AnthroCat-Thailand
นาย ปรัชญาณินทร์ วงศ์อทิติกุล

มองสังคมไทยในกระแสโลกาภิวัตน์ (๑/๔)


คำตอบในที่นี้ ก็คือ เกิดจากผลอันดี (positive advances) จากการที่รัฐบาลได้พยายามวางนโยบายการเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิของพลเมือง และการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร การปลูกฝังค่านิยมให้เป็นคนที่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของบ้านเมือง และการพยายามเร่งเร้าให้เกิดการให้ความร่วมมือในภาคการเมืองผ่านการเลือกตั้งในระดับขององค์กรการปกครองต่าง ๆ ซึ่งเป็นการย้ำเตือนและกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักถึงสิทธิที่ตนเองมี และด้วยความรู้ความเข้าใจที่มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างมากนี้ ได้กลายเป็นหอกข้างแค่ของภาคการเมืองการปกครองในด้านความมีเสถียรภาพและอำนาจ จากเดิม การมีอำนาจจะอยู่เหนือประชาชนพลเมือง แต่ในปัจจุบัน ความมีสำนึกในความเป็นเจ้าของอำนาจตามพระกระแสรับสั่งของในหลวงราชการที่ ๗ ที่มีใจความสำคัญว่า “อำนาจเป็นของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ” และความสำนึกนี้มีมากขึ้นโดยลำดับ ดังนั้น หากมีการรวมตัวกันขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านการเมือง ก็ย่อมทำได้ และการร่วมกลุ่มก็จะหลั่งไหลมาจากทุกทั่วสารทิศ จนกระทั่งกลายเป็นเหตุการณ์ที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ได้ และผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นไปตามความต้องการของประชาชนผู้เป็นรากหญ้าของแผ่นดิน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางความต้องการของประชาชนนี้ เป็นการเน้นย้ำถึง ความรู้ความเข้าใจและการใช้สิทธิอย่างเต็มที่ของพลังมวลชนในฐานะเป็นประชาชนคนไทย นอกจากด้านสังคมที่จะเกิดการรวมตัวของพลังมวลชน

           อดีตผันผ่านไปในขณะที่อนาคตกำลังก้าวล่วงเข้ามาทุกขณะ ถึงแม้ว่าการพูดถึงอนาคตนั้น ดูเป็นเรื่องไกลแสนไกลและเป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่ยังมาไม่ถึง แต่ถ้าหากพิจารณาถึงคำ อนาคต นั้น จะรับรู้ว่าอนาคตนั้นเริ่มตั้งแต่วินาทีต่อจากนี้ไป ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรอให้ถึงวันพรุ่งนี้ เดือนหน้า ปีถัดไป หรือแม้แต่อีกสองสามปีตามที่คนส่วนใหญ่มักจะมองว่าคือ อนาคต นั้น กว่าจะถึงมักจะใช้ระยะเลาที่ยาวนานในการก้าวผ่านไปสู่สภาพใหม่ของกาลเวลาที่ต่างกัน อดีตกับอนาคตนั้นแตกต่าง เพราะมีสิ่งที่ดำเนินไปและเกิดขึ้นใหม่ นั่นคือ ความเปลี่ยนแปลง

          สำหรับสังคมไทยแล้ว นับว่าได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาอย่างยาวนานและในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม แม้แต่ตัวตนคนไทยเองก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย ที่ว่า คนไทยเปลี่ยนแปลงได้ด้วยนี้ ก็คือคนไทยเปลี่ยนแปลงในแง่ความรู้สึกนึกคิด และเปลี่ยนแปลงความเป็นคนไทยที่เต็มไปด้วยการผสมผสานหลายสิ่งหลายอย่างเข้ามาอยู่ในตัวตนของบุคคล ๆ เดียว กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากผสมผสานเหล่านี้ย่อมเกิดจากการที่มีสิ่งอื่นที่อยู่นอกเหนือไปจากอาณาเขตสังคมของคนไทย (social area) ที่ได้เข้ามารุกล้ำพื้นที่ของสังคม วัฒนธรรมไทย ในทุก ๆ ด้านการรุกล้ำเช่นนี้เป็นไปตามระบบโลกหรือที่เรียกกันว่า โลกาภิวัตน์ (globalization) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่เกิดจากการมีพลวัตภายในสังคมใดสังคมหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภายนอกที่เข้ามากระทบ เข้ามามีอิทธิพล และแทรกซึมอยู่ในบริบทด้านต่าง ๆ เช่นนี้แล้ว สังคมไทยก็มิอาจที่จะยืนยงความเป็นดั้งเดิมของตนได้ และจำต้องมีวิวัฒนาการไปตามขั้นตอนที่เกิดขึ้น หากแต่ว่า สังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปตามระบบเศรษฐกิจโลก (economical and world system) และได้มีการนำหรือหยิบยืมความเป็นเอกของสังคมอื่น ๆ ที่อยู่รายล้อมเข้ามาประยุกต์แบบบูรณาการ (integration) เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความเป็นไทยแบบใหม่ท่ามกลางสังคมประชาคมโลก ดังนั้นแล้ว เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นและในความเป็นจริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีอยู่มากมายหลายด้าน และในแต่ละด้านก็มีองค์ประกอบภายในที่แตกต่างและเปลี่ยนแปลงไป หากจะนำมากล่าวไว้ในที่นี้ทั้งหมดย่อมเป็นการยาก ดังนั้น จึงขอยกตัวอย่างบางประเด็นที่น่าจะเกี่ยวข้องกับแนวทางที่เป็นส่วนก้าวไปของสังคมไทยในกระแสโลกาภิวัตน์ ดังนี้ 

ด้านสังคมและวัฒนธรรม

           สังคมแลวัฒนธรรมเป็นแบบแผนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้คนที่ถือว่าเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคมนั้น ๆ มากที่สุด แม้แต่บางคนที่มิใช่สมาชิกของสังคมนั้นอย่างเป็นทางการก็ตาม ก็สามารถที่จะได้รับผลกระทบและสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวในด้านต่าง ๆ ได้ เช่นนี้แล้ว ย่อมหมายความว่า เมื่อคนในสังคมได้มีการรวมตัวเข้สาด้วยกัน หมายถึงถึง สังคมนั้นได้เกิดการรวมพลังมวลชนขึ้นในการต่อรองอำนาจทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง และในสังคมไทยก็เห็นอยู่บ่อยครั้ง           

           ความเป็นมวลชนนี้ คือการก่อตัวขึ้นเพื่อรวบรวมพลังจากกลุ่มต่าง ๆ หรือจากพื้นที่ต่าง ๆ ให้มาผนวกเข้าด้วยกันให้เกิดความแข็งแกร่ง ซึ่งการก่อรูปของพลังมวลชนเช่นได้ถูกดำเนินมาโดยตลอด ถึงแม้ว่า จุดเริ่มต้น พลังมวลชนจะมีกำลังไม่มากพอที่จะต่อสู้ แต่ในบางครั้งก็สามารถที่จะรวมตัวกันจนสามารถเอาชนะกลุ่มอำนาจบางกลุ่มที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนได้ เช่น กลุ่มสมัชชาคนจน กลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตย กลุ่มนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย เป็นต้น ซึ่งในการรวมกลุ่มดังกล่าวยังคงเป็นกลุ่มคนเฉพาะเท่านั้น แต่ในอนาคต ความเป็นพลังมวลชนจะมาจากกลุ่มที่ถูกขนานนามว่า กลุ่มรากหญ้า (grassroots) เพราะกลุ่มรากหญ้าที่กล่าวถึงนี้ไม่ได้เป็นเพียงเฉพาะกลุ่มที่มีความใกล้ชิดและเป็นกลุ่มร่วมอุดมการณ์เดียวกันกันเท่านั้น แต่เป็นกลุ่มคนทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ไม่ว่าจะยากดีมีจน ก็จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของขบวนการใดขบวนการหนึ่งได้โดยง่าย และจะกลายเป็นกลุ่มที่มีพลังเหนืออำนาจการปกครอง เหนืออำนาจเศรษฐกิจ เหนืออำนาจการเมือง การมีอำนาจต่อรองในลักษณะนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต มักจะปรากฏให้เห็นไม่มากนัก แต่ในปัจจุบันการต่อรองเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า ผีเสื้อกระพือปีก” (butterfly effect) ที่จะก่อให้เกิดคลื่นแห่งการเคลื่อนไหวจากจุดเล็ก ๆ จนกลายเป็นพลังมวลชน รวมทั้งการเข้าร่วมเคลื่อนไหวจากกลุ่มร่วมอุดมการณ์ที่อยู่ไกลออกไปก็จะปรากฏขึ้น

          เหตุใดจึงมีการเข้าร่วมขบวนการต่อสู้ในกรณีต่าง ๆ มากขึ้น? คำตอบในที่นี้ ก็คือ เกิดจากผลอันดี (positive advances) จากการที่รัฐบาลได้พยายามวางนโยบายการเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิของพลเมือง และการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร การปลูกฝังค่านิยมให้เป็นคนที่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับความเป็นไปของบ้านเมือง และการพยายามเร่งเร้าให้เกิดการให้ความร่วมมือในภาคการเมืองผ่านการเลือกตั้งในระดับขององค์กรการปกครองต่าง ๆ ซึ่งเป็นการย้ำเตือนและกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเข้าใจและตระหนักถึงสิทธิที่ตนเองมี และด้วยความรู้ความเข้าใจที่มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างมากนี้ ได้กลายเป็นหอกข้างแค่ของภาคการเมืองการปกครองในด้านความมีเสถียรภาพและอำนาจ จากเดิม การมีอำนาจจะอยู่เหนือประชาชนพลเมือง แต่ในปัจจุบัน ความมีสำนึกในความเป็นเจ้าของอำนาจตามพระกระแสรับสั่งของเหนือหัวรัชกาลที่ ๗ ที่มีใจความสำคัญว่า อำนาจเป็นของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ และความสำนึกนี้มีมากขึ้นโดยลำดับ

            ดังนั้น หากมีการรวมตัวกันขึ้นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้านการเมือง ก็ย่อมทำได้ และการร่วมกลุ่มก็จะหลั่งไหลมาจากทุกทั่วสารทิศ จนกระทั่งกลายเป็นเหตุการณ์ที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ได้ และผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นไปตามความต้องการของประชาชนผู้เป็นรากหญ้าของแผ่นดิน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางความต้องการของประชาชนนี้ เป็นการเน้นย้ำถึง ความรู้ความเข้าใจและการใช้สิทธิอย่างเต็มที่ของพลังมวลชนในฐานะเป็นประชาชนคนไทย นอกจากด้านสังคมที่จะเกิดการรวมตัวของพลังมวลชนดังเช่นที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ ด้านวัฒนธรรมก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้วย     

(ขึ้นบันทึกใหม่ต่อภาค ๒)       

หมายเลขบันทึก: 146106เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2007 13:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท