4 ประเภทนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งไม่มีชีวิตทั้งสิ้น แท้ที่จริงแล้วในดินทั่วไปจะมีสิ่งมีชีวิตอยู่ด้วยเสมอ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว สิ่งมีชีวิตในดินจะปริมาณน้อยมาก อาจมีเพียง 1 % โดยปริมาตรของดิน หรืออาจมีน้อยกว่านี้ก็ได้  แต่ถ้าขาดสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกจุลินทรีย์แล้วกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญและมีประโยชน์ต่อพืชอาจไม่เกิดขึ้นเลย เช่น กระบวนการมิเนอรัสไลเซชัน และการตรึงไนโตรเจน เป็นต้น จึงกล่าวได้ว่า จุลินทรีย์ในดินมีความสำคัญมากทีเดียว1.3 จุลินทรีย์และความสำคัญที่เกิดขึ้นในดิน                  จุลินทรีย์ในดินมีหลายชนิด ได้แก่ แบคทีเรีย รา แอคติโนไมซีต สาหร่าย โปรโตซัว         โรติเฟอร์  ไมโคพลาสมาและไวรัส  เป็นต้น  จุลินทรีย์เหล่านี้มีบทบาทสำคัญทั้งในแง่การส่งเสริมการเจริญเติบโตและการทำลายพืช กล่าวโดยรวมแล้วจุลินทรีย์ในดินมีความสำคัญ ดังต่อไปนี้1)   ทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ให้มีขนาดของโมเลกุลเล็กลง 2)   มีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงรูปของธาตุอาหารพืช เช่น เปลี่ยนจากรูปที่เป็นสารอินทรีย์ไปเป็นสารอนินทรีย์ เพิ่มความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืช ในบางกรณี จุลินทรีย์อาจมีกิจกรรมที่สามารถลดความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารพืชได้ เช่น  กิจกรรม  ดีไนตริฟิเคชัน  และซัลเฟตรีดชัน เป็นต้น3)   ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยการสร้างสารกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช  เช่น อ๊อกซิน จิบเบอเรลลิน และไซโตดินิน เป็นต้น4)   การตรึงไนโตรเจน จุลินทรีย์หลายชนิดสามารถตรึงไนโตรเจนได้ เช่น ไรโซเบียม อะโซโตแบคเตอร์  และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน5)   จุลินทรีย์หลายชนิดมีบทบาทในการสร้างกรดอินทรีย์ บางชนิดสามารถสร้าง        กรดอนินทรีย์ในปริมาณที่พอเหมาะที่จะละลายแร่ธาตุอาหารพืช และเป็นประโยชน์ต่อพืชต่อไป6)   จุลินทรีย์หลายชนิดอาจเป็นเชื้อสาเหตุของโรคพืช ทำความเสียหายให้แก่ผลผลิตได้ ในทางตรงกันข้าม มีจุลินรีย์หลายชนิดที่ทำหน้าที่กำจัด       และยับยั้งการเจริญเติบโตจุลินทรีย์ชนิดอื่น รวมทั้งจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรคพืช จึงมีผลทำให้ลดการระบาดของโรคพืชบางชนิดลงได้7)   บทบาทของจุลินทรีย์บางชนิดในดินสามารถผลิตและปลดปล่อยสารปฏิชีวนะ กรณีนี้นำไปสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมอย่างไรก็ตาม เนื่องจากในดินมีจุลินทรีย์มากมายหลายชนิดแตกต่างกันออกไป การจัดการดินที่ดีและเหมาะสมจะส่งเสริมให้มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อพืชในปริมาณมาก หากมีการจัดการที่ไม่ดีแล้ว การสะสมของเชื้อสาเหตุโรคพืชก็จะมีโอกาสมากขึ้นได้ นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในดิน ก็เป็นสาเหตุสำคัญในการกำหนดชนิด ปริมาณ และบทบาทของจุลินทรีย์ในดินด้วย1.4 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิตของพืช                 ความต้องการของประชากรของโลกมนุษย์เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด   บางประเทศแถบทวีปอาฟริกามีปัญหาอย่างเห็นได้ชัดเกี่ยวกับความขาดแคลนอาหารเนื่องมาจากไม่สามารถผลิตอาหารได้อย่างพอเพียงปัญหาหลักเกิดขึ้นจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์และการขาดน้ำ บางประเทศแถบเอเชียซึ่งมีทรัพยากรดินที่อุดมสมบูรณ์แต่มีแนวโน้มว่าจะพบปัญหาจากอุทกภัยมากขึ้นทุกปีดังที่ปรากฏในประเทศจีน บังคลาเทศ อินเดีย เวียดนาม และประเทศไทย ในยุโรป อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ รวมทั้งออสเตรเลียก็ประสบปัญหาในลักษณะนี้เช่นกัน แต่มีความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป สาหตุดังกล่าวนี้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อแหล่งผลิตอาหารของโลกที่มีความจำเป็นต้องพยายามหาหนทางผลิตอาหารให้มากขึ้นเพื่อชดเชยส่วนที่ต้องสูญเสียไป ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก ในบางประเทศมีการนำเอาพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ เช่น การนำเอาพื้นที่ลุ่มเหมาะแก่การปลูกข้าว ปลูกผัก ไปพัฒนาเป็นแหล่งท่อยู่อาศัย และโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการปิดกั้นเส้นทางของน้ำตามธรรมชาติ การดูดทรายใต้พื้นที่ดินทางการเกษตร หรือแม้แต่การทำการเกษตรที่ฝืนธรรมชาติการนำเอาน้ำเค็มมาเติมในบริเวณน้ำจืดเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการกระทำที่สามารถทำให้พื้นที่ ๆ เหมาะต่อการปลูกพืชลดลง จำกัดแหล่งผลิตอาหารและอาจส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสียไปในระยะเวลาอันรวดเร็วได้ แต่โชคดีที่ในขณะนี้มีหน่วยงานทั้งของภาครัฐและเอกชนได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้ที่ดินกันอย่างเหมาะสมกันมากขึ้น                 ในการเพิ่มผลผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการปลูกพืชแล้ว สามารถกระทำได้หลายประการดังต่อไปนี้1)   การเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกให้มากขึ้น วิธีนี้ในอดีตใช้กันมาก แต่ในปัจจุบันอาจกระทำได้ยากเพราะการขยายพื้นที่เพาะปลูกนั้น อาจมีผลเสียตามมา คือการหักล้างถางพง หรือการทำไร่เลื่อนลอยตลอดจนการทำลายพื้นที่ป่าให้ลดลง ในบางประเทศไม่สามารถเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกโดยวิธีนี้อีกต่อไปได้แล้ว2)   การใช้พันธุ์พืชที่ดีและเหมาะสม ให้ผลผลิตสูง ในปัจจุบันมีการค้นคว้าวิจัยเพื่อค้นหาพันธุ์พืชใหม่ ๆ ที่มีคุณลักษณะที่ดี ให้ผลผลิตสูง ก้าวหน้าไปมากและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของพันธุ์ที่ดีนั้นก็มีอยู่มากมาย จึงจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่ไปกับวิธีการอื่นด้วย3)   การจัดการดินและเหมาะสม ดินเป็นทรัพยากรที่สำคัญมาก ถ้าดินดีอยู่แล้วก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแต่ถ้าการจัดการไม่มีก็จะมีผลอย่างยิ่งที่จะทำให้ดินเลื่อมโทรมได้เร็ว การจัดการดินที่ถูกต้องและเหมาะสมนั้นเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องระลึกถึงอยู่ตลอดเวลา1.5 การจัดการดินที่ดีควรมีการดำเนินการดังนี้ 1)   การจัดการด้านกายภาพของดิน  ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชเจริญเติบโตได้ดีในดินซึ่งโป่ง มีการระบายอากาศและน้ำดี  พืชบางชนิดอาจเจริญเติบโตได้ในดินแน่นทึบ มีน้ำขังการจัดการดินจึงต้องดำเนินการให้เหมาะสม  วิธีการต่าง ๆ ที่ใช้ปรับสภาพทางกายภาพของดิน ได้แก่การไถพรวน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์  การระบายน้ำ การเติบการปรับปรุงดินต่าง ๆ ควรมีการดำเนินการอย่างถูกต้องและเหมาะสม2)   การจัดการด้านชีวภาพของดิน นอกจากรากพืชแล้วในดินยังมีสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกมากมายหลายชนิด ถ้ามีการจัดการด้านชีวภาพของดินไม่เหมาะสมแล้ว อาจเป็นการส่งเสริมให้มีเชื้อสาเหตุของโรคพืชโดดเด่นขึ้น หรืออาจรวมไปถึงการสะสมสารพิษต่อพืชได้  ปกติแล้วการเติมอินทรียวัตถุลงดินอย่างเด่นขึ้นมา  หรืออาจรวมไปถึงการสะสมสารพิษต่อพืชได้ ปกติแล้วการเติมอินทรียวัตถุลงดินอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาระดับของอินทรียวัตถุในดินไว้ประมาณ 2 % ก็จะเป็นวิธีการที่เหมาะสมอย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้วการจัดการดินโดยวิธีการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเจริญเติบโตและกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดินก็เป็นสิ่งที่ควรกระทำ                ปริมาณอินทรียวัตถุในดินเป็นดัชนีประการสำคัญในการชี้บ่งความอุดมสมบูรณ์ของดินนอกเหนือไปจากปริมาณธาตุอาหารพืช cec และ ph ของดิน ปริมาณของอินทรียวัตถุของดินจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของสภาพแวดล้อม ชนิดของดิน พืชพันธุ์  และการจัดการดินหากมีอยู่ในเกณฑ์ตั้งแต่ต่ำถึงปานกลาง ก็ต้องมีการเติมอินทรียวัตถุให้แก่ดินอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการยกระดับอินทรีย์วัตถุในดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช3)   การจัดการดินด้านเคมีและความอุดมสมบูรณ์ของดิน การดูแลสภาพทางเคมีของดินเช่น ph ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน การเปลี่ยนแปลงรูปของธาตุอาหาร ตลอดจนการดูแลเกี่ยวกับความเพียงพอของธาตุอาหารพืชเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วพันธุ์พืชในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องการให้ผลผลิตสูง  การที่จะได้รับผลผลิตสูงนั้นต้องได้รับปริมาณธาตุอาหารอย่างพอเพียงด้วย กรณีเช่นนี้การเติมธาตุอาหารพืชในปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก  วิธีการต่าง ๆ ที่เป็นการจัดการดินในด้านนี้ได้แก่ การเขตกรรมต่าง ๆ เช่น การใส่ปูน การใส่ผงกำมะถัน การใส่สารปรับปรุงดิน การใส่ปุ๋ยต่าง ๆ ทั้งในรูป ปุ๋ยอนินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยชีวภาพ  เป็นต้นดินพร้อมปลูกส่วนประกอบ                 1. ดินหน้านา                                                                        40 %                2. แกลบดำ                                                                            30 %                3. กากปุ๋ยหมักหรือขุยมะพร้าว                                          25 %          4. น้ำหมักชีวภาพ                                                                  5 %                5. ถุงปุ๋ย (ถ้าเป็นถุงแป้งจะดีกว่า) วิธีทำ 1.    นำส่วนผสมตั้งแต่ข้อ 1-4  ผสมเข้าด้วยกัน (เหมือนผสมปูน) แล้วกระจายออกให้หนาจากพื้นประมาณ 10 ซม.

2.    รดน้ำจุลินทรีย์ที่ผสมไว้ แล้วคลุกคล้าเข้าด้วยกัน ลองเอามือขยำบีบดู ถ้าส่วนผสมเป็นก้อนไม่แตกออกจากกัน และมือรู้สึกชื้นๆ ไม่แฉะแสดงว่าใช้ได้ ถ้าแตกออกจากกันแสดงว่ายังใช้ไม่ได้ต้องรดน้ำเพิ่ม และถ้าแฉะก็ยังใช้ไม่ได้ จะทำให้เน่าต้องใส่ส่วนผสมเพิ่มแล้วบีบดูใหม่

3.    ใส่ส่วนผสมลงถุงปุ๋ยประมาณ 3 ใน 4 ของถุง ใช้เชือกมัดปากถุงให้แน่น วางซ้อนกันกี่ชั้นก็ได้โดยใช้ไม้ที่เตรียมไว้วางคั่นคู่ ตั้งแต่พื้นจนกว่าจะวางไม่ได้ ทิ้งไว้ 2 อาทิตย์ จึงนำไปใช้โดยเอามือซุกดูถ้าหายร้อนก็ใช้ได้ 4.    การเก็บตั้งแต่แรกให้เก็บไว้ในที่ร่ม ห้ามถูกแดดถูกฝน โดยให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก   

 

   
หมายเลขบันทึก: 146831เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 02:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอขอบคุณกลุ่มกล้วยหอมสำหรับข้อมูลเรื่องดินเพราะตอนนี้ประสบปัญหาเรื่องในการทำการเกษตรอยู่พอดี

 

 

จากอภิชาติ   พจน์ฉิมพลี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท