แหล่งการเรียนรู้


การสอน

การจัดหาแหล่งเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอน ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ      พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) กล่าวไว้ในมาตรา 25 โดยกำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดำเนินการและจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรุปแบบ เช่น พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และในมาตรา 24 ให้เป็นหน้าที่ของสถานศึกษา    ที่จะต้องส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อม  สื่อการเรียน  อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องจัดทำ จัดหา ใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและในท้องถิ่น  แหล่งเรียนรู้ที่นำใช้ในการจัดการเรียนการสอน  ได้แก่  1. สภาพแวดล้อมในธรรมชาติ  เช่น  แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ  ป่าธรรมชาติ  แม่น้ำ ลำคลอง น้ำตก  ภูเขา  แหล่งหินแร่  ที่มีอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ครูควรไปสำรวจแหล่งเรียนรู้ดังกล่าวเพื่อจัดโอกาสให้ผู้เรียนไปทำกิจกรรมประเภทเชิงสำรวจ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ การถ่ายทอดงานศิลปะ เป็นต้น  2. สภาพแวดล้อมที่มนุษย์จัดทำขึ้นโดยภาครัฐและเอกชน  เช่น  สวนสาธารณะ  สวนพฤกษศาสตร์  สวนสัตว์  หรือที่โรงเรียน  ครู  ชุมชน  นักเรียน จัดทำขึ้นตามสภาพพื้นที่ภายในโรงเรียนบริเวณใกล้เคียงโรงเรียน  3. สื่อประเภทอีเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ วีดิทัศน์  ซีดีรอม  เครือข่ายอินเทอร์เน็ต สื่อประเภทนี้  ผู้บริหารและครูต้องให้ความสนใจและนำมาใช้ให้สอดคล้องกับคามก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อใช้เป็นข้อมูล หรือสืบค้นข้อมูล  4. สื่อสิ่งพิมพ์เป็นหัวใจของห้องสมุด  ที่สถานศึกษาต้องจัดหาให้มีใช้เป็นแหล่งข้อมูลหรือปลูกฝังนิสัยรักการอ่านและสืบค้นข้อมูล   5. แหล่งเรียนรู้ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในชุมชน ซึ่งอาจมอบหมายให้นักเรียนไปสัมภาษณ์ ศึกษาหรือเชิญมาเป็นวิทยากร ซึ่งถือได้ว่าเป็นการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  6. แหล่งเรียนรู้ประเภทพิพิธภัณฑ์  ห้องสมุดประชาชน วัด  ศูนย์วัฒนธรรม  หน่วยงาน ราชการ  โครงการการสาธิตทดลองต่างๆ ขององค์กรอื่น  ก็เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ครูควรหาโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้          

              การไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ดังกล่าวจะเป็นสื่อการเรียนรู้เพิ่มเติมจากการเรียนการสอนในห้องเรียน  ดังนั้นควรช่วยกันจัดหาและใช้แหล่งเรียนรู้ให้หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นตนเอง

 

หมายเลขบันทึก: 145975เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2007 08:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

การใช้แหล่งเรียนรู้เป็นสื่อในการเรียนรู้ มีศาสตร์ด้านนี้ลึกมาก ในต่างประทศเขามีการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ที่เรียกว่า place-based learning, out-door education  ฯลฯ มีการจัดเป็นระบบทีเดียว เช่น เวลาจะให้เด็กไปเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ก็ต้องศึกษาในชั้นเรียนไปพอสมควร แล้วคิดประเด็นคำถามเพื่อไปหาคำตอบในพิพิธภัณฑ์ กลับมาก็มีการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีก เด็กได้รับการฝึกเกี่ยวกับกฎกติกามารยาทในการเข้าชมเป็นอย่างดี แต่ไทยเราดูจะไม่ให้ความสนใจในแง่ของกระบวนการเรียนรู้นัก เคยเห็นนักเรียนไปทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ที่กาฬสินธุ์ ก็วิ่งกันให้พล่านไปหมด เป็นการเรียนรู้อย่างฉาบฉวยมาก ครูก็ถือว่าเป็นวันสบายปล่อยให้นักเรียนอิสระ อย่างนี้ไม่แน่ใจว่าเด็กได้เรียนรู้อะไร เคยอ่านหนังสือพบว่า สมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงนำนักเรียนนายร้อยไปศึกษาแหล่งโบราณคดี บางแห่งท่านเคยเสด็จหลายครั้งแล้ว บรรดานายทหารผู้ใหญ่ก็กราบทูลให้ทรงพักในที่จัดไว้ให้ แต่พระองค์ขอเสด็จไปประทานความรู้ให้กับนักเรียนนายร้อยแทน  เรื่องนี้ทรงสอนอะไรพวกเราอีกมาก

เห็นด้วยกับครูหนุ่ม เรื่องวินัยของเด็กเป็นเรื่อง ที่เราละเลยกันมานานมากตอนเด็กเราเรียนจะเชื่อฟังครูมากๆ ปฏิบัติตามกติกาของสังคมโดยตลอดทั้งต่อหน้าและลับหลัง เคยไปดูงานต่างประเทศเด็กประมาณ ป.3 ของเขาสามารถเล่นฟุตบอลในสนาม ประมาณเกือบ 50 คน กระเป๋ารวมกองไว้เพียงกองเดียว เวลาเด็กเขาเลิกเล่น มาเข้าแถว เข้าเรียนคล้ายกับบ้านเรา ไม่เห็นวุ่นวายสักนิด ตอนดูการสอนปฐมวัยก็นั่งกันเรียบร้อยดีมากเวลาครูเล่านิทานก็ตั้งใจฟัง ครูถามก็ยกมือ  เรื่องนี้ครูครู คงต้องช่วยกัน และคนในสังคมก็คงต้องเป็นตัวอย่างที่ดี และขอบคุณครูหนุ่มด้วยเพราะกำลังจะเขียนครูมือการใช้แหล่งเรียนรู้ จะได้เพิ่มในส่วนของการปฏิบัติตนในการไปศึกษายังแหล่งเรียนรู้

การสืบข้อมุลจากแหล่งเรียนรุ้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท