เกษตรผสมผสานด้วยภูมิปัญญา


เกษตรผสมผสานด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านพระบึง
เกษตรผสมผสานด้วยภูมิปัญญา  ชุมชนบ้านพระบึงตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเอปักธงชัย  อยู่ห่างจากอำเภอปักธงชัยประมาณ 15 กิโลเมตร อยู่กับถนนสาย 304 บ้านตะขบ ตั้งอยู่หมูที่ 10 ตำบลบ่อปลาทอง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา                 ชุมชนบ้านพระบึง  เป็นชุมชนที่ล้อมรอบด้วยป่าไม้ภูเขา มีสายน้ำธรรมชาติไหลผ่านหล่อเลี้ยงชุมชนได้ทำการเกษตร เลี้ยงสัตว์ ทำนาทำสวน เป็นอาชีพหลักของชุมชน จากเรื่องที่กล่าวมานี้เป็นการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญา การประกอบอาชีพจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น และมีการพัฒนาปัญญามาเรื่อยๆ ตามลำดับความเจริญของสังคมปัจจุบัน     ชุมชนบ้านพระบึงยึดอาชีพหลักคือการเกษตร ทำนาควบคู่การทำสวนแบบผสมผสานซึ่งไม่ต้องพลัดถิ่นไปทำมาหากินต่างถิ่น การทำการเกษตรก็มีรายได้และสามรถเลี้ยงครอบครัวได้ และส่วนหนึ่งก็นำมาทำเป็นอาหารรับประทานภายในครอบครัว และที่เหลือก็นำไปจำหน่ายเพื่อนำเงินมาใช้จ่ายภายในครอบครัว เมื่อประมาณปี พ.ศ.2500 ชุมชนบ้านพระบึงทำไร่อ้อย ปลูกพริก   ปลูกมะเขือ และผักอื่นๆ การทำนาบ้านพระบึงสามารถทำได้ปีละสองครั้ง ทำให้มีรายได้หมุนเวียนอยู่ตลอดปี                 ข้าพเจ้าได้สอบถามและได้รายละเอียดมาจากนางสำลี แถมสระน้อย ซึ่งพักอยู่บ้านเลขที่ 135 หมู่ที่ 5 หมู่บ้านพระบึง ตำบลบ่อปลาทอง อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา นางสำลี แถมสระน้อย  มีสามีชื่อนายสด  แถมสระน้อย มีบุตรเป็นพยานรักด้วยกัน 3 คน เป็นชาย 2  คน เป็นหญิง 1 คน นางสำลี  ประกอบอาชีพการเกษตรผสมผสาน เสร็จจาการทำนาก็ทำสวนควบคู่กันไป เช่น ปลูกพริก ปลูกละมุด ปลูกมะพร้าว และผักอื่นๆ ทำควบคู่ไปพร้อมๆ กันนางสำลี แถมสระน้อย ตั้งแต่เกิดมาก็อาศัยอยู่กับพ่อแม่ พ่อแม่ยึดอาชีพเกษตรกรมาตลอด และไม่เคยออกไปทำมาหากินต่างถิ่นเลย เมื่อนางสำลี มีครอบครัวก็พาครอบครัวยึดอาชีพเกษตรมาตลอด นายเฉียบ เจียมพรมราช มีพื้นที่นาและพื้นที่สวนเป็นของตนเอง                นางสำลี ได้เล่าถึงวิธีการทำนา ทำสวน ของตัวเองให้ข้าพเจ้าฟัง ในสมัยก่อนการทำการเกษตรยังไม่มีเครื่องมือทันสมัย ต่อมาเมื่อมีเครื่องมือทันสมัย การเตรียมแปลงทำนา การเตรียมแปลงทำสวน การเตรียมแปลงนาของนายเฉียบ  เจียมพรมราช เมื่อเริ่มทำก็จะปล่อยน้ำเข้าในแปลงนา ให้ได้ระดับนำประมาณ 10-15 เซนชิเมตร แล้วแช่ทิ้งไว้ประมาณ 4-5 วัน ก็จะทำการไถดะหรือไถแปร เพื่อพลิกหน้าดินให้วัชพืชจมดินทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็ทำการคราดให้รอยไถแตกละเอียด แต่เดิมจะใช้ควายลากไถหรือคราด ปัจจุบันใช้รถไถชนิดเดินตาม และพัฒนามาเป็นรถไถแบบนั่งขับ สภาพแปลงนาของนางสำลี เหมาะสำหรับการทำนาหว่าน การทำนาหว่านเหมาะในการลดต้นทุน เมื่อคราดตีดินให้ละเอียดแล้ว ก็จะใช้ต้นกล้วยผูกติดกับคราดเพื่อใช้ลากดินให้เรียบ เพื่อไม่ให้มีน้ำขังแปลงนา จะทำให้เมล็ดพันธุ์งอกได้สม่ำเสมอดี                การเตรียมเมล็ดพันธุ์ของนางสำลี บอกว่าก่อนจะนำเมล็ดพันธุ์ไปหว่านในแปลงนาจะต้องนำเมล็ดพันธุ์ที่คัดเลือกได้แล้วนำไปแช่น้ำ 1 คืน แล้วนำเมล็ดพันธุ์ใส่กระบุง หรือภาชนะที่น้ำซึมผ่านได้สะดวกทิ้งไว้ 2 คืน จึงจะนำไปหว่านในแปลงนาที่เตรียมไว้ เมื่อหว่าเมล็ดพันธุ์ได้ประมาณ 1 เดือน ก็จะหว่านปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยคอกตามลงไป เพื่อให้ข้าวเจริญงอกงาม เมื่อผ่านประมาณ 2-3 เดือน ก็จะหว่านปุ๋ยครั้งที่ 2 ลงไปอีกนางสำลี  บอกค่าใช้จ่ายต่อไร่ และผลที่ได้รับดังนี้                 ค่าใช้จ่ายต่อไร่ประมาณ 5,000-6,000 ต่อครั้งผลที่ได้รับต่อไร่ต่อครั้งประมาณ 4,000-6,000  บาทสรุปการทำนาจะมีรายได้ต่อไร่ประมาณ 3,000-4,000 บาท                การปลูกพืชผสมผสานของนางสำลี ปลูกด้วยกันหลายชนิด เช่น พริก มะเขือ ถั่วพู กล้วย และพืชสวนที่นางสำลี ประทับใจในการปลูกและดูแลอยู่และมีรายได้ตลอดปี  คือ ละมุด และนางสำลีปลูกละมุดไว้ประมาณ  2-3 ไร่นางสำลี มะละมุดอยู่ประมาณ  70-80 ต้น ในเนื้อที่ 3 ไร่ การปลูกละมุดนางสำลีปลูกระยะห่างกัน 6-8  เมตร การปลุกต้นละมุดให้ห่างกัน จะทำให้ละมุดเจริญเติบโตแข็งแรงเร็ว และต้นพุ่มใหญ่เก็บผลได้มากต่อต้น จึงนิยมปลูกห่างกัน นอกจากการปลูกละมุดไว้เพื่อจำหน่ายลูกแล้วนางสำลียังบอกอีกว่าสู้การขยายกิ่งพันธุ์ไม่ได้ การตอนกิ่งพันธุ์จำหน่ายจะมีรายได้ดีกว่า

การขยายกิ่งพันธุ์ของนางสำลี ฤดูที่เหมาะในการขยายพันธุ์คือเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม เพราะเป็นฤดูแล้ง  ละมุดเป็นต้นไม้มียางมากในการขยายกิ่ง  จึงต้องการขยายในฤดูแล้ง การขยายกิ่งพันธุ์ของนางสำลี ขั้นตอนที่ 1 จะเลือกกิ่งพันธุ์และไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป กิ่งพันธุ์ที่เหมาะคือกิ่งพันธุ์ที่มีอายุ 1ปี-2ปี เมื่อเริ่มตอนกิ่งพันธุ์ขั้นแรกเราจัดหาขุยมะพร้าวที่ตีเอาเซนออกแล้ว ก็จะนำขุยมะพร้าวที่ได้ไปพรมน้ำให้พอชุ่ม ไม่เปียกและไม่แห้งจนเกินไป ขุยมะพร้าวที่เหมาะเมื่อเรากำด้วยมือ จะต้องไม่มีน้ำไหลออกมาระหว่างนิ้วมือ เมื่อได้ขุยมะพร้าวแล้วก็นำขุยมะพร้าวใส่ถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะ หลังจากนั้นใช้เชือกปอรัดปากถุงให้แน่น  เมื่อเตรียมถุงขุยมะพร้าวเสร็จแล้วก็ไปที่กิ่งพันธุ์ที่จะขยายต่อ  จากนั้นก็เลือกกิ่งพันธุ์  เมื่อได้กิ่งพันธุ์แล้ว  ก็ใช้มีดปอกเปลือกออกระยะห่างกันประมาณ  1 นิ้ว โดยประมาณ  หลังจากนั้นใช้สันมีดขูดเยื่อเจริญพันธุ์ออก  โดยการขูดขูดจากด้านบนลงด้านล่าง ขูดเบาๆ เสร็จแล้ว ถุงพลาสติกขุยมะพร้าวผ่ากลางต่อไปที่แผลที่ปอกเปลือกออกแล้วผูกด้วยเชือก หรือตอกก็ได้  ปล่อยไว้ประมาณ  3 เดือน  ก็จะเห็นรากออกมาเมื่อมีรากฝอยออกให้เห็นก็เตรียมกิ่งได้แล้ว  ทำการตัดกิ่งออกมาชำในถุงดำเบอร์ 7 ก็เป็นอันว่าเสร็จ ในการขยายพันธุ์ด้วยการตอน  เมื่อกิ่งพันธุ์ติดดีแล้วก็จะนำไปจำหน่ายในราคากิ่งละ 40 -  50 บาท ต่อ 1 กิ่ง จบในการตอนกิ่งละมุดของนางสำลี แถมสระน้อย

หมายเลขบันทึก: 146816เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การทำการเกษตรแบบผสมผสานนี้ก็ดีนะครับหน้าจะเข้ากับหลักเกษตรพอเพียงได้เหมือนกัน

 

นายขวัญชัย  หัดสระน้อย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท