โรจน์
นาย โรจนศักดิ์ ทองคำเจริญ

"เรียนรู้จาก สมัคร ชูวิทย์ และ บรรหาร"


แล้วท่านผู้อ่านเวลาเจอความขัดแย้งชอบใช้วิธีไหมครับ ?

ในช่วง 1 สัปดาห์ ที่ผ่านมามีข่าวคราวความเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างมากมายจนแทบตามไม่ทัน ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองย้ายพรรค ข้าราชการลงสมัครทางการเมือง การประกาศนโยบายต่างๆ แต่ที่ผมสะดุดหู สะดุดตามีอยู่ 3 เรื่องราว คือ

"คุณสมัครทะเลาะกับสื่อ "

"ปฏิกิริยาคุณชูวิทย์ต่อการได้เป็น partilist ลำดับที่2 "

และ"ปฏิกิริยาของคุณบรรหารต่อคุณชูวิทย์"

กรณีที่ 1  "คุณสมัครทะเลาะกับสื่อ"

<p> </p>

ชิมไปบ่นไปท่านที่ตามข่าวคงจะได้เห็นปฏิกิริยาของคุณสมัครหลังจากที่ถูกสื่อมวลชนถามเกี่ยวกับเรื่องภายในพรรคพลังประชาชน โดยตามประสาสื่อมวลชนก็จะถามซอกแซก+เพื่อให้ได้เนื้อหามากที่สุด บางคนที่ถูกสื่อถามในเรื่องที่ไม่อยากตอบนัก บางคนรำคาญ หรือไม่บางคนก็โกรธแต่ก็ไม่แสดงออก บางคนเดินหนี ในกรณีคุณสมัครใช้ style โต้กลับด้วยถ้อยคำรุนแรง+ใช้การถามกลับว่าอยู่สำนักข่าวไหนและวาทะเด็ดที่ว่า “ถ้าผมถามกลับว่า .... อย่าหาว่า หยาบคายนะ เมื่อคืนคุณไปร่วมเมถุนกับใครหรือไม่ “

กรณีที่ 2 "ปฏิกิริยาคุณชูวิทย์ต่อการได้เป็น partilist ลำดับที่2 "

ชูวิทย์

หลังจากที่คุณชูวิทย์ได้ลำดับ สส.บัญชีรายชื่อที่มีความเสี่ยงว่าอาจจะไม่สามารถเข้าสู่สภาได้ก็ออกโรงใส่คุณบรรหาร+พรรคชาติไทยและตามไปหน้าร้านช้อนเงินช้อนทอง ใช้วิธี "โชว์เมนูปลาไหล" กระทบกระเทียบโดยตรง

กรณีที่ 3 "ปฏิกิริยาของคุณบรรหารต่อคุณชูวิทย์"

บรรหาร

ต่อเนื่องจากกรณีที่ 2 ที่เป็นคู่กรณีกับคุณชูวิทย์ คุณบรรหารเลือกวิธีเงียบสงบสยบความเคลื่อนไหว ไม่ตอบโต้ จนชูวิทย์หมดแรงไปเองและในขณะเดียวกันกับเรื่องว่าจะอยู่ขั้วไหน คุณบรรหารน่าจะลำบากใจที่จะฟันธง "เพราะประวัติเก่ามักจะแทงกัก" แต่ก็ต้องยอมทำตัวให้ชัดเจน

ผมได้เรียนรู้อะไรบ้าง?

ถ้าตอบโต้แบบคุณสมัคร คือใช้ความรุนแรง ปฏิกิริยาสนองกลับย่อมแรงตาม+สร้างความหนักใจให้เพื่อนร่วมพรรค (น้อยคนจะสะใจแต่ผลเป็นอย่างไรต้องดูตอนเลือกตั้ง)

ถ้าตอบโต้แบบชูวิทย์ผลคือ ความเชื่อถือของสังคมที่มีย่อมตกต่ำ

ถ้าใช้วิธีคุณบรรหารคือ ชี้แจงในเรื่องที่ต้องตอบ+เงียบเฉยในเรื่องที่ไร้สาระหรือตอบแล้วไม่เกิดประโยชน์ แต่อดีตที่มีจุดยืนว่าชอบเป็นพรรคร่วมรัฐบาลก็ตามมาหลอกหลอน อันนี้เขาเรียกว่ากรรมเก่าครับ :)

คนเราเวลาที่ไม่ได้ดังใจ ส่วนใหญ่ก็จะมีปฏิกิริยาตามนิสัยของตนเอง คนที่ควบคุมตนเองได้น้อยก็มักจะเกิดความเสียหายมากกว่า สิ่งผมได้ก็คือ " ระลึกไว้เสมอเวลาที่เจอสิ่งยั่วยุ มีสติ ไม่โต้ตอบเร็วเกินไป อดทนได้ก็จะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีครับ"

แล้วท่านผู้อ่านเวลาเจอความขัดแย้งชอบใช้วิธีไหมครับ ?

</font></span>

หมายเลขบันทึก: 145520เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2007 17:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 12:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

     

          ก็โตๆ กันแล้ว น่าจะใช้เหตุผล คุยกันได้

         ยิ่งเป็นนักการเมืองด้วย ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร ครับ

เวลาทะเลาะกัน ใครนิ่งที่สุดชนะครับ

ขอบคุณ P
 นาย วรชัย หลักคำ สำหรับความคิดเห็นครับ
 และเห็นด้วยกับคุณ
ยากเหมือนกันที่จะนิ่งเวลารุ่มร้อน ไม่ง่ายเหมือนกันที่จะยอมฟังเวลาทะเลาะกัน ครับผม

ดูหนังดูละครแล้วย้อนดูตัว ยิ้มเยาะเล่นหัวเต้นยั่วเหมือนฝัน...

พระนิพนธ์ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

สวัสดีครับ

คุณ คนไม่มีราก เราสามารถเรียนรู้กับชีวิตประจำวันได้เสมอ ขึ้นอยู่กับใจเราจะมองประสบการณ์ต่างๆ แบบไหน วิบากกรรม หรือ ประสบการณ์

สวัสดีค่ะคุณหมอโรจน์ที่เคารพ

เรื่องที่คุณหมอสะท้อนให้พวกเราได้อ่านนี้ สมควรได้เก็บเป็นประสบการณ์/บทเรียนไว้สอนใจ

คนไม่มีราก ถูกสอนเสมอว่า...คนเก่งต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ (อาจเป็นของตนเองหรือผู้อื่น) แต่คนฉลาดจะเรียนรู้จากบทเรียนของผู้อื่น

เสียดายที่ผ่านมาไม่เคยปฏิบัติตัวตามที่ถูกสอนมาเลยค่ะ... เพราะชอบทะเลาะกับคนที่มีความเห็นไม่ตรงกับตัวเองเป็นประจำ  หนักๆ เข้าเอ๊ะ...เรานี่น่าจะอยู่ในสังคมยากนะ ช่างมีความเห็นแตกต่างกับผู้คนอยู่เรื่อย ๆ  ต้องพิจารณาตัวเองแล้ว

ก็มากระตุกใจ...ตรงพระนิพนธ์ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ...ที่ทะเลาะกันก็เพราะความเห็นไม่เหมือนกัน ถือไม้บรรทัดคนละอัน มาตรวัดคนละอย่าง จะให้เห็นเหมือนกันได้อย่างไรกันเล่า...เออนะ เล่นหนังเล่นละครอยู่นานเชียว ตอนนี้กลับมาย้อนดูตัวเอง (คงเรียกว่า ตรวจสอบตน ได้) ก็เลยขำ ๆ เกิดเมตตาทั้งตัวเองและผู้ที่ไปทะเลาะด้วย

...ตอนนี้เจอที่ไม่ถูกใจ...ก็อมยิ้มไว้ก่อน...รอจังหวะเหมาะ ๆ แล้วค่อยกระโดดลงไปเล่น จะได้ไม่เหนื่อย ไม่ทำร้ายตัวเองและคนอื่นมากเกินไปไงคะ. 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท