ลำแคนเดือนห้า


ลำแคนเดือนห้าวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านของชาวตำบลตะคุ
ประวัติความเป็นมาของ  การลำแคนเดือนห้า                                ชาวตำบลตะคุ  เกือบทุกหมู่บ้านวังหิน บ้านหนองนมนาง ซึ่งพูดภาษาไทยโคราช นอกนั้น   ชาวตะคุพูดภาษาไทยอีสาน (ภาษาลาว) กินข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก บรรพบุรุษของเขาเลือดศิลปิน   สามารถแสดงศิลปะที่เรียกว่า  ลำแคนเดือนห้า                  ลำแคนเดือนห้าเป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวตะคุ  เพื่อเป็นการสนุกสนานรื่นเริงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่  คือ  วันตรุษ  วันสงกรานต์  การเล่นลำเดือนห้า  เท่าที่ให้สัมภาษณ์ก็นิยมเล่นกันในหมู่บ้านที่พูดภาษาอีสาน (ลาว)  ในเขตอำเภอปักธงชัย  อำเภอสูงเนิน  และที่อื่นๆ  คนเฒ่าคนแก่ส่วนมากจะลำเดือนห้าได้ทุกคน  ลำกันตั้งแต่หัวค่ำจนสว่างวันใหม่ก็ไม่หมด ความหมายของการลำแคนเดือนห้า หมายถึง  การที่ฝ่ายชาย (หนุ่ม)  ถามข่าวคราวของฝ่ายหญิง (สาว)  กล่าวต่อด้วยการเกี้ยวพาราสี      เช่น                 เมื่อหนุ่มหมอแคน เป่าแคนเพลงลำเดือนห้ามาในบริเวณที่ชุมชน ก่อกองไฟไว้ พวกหนุ่มหมอแคนจะมีคณะหมอลำหนุ่มๆตามมาด้วยหลายคน (คือคณะพวกหมอลำ หมอแคนชอบสาวๆบ้านใดคุ้มใดก็จะเป่าแคนไปเที่ยวบ้านนั้น เพลงลำเดือนห้ามีทำนองเพลง ช้ากับเพลงเร็ว)เมื่อมีวงหมอแคนจากหนุ่มต่างบ้านมา พวกผู้เฒ่าผู้แก่และสาวๆก็จะตบมือฟ้อนรำต้องเข้ากับจังหวะเสียงแคนทันที การลำเดือนห้าก็จะเริ่มขึ้น โดยฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายลำขึ้นก่อนเพื่อเชิญฝ่ายหญิงให้มาเล่นลำเดือนห้ากับคณะของพวกเข้าทีนที                                                                             กลอนลำเดือนห้า1.       ผู้ดีเอย  อ้ายนี่เปรียบดั่งจอกอยู่ในน้ำ  ฮากหยั่งบ่เถิงดิน  ไหลเวียนไปเวียนมากะบ่มีเฟืองค้างคันสิไหลไปค้างเฟืองลุ่ม  เพิ่นกะถาง  คันแม่นไหลไปค้างเฟือยบาง  เพิ่นกะถากว่าสิมาขอฝากเจ้าให้เอาอ้ายเข้าฮ่วมเฮือน  นอแม่ตาดำน่า2.       ผู้ดีเอย  น้องนี่นาเหลียวเห็นจอกอยู่น้ำ  ไหลวนไปทางอื่น  น้องนี่ยืนท่าน้ำ  จอกนั้นกะบ่มาซาปากอ้ายเว้ากายไปทางใหม่  ไหลไปท่าอื่นพุ้นย้อนบุญน้องนั้นบ่มี  หนอพ่อทองดีน่า3.       คนดีเฮย  คันสิไกลขอให้ไกลตั้งแต่บ้านฮั้วไฮ่นาสวนไกลขอให้ไกลตั้งแต่มวลหมู่เฮือนกับเล้าส่วนว่าวาจาเว้าสองคนเฮาอย่างได้ห่าง  ต่างคนแม่นสิอยู่ต่างบ้าน  ความเว้าอย่าห่างกันน้อพ่อขันทองน่า4.       น้องสาวเอย  ไกลขอให้ไกลตั้งแต่หน้า  ให้ไปมาอย่าได้ห่าง  ส่วนจิตอ้ายกะอยู่พี้  ใจอ้ายกะอยู่พี้สิไปพุ้นแต่ฮ่างคิง  น้อแม่คิงบางน่า5.       คนสวยเอย  ชายไปบ้านใจกะอยู่นำนาง  บ่มีทางหนีกัน  ห่างพะนางไปได้  แม่นสิอยู่ฟากฟ้ากะสิหย่อเป็นแผ่นเดียว  ทางสิบคืนซาวคืน  สิหย่อเป็นคราวมื้อ  คันความมักมันคือบ่อน้ำ  สิลงเล่นอยู่สู่ยาม  น้อแม่ตาดำน่า6.       คนดีเอย  น้องนี่น่า  ย้านอ้ายเกลี้ยงตั้งแต่ยามอยากได้  ความใด๋ดีเอามาว่า  บาดห่าได้ข่อยแล้วมีม้าย่านหนี  น้อพ่อสีดำน่า 7.       น้องสาวเอย  พี่นี้ปลอดอ้อยเสมอดั่งตองตัด  ผัดแต่เป็นชายมากะบ่มีเมียซ้อนผัดแต่เป็นกอขึ้นบ่มีเครือสิเกี้ยวอุ่ม  ผัดแต่เป็นหนุ่มขึ้น  บ่เคยเกี้ยวดอกผู้สาวน้อแม่ขาวบางน่า ประเภทของลำแคนเดือนห้า                        ลำแคนเดือนห้า 1.       การลำแบบชายเกี้ยวพาราสีหญิง2.       การลำแบบเกี้ยวพาราสีที่ตกลงปลงใจกันแล้ว3.       การลำแบบล่ำลาเพื่อกลับไปพักผ่อน  สภาพปัจจุบันของลำเดือนห้า                ในปัจจุบันการลำแคนเดือนห้า หาดูยากมากเนื่องจากไม่มีหมอแคนมาเป่า ต้องอัดเป็นเทปแล้วเปิดรำกัน และคนรำส่วนมาก็จะเป็นคนสูงอายุคนสาวๆจะไม่ค่อยชอบปัจจุบันมีคนรำจำนวนน้อย และจะรำกันเฉพาะช่วงเทศกาลเท่านั้น แล้วจะละเล่นตามหมู่บ้านบางหมู่บ้านเท่านั้น          
หมายเลขบันทึก: 146800เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2007 09:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ประเพณีลำแคนเดือนห้ายังมีอยู่ไหมครับผมไม่เคยดูอยากให้กลุ่มกล้วยหอมทองช่วยตอบหน่อยนะครับ

 

 จากนายสุชาติ    หัสสระน้อย  

อยากให้ลำแคนเดือนห้าออกมาเล่นให้ดูจัง

ประเพณีการรำเดือนห้าปัจจุบันหาดูได้ในพิธีลงข่วงฟ้อนแคนเดือนห้า ที่ อ.สีคิ้ว อ.สูงเนินคับ

ระหว่างเดือนพ.ค.-ก.ค.คับสิ้นสุดช่วงเข้าพรรษา


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท