ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา
ปิติกานต์ จันทร์แย้ม : อิสระทำให้โอกาสอยู่กับเรา จันทร์แย้ม

การรวมตัวของชุมชนนักปฏิบัติเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้อย่างไร


คิดว่าหลายคนอาจจะดูท้อแท้ สับสนกับเส้นทางที่เราเดินผ่านมา แต่สำหรับตนเองไม่เห็นเช่นนั้น วันนี้ทำให้เราเห็นแนวทางและรูปแบบใหม่ที่ดีมาก

เกิดแรงบันดาลใจ อยากบันทึก
...แรงบันดาลใจมาจากเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเครือข่ายชุมชนนักปฏิบัติในมหาวิทยาลัยในวันนี้ ซึ่งเราจัดครั้งนี้เป็นครั้งแรก โดยมีคุณอำนวยและแกนนำชุมชนเข้าร่วมกว่า 40 ท่าน 14 ชุมชนนักปฏิบัติ เข้าร่วม

ภายหลังที่พนักงานของมหาวิทยาลัยได้เรียนรู้ แนวคิด เครื่องมือการจัดการความรู้ผ่านการปฏิบัติ จากโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่แนวทางการปฏิบัติงานที่ดีเพื่อวลัยลักษณ์ซึ่งเราจัดมาแล้ว 5 รุ่น และจะจัดรุ่นที่ 6 ประมาณปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ภายหลังที่พนักงานเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ทำให้พนักงานมีความเชื่อมั่นในเครื่องมือการจัดการความรู้สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาคน พัฒนางานและพัฒนาองค์กรได้ เกิดการรวมตัวของชุมชนนักปฏิบัติ (และเป็นข้อสงสัยของตนเองมานานว่าการรวมตัวของชุมชนนักปฏิบัติเกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้อย่างไร)....

วันนี้เป็นนัดแรกที่ทางหน่วยพัฒนาองค์กรได้เชิญชวนคุณอำนวยและผู้ประสานชุมชนนำผลการดำเนินงานของ CoPs เล่าสู่กันฟัง และได้เรียนเชิญ ผศ.ดร.วัลลา ตันตโยทัย คณบดีสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ เล่าประสบการณ์การนำ KM มาใช้ขับเคลื่อนเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน...ต้องขอบพระคุณอาจารย์มากที่อาจารย์ให้เกียรติแบ่งปันประสบการณ์ เพราะวันนี้เมสนุกมากคะ เพราะทำให้...

- เห็นความแตกต่างของความเป็นชุมชนนักปฏิบัติของวลัยลักษณ์ที่กิจกรรมส่วนใหญ่เป็นลักษณะงานโครงการ กิจกรรม -กับ- เทคนิกการนำเครื่องมือ KM มาใช้ในการทำอย่างไรให้ผู้ป่วยเบาหวานดีขึ้น เพราะนั้นทำให้เราเห็นแนวทางที่จะนำเครื่องมือ KM มาใช้ในการบรรลุเป้าหมายของ CoP


- คิดว่าหลายคนอาจจะดูท้อแท้ สับสนกับเส้นทางที่เราเดินผ่านมา แต่สำหรับตนเองไม่เห็นเช่นนั้น วันนี้ทำให้เราเห็นแนวทางและรูปแบบใหม่ที่ดีมาก ลองคิดใหม่ดูนะคะ...สำหรับประสบการณ์ที่ไม่เคยทำ ไม่มีใครหรอกคะที่จะทำได้ถูกต้องในครั้งแรกหรอกคะ ประสบการณ์จากอาจารย์วัลลาวันนี้ตนเองถือว่าเป็น Best Practice ทำให้เราได้คิดพิจารณา...สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าเราต้องเปิดใจ และต้องลองนำไปคิดดู คิดดูแล้วก็ลองนำไปประยุกต์ใช้ดู


- ตนเองก็เห็นทางการนำเครื่องมือ KM ไปใช้ในการพัฒนาคน พัฒนางานและพัฒนาองค์กรโดย เราต้องพยายามสืบเสาะหา ค้นหา Best Practice การทำงาน นำมาเผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้จากการปฏิบัติ และให้พนักงาน หน่วยงานอื่นนำมาใช้ต่อโดยไม่ต้องลองผิดลองถูก และทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้ามหน่วยงาน


- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ยังสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการ ลปรร.ผ่าน Blog ให้กับคุณอำนวย ผู้ประสานชุมชนนักปฏิบัติและตนเองอีกด้วย


- เราต้องเลือกใช้เครื่องมือ KM ให้เหมาะกับเรา ดังนั้นในระยะแรกนี้เราจำเป็นต้องศึกษาเครื่องมือ KM ให้ลึกซึ่งและถ่องแท้และต้องนำมาประยุกต์ใช้ให้เนียน


- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้จึงเป็นการจัดเวทีที่ตนเองทั้งตื่นเต้นและมีความสุขมาก และคิดว่าครั้งนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราได้พัฒนากระบวนการ พัฒนาวิธีการการนำ KM มาใช้ในการพัฒนาคน พัฒนางานและพัฒนาองค์กร


- ต้องขอขอบคุณคุณเอื้อ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา ผศ.ดร.วัลลา ตันตโยทัย คุณอำนวย แกนนำชุมชนนักปฏิบัติทุกท่านที่เสียสละเวลา มาร่วมแรง ร่วมใจ ในการขับเคลื่อนชุมชนนักปฏิบัติ คิดว่าโอกาสหน้าจะได้รับความร่วมมือที่ดีเช่นนี้อีก และขอเป็นกำลังใจให้กับทุกท่านในการนำเครื่องมือ KM ไปใช้ในการพัฒนาคน พัฒนางานต่อไป....

ขอบคุณคะ
น้องเม ม.วลัยลักษณ์

คำสำคัญ (Tags): #cop at wu
หมายเลขบันทึก: 145107เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะน้องเมย์ 
  • พี่เข้าร่วมกระบวนการ KM ทีไรก็จะได้รับฟังประสบการณ์ดี ๆ ที่ทำให้งานสำเร็จเสมอ ๆ   สิ่งเหล่านี้เป็นอาจจะเป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูก
  • เพียงแต่เราเปิดใจและร่วม ลปรร. จะทำให้รู้ว่ามีสิ่งดี ๆ ที่เรายังไม่รู้อีกมากมาย 
  • KM  ทำให้เรามีเครือข่าย และทำให้พี่ได้รู้จักน้องเมย์ที่น่ารักด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท