newwave1
หลักสูตร การพัฒนาผู้นำ คลื่นลูกใหม่ ของกรมส่งเสริมการเกษตร

เก็บตกจากกรมราชทัณฑ์ (2) กระบวนการจัดการความรู้


การจะขึ้นต้นไม้ ควรขึ้นจากโคนต้น ระยะทางที่หมื่นลี้ เริ่มจากก้าวแรกเสมอ การเรียนรู้จะทำอะไรทำไมเราไม่เริ่มที่พื้นฐาน

สวัสดีชาวคลื่นหนึ่ง และเพื่อน ๆ ผู้สนใจและรักการอ่าน วันนี้จะมาต่อเรื่อง กระบวนการจัดการความรู้ อันนี้ก็ประเมินจากบุคคลรอบข้างแล้วว่าน่าจะเป็นประเด็นน่าสนใจที่ควรค้นคว้าและนำมาเล่าสู่กันฟังอีกเรื่อง หลังจากที่ได้อบรมหลักสูตรผู้นำคลื่นลูกใหม่ของกรมส่งเสริมการเกษตรมาในประเด็น การจัดการความรู้ในงานส่งเสริมการเกษตร และที่สำคัญการจัดการความรู้เป็นเรื่องที่องค์กรต้องทำ .....จะทำอย่างไร??  ถือเป็นการทบทวนความรู้กันอีกประเด็นนะคะ โดยจะหยิบยกเอาหน่วยงานที่พวกเราคลื่นหนึ่งได้ไปดูงานกันมานั่นคือกรมราชทัณฑ์ ซึ่งได้จัดกระบวนการเรียนรู้ไว้ 7 ขั้นตอน คือ

  1. การค้นหาความรู้ (Knowledge Identification) เป็นการค้นหาว่าองค์กรมีความรู้อะไรบ้าง รูปแบบใด อยู่ที่ใคร และความรู้อะไรที่องค์กรจำเป็นต้องมี เพื่อให้องค์กรวางขอบเขตของการจัดการความรู้และสามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  2. การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) เป็นการดึงความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายมารวมไว้เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้ใช้ สำหรับความรู้ที่จำเป็นต้องมีแต่ยังไม่มีนั้น องค์กรอาจสร้างความรู้จากความรู้เดิมที่มีหรือนำความรู้จากภายนอกองค์กรมาใช้ก็ได้  ที่สำคัญคือ บรรยากาศและวัฒนธรรมขององค์กรที่เอื้อให้บุคลากรกระตือรือร้นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) เป็นการจัดทำสารบัญ และจัดแบ่งความรู้ประเภทต่างๆ เพื่อให้การรวบรวม การค้นหา การนำไปใช้ทำได้ง่ายและรวดเร็ว
  4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) เป็นการปรับปรุงและประมวลผลความรู้ให้อยู่ในรูปแบบและภาษาที่เข้าใจและใช้ได้ง่าย
  5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) ในการเข้าถึงความรู้ องค์กรต้องมีวิธีการในการจัดเก็บและกระจายความรู้เพื่อให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์ได้ การกระจายความรู้มี 2 ลักษณะ คือ (1)  Push การป้อนความรู้ เป็นการส่งข้อมูลความรู้ให้ผู้รับโดยผู้รับไม่ได้ร้องขอ เช่น การส่งหนังสือเวียน และ (2) Pull การให้โอกาสเลือกใช้ความรู้ โดยผู้รับสามารถเลือกรับหรือใช้แต่เฉพาะข้อมูล/ความรู้ที่ต้องการเท่านั้น
  6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) เป็นการนำความรู้ที่ได้จัดเก็บมาเผยแพร่ แบ่งปัน และแลกเปลี่ยนกัน โดย : การแบ่งปันความรู้ประเภทความรู้ที่ชัดเจน โดย การจัดทำเอกสาร จัดทำฐานความรู้  เพื่อให้สามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายและรวดเร็ว  : การแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในคน สามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการและวัฒนธรรมองค์กร   ส่วนใหญ่ใช้วิธีผสมผสานเพื่อผู้ใช้ข้อมูลสามารถเลือกใช้ได้ตามความสะดวก เช่น ระบบทีมข้ามสายงาน Innovation & Quality Circles (IQCs) ชุมชนแห่งการเกรียนรู้ (Community of Practice :CoP) ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนสายงาน (Job Rotation) การยืมตัวบุคลากรมาช่วยงาน (Secondment) และการจัดเวทีสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Forum) 
  7. การเรียนรู้ (Learning) ในการจัดการความรู้ วัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ การเรียนรู้ของบุคลากรและนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินแก้ปัญหาและปรับปรุงองค์กร การเรียนรู้ของบุคลากรจะทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ขึ้น ซึ่งจะไปเพิ่มพูนองค์ความรู้ขององค์กรที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้น และความรู้นี้ก็จะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความรู้ใหม่อีก เป็นวงจรที่ไม่สิ้นสุด เรียกวงจรการเรียนรู้  เขียนมาให้เพื่อนๆ ได้ทบทวน และนำไปปฏิบัติกันในองค์กรของตนเอง แล้วอย่าลืมเอามาเล่าขานแลกเปลี่ยนกันบ้างนะ..

จาก จินตนาภร ที่มา  จุลสาร สายธารแห่งความรู้ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2549

หมายเลขบันทึก: 144926เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2007 09:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • สวัสดีครับ
  • เยี่ยมมากเลยครับที่นำมาแลกเปลี่ยน
  • ขอบคุณครับ

ขอบคุณพี่สิงห์ป่าศักดิ์ ที่ติดตามดูน้องๆ อยู่ตลอด ติดตามอ่านงานพี่อยู่เป็นประจำนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท