ผู้บริหารการพยาบาลกับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล


บทความวิชาการ

........ บทบาทผู้บริหารการพยาบาล กับการขับเคลื่อนระบบคุณภาพโรงพยาบาล

บทนำ ในกระแสแห่งการตื่นตัวในเรื่องของระบบคุณภาพ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบคุณภาพ ที่มีกระแสความรุนแรง และตื่นตัวเป็นอย่างยิ่งในขณะนี้ คงหนีไม่พ้น กระแสโรงพยาบาลคุณภาพ ( HA)  ของสถาบันพัฒนา และรับรองคุณภาพโรงพยาบาล  โรงพยาบาลเป็นสถานบริการที่มีพยาบาลเป็นบุคลากรที่มีความสำคัญในการดูแลผู้มารับบริการตลอด  24 ช.ม  งานบริการในการดูแลผู้ป่วยมากกว่า  80 %  อยู่ในความดูแลของบุคลากรพยาบาล  การพัฒนาระบบคุณภาพของโรงพยาบาล โดยเน้นผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง  เป็นภาระงานที่ต้องมีพยาบาลเป็นผู้มีบทบาทในการ-ค้นหาปัญหา , ความต้องการ และโอกาสในการพัฒนาระบบงานบริการเพื่อตอบสนองความต้องการ และความพึงพอใจของผู้รับบริการ      ผู้บริหารการพยาบาล  จึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนระบบคุณภาพ ของโรงพยาบาล ตั้งแต่การจัดการบุคลากรทางการพยาบาลทีมีความรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยด้วยทักษะ และความรู้ที่พอเพียง  เพื่อนำไปสู่การดูแลผู้รับบริการ ตั้งแต่เกิดจนตายอย่างคุณภาพ  และมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์   การดูต่อเนื่องที่บ้าน   และครอบคลุมองค์รวม  , การจัดการระบบการค้นหาความสี่ยงทั้งด้านคลินิก ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม  เพื่อนำไปสู่การจัดการระบบเพื่อการดูแลผู้ป่วย ให้มีความปลอดภัยเมื่อรับบริการในสถานบริการ  

   ..บทบาทผู้บริหารการพยาบาล กับการขับเคลื่อนระบบคุณภาพโรงพยาบาล  เพื่อการรับรอง โรงพยาบาลคุณภาพ  ( HA  )  จุดเริ่มต้นของการเป็นผู้บริหารการพยาบาล กับการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล  บทบาทที่สำคัญของผู้บริหารการพยาบาลต่อการพัฒนาระบบคุณภาพดังกล่าวไม่ได้หมายความว่า  ผู้บริหารการพยาบาลต้องเป็นผู้จัดการศูนย์คุณภาพของโรงพยาบาล   หรือต้องเป็นประธานคณะกรรมการทุกๆ คณะกรรมการ  แม้ว่าระบบคุณภาพของสถานบริการ เกือบทุกระบบที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย จะขับเคลื่อนไปได้ด้วยดี  ต้องเกิดจากการดูแลผู้ป่วยของทีมพยาบาลทั้งหมดก็ตามที ยกตัวอย่างเช่น  การดูแลผู้ป่วย อย่างเป็นสหสาขาวิชาชีพ แม้ว่าหัวหน้าพยาบาลไม่ได้เป็นคณะทำงาน แต่เราต้องรู้ว่า เราต้องเข้าร่วมพังการประชุม เพื่อวางแผนในการดูแลผู้ป่วยในรูปแบบสหสาขาวิชาชีพ ทั้งในคณะทำงานภาพรวมของโรงพยาบาล หรือการวางแผนในหน่วยบริการย่อยที่อยู่ภายใต้การดูแลของเรา เพื่อสามารถร่วมให้การตัดสินใจให้กับทีมพยาบาลที่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยเหล่านั้น ผู้ป่วยเหล่านั้น อยู่กับลูกน้องของเราตลอด 24 ช.ม คุณภาพ ในการดูแลผู้ป่วย จะมีมาตรฐานเพียงใด หรือพัฒนาให้ก้าวไกลแค่ไหน กลุ่มคนที่จะเป็นตัวเชื่อมต่อความเป็นคุณภาพ คือพยาบาล หัวหน้าพยาบาลต้องมีความรู้ และสามารถร่วมวางแผน และตัดสินใจ ในการที่จะร่วมสร้างความมีมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วย และสามารถเชื่องโยงกับสหสาขาวิชาชีพ ตลอดจนสามารถแสดงบทบาทของทีมพยาบาลที่มีความสัมพันธ์กับปฏิบัติการพยาบาลที่มีความเป็นเอกสิทธิ์ที่จะสามารถสื่อให้สหสาขาวิชาชีพ เห็นว่าเราเป็นบุคคลที่สำคัญในการสร้างความเป็นคุณภาพ ให้กับผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยเหล่านั้น อยู่ภายใต้การดูแล และการตัดสินใจ ในช่วงเวลาที่สำคัญ กับชีวิตของพวกเขา การที่เราได้รับรู้ และให้การสนับสนุน ในระบบงานคุณภาพ ใดๆ จะทำให้ระบบงานคุณภาพ ตัวนั้น สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างรวดเร็ว แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า เราต้องเป็นตัวขับเคลื่อนทุกระบบงาน ทุกคณะทำงาน แต่เราต้องสามารถรวบรวมการดำเนินกิจกรรมคุณภาพ ของหน่วยบริการที่อยู่ภายใต้การดูแล และความรับผิดชอบของเรา และสามารถตอบได้ว่า คุณภาพ ของกลุ่มพยาบาล อยู่ตรงไหน ตัวชี้วัดอะไร ที่บ่งบอกถึงความมีคุณภาพ ของทีมการพยาบาล และทุกวันนี้ คุณภาพตัวไหนที่กลุ่มการพยาบาล ของเราสามารถประกันได้ว่า ถ้ามารับบริการที่โรงพยาบาลของเรา บริการอะไรที่ทีมการพยาบาล จะสามารถประกันคุณภาพได้ ตลอดจนสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงภายใต้การจัดการของกลุ่มการพยาบาล และสามารถเชื่อมโยงกับการจัดการความเสี่ยงในภาพรวมของโรงพยาบาล และอีกมากมาย...ที่อยากบอกให้หัวหน้าพยาบาลรู้ว่า เรามีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพ ไม่ว่าตามมาตรฐานใดๆก็ตามที ผู้บริหารการพยาบาล กับการพัฒนาระบบคุณภาพ ของโรงพยาบาลไม่ใช่เรื่องใหม่  พยาบาลกับการพัฒนาระบบคุณภาพทางการพยาบาลเป็นเรื่องที่เกิดมานานนับสิบปี  เป็นพัฒนาการที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ผู้บริหารการพยาบาลต้องสามารถต่อยอดการพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาลทีมีอยู่สู่การพัฒนาระบบคุณภาพในภาพรวมของโรงพยาบาล  องค์ความรู้ที่ผู้บริหารทางการพยาบาลต้องมี และเป็นความรู้พื้นฐานเพื่อนำไปสู่การเป็นผู้ขับเคลื่อนของระบบคุณภาพ ตามมาตรฐานการพัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาล ( HA )  มีดังนี้

1.       มาตรฐาน HA และเกณฑ์พิจารณา ฉบับบูรณาการ ภาพรวมระดับโรงพยาบาล  และ ความรู้มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับ พ.ศ. 2549

2.       ความรู้โดยละเอียด ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทางการพยาบาลอย่างมีคุณภาพ  บทที่  12       ของมาตรฐาน HA และเกณฑ์พิจารณา ฉบับบูรณาการ ภาพรวมระดับโรงพยาบาล  

3.       ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล ตามแนวทางการพัฒนาระบบคุณภาพการพยาบาลของสำนักการพยาบาล  

4.       ความรู้พื้นฐานในเรื่องของดัชนีชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ตามแนวทางของสำนักการพยาบาล  

 ความสามารถในการเชื่อมโยงระบบ ของมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพอนามัย        ฉบับ พ.ศ 2549  , มาตรฐาน HA และเกณฑ์พิจารณา ฉบับบูรณาการ ภาพรวมระดับโรงพยาบาล        กับการบริหารจัดการในภาพรวมของกลุ่มการพยาบาลที่สามารถต่อยอดกับ       ระบบของโรงพยาบาล   ความมากมายของความรู้พื้นฐานที่ ผู้บริหารทางการพยาบาลต้องมี ไม่ได้ดูมากมายไปเกินกว่าความสามารถที่ผู้บริหารทางการพยาบาลจะสามารถเรียนรู้ได้ เพราะผู้บริหารการพยาบาลต้องรู้เท่าทัน และสามารถพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา

ความรู้พื้นฐานใน มาตรฐาน HA และเกณฑ์พิจารณา ฉบับบูรณาการ ภาพรวมระดับโรงพยาบาล  

 หมวดที่  1     ความมุ่งมั่นในการพัฒนาคุณภาพ โดยการนำขององค์กร และทิศทางนโยบาย

หมวดที่  2      ทรัพยากร และการจัดการทรัพยากร ทั้งในเรื่องของการประสานบริการ การบริหาร และพัฒนาทรัพยากรบุคคล การบริหารสิ่งแวดล้อม การจัดการเครื่องมือ และระบบสารสนเทศ 

หมวดที่  3        กระบวนการคุณภาพ ทั้งด้านทั่วไป ด้านคลินิกบริการ  การควบคุม และป้องกันโรคติดเชื้อ ในโรงพยาบาล

หมวดที่  4        การรักษามาตรฐาน และจริยธรรมทางด้านวิชาชีพ  ทั้งองค์กรแพทย์  การบริหารการพยาบาล

หมวดที่  5        สิทธิผู้ป่วย และจริยธรรมองค์กร ในเรื่องของสิทธิผู้ป่วย   และจริยธรรมองค์กร

หมวดที่  6        การดูแลรักษาผู้ป่วย  ทั้งในการทำงานเป็นทีม ,การเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ป่วย และครอบครัว ,  การประเมิน และวางแผนในการดูแลรักษา ,  กระบวนการดูแลรักษาผู้ป่วย  , การบันทึกข้อมูล  การเตรียมจำหน่าย และการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง   

ความรู้พื้นฐาน  มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับ พ.ศ. 2549

1. การวัด วิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 

2. ระบบงานที่สำคัญของโรงพยาบาล  

2.1 ความเสี่ยง ความปลอดภัย คุณภาพ

2.2 การกำกับดูแลวิชาชีพ

2.3 โครงสร้างกายภาพและสิ่งแวดล้อม

2.4 การป้องกันการติดเชื้อ

2.5 ระบบเวชระเบียน

2.6 ระบบจัดการด้านยา

2.7 ระบบการตรวจทดสอบฯ

2.8 งานบริการโลหิต

2.9 การทำงานกับชุมชน

2.10 กระบวนการดูแลผู้ป่วย      

3. กระบวนการดูแลผู้ป่วย

3.1 การเข้าถึงและเข้ารับบริการ

3.2 การประเมินผู้ป่วย

3.3 การวางแผน

3.4 การดูแลผู้ป่วย

3.5 การให้ข้อมูลและเสริมพลัง      

3.6  การดูแลต่อเนื่อง

4..ผลลัพธ์

4.1 ด้านการดูแลผู้ป่วย

4.2 ด้านการมุ่งเน้นผู้รับผลงาน

4.3 ด้านการเงิน

4.4 ด้านทรัพยากรบุคคล

4.5 ด้านประสิทธิผลขององค์กร

4.6 ด้านการนำและสังคม

4.7 ด้านสร้างเสริมสุขภาพ

 ความรู้โดยละเอียด ในหมวดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทางการพยาบาลอย่างมีคุณภาพ 

บทที่  12  ของมาตรฐาน HA และเกณฑ์พิจารณา ฉบับบูรณาการ ภาพรวมระดับโรงพยาบาล 

 Nur 1        เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ของการมีองค์กรพยาบาล

Nur 2        โครงสร้างองค์กร และการบริหารองค์กร

 Nur 3        การจัดการด้านทรัพยากรบุคคล

Nur 4        การพัฒนาทรัพยากรบุคคล 

 Nur 5        นโยบาย และวิธีปฏิบัติ

Nur 6        ระบบงาน การประเมิน และการบริหารการพยาบาล

 Nur 7        กิจกรรมพัฒนาคุณภาพ   

 ผู้บริหารทางการพยาบาลกับการเป็นผู้พัฒนาคุณภาพการพยาบาล ตามแนวทางของสำนักการพยาบาล  

 1. ผู้บริหารทางการพยาบาลต้องมีวิสัยทัศน์ในการบริหารงาน  รู้ว่าโรงพยาบาลมีกลุ่มการพยาบาลทุกวันนี้เพื่ออะไร บทบาทสำคัญของทีมบริหารการพยาบาล มีอะไรบ้าง   ดังนี้-          มีวิสัยทัศน์ -          มีพันธกิจ-          มีขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของกลุ่มการพยาบาล  ต่อการพัฒนาระบบคุณภาพ  -          มีแผนงาน โครงการที่สามารถตอบสนอง แผนยุทธศาสตร์ของโรงพยาบาล และของ       สำนักการพยาบาล 

2. มีการจัดการบุคลากรในความรับผิดชอบให้มีความรู้ ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยทั้งด้านความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ   และทักษะ

3. สามารถในการจัดการระบบคุณภาพ  ในเรื่องของการบริหารจัดการความเสี่ยง กับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง  ในหน่วยบริการ  

4. สามารถในการเป็นผู้กระตุ้น และทวนสอบระบบของทีมงาน ในการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้วงจร PDCA    และการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องครอบคลุม กาย จิต  วิญญาน และสังคม   ตลอดจนสามารถสื่อให้เห็นถึงความเป็นเอกสิทธ์แห่งวิชาชีพในการที่จะแสดงบทบาทของพยาบาลที่มีต่อการดูแลผู้ป่วย  และการบันทึกที่ สามารถสื่อให้เห็นถึงความต้องการของผู้ป่วยต่อการดูแลต่อยอดของสหสาขาวิชาชีพ

 5. สามารถ เป็นผู้นำทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาและ การวิจัย 

 6. เป็นผู้นำที่สามารถเกื้อกูลระบบทางสังคม  และเป็นโอกาสแห่งการเป็นผู้ร่วมพัฒนาสังคม    สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมด คือแนวทางการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลของสำนักการพยาบาล   6 หมวด  29 ตัวชี้วัด  ซึ่ง จะทับซ้อนอยู่กับมาตรฐาน HA และเกณฑ์พิจารณา ฉบับบูรณาการ ภาพรวมระดับโรงพยาบาล  มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับ พ.ศ. 2549  กิจกรรมย่อยของบทที่ 12 ของมาตรฐาน ( HA )  

 ความรู้พื้นฐานในเรื่องของดัชนีชี้วัดคุณภาพการพยาบาล ตามแนวทางของสำนักการพยาบาล       

ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลที่ได้รับการกลั่นกรอง คัดเลือกให้เป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์ของบริการพยาบาลในระดับชาติ ได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการรวบรวมข้อมูล การประมวลผล ให้เป็นสารสนเทศทางการพยาบาล ในระดับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเป็นข้อมูลในการอ้างอิงถึงระดับคุณภาพการพยาบาลของหน่วยงานต่างๆ  ซึ่งจะสามารถเปรียบเทียบ เพื่อการปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพของแต่ละหน่วยงาน  ดังนี้ 

1.  การผสมผสานอัตรากำลัง

2.  จำนวนขั่วโมงการพยาบาลต่อวันผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาล

3.  ความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรพยาบาล

4.  อัตราการเกิดแผลกดทับในโรงพยาบาล

5.  อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล

6.  ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล

7.  อัตราการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ

8.  อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน28 วันโดยไม่ได้วางแผน 

 9.  ระดับความพึงพอใจของผู้ป่วย

10. ระยะเวลานอนเฉลี่ยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล   

ผู้บริหารการพยาบาลกับการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล ต่อยอดสู่สหสาขาวิชาชีพ ตามมาตรฐาน HA และเกณฑ์พิจารณา ฉบับบูรณาการ ภาพรวมระดับโรงพยาบาล  , มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับ พ.ศ. 2549

 จุดสำคัญของการต่อยอดของการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลสู่การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ต่อยอดสู่สหสาขาวิชาชีพ

1.สามารถเทียบเคียงมาตรฐานของ ( HA ) กับคุณภาพการพยาบาลที่เราได้ทำจนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรม  และสามารถสื่อสารต่อยอดให้กับสหสาขาวิชาชีพ ในการที่จะดูแลผู้ป่วยร่วมกัน 

2.มีการใช้กระบวนการพยาบาลในการวินิจฉัยทางการพยาบาลเพื่อค้นหาปัญหาในการดูแลผู้ป่วย และสามารถสื่อสารให้สหสาขาวิชาชีพ เห็นถึงปัญหาของผู้ป่วยจากการบันทึกทางการพยาบาล 

3.มีระบบการจัดการคุณภาพจากงานประจำสู่การวิจัยเพื่อการพัฒนา และนำมาสู่การปฏิบัติในงานประจำ  

4. คัดเลือกตัวชี้วัดที่เป็นตัวแทนคุณภาพทางการพยาบาลที่สามารถสื่อให้เห็นถึงการมีทีมการพยาบาลในวันนี้ เพื่อการนำไปสู่การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยสหสาขาวิชาฃีพ   จะเห็นได้ว่าผู้บริหารการพยาบาลมีความสำคัญ ในการขับเคลื่อนระบบคุณภาพโรงพยาบาล โดยผู้บริหารการพยาบาลต้องมีความรู้ ความสามารถในการที่จะผนวกงานคุณภาพการพยาบาล มาตรฐานการพยาบาล  ให้สอดคล้อง และต่อยอดสู่การพัฒนางานคุณภาพโรงพยาบาล โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ                      

หมายเลขบันทึก: 146305เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2007 08:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 22:20 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอชื่นชมหัวหน้าพยาบาลที่เป็นผู้นำทางคุณภาพ

  รับรองได้เลยว่า ทีใหนถ้าหัวส่ายรับรองงานไปโลดจ้า

พยาบาลสายเหนือ

ตอนนี้กระแสคุณภาพ กำลังเคลือนไหว เดินทางไป เรื่อยๆ ความท้าทาย และ ความน่าสนใจ คือการเดินทางของผู้บริหาร

การพยาบาล กับ การเคียงคู่ ของ การเข้าใจ เข้าถึงของคำว่าคุณภาพ กับงานบริการพยาบาลที่ ผู้ปวย รอคอย อย่างแท้จริง

ขอชื่อจริง นามสกุลจริงด้วยค่ะ จะเอาไปอ้างอิงในเอกสารประกอบการสอนค่ะ ส่งทาง อีเมล์ก็ได้ค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

จิตติมา อรุณรัตนา โรงพยาบาลหนองจิก คะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท