ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ


ประเพณีวัฒนธรรมของไทยทางภาคอีสาน

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญ เป็นประเพณีที่สืบทอดมาช้านานในจังหวัดขอนแก่น การบายศรีสู่ขวัญมักจะทำในโอกาสต่าง ๆ เช่น งานแต่งงาน มีบุตรใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ การเลื่อนยศตำแหน่ง การผูกเสี่ยว การบวชนาค หรืออาจบายศรีสู่ขวัญเมื่อเกิดเหตุร้าย เช่น เกิดอุบัติเหตุ ลูก, เมีย, สามี, เสียชีวิต

การบายศรีสู่ขวัญเป็นพิธีกรรมที่สร้างขวัญและกำลังใจของบุคคลให้ดีขึ้น

ในพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญจะจัดทำพาขวัญหรือที่เรียกว่าพานบายศรีขึ้น อาจเป็นพานบายศรี ๓ ชั้น ๕ ชั้น หรือ ๗ ชั้น โดยชั้นล่างของบายศรีดอกไม้จะมีข้าวต้ม ขนม กล้วย ชั้นที่ ๒, , ๔ มีบายศรีดอกไม้ ชั้นที่ ๕ มีบาศรีดอกไม้ ฝ้ายผูกแขน เทียนเวียนหัว พานบายศรีสู่ขวัญถือเป็นพานเบญจขันธ์ประกอบด้วย รูปเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในพานบายศรี จะประกอบด้วย เหล้าขาว ๑ ขวด ไข่ไก่ต้มสุก ๑ ฟอง ข้าวต้ม ๔ ห่อ กล้วยสุก ๔ ผลข้าวเหนียว นั่ง ๑ ปั้น พืชมงคลเช่น ใบคูน ใบเงิน ใบยอ ใบทอง ดอกรัก เป็นต้น

การสวด ผู้เป็นเจ้าของขวัญเข้ามานั่งใกล้พาขวัญแล้วตั้งจิตอธิษฐาน ขอให้มีความสุขความเจริญ ผู้สวดให้ตั้งจิตอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แล้วจุดเทียนเวียนหัว จุดธูปกราบพระพุทธรูป พระสงฆ์มือจับด้าย สายสิญจน์ เจ้าของขวัญเอามือขวาจับพาขวัญ ผู้สวด (พราหมณ์) อัญเชิญเทพยดาและอวยชัยให้พร ต่อจากนั้น ผู้อาวุโสสูงสุดในพิธีจะเอาฝ้ายผูกแขนจากพานบายสี มาผูกข้อมือให้กับผู้ทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ พร้อมทั้งให้พร เป็นอันเสร็จพิธี

ประวัติความเป็นมาของผู้ทำบายศรี

                ผู้ทำบายศรีไหว้พระ

                ยายถ่ำ  เยี่ยมสูงเนิน  อายุ  80  ปี  อยู่บ้านเลขที่ 22  บ้านแดง  หมู่ที่ 3  ตำบล ตะคุ 

อำเภอปักธงชัย  จังหวัดนครราชสีมา  ยายถ่ำเป็นคนบ้านแดงโดยกำเนิด  แต่งงานอายุ  20  ปี  สามีชื่อตาอินทร์  เยี่ยมสูงเนิน  ไม่มีบุตรด้วยกัน  อยู่ร่วมกันมาได้  20  กว่าปีก็เสียชีวิต  อาชีพ ทำไร่  ทำนา  พอสามีเสียชีวิตก็เลิกทำนา  ทำไร่  ทอผ้า  ปั่นหลอด  ขายผัก   พอได้เงินมาเลี้ยงชีวิตเพราะอยู่คนเดียว

                ปัจจุบัน อายุ  80  ปี ได้รับเบี้ยยังชีพคนชรา เดือนละ 500 บาท และหลานให้บ้าง ยายถ่ำเป็นผู้อาวุโสในหมู่บ้านที่มีความสามารถ มีภูมิปัญญาอยู่ในตัวเยอะ เช่น ทำบายศรีสู่ขวัญนาค  สวยงามมาก บายศรีไหว้ครู  บายศรีไหว้ศาลพระภูมิ  บายศรีไหว้พระธาตุ  จะขอยกบายศรีไหว้พระธาตุ ซึ่งยายถ่ำทำได้สวยงาม

                ส่วนประกอบ

1.       ใบตองเอาแต่ใบตองกล้วยตานีเท่านั้น  เพราะสีเขียวสวยเป็นมัน

2.       ดอกไม้ ดอกดาวเรือง  หรือดอกรัก  หรือดอกบานไม่รู้โรย

3.       เข็มกับด้าย  เอาไว้เย็บติดกัน เวลาประกอบเข้าหากัน

4.       พาน หรือ ขัน หรือชาม  สำหรับตั้งบายศรีเวลาทำเสร็จแล้ว

                วิธีทำ

                เอาใบตองมาพับเป็นสามเหลี่ยมแหลม พันหลายอันก่อนค่อยจับมาประกอบเอาดอกไม้ ดอกรักเสียงยอดแหลมสามเหลี่ยมไว้ตั้งพานใหญ่ พานเล็กแล้วแต่ขนาด ทำ  9  ชั้น  ถ้าไหว้พระตุ  ประกอบเสร็จเอาไปตั้งรอบพระธาตุ ทั้ง  4 ทิศ  จะเป็น  4  พาน  เป็นอันเสร็จจากการทำ

  
หมายเลขบันทึก: 146811เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญเป็นประเพณีของชาวไทยอีสานที่สืบทอดกันมาสมควรแก่การอนุรักษ์สืบสานต่อไป

 

 

จ.ส.อ. พรหมมา    ที่พัก

อยากได้แบบพานสวยๆๆ

อยากได้ความหมายของเพลงบายศรีด่วน

ส่งพรุ่งนี้ขอเร็วที่สุดนะ

ไม่ได้ก็ไม่เป็นไรค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท