บทบาทรัฐต่อการพัฒนาจังหวัดนครศรีธรรมราช (บทนำ)


กลไกขับเคลื่อนงานโครงการชุมชนอินทรีย์ดำเนินการอย่างอย่างเชื่อมโยง สอดประสานกัน ตัวชี้วัดโครงการชุมชนอินทรีย์ใช้ในการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ
วันที่6พ.ย.มีประชุมคณะทำงานพัฒนาและบูรณาการกลไกขับเคลื่อนและตัวชี้วัดเพื่อการติดตามประเมินผลกระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างสมดุลและยั่งยืนจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อค่อนข้างยาว ผมจะแจกแจงที่มาที่ไปเพื่อความเข้าใจร่วมกันดังนี้

1.กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างสมดุลและยั่งยืนจังหวัดนครศรีธรรมราช คือกระบวนการที่ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งชื่อใหม่ว่า กระบวนการ ชุมชนอินทรีย์ ซึ่งท่านบอกว่ามี5องค์ประกอบสำคัญคือ
1)มีคณะผู้นำที่มีคุณภาพและมีการสืบทอด

2)มีกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองที่มีคุณภาพ
3)มีการจัดการความรู้
4)มีสถาบันการเงินและระบบสวัสดิการชุมชน
5)ชุมชนมีความสามารถในการบริหารจัดการ

2.กลไกขับเคลื่อน คือ กลไกต่างๆที่ใช้ในการเคลื่อนงาน เริ่มจาก

2.1โครงการชุมชนอินทรีย์ตามแผนงาน 6 ปี

ปีแรก ปกครองร่วมกับเครือข่ายยมนาสนับสนุนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเองผ่านคณะผู้นำในแต่ละหมู่บ้าน

ปีสอง ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนร่วมกับสถาบันวิชาการดำเนินกระบวนการจัดการความรู้

ปีสาม เกษตรและธกส.ส่งเสริมศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
ปีสี่ พัฒนาชุมชน(พช.) สนับสนุนการจัดทำมาตรฐานงานชุมชน

ปีห้า สาธารณสุขสนับสนุนการจัดทำมาตรฐานสุขภาวะชุมชน
ปีหก ทบทวนกระบวนการทั้งหมด สรุปผล
เริ่มโครงการในปี2548 ปีนี้ย่างเข้าปีที่ 4

2.2โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจน การพัฒนาสังคมและสุขภาวะ

โครงการนี้ริเริ่มจากส่วนกลางโดย สกว.ร่วมกับสสส.กระทรวงมหาดไทย ธกส.และพม.ดำเนินการโดยใช้พื้นที่นำร่อง20จังหวัดเพื่อจัดทำฐานข้อมูลบัญชีรับจ่ายระดับครัวเรือน สรุปภาพรวมการจัดการทุนระดับหมู่บ้าน/ตำบลเพื่อจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองที่เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาของอบต.
โครงการนี้เริ่มในปี2550 ใช้กลไกคณะกรรมการ/คณะทำงานระดับจังหวัด โซน อำเภอและ ตำบลในการเคลื่อนงาน ซึ่งซ้อนทับกับโครงการชุมชนอินทรีย์
2.3ยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข เป็นยุทธศาสตร์ที่มีกรอบงาน/โครงการจากตัวอย่างการเคลื่อนงานชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สนับสนุนงบกิจกรรมให้กับชุมชนระดับหมู่บ้าน/ตำบลที่มาจากแผนงาน/โครงการในแผนแม่บทชุมชน รวมทั้งเสริมสร้างกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ยุทธศาสตร์นี้เริ่มในปี2550 โดยงบประมาณส่วนหนึ่งใช้สนับสนุนการดำเนินงานโครงการความร่วมมือฯ

2.4 โครงการเสริมศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลงครบกระบวนการ(โรงเรียนคุณเอื้ออำนวยกิจ) เป็นโครงการที่มาจากดำริของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดที่สรุปบทเรียนการเคลื่อนงานที่ผ่านมาว่า คอขวดอยู่ที่ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับที่ต้องเสริมศักยภาพและทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ จึงสนับสนุนให้ใช้งบประมาณบางส่วนในยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขจัดทำโรงเรียนนี้ขึ้นและกำหนดเป็นแผนงานหลักที่จะใช้สนับสนุนการเคลื่อนงานชุมชนอินทรีย์ต่อเนื่องในปี2551

2.5 โครงการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(พพพ.) สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้ระดับตำบล ภายใต้ชื่อ ปลูกต้นไม้ใช้หนี้ นครศรีธรรมราชได้มา70ตำบล มีกลไกเคลื่อนงานภาคชุมชนจากแม่ข่ายยมนา

3.ตัวชี้วัดเพื่อการติดตามประเมินผล คือ ตัวที่บ่งชี้ถึงความสำเร็จของงาน/โครงการ ในที่นี้ใช้โครงการชุมชนอินทรีย์เป็นแกนกลางสำคัญที่โครงการอื่นๆเข้ามาเสริมหนุน โดยการเชื่อมโยงหรือต่อยอดการพัฒนา

4.พัฒนาและบูรณาการ คือ การกระทำเพื่อความเจริญงอกงามและการกระทำอย่างเชื่อมโยง  สอดประสานกัน

สรุปคือ

(ก)คณะทำงานชุดนี้ตั้งขึ้นเพื่อให้ช่วยกันคิด ปรึกษาหารือกันเพื่อจัดการให้กลไกขับเคลื่อนงานโครงการชุมชนอินทรีย์ ซึ่งมีโครงการอื่นๆสอดประสานเข้ามาดำเนินการอย่างอย่างเชื่อมโยง    สอดประสานกันเพื่อไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้

(ข) คณะทำงานชุดนี้ตั้งขึ้นเพื่อให้ช่วยกันคิด ปรึกษาหารือกันเพื่อจัดการให้ตัวชี้วัดโครงการชุมชนอินทรีย์ ซึ่งมีโครงการอื่นๆสอดประสานเข้ามา มีความเชื่อมโยงสอดประสานกัน เพื่อใช้ในการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ

 

 

หมายเลขบันทึก: 144731เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2007 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท