เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่นครไทย


สิ่งที่ได้จากการทำเวทีชาวบ้านบางทีบางท่านอาจมองว่าเสียเวลาก็พาไปอบรมเสียก็หมดเรื่อง แต่สิ่งที่ชาวบ้านพูดออกมานั้นมันไม่มีในตำรา ตำราเขียนอย่างหนึ่งแต่เวลาทำถ้าทำอย่างตำราเสียเงินลงทุนมาก เสียเวลามาก และที่ได้คือความเข้าอกเข้าใจมีการปรับเปลี่ยนความคิด

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2549 คณะของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษาภาคเหนือประกอบด้วย ผอ.สุบิน  แพทย์รัตน์  ผอ.สมศักดิ์  เขียวแสงใส  อ.วิทยา  ใจวิถี ได้เดินทางไปวิทยาลัยการอาชีพนครไทย  จ.พิษณุโลก เพื่อไปสังเกตการณ์และร่วมกับวิทยาลัยฯทำเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เดินทางไปถึงวิทยาลัยฯเวลา 16.00 น. ได้พบกับรองฯผอ.สมศิริ  ซึ่งได้เล่าให้ฟังว่า  วิทยาลัยฯได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์บริบทของชุมชนอำเภอนครไทยพบว่า  อำเภอนครไทยประกอบด้วย   11   ตำบล   145  หมู่บ้าน   มีเขตปกครองกว้าง  และบางพื้นที่มีความลำบากในการเดินทาง  ทางอำเภอนครไทยได้ดำเนินการรับจดทะเบียนปัญหาสังคมและความยากจนไว้ มีประชาชนที่ต้องการความช่วยเหลืออยู่ในทุกตำบล  ทุกหมู่บ้าน  ซึ่งประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ต้องการความช่วยเหลือแต่ไม่ได้มาจดทะเบียนความยากจนไว้  เนื่องจากไม่รู้ข่าวสาร ข้อมูล    และไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  จากการสำรวจความต้องการของสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนครไทย        ข้อมูลเบื้องต้นทราบว่ามีประชาชนต้องการฝึกอาชีพเสริม  เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว    โดยผลจากการสำรวจศักยภาพของชุมชน  และท้องถิ่นของตำบลต่าง ๆ ประชาชนจะประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นหลักโดยเฉพาะการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  และบางส่วนมีอาชีพที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทอผ้า การจักสาน  การแปรรูปผลผลิตของการเกษตร   การเพาะเห็ด  เป็นต้น  ทีมงานจึงได้ปรึกษากับผู้นำท้องถิ่น  อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้านถึงการแก้ปัญหาความยากจนฯ จากการแลกเปลี่ยนพูดคุยและศึกษาข้อมูลพบว่าอาชีพเดิมของคนในพื้นที่คือการปลูกข้าวโพดได้รับการส่งเสริมการปลูก  การลดต้นทุนต่างๆชาวบ้านมีความชำนาญอยู่แล้ว  ชาวบ้านต้องการอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้  อาชีพเสริมหรืออาชีพหลักที่น่าสนใจคือการเพาะเห็ด  ชาวบ้านในอำเภอนครไทยนิยมบริโภคเห็ดโดยเฉพาะเห็ดนางฟ้า  และเห็ดขอนขาว  คนที่เพาะอยู่แล้วเพาะขายไม่ทัน  มีคนมารับซื้อ  คนที่เพาะเห็ดขายมีไม่ถึงสองเปอร์เซ็นของประชากรทั้งหมด  สรุปว่าตลาดสดใสรวมทั้งสามารถแปรรูปเป็นเห็ดหยอง แหนมเห็ดได้ด้วย ทางคณะได้ลองชิมแล้วอร่อยมากทำให้มองเห็นทางโอทอปของอำเภอนครไทยค่อนข้างชัดเจน  จากข้อมูลการสำรวจอย่างเป็นทางการของวิทยาลัย ฯ ได้ข้อมูลกลุ่มชุมชน  ตำบลบ้านพร้าว  ตำบลหนองกะท้าว  และตำบลเนินเพิ่ม  ได้จัดตั้งกลุ่มผู้เพาะปลูกเห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว และเห็ดบด โดยกลุ่มประชาชนเหล่านี้ยังต้องการให้หน่วยราชการเข้ามาช่วยเหลือทั้งในด้านความรู้ทางวิชาการ การเพาะปลูกเห็ดและการส่งเสริมสนับสนุนเครื่องมือต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก วิทยาลัย ฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าการให้ความรู้ในเรื่องการเพาะปลูกเห็ดจะช่วยให้โครงการพัฒนาอาชีพแบบบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน  จะบังเกิดผลสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง วิทยาลัยการอาชีพนครไทยโดย ผอ.สุวัฒน์ชัย ศรีสุพัฒนะกุล ได้ออกคำสั่งจัดตั้งทีมจัดการความรู้เพาะเห็ดนางฟ้าและเห็ดขอนขาวกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นประชาชนในอำเภอนครไทย ในสาม อบต. ทีมงานของวิทยาลัยฯได้สำรวจกลุ่มเป้าหมายโดยวิธีการเคาะประตูบ้าน รองฯผอ.สมศิริ ท่านเรียกว่า Knock Door  และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมโครงการ จากการคัดกรองแล้วได้จำนวน  58  คน ในจำนวนนี้ทีมงานของวิทยาลัยฯได้สำรวจข้อมูลอย่างละเอียด   โชคดีคือมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่จบมหาวิทยาลัยเกษตรแม่โจ้ เคยทำงานอยู่ในหน่วยราชการแห่งหนึ่งแล้วไม่ชอบวิธีการจึงออกมาทำเกษตรด้วยตนเอง  วิทยาลัยฯได้พาแกนนำกลุ่มไปศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก(บ้านกร่าง)มาแล้ว  ทีมฯได้วิเคราะห์ปัจจัยของการเพาะเห็ดร่วมกับแกนนำและภูมิปัญญาท้องถิ่น ว่าปัจจัยมี  1.โรงเพาะเห็ด 2.การทำหัวเชื้อเห็ด  3.การทำก้อนเชื้อเห็ด 4.การดูแลและการป้องกันโรครา 5.การเก็บดอกเห็ด และ6.การตลาด   คณะของศูนย์ส่งเสริมจึงได้ร่วมกันวางแผนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยมีรองฯผอ.สมศิริ เป็นคุณอำนวย  มีคนคอยจดประเด็นความรู้หรือคุณลิขิต ใช้กระดาษฟลิบชาร์ต  มีการบันทึกเทป  และวีดิทัศน์  กำหนดว่าจะดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน 6 ประเด็น โดยในตอนแรกนัดกันว่าจะนำเสนอกรณีศึกษาของบ้านอินแปงที่จังหวัดสกลนครก่อน เย็นวันนั้นคณะของศูนย์ส่งเสริมฯได้ขึ้นไปพักบนที่พักของอุทธยานภูหินร่องกล้า
วันที่  4  กุมภาพันธ์  2549  วิทยาลัยฯมาติดตั้งเครื่องเสียง  ติดตั้งโทรทัศน์ เครื่องบันทึกเทป จัดสถานที่พร้อมมาก  ประมาณ 09.00 น.กลุ่มเป้าหมายเริ่มมาลงทะเบียน  เราเริ่มเวทีกันที่ 09.30 น.  ผู้รับบทบาทคุณอำนวยงานนี้คือรองฯผอ.สมศิริ  ครูและนักศึกษาเป็นคุณลิขิตคอยจดประเด็นบนฟลิบชาร์ตด้านหน้า  อันหนึ่งสรุปประเด็นความรู้  อีกอันหนึ่งสรุปคำพูดและชื่อคนพูดให้เห็นด้านหน้าชัดเจน  และยังมีทีมที่จดบันทึกนั่งอยู่ด้านหลังด้วย ทีมงานของศูนย์ส่งเสริมคือ ผอ.สุบิน อยู่ด้านหน้าคอยเสริมและชักนำให้ชาวบ้านพูด  อ.วิทยา และผอ.สมศักดิ์สังเกตุการณ์อยู่ด้านหลังหลังจากเกริ่นนำและแนะนำทีมงานเรียบร้อยแล้วก็เข้าประเด็นโดยให้กลุ่มเป้าหมายพูดถึงโรงเพาะเห็ดที่มีคนทำมาแล้วและปัญหาที่เกิดขึ้น  ซึ่งส่วนมากใช้หญ้าคามาทำเป็นผนังด้านข้างและหลังคา ปัญหาคือเชื้อรา หลังจากพูดปัญหาได้ 4-5 คน คุณอำนวยก็ให้คนที่มีประสบการณ์มาแสดงความคิดเห็นว่าโรงเพาะเห็ดควรจะมีลักษณะอย่างไร  ที่ทำแล้วเป็นเชื้อราจะแก้ไขอย่างไร ระหว่างนี้คุณอำนวยมีบทบาทมากในการที่จะดึงความรู้ที่เป็น Tacit Knowledge ออกมาและสรุปให้เข้าประเด็นซึ่งเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก  สุดท้ายก็ให้คุณเอกพงษ์ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นได้มาสรุปว่าโรงเรือนควรจะมีขนาด 4x8 หลังคามุงวัสดุกันฝนด้านข้างใช้สเลน  ควรใช้เสาปูนและพื้นเทปูนเพื่อกันเชื้อรา  ต้องรักษาความสะอาดและมีเทคนิคที่กันเชื้อราและฆ่าเชื้อราที่ไม่มีในตำราแต่ไม่เกิดสารพิษตกค้าง  ผอ.สุบินเสริมว่าควรให้วิทยาลัยฯกับคุณเอกพงษ์ทำแบบโรงเพาะเห็ดราคาถูกเพื่อให้วิทยาลัยรับสร้างและปรับปรุงให้ชาวบ้านจะดีกว่าและทำหลายหลังก็ราคาถูกนักศึกษาได้ทำงานมีรายได้ คุณเอกพงษ์ว่าราคาน่าจะอยู่ประมาณ 9,000 บาท รายละเอียดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีมากต้องติดตามจากเอกสารที่วิทยาลัยการอาชีพนครไทยจะสังเคราะห์เป็น Explicit Knowledge สุดท้ายพูดถึงการรวมกลุ่มกันของกลุ่มเป้าหมายเพื่อจัดทำหลักสูตรให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพราะเป็นไปไม่ที่ชาวบ้านทุกคนหรือส่วนมากจะทำเป็นทุกขั้นตอนของการเพาะเห็ด  จะเป็นไปตามศักยภาพของตน อย่างคุณเอกพงษ์ก็ทำเป็นหมด แต่กลุ่มหนึ่งตอนนี้ต้องการความรู้เรื่องการเพาะในโรงเพาะการดูแลรักษาการให้น้ำการเก็บเรียกว่ากลุ่มผลิตซึ่งส่วนมากจะเป็นกลุ่มนี้  กลุ่มทำเชื้อเห็ดต้องมีทักษะมีอุปกรณ์เครื่องมือ  กลุ่มทำก้อนเห็ดก็ต้องมีทักษะเฉพาะหรือจะใช้เครื่องก็ให้วิทยาลัยเทคนิคหรือวิทยาลัยการอาชีพสร้างขึ้น กลุ่มขายก็ต้องเก่งเรื่องขายเห็ดสดกับเห็ดแปรรูปให้ได้ราคาดี  กลุ่มแปรรูปต้องสามารถแปรรูปเห็ดในรูปแบบที่สามารถขายได้ที่เห็นคือเห็ดหยองกับแหนมเห็ด  ไม่ควรนำชาวบ้านทุกคนไปอบรมทำให้เป็นทั้งหมดซึ่งเป็นไปไม่ได้ ซึ่งเมื่อระยะเวลาผ่านไปกลุ่มเป้าหมายมีความชำนาญขึ้นกลุ่มผลิตบางคนก็อาจจะไปทำแปรรูปด้วยหรือไปทำก้อนเห็ดด้วย  คือบริหารเวลากลุ่มเป้าหมายให้มีเวลาทำผลผลิตได้ตามศักยภาพของตน  วันนี้ยังไม่ลงตัวเรื่องใครจะอยู่กลุ่มใหนหรือคนเดียวอาจอยู่หลายกลุ่ม  คุณอำนวยก็ให้ชาวบ้านกลับไปหารือนอกรอบกันก่อนแต่วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 49 นัดกันว่าจะพากลุ่มเป้าหมายไปศึกษาดูงานและปฏิบัติ ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก และโรงเพาะเห็ดของชาวบ้าน  สิ่งที่ได้จากการทำเวทีชาวบ้านบางทีบางท่านอาจมองว่าเสียเวลาก็พาไปอบรมเสียก็หมดเรื่อง  แต่สิ่งที่ชาวบ้านพูดออกมานั้นมันไม่มีในตำรา ตำราเขียนอย่างหนึ่งแต่เวลาทำถ้าทำอย่างตำราเสียเงินลงทุนมาก เสียเวลามาก และที่ได้คือความเข้าอกเข้าใจมีการปรับเปลี่ยนความคิด  ชาวบ้านที่มีประสบการณ์จะมีเทคนิคที่ง่ายๆอย่างเรื่องการฆ่าเชื้อรา  การควบคุมอุณหภูมิเป็นต้น คณะของศูนย์ส่งเสริมกลับกันเย็นวันที่ 4  ก.พ.49 แต่ทีมงานของวิทยาลัยการอาชีพนครไทยยังต้องทำงานอย่างสาหัสกันต่อไป


โครงการ               เพาะเห็ดนางฟ้า และเห็ดขอนขาว
ผู้รับผิดชอบ          วิทยาลัยการอาชีพนครไทย  อาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
ข้อมูลจำเพาะ
                  อำเภอนครไทยประกอบด้วย  11  ตำบล  145  หมู่บ้าน
                                1.  การเพาะเห็ดนางฟ้า และเห็ดขอนขาวเป็นอาชีพหลัก และอาชีพเสริมของประชาชนในเขตอำเภอนครไทย
                                2.  ความต้องการในการบริโภคเห็ดในเขตอำเภอนครไทยมีจำนวนมากการเพาะปลูกไม่เพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบัน
                                3.  ประชาชนที่เพาะปลูกเห็ดนางฟ้า และเห็ดขอนขาว เป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม มีไม่เกินร้อยละ  5  ของประชาชนทั้งหมด (ข้อมูลจากสุ่มตัวอย่างในการสำรวจ  4  ตำบล  21  หมู่บ้าน)
                                4.  ประชาชนต้องการพัฒนาอาชีพเพาะปลูกเห็ดนางฟ้าและเห็ดขอนขาว โดยต้องการจัดการความรู้เกี่ยวกับ              
                                                4.1  การสร้างโรงเรือนที่เหมาะสมกับชนิดและประเภทของเห็ด
                                                4.2  การทำหัวเชื้อเห็ด
                                                4.3  การทำก้อนเชื้อเห็ด
                                                4.4  การดูแลเพาะเลี้ยงเห็ด และการป้องกันโรคราและแมลง
                                                4.5  การเก็บดอกเห็ด
                                                4.6  การตลาด
                                                4.7  การแปรรูปเห็ด
กระบวนการในการดำเนินโครงการ ฯ ระดับพื้นที่โดยใช้  KM

แผนการปฏิบัติงาน
(ธ.ค. 2548 – 31   มี.ค.  2549)
ผลการปฏิบัติงาน
(ธ.ค. 2548 – 31  มี.ค.2549)
1. ประชุมสร้างความเข้าใจให้กับครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ ฯ ด้วยกระบวนการ KM
2. จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระดับสถานศึกษาและ อศจ.
3. สำรวจชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่เป้าหมาย
(4 ตำบล 15 หมู่บ้าน)
4. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านสื่อวิทยุและหนังสือราชการแก่ประชาชนเป้าหมายก่อนเริ่มโครงการ
1. ครูและบุคลากรผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน
2. คณะกรรมการดำเนินงานและคณะกรรมการวิจัยและติดตามผล
3. ได้ประชาชน 3 ตำบล 16 หมู่บ้าน รวม  55 คน
4. ประชาชนสนใจเข้าร่วมโครงการอีกเป็นจำนวนมาก (แต่ยังไม่สามารถรับเข้าโครงการได้ด้วยเงื่อนไข
จำนวนคนและงบประมาณ)
แผนการปฏิบัติงาน
(ธ.ค. 2548 – 31   มี.ค.  2549)
ผลการปฏิบัติงาน
(ธ.ค. 2548 – 31  มี.ค.2549)
5. ลงทะเบียนประชาชนเข้าร่วมโครงการและนำเสนอแผนปฏิบัติการส่ง อศจ.
6. จัดประชุมชี้แจงโครงการ ฯ แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดย อศจ.
7. ศึกษาบริบท สภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาอาชีพเดิมและสร้างอาชีพใหม่
8. สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือจากทุกภาคส่วน
9. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาชีพเพาะเห็ดนางฟ้าและ
เห็ดขอนขาว
10. นำประชาชนกลุ่มเป้าหมายไปเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงจากนักวิชาการ และชาวบ้านที่เป็นผู้รู้และผู้ประสบความสำเร็จ
11. ให้ความรู้เพื่อพัฒนาอาชีพทั้งด้านการเพาะปลูกด้านการตลาด และการจัดการ
12. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถนนอาชีพเพื่อสร้างเครือข่ายในการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
13. รายงานผลการดำเนินงานและความก้าวหน้าของโครงการตามลำดับขั้นต่อไป
5. นำเสนอโครงการและแผนปฏิบัติงานต่อ อศจ.
6. ประชาชนเข้าประชุม  38  คน (ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม
แกนนำอาชีพ)
7. จัดทำ Profile ข้อมูลประชาชนกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคลและกลุ่มตำบลและหมู่บ้าน
8. มีภาคีเครือข่ายประกอบด้วย นายอำเภอ  อบต. กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน   พัฒนาชุมชน   นักวิชาการ  และชาวบ้าน
ผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพเพาะปลูกเห็ด
9. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  6 ปัจจัยองค์ประกอบ
     1. โรงเพาะเห็ด   2.  หัวเชื้อเห็ด     3 . ก้อนเชื้อเห็ด
     4. การดูแลเห็ดและป้องกันโรครา  5. การเก็บดอกเห็ด
     6.  การตลาด
10. ศึกษาดูงานและเรียนรู้ปฏิบัติจริง ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก และโรงเพาะเห็ดของชาวบ้านที่ประสบความสำเร็จ
11. เชิญนักวิชาการ และชาวบ้านที่ประสบความสำเร็จมาฝึกอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
3 ตำบล  16  หมู่บ้าน
12. อศจ.พิษณุโลก  และ อศจ.เพชรบูรณ์
13. Web  Block

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14578เขียนเมื่อ 7 กุมภาพันธ์ 2006 06:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

วิธีการเพาะปลูกเห็ดนางฟ้าว่าต้องทำยังไงบ้าง ชื้อเชื่อใด้ที่ไหนคับ ต้องใช้อุปกรณ์คับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท