งานพัฒนาคน คนพัฒนางาน


การประชุม อบรม ใครว่าไม่สำคัญ

   ตามที่  คณะนิติศาสตร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งจะนำพาให้คณะมีความเป็นเลิศทางวิชาการ จึงมีนโยบายสนับสนุนให้บุคลากรในคณะ เข้ารับการฝึกอบรม สัมมนา ศึกษาดูงาน เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพในการปฏิบัติงาน มีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิชาการ อย่างต่อเนื่อง อันจะนำมาสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ และความเป็นเลิศทางวิชาการต่อไป (http://gotoknow.org/blog/lawlaw/146368

     ผู้เขียนเองก็ได้นำนโยบายดังกล่าวมาใช้และพัฒนางานของตนเอง  (ทางการหน่อยนะคะ)

     ผู้เขียนได้เข้าร่วมอบรม ดังนี้

     1.  การฝึกอบรมหลักสูตร  “การเขียนหนังสือราชการ  หนังสือโต้ตอบและรายงานการประชุม”  รุ่นที่  61  เมื่อวันที่  23 – 25 เมษายน  2550

หน่วยงานที่จัด            มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช   จังหวัดนนทบุรี

เนื้อหาโดยสรุป

     1.  หัวข้อการอบรมและวิทยากร  หัวข้อการอบรม “การเขียนหนังสือราชการ  หนังสือโต้ตอบและรายงานการประชุม”  วิทยากรคือ  รองศาสตราจารย์นภาลัย  สุวรรณธาดา,  พันเอก(พิเศษ)กิจคณิตพงษ์      อินทอง  และอาจารย์อดุล  จันทรศักดิ์  จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 

      2.  รูปแบบและวิธีการฝึกอบรม  มีการทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม  วิทยากรบรรยายโดยมีสื่อคอมพิวเตอร์และตำราประกอบ  ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติงานเป็นกลุ่มและรายบุคคลนำเสนองานโดยมีวิทยากรเสนอแนะ  นอกจากนั้นยังมีกรณีศึกษา  ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมฝึกการแก้ไขและวิจารณ์หนังสือราชการ 

AAR (After  Action  Review)

1.      คาดหวังอะไรจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน  ในครั้งนี้

ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการ  หนังสือโต้ตอบและรายงานการประชุม

2.      สิ่งที่ได้เกินความคาดหวังจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน 

 วิทยากรมีความเป็นกันเอง  และถ่ายทอดความรู้ให้อย่างเต็มความสามารถ

3.      สิ่งที่ได้น้อยกว่าที่คาดหวังจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน   

ระยะเวลาน้อยไป 

4.      หลังจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน  แล้ว  จะนำประสบการณ์ที่ได้ไปปรับ/ปรุง/พัฒนา  ในการทำงานอย่างไรบ้าง

ได้รับความรู้ความเข้าใจและสามารถเขียนหนังสือราชการประเภทต่างๆ  ได้  สามารถวิเคราะห์และตรวจแก้หนังสือราชการได้อย่างถูกต้องตามหลักการ


     2.  เข้าร่วมงานมหกรรมนักอ่าน  เมือง  IT   ระหว่างวันที่  13 – 16  มิถุนายน  2550 

น่วยงานที่จัด     ณ  Hall 9  อิมแพคเมืองทองธานี  จังหวัดนนทบุรี 

เนื้อหาโดยสรุป

            ข้าพเจ้าได้เข้าร่วมงานมหกรรมนักอ่าน  โดยภายในงานมีรูปแบบการจัดกิจกรรมดังนี้

     1.   เมืองนักอ่าน  เป็นมุมเกี่ยวกับชุมชนนักอ่านสังคมชนบท  และสังคมเมือง  มุมหนังสือดีมีคุณค่า  และกิจกรรมสำหรับนักอ่านมากมาย

     2.      ชมนิทรรศการพระมหากษัตริย์นักพัฒนา  “อัครศิลปิน”  นิทรรศการเจ้าฟ้านักอ่าน  “วิศิษฏ์ศิลปิน”

     3.      เมืองห้องสมุดสมัยใหม่  เป็นการจัดนิทรรศการห้องสมุดสถานศึกษาและหน่วยงานจากภาครัฐ  และเอกชน

     4.      เมือง  IT  เป็นมุมเกี่ยวกับการเรียนรู้เทคโนโลยีทันสมัย

     5.      มุมหนังสือดี  จะเป็นการจำหน่ายหนังสือจากสำนักพิมพ์ต่างๆ

     6.      เวทีกิจกรรม  เป็นการแสดง  การประกวดแข่งขัน

     นอกจากนี้  ภายในงานการยังมีการจัดอบรมและสัมมนาในหัวข้อต่างๆ  และในส่วนที่เกี่ยวกับห้องสมุด  ซึ่งหัวข้อที่ข้าพเจ้าได้รับการอบรม  เรื่อง  “ประชุมวิชาการ  ภาพลักษณ์ห้องสมุดสมัยใหม่  สร้างสัมพันธภาพและความพึงพอใจให้ผู้ใช้บริการ” 

AAR (After  Action  Review)
1.      คาดหวังอะไรจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน  ในครั้งนี้

ได้รับความรู้จากการเข้าชมนิทรรศการภายในงาน  โดยมีการแสดงนิทรรศการของห้องสมุดต่างๆ  ภายในงาน

2.      สิ่งที่ได้เกินความคาดหวังจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน 

มีการนำห้องสมุดต่างๆในประเทศไทยมารวมอยู่ศูนย์กลางเดียวกัน เพื่อให้ผู้เข้างานได้ชมตามบูธต่างๆ   โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่จริงๆ

3.      สิ่งที่ได้น้อยกว่าที่คาดหวังจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน   

ระยะเวลาน้อยไป  เดินได้ไม่ทั่วงาน อิอิ 

4.      หลังจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน  แล้ว  จะนำประสบการณ์ที่ได้ไปปรับ/ปรุง/พัฒนา  ในการทำงานอย่างไรบ้าง

ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นและนำไปเป็นแนวพัฒนาห้องอ่านหนังสือและค้นคว้าวิจัย


     3.  การประชุมวิชาการของสำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ปี  2550  เรื่อง  ห้องสมุดเชิงรุก : การปรับตัวสู่การเป็นห้องสมุดในโลกไร้พรมแดน  เมื่อวันที่  29 – 30  สิงหาคม  2550 

หน่วยงานที่จัด            มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  จังหวัดกรุงเทพมหานคร

เนื้อหาโดยสรุป

1.  หัวข้อการอบรมและวิทยากร  

1.1  ปาฐกถาพิเศษ  เรื่อง  ห้องสมุดเชิงรุกที่ผู้บริหารคาดหวัง  วิทยากรโดย  อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

1.2  การบรรยาย  เรื่อง  รุกอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ  :  จากประสบการณ์จริง  วิทยากรโดย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์นงนุช  ภัทราคร

1.3  การบรรยาย  เรื่อง  นโยบาย  กลยุทธ์  และแนวทางในการจัดการห้องสมุดเชิงรุก  วิทยาการโดย  รองศาสตราจารย์ยืน  ภู่วรวรรณ

1.4  การบรรยาย  เรื่อง  การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการเชิงรุก  วิทยากรโดย  ดร.ชัยสมพล  ชาวประเสริฐ ,  นางเพ็ญสุวรรณ  นาคะปรีชา  และดร.นงเยาว์  เปรมกมลเนตร

1.5  การบรรยายเรื่อง  การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้กับห้องสมุดเชิงรุก  วิทยากรโดย  นางสาวสมสุณีย์  ดวงแข 

1.6  การบรรยายเรื่อง  การประชาสัมพันธ์และการตลาดกับห้องสมุดเชิงรุก  วิทยากรโดย  ดร.พจน์  ใจชาญสุขกิจ

2.  รูปแบบและวิธีการ  วิทยากรบรรยายโดยมีสื่อคอมพิวเตอร์และตำราประกอบ  โดยผู้เข้าประชุมรับฟังการบรรยายและสามารถซักถามหากมีข้อสงสัย

AAR (After  Action  Review)

1.      ท่านคาดหวังอะไรจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน  ในครั้งนี้

ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับห้องสมุดเชิงรุก : การปรับตัวสู่การเป็นห้องสมุดในโลกไร้พรมแดน 

2.      สิ่งที่ได้เกินความคาดหวังจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน 

วิทยากรมีความเป็นกันเอง  และถ่ายทอดความรู้ให้อย่างเต็มความสามารถ  และได้พบบรรณารักษ์ที่อยู่ในสายอาชีพเดียวกัน

3.      สิ่งที่ทได้น้อยกว่าที่คาดหวังจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน 

ระยะเวลาน้อยไป   และการประชุมจะเชิงบรรยายตลอดทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดความเมื่อยล้า   

4.      หลังจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน  แล้ว  จะนำประสบการณ์ที่ได้ไปปรับ/ปรุง/พัฒนา  ในการทำงานอย่างไรบ้าง

ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น  สามารถนำไปเป็นแนวทางพัฒนาห้องอ่านหนังสือและค้นคว้าวิจัย  และทำให้ทราบว่าห้องสมุดในปัจจุบันจะต้องมีการทำงานควบคู่ไปกับเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งแยกจากกันมิได้  ซึ่งหากห้องสมุดใดที่ขาดเทคโนโลยีที่ทันสมัยแล้ว  อาจจะทำให้ห้องสมุดนั้น   ก้าวไม่ทันกับโลกในยุคปัจจุบัน  ทำให้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีในห้องสมุดไม่สอดคล้องกับความต้องการ  หรือผู้ใช้ไม่สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว

     4.  อบรมเชิงปฏิบัติการผู้ประสานงานวิจัย : หลักสูตร KM WORKSHOP  ณ  จังหวัดนครราชสีมาและมหาวิทยาลัยนเรศวร  จังหวัดพิษณุโลก  ในระหว่างวันที่  16 – 22  ตุลาคม  2550 

หน่วยงานที่จัด            สถานบันบริหารการวิจัยและพัฒนา  มหาวิทยาลัยนเรศวร 

เนื้อหาโดยสรุป

1.  หัวข้อการอบรมและวิทยากร    

1.1  Km  Workshop  :  Changing  from  Messenger  to  Manager  “การปรับเปลี่ยนบทบาทจากการเป็น  Messenger  ไปเป็น  Manager  โดย  ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร  รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ  มหาวิทยาลัยนเรศวร  

1.2  ผู้ประสานงานวิจัยกับงานทรัพย์สินทางปัญญา  โดย  ดร.ผ่องศรี  เวสารัช  จากกองแผนงาน  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  

1.3  ผู้ประสานงานวิจัยกับงานวิจัยสถาบัน  โดย  นางสุนิตย์  เทพไพฑูรย์  จากศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยและทรัพย์สินทางปัญญา  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  

1.4  TCI  :  ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย  โดย  นายธีระศักดิ์  หมากผิน  จากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี  

1.5  บทบาทของผู้ประสานงานวิจัยและการจัดการระบบข้อมูลงานวิจัย  โดย  รศ.ดร. พีระเดช  ทองอำไพ  จาก สกว

2.  รูปแบบและวิธีการฝึกอบรม  ในวันที่  16-18  ตุลาคม  2550  มีการทำกิจกรรมร่วมกัน  โดยแบ่งออกเป็น  4  กลุ่ม  วิทยากรบรรยายโดยมีสื่อคอมพิวเตอร์และตำราประกอบ  และมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการทำงานด้านวิจัย  และในวันที่      19 และ  22  ตุลาคม  2550 นำผลที่ได้รับจากการอบรมมาสกัดความรู้ที่ได้รับและนำเสนอผลงานให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยนเรศวรทราบ 

AAR (After  Action  Review)
    
1.      คาดหวังอะไรจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน  ในครั้งนี้

ได้รับความรู้จากการร่วมอบรมและได้รู้จักผู้ประสานงานวิจัยคณะอื่นๆ  มากขึ้น 

2.      สิ่งที่ได้เกินความคาดหวังจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน   

บรรยากาศในการจัดอบรมสนุก  ไม่เครียด  มีความเป็นกันเอง

3.      สิ่งที่ได้น้อยกว่าที่คาดหวังจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน   

ระยะเวลาน้อยไป     

4.      หลังจากการเข้าร่วมประชุม/อบรม/สัมมนา/ดูงาน  แล้ว  จะนำประสบการณ์ที่ได้ไปปรับ/ปรุง/พัฒนา  ในการทำงานอย่างไรบ้าง

ได้รับความรู้ความเข้าใจและสามารถนำมาปรับใช้และพัฒนาในงานของตนเอง

        และผู้เขียนเชื่อว่า  หากเราหมั่นพัฒนาตนเองอยู่สม่ำเสมอแล้ว  ผู้เขียนคิดว่า  งานทุกงานย่อมประสบความสำเร็จ  และสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาองค์กรของเราให้ก้าวต่อไป  

หมายเลขบันทึก: 146382เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2007 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2019 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • เนี่นมมากๆเลย ถ้านำร่องแบบนี้ คงจะเป็นตัวอย่างดีๆให้หลายๆคน
  • บางครั้งการไปสัมมนาดูงาน แต่กลับมาเขียนรายงานในกระดาษส่งให้คณะ
  • คนอื่นๆก็ไม่รู้ด้วย ถ้าลงบล็อกด้วยจะดีมากเลย
  • การให้ความรู้เป็นบุญ อย่างหนึ่งอะจ้ะ
การศึกษา จะช่วยพัฒนาคนธรรมดาให้กลายเป็นคนมีคุณภาพ
การฝึกอบรม จะช่วยสร้างคนที่มีความสามารถในการปฏิบัติงาน

คณะนิติฯ กำลังสร้างบรรณารักษ์ติงต๊องคนนี้ให้กลายเป็นคนที่มีทั้งคุณภาพและความสามารถ สาธุ!!

ปล. อย่าทำของหายอีกละ 55 ขี้เกียจตามสอบฯ
  • ขอบคุณคุณแก่นจังมากเลยนะจ๊ะ  บทความข้างบนหวังว่าคงจะได้ประโยชน์และเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้อ่านกัน
  • คุณนิติกรอัตราส่วนไขมันสูง  ขอบคุณสำหรับคำติชม  (ฮึ่มๆ) 555
  • ต้องตามเข้ามาอ่านตามหน้าที่เพื่อนที่ดี (เฮ้ยไม่ใช่) คนใฝ่รู้
  • อิอิ ได้พัมนาตนเองก็ดีแล้ว ประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากที่ไหน
  • พยายามต่อไป สู้ๆๆ

เป็นสิ่งที่ดีมากๆ เลย ตอนนี้ที่ทำงานก็พยายามผลักดันอยู่ให้ทุกๆคนได้เข้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็เป็นแนวทางที่ดีมากทีเดียว

  • ขอบคุณค่ะ  สายลมที่หวังดี วันหลังคงได้มีโอกาสอบรมด้วยกัน 
  • ขอบคุณพี่สุกนกานต์  ที่แวะเข้ามาทักทาย  ดีค่ะ  ถ้าหน่วยงาน  ได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

สวัสดีคับ

  พี่เก่งจังเลยอ่ะคร้าบบ ขอชม....เป็นกำลังใจให้นะคร้าฟ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท