เมื่อวันนึง ๒๔ ชั่วโมง ชักจะน้อยไปแล้ว


ที่ผมมาบันทึกบล็อกในวันนี้ตั้งกะเช้า เพื่อมาบ่นความรู้สึกช่วงนี้แค่นั้นละขอรับ
มีหลายสิ่งที่อยากทำแต่ทุกอย่างมันเร่งร้อนไปหมดซะจริงๆ
  1. งานประจำที่ต้องพยายามทำให้มันดีที่สุด (80%)
  2. งานใหม่ๆ ที่มีพี่ๆ ให้มาพัฒนา (15%)
  3. งานที่ผมอยากพัฒนาเอง (5%)
  4. งานอดิเรกที่ผมอยากทำ (..)

งานทั้ง 4 อย่างผมเรียงตามลำดับความสำคัญนะครับ แต่ความชอบหรือสนุกกับมันนี่..อีกเรื่องหนึ่ง
เมื่องาน 1-3 มันเพิ่มเรื่อยๆ งานอดิเรกที่ผมอยากทำจึงต้องหายไปโดยปริยาย
(งานอดิเรก คือ งานที่ผมทำแล้วมีความสุขมากขนาดเสียเงินเพื่อให้ทำก็ยอม)

เวลาทุกวันผมมีเท่าเดิม คือ 24 ชั่วโมง
เดิมผมถือคติว่า จะไม่เอางานกลับไปทำที่บ้านเพื่อชาร์จอารมณ์,สุขภาพและความสุขให้เต็มเปี่ยมก่อนที่จะกลับมาทำงานวันรุ่งขึ้น
แต่เนื่องด้วยงานมันเร่งรัดขึ้นทุกวัน สาเหตุเมื่อมองย้อนไปมันก็ง่ายมากที่จะเดา
เพราะงานที่จะพัฒนาตั้งแต่ปีที่แล้วมันยังไม่ก้าวหน้าไปถึงไหนนะสิครับ

สิ่งที่ตั้งวางแผนไว้ว่าเดือนนี้จะเสร็จๆ แต่พอเอาเข้าจริงงานมันไม่เรียบร้อยหรือเรียบร้อยแค่บางจุด ซึ่งถือว่ามันยังไม่สมบูรณ์ดีแต่แผนต่อไปมันมาจ่อคอหอยเราแล้ว เราก็ต้องกลืน เอ้ย รับทำมันต่อไป ผมก็มานอนนึกตอนกลางคืนว่า ทำไมเราจึงทำไม้สำเร็จซะทีนะ ซึ่งงานส่วนใหญ่ที่ไม่สำเร็จจะเป็นงานที่ต้องทำกับหลายหน่วยงานทั้งนั้น
ผมเลยมาย้อนมองดูสาเหตุคร่าวๆ ที่คิดได้มีดังนี้

ตัวผมเอง (ไม่กล้ามองคนอื่น)

  • มองงานไม่ครบด้าน มีจุดบกพร่องเยอะ เลยต้องมาแก้กันหลายรอบ
  • การสื่อสารไม่ดี อันนี้ผมยอรับเต็มๆ เพราะผมเป็นคนพูดช้า ตามทุกคนไม่ค่อยจะทันอยู่แล้ว บวกกับผมไม่ค่อยไปแวะเวียนพูดคุยกับทุกหน่วย ทำให้การเข้าใจตรงกันเป็นเรื่องยาก
    บวกกับงานประจำที่มันน่าจะน้อยลงแต่ไม่น้อยลง
    เพราะปัญหาที่ทับถมมารอการแก้ไขมีอีกมาก 

วิธีแก้ ที่ผมคิดคร่าวๆ  คือ

  1. การแจกเอกสาร คำถามที่ตามมาจะมีคนอ่านไหมและอ่านครบทุกคนไหม
    ผมถามและตอบเองว่า ถ้ามีมาแบบนี้ผมเองยังไม่ค่อยอยากอ่านเลย อีกทั้งจากการลองนำเอกสารไปสอนการใช้โปรแกรมพบว่า วิธีนี้จะใช้ได้กับผู้ที่เชี่ยวชาญแล้วถึงอ่านรู้เรื่อง (แปลว่าส่วนใหญ่อ่านไม่รู้เรื่อง มีสองอย่างครับไม่สนใจเลยกับมาถามผมทีละราย)
    สรุป วิธีที่ประหยัดเวลาแต่ประสิทธิภาพอาจไม่ดีนัก บวกกับผมไม่ถนัดงานเอกสารทางการเลย
  2. การประชุม
    เป็นวิธีที่ยากแก่การนัดมามากเพราะทุกคนมีงานยุ่งอยู่แล้ว การที่จะนัดเจอให้ครบทุกฝ่ายเป็นอะไรที่ยากมากแม้นมันจะดีที่คุยครั้งเดียวจบ(จริงหรือ ไใม่ใช่มากคนมากความนะ) แต่การประชุมย่อยเรื่องเดิมถี่ๆ ก็หนักงานเราเข้าไปอีก ผมเองก็เข็ดเหมือนกันที่กว่าจะขยายตึกทำโปรแกรม HOMEC-IPD ได้ขนาดนี้ต้องประชุมหลายรอบมาก แม้ว่าจะได้ผลดีก็ตาม
    สรุปว่า มันเป็นวิธีที่เปลืองเวลาแต่ได้ผลวิธีหนึ่ง
  3. การคุยกันแบบ KM
    ท่าทางจะยาก เช่นเดียวกับข้างต้น กล่าวคือ มันต้องใช้เวลานัดเจอกันอยู่ดี ผมเห็นข้อดีหลายๆอย่างจากการใช้ KM มามีส่วนร่วมแต่ต้องแก้ปัญหาเรื่องการแบ่งงานและเวลาให้ได้ก่อนขอรับ
    ทุกวันนี้งานประชุมอะไรที่มีชื่อผมมันก็ค่อยๆ หายหัวไม่โผล่ไปแย้ว ซึ่งผมเองก็รู้สึกผิดแต่ผมก็ไม่ได้มีเวลาไปเตรียมอะไรก่อนเข้าประชุมเลย
    จึงเอาไปทำงานประจำให้มันเรียบร้อยดีกว่า
    ขอโทษจริงๆ นะครับ (I'm so sorry)

ก่อนจบ

ผมมองแผนระยะยาวของห้องยาในแล้วพบว่ามันน่าประหลาดใจมากๆ ทีเดียว กล่าวคือ

  • งานประจำต้องทำอยู่แล้ว ใช้เวลาเท่าเดิม เน้นว่าต้องเท่าเดิมเพราะหากเร่งมากกว่านี้
    จะมีการผิดพลาดเป็นที่ให้ร้องเรียนมากขึ้น
  • งานใหม่ๆ ที่รอจ่อคิวมีเป็นหางว่าว ให้ทำต่อเป็นงานประจำใหม่ๆ เพิ่มมากอีก..
  • งานพัฒนาเร่งให้เราพัฒนาให้ผิดพลาดน้อยลง ทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งต้องอาศัยเวลา
    ในการเก็บข้อมูล ิเคราะห์หาสาเหตุ และวางแผน ประชุม ลงมือปฎิบัติ....(ปัญหาแรกที่ผมอยากทำมาก ทำไมเราไม่มีเวลาพอทำงานที่ว่านี้)

 สิ่งที่ผมอยากหามาก คือ เวลา ที่หายากเรื่อยๆ ว่าคุณเวลาเขาหายไปไหน (น้อยใจ,หนีออกจากบ้าน) มีหนังสืออยู่สองเล่มที่ผมได้จากงานหนังสือแห่งชาติที่เสนอความคิดเรื่องนี้ ผมจะพยายามค้นหาคุณเวลาให้เจอขอรับ

 

หมายเลขบันทึก: 145148เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2007 07:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

รออ่านมานาน ดีใจที่มาบ่นให้ฟัง

เคยอ่านที่อ.ประพนธ์เคยเขียนไว้นานแล้วเรื่องเวลา ว่าเราควรแบ่งเวลาทำงานออกเป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนหนึ่งใช้แก้ปัญหา อีกส่วนใช้พัฒนางาน สุดท้ายใช้สร้างนวัตกรรมค่ะ

ขอเอาใจช่วยในการสร้างสมดุลย์ชีวิตนะจ๊ะ

หมอแวะมาให้กำลังใจค่ะ    หวังว่าคงจัดเวลาได้ลงตัวนะคะ     ทำได้ดีบ้างไม่ดีบ้างดีกว่าคนพูดนักดีแต่ไม่ได้ทำอะไรนะคะ    

ขอให้มีความสุขกับงานค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท