น้ำอัดลม อันตรายมากมายกว่าที่คิด


ท่านอาจารย์ พตท.ทพ.พจนารถ พุ่มประกอบศรี เขียนเรื่อง "จิบทุกวันฟันไม่เหลือ" ในนิตยสาร 'HealthToday' ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ท่านอาจารย์ พตท.ทพ.พจนารถ พุ่มประกอบศรี เขียนเรื่อง "จิบทุกวันฟันไม่เหลือ" ในนิตยสาร 'HealthToday' ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติ สหรัฐฯ พบว่า ยิ่งดื่มน้ำอัดลมมาก จะยิ่งเสี่ยงฟันผุมากขึ้น

...

คนที่ดื่มน้ำอัดลม 2-3 ครั้งต่อวัน เสี่ยงฟันผุ 17-26%

ผลการสำรวจในอังกฤษพบว่า เด็กนักเรียนที่ดื่มน้ำอัดลม 1 กระป๋องต่อสัปดาห์เสี่ยงฟันผุเพิ่มขึ้น 3%

...

น้ำอัดลมส่งผลกระทบร้ายๆ ต่อสุขภาพอย่างกว้างขวางได้แก่

  1. น้ำตาล > ทำให้ฟันผุเพิ่มขึ้น
  2. กรดฟอสฟอริก กรดคาร์บอนิค และกรดซิทริค ทำให้ฟันสึกไปเรื่อยๆ ทำให้ฟันผุง่ายขึ้น และถ้ากินไปเรื่อยๆ จนถึงวัยกลางคนขึ้นไป จะเสี่ยงต่ออาการเสียวฟัน ทำให้การกินน้ำเย็น น้ำแข็ง ไอสกรีม ผลไม้ น้ำผลไม้กลายเป็นเรื่องลำบากยากเย็น (จากอาการเสียวฟัน)
  3. ทำให้เสี่ยงโรคอ้วน
  4. โรคอ้วนทำให้เสี่ยงเบาหวานชนิดที่ 2
  5. เบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อเป็นไปสัก 10-15 ปีจะเริ่มเสี่ยงต่อโรคไตเสื่อมสภาพ ไตวาย ตาเสื่อมสภาพ โรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เส้นเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

...

นอกจากนั้นน้ำอัดลมยังทำให้ร่างกายสูญเสียแคลเซียมทางปัสสาวะเพิ่มขึ้น เนื่องจากกรดฟอสฟอริกถูกขับออกทางปัสสาวะ ทำให้ร่างกายต้องดึงด่าง(แคลเซียม)มาช่วยในการขับถ่ายของเสีย

การสูญเสียแร่ธาตุ เช่น แคลเซียม ฯลฯ ติดต่อกันนานๆ ทำให้เสี่ยงต่อโรคกระดูกโปร่งบาง หรือกระดูกพรุน โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน

...

เรียนเสนอให้พวกเราหันมา "งด-ลด-ละ-เลิก" น้ำอัดลม เพื่อสุขภาพจะได้ดีไปนานๆ ครับ 

ขอแนะนำ                                          

  • รวมเรื่องสุขภาพ "สุขภาพช่องปาก-ฟัน-เหงือก" > [ Click ]
  • บล็อก "บ้านสาระ" > [ Click ]

ที่มา                                                 

  • ขอขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ พตท.ทพ.พจนารถ พุ่มประกอบศรี > จิบทุกวันฟันไม่เหลือ > HealthToday พฤศจิกายน 2550 (www.healthtodaythailand.com) > ปี 7 ฉบับ 80 หน้า 86-87. 
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 14 พฤศจิกายน 2550.
หมายเลขบันทึก: 146401เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2007 17:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีจังเลยที่ไม่ดื่มน้ำอัดลมอยู่แล้ว

 

อยากให้คนรอบตัวงดดื่มด้วยค่ะ คุณหมอ

จะเริ่มจากตรงไหนก่อนดีหรอคะ

ค่อย ๆ ลด หรือว่าหักดิบเลยยดีเอ่ยย

ขอขอบคุณ... คุณ Pinkaew

  • ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่า น้ำอัดลมนี่จะหักดิบดี หรือว่า จะค่อยๆ ลดดี...

ข่าวร้ายสำหรับตัวผมเองคือ ดื่มน้ำอัดลมมากมาตั้งแต่เด็ก...

  • นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีปัญหากับฟันเกือบทุกซี่ เกิดทั้งฟันผุ เสียวฟัน อุดฟัน ไปจนกระทั่งที่อุดฟันแตก...
  • เมื่อ 1+ ปีก่อน... ผมถูกรื้อที่อุดฟันใหม่เป็นรอบที่ 3 (ถ้าจำไม่ผิด) อาจารย์หมอฟันบอกว่า ต่อไปคงจะอุดซ้ำไม่ได้ เพราะเนื้อฟันบางแทบจะเป็นกระดาษอยู่แล้ว

ตอนนี้หมอฟันที่โรงพยาบาลแนะนำให้ไปทำครอบฟัน

  • เริ่มจากการรื้อที่อุดฟันมาอุดใหม่...
  • ทำพิมพ์ฟัน กรอฟัน ทำครอบฟันชั่วคราวจากซีเมนต์ และรอทำที่ครอบฟันใหม่
  • ใช้เวลาทำฟันมา 3 สัปดาห์กว่าแล้ว ยังไม่แล้วเสร็จเลย นับเป็นฝันร้ายที่เป็นจริง...
  • แถมค่าทำครอบฟันคิดเป็นรายซี่ ซี่ละ 4,000-6,000 บาทขึ้นไปเสียด้วย
  • ผมคงจะต้อง "หักดิบ" น้ำอัดลมครับ
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท