คนดอย
นาย ทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์

SCG CEMENT Dialogue Workshop


ศาสตร์และศิลป์ ในการหันหน้าเข้าหากัน
  • เปิดฉากการพัฒนาทักษะ Dialogue หรือภาษาบ้านๆเรามีคนแปลกันว่า สุนทรียสนทนา บางคนคิดว่ามาเรียนพูดจาภาษาดอกไม้กัน แต่งานนี้ไม่เรียนก็ไม่รู้ อย่าเพิ่งด่วนคิดด่วนตัดสินใจ แล้วจะค่อยๆเล่าให้ฟัง

งานนี้เกิดขึ้นมาให้กับกลุ่มคนที่ต้องใช้ทักษะทางด้านนี้เป็นวิชาชีพ เป็นอันดับแรก แต่ว่าไปทักษะด้านนี้เป็นทักษะพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนก็ว่าได้ แต่เพียงกะขายเรื่องนี้ผ่านกลุ่มคนเล็กๆ ที่เราจะพาดพิงและนำพาพวกเขามาฝึกทักษะด้านนี้ได้ กลุ่มคนที่อยู่ในเครือข่ายของหน่วยงาน Sustainable development คงเป็นกลุ่มหนูทดลองกลุ่มแรก และ คงค่อยๆ ขยายเผ่าพันธุ์ ไปตามความเหมาะสมในโอกาสหน้า

หากเล่าเรื่องราวให้ทราบที่มาที่ไปเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่งให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องราว เกี่ยวกับทำไมต้องฝึกทักษะในด้านนี้ ในส่วนตัวแล้ว ทำเกี่ยวกับเรื่อง Learning organization ซึ่งภายใน LO เองก็พูดถึงเรื่อง Dialogue

Development+of+the+org

แต่ที่มาก็ไม่เคยฝึกทักษะ หรือ เรียนรู้เรื่องนี้อย่างจริงๆจังๆ เพียงได้ทักษะเรื่องนี้จากการทำReflection ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ประกอบกับ การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตามวิถีที่เราพัฒนา ก็ทำให้พอก้อมแก้มไปได้ 

จนกระทั่งได้พบการพัฒนาทักษะด้านนี้จากสถาบันขวัญเมือง จากจังหวัดเชียงราย นำทีมโดย อาจารย์วิศิษฐ์ วังวิญญู ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้อ่านบทความหรือหนังสือที่อาจารย์เขียนบ้าง โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว จึงได้ไปฟังตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าจะเรียกเป็นอะไรดี เหมือนกับยั่วให้รู้จัก ไปฟังเฉยๆ ครั้งแรกที่สถาบันกวดวิชา ที่Paragon ครั้งนั้นมีโอกาสได้พบ อาจารย์ณัฐฬส อาจารย์สมพล คุณอ้อ และ อาจารย์เอเชีย เป็นผู้เล่าเรื่อง โดยส่วนตัวไม่รู้สึกแปลกกับการแต่งตัวของอาจารย์ณัฐฬสและอาจารย์เอเชีย หากเป็นคนอื่นๆ อาจจะคิดว่าแต่งตัวแบบอารมณ์ชาวเหนือ ศิลปินแบบ อาจารญ์เฉลิมชัย ประมาณนั้น แต่สำหรับผม ชอบและรู้สึกคุ้นเคยกับการแต่งตัวแบบนี้ เพราะเราก็เด็กจบ มช.เหมือนกัน แถมทำงานที่ลำปางอยู่สักนาน

  • วันนั้นมีผมและน้องๆที่องค์กรไปฟังอีก 2 คน  ซึ่งวันนั้นสิ่งที่เราได้รับฟัง กับ ประสบการณ์ที่พวกเรามีจากการพัฒนาที่ผ่านไปแล้ว ทำให้เรารู้ว่า ทักษะนี้เป็นทักษะที่ดี ที่ดูมีชาติตระกูล น่าจะเหมาะกับองค์กรเรา ในการที่คนจะเข้าถึงได้ การเดินทางเกี่ยวกับเรียนรู้เรื่องราวสายนี้จึงเริ่มต้นขึ้นครับ

Dialogue+1stวันนั้นฟังไปฟังมา กลับมาสรุปได้หนึ่งบันทึก เราทำเป็น Mind map กัน เพื่อความมีชาติตระกูล (แต่จริงๆ เป็นการฝึกทักษะละครับ) คลิกดูรายละเอียดได้ที่รูปครับ !!!

ในที่สุดเราก็ได้มีโอกาสเป็นหนูทดลองกลุ่มแรกขององค์กร (แต่ก่อนหน้านี้ มีหนู 2 ตัว ถูกส่งไปเข้าร่วมกับคนอื่นนอกองค์กร เพื่อลิ้มลองก่อน ให้มั่นใจ ตามสไตล์ ผู้รอบคอบ ???? ) จนในที่สุดทางSCG Corporate ก็ตัดสินใจจัดให้กับ Change agent ทั้งหมด 12 รุ่น

สำหรับ SCG CEMENT แล้วก็ตัดสินใจของแทรกแซงเวลา จัดขึ้นมาได้ 2 รุ่น เพื่อให้ลิ้มลองเช่นกัน กับเครือข่ายในสายงาน และก็หวังว่าจะได้มีโอกาสขยายทักษะในด้านนี้ต่อไปในอนาคต

และต่อไปนี้คงเป็นเรื่องราวดีๆที่เกิดขึ้น ของรุ่นแรกที่ SCG CEMENT ได้จัด Dialogue workshop ขึ้น

  • SCG CEMENT Dialogue Workshop รุ่นนี้เป็นชุดแรก สำหรับปี 2550 ที่SCG CEMENT หน่วยงานส่งเสริมพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน จัดขึ้นให้กับ เครือข่าย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม รวมทั้ง บรรดาFacilitator หรือที่เรียกกันว่าคุณอำนวยบ้าง กระบวนกรบ้าง
  • งานนี้เราแบ่งเป็น 2 รุ่น
    • วันที่ 6-8 พ.ย. 2550
    • วันที่ 13-15 พ.ย. 2550
  • งานนี้เราร่วมจัดกับสถาบันขวัญเมือง มาเป็นกระบวนกรให้กับเรา
  • สถานที่จัดกันที่ ระเบียงไพร จ.นครนายก

Dialogue+workshop2Dialogue+workshop1

 

รุ่นที่ 1 เครือข่ายที่เป็น เจ้าหน้างความปลอดภัยและเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีบางท่านเป็นกระบวนกร กลุ่มรุ่นที่ 2 แต่ไม่สามารถเข้าร่วมในรุ่น 2 ด้วยก็มาเข้าซะรุ่นนี้ รวมไปรวมมา สมาชิกที่มาร่วมกันรวม 24 ชีวิต มาจากหลากหลายหน่วยงาน จากทั่วสารทิศ

  • ปูนลำปาง
  • ปูนทุ่งสง
  • ปูนแก่งคอย
  • ปูนท่าหลวง
  • SPS
  • ปูนซิเมนต์ขาว
  • สยามมอร์ตาร์
  • CPAC
  • และ หน่วยงาน SD เราจากบางซื่อ ก็เข้ามาร่วมด้วย รวมเป็นผู้ประสานงานด้วย  Dialogue+member

ส่วนใหญ่ ก็จะรู้จักกันแล้ว ทำให้บรรยากาศตั้งแต่แรก ไม่เคร่งเครียด ไม่ต้องจับมาละลายพฤติกรรม มีแต่ทำอย่างไรให้สลายกลุ่มกันมากกว่า เพราะจะมั่วแต่เม้าท์กันเกิดไป ไม่ได้ใคร่ครวญสิ่งที่ได้เรียนรู้กัน

Dialogue+member2

สรุปกิจกรรม Highlight ที่เราได้ร่วมสร้างเรื่องราวดีๆ

P1110205

  • กิจกรรมในแต่ละวัน วัตถุประสงค์คงดังรายละเอียด ที่สามารถเรียกดูได้จากเอกสารที่ลิงค์ไว้ให้ข้างบน แต่เสน่ห์คงเป็นรูปแบบที่เป็นการเรียนรู้ นั่นหมายถึงพวกเราต้องลงมือปฏิบัติ เปิดหู เปิดตาและเปิดใจ ในการฝืนทำบางสิ่งบางอย่างที่เราไม่คุ้นชิน และ บรรยากาศที่ผ่อนคลาย รวมกับสิ่งแวดล้อมที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและเอื้อต่อการเรียนรู้อย่างยิ่ง
    • ไม่ว่าจะเป็นบรรยากาศของสถานที่จัด กระบวนกรที่เชื้อเชิญพวกเราให้เข้าสู่กระบวนการ พลังของทีมที่ช่วยกันทั้งฉุดทั้งดึง เข้าสู่บรรยากาศ จนทำให้หลายๆคน ต่อมน้ำตาแตกกัน (ต้องยอมรับว่าไม่เว้นผู้รายงานเองก็ตาม)

Dialogue+activity1

Dialogue+activity2

คลิกที่นี่!! เพื่อเรียกดูเนื้อหาสาระ ที่ได้เรียนรู้ และได้ถูกสกัดออกมาเป็นตัวหนังสือและภาพบนกระดาษ Flip chart โดยทีมกระบวนกร

( งานนี้ เหลือพื้นที่นี้ไว้สำหรับทุกคนที่ไปร่วมปฏิบัติ สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ออกมาเองละกันครับ ทำมากได้มาก เนื้อหาอาจจะมีนิดเดียว แต่ละคน จะได้เรียนรู้อะไรมากน้อยขึ้นกับแต่ละคนจริงๆ)

ความประทับใจ ยังไม่จบไม่สิ้น : สิ่งที่สุดยอดอีกอย่างหนึ่งในการเข้าร่วมกิจกรรมเรื่องสุนทรียสนทนา คือการนำเรื่องราวเกี่ยวกับ "ไทเก็ก" เข้ามาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สอดประสานกันอย่างลงตัวจริงๆ ทำให้ เช้าๆ เราได้ออกกำลังกาย เข้าถึงความเป็นไทเก็ก ช้าๆ อ่อนโยน แต่ทรงพลัง การออกกำลังที่ไม่ต้องเร่งรีบ เรียนรู้การทำงานของทุกอวัยวะของร่างกาย รวมทั้งลมหายใจ  

Dialogue+exercise2

Dialogue+exercise1

เรื่องราวดีๆ เหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย หากไม่มีเหล่าอัศวินเจได หรือ เหล่ากระบวนกรทั้งหลาย จากสถาบันขวัญเมือง

  • อาจารย์ณัฐฬร
  • อาจารย์ฌาณเดช
  • อาจารย์ประสาท
  • อาจารย์สมชาย
  • พี่กุ้ง ที่มาช่วยแนะนำเรื่องราวจริงๆ ที่ทำมา เอามาแบ่งปัน
  • อ้อ ที่เป็นทั้งกระบวนกรและผู้ประสานงาน

 Dialogue+fa2

  • เกือบลืมไปเลย หากไม่ได้สังเกตที่รูป งานนี้ ถือเป็นการรวมเหล่าจอมยุทธ มาเจอกัน โดยบังเอิญและรวมทั้งธรรมะจัดสรร อีกต่างหาก ที่ทำให้บรรดากระบวนกร มีโอกาสได้พบกับ อาจารย์วรภัทร์ ซึ่งก็ถือเป็น ท่านโยดา ของบรรดากระบวนกรของพวกเราเหล่า SCG เช่นกัน

งานนี้มีถึงขึ้นแลกเปลี่ยนลายเซ็นต์ กันเลย ทรงพลังจริงๆ งานนี้Dialogue+fa1

  •   และที่สุดคงต้องขอขอบคุณ Sponser โดยเฉพาะพี่เต้ย(ลูกพี่ผมเอง) องค์กร ที่เอื้อทั้งแรงกายแรงใจและแรงทรัพย์ ทำให้เกิดงานนี้ขึ้นมาได้ หวังว่าเรื่องนี้คงขายออก ได้การต่อยอด ขยายผลต่อไปนะคร๊าบ!!!

P1110223P1110218 

คนดอย คอยรายงาน....

โปรดคอยติดตาม เรื่องราวของรุ่นที่ 2 วันที่ 13-15 พ.ย. 2550 นี้ คงทรงพลังไม่แพ้กัน

SCG CEMENT Dialogue Workshop รุ่นที่ 2 คลิกที่นี่!!

คำสำคัญ (Tags): #facilitator development#scg cement
หมายเลขบันทึก: 144695เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2007 07:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
ดีครับเป็นการพัฒนาด้านภาษาท้องถิ่นในชุมชนให้ยั่งยืน
  • วันหลังจะขอไปสังเกตการณ์บ้าง อิอิ

สวัสดีครับพี่คนดอย

มาเรียนรู้ และดูบรรยากาศ เผื่อจะนำไปปรับใช้ในองค์กรบ้างครับ

พี่ทวีสินครับ

กระบวนการน่าสนใจ เขียนเล่ารายละเอียดในเวทีด้วยดีมั้ยครับ

สบายดีนะครับผม

พี่ทวีสินครับ

  • บรรยากาศห้องสนทนาอบอุ่นดีจังครับ
  • เห็นทีบรรยากาศนี่ช่วยให้คนพูดกันแบบเปิดอกเปิดใจนะครับ

จะรอฟังเรื่องราวดีๆ ก่อนที่พวกเราชาวสยามโอเชี่ยนเวิร์ล จะได้สัมผัสด้วยตนเองในเดือน ก.พ. ปีหน้า

  • สวัสดีค่ะ คุณทวีสิน
  • สบายดีนะคะ
  • มาขออนุญาต Tag คิดถึง คุณค่ะ

 

จิตพิสุทธิ์...แค่เริ่มต้นก็ก่อให้เกิดพลังเหลือหลายเลยนะครับ...

 

Great jobs.

 

Nice to know good tools for SD in Thailand

 but eventually..it needs people to really implement ..

 

 

เย้ ... เจ๋งจังเลยครับพี่กอล์ฟ ... ขออนุญาตนำไปขยายผลที่ SCG Paper <PPW> นะครับ ...

  • ฉันมา
  • ฉันเห็น
  • ฉันอ่าน
  • แล้วฉันจะ...............
  • อึ้ง ทึ่ง
  • แต่ไม่เสียว
  • อิอิอิๆๆ
  • สุดยอดๆๆๆ
  • P1110223P1110218 
วันหลังขอไปสังเกตุการณ์ด้วยได้มั้ยครับ

ขอบคุณที่แบ่งปันเรื่องราวดีๆ นะคะ

ถ้ามีวาสนา คงจะได้สัมผัสการเรียนรู้แบบนี้บ้าง

วันนี้เพิ่งฉุกคิดว่า การได้รับประสบการณ์การเรียนรู้บางอย่างดีๆ มีคุณค่าแก่ตัวเราเอง อยากบอกให้เขารู้แต่บางครั้งก็ยากแก่การบอกเล่าให้เข้าใจ ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้สัมผัสจับต้องจึงประจักษ์แจ้ง แต่บางคนก็ไม่ยอมรับโอกาสที่เราหยิบยื่นให้ซะด้วยซ้ำ

สำหรับพี่แล้ว ใครไม่ให้โอกาส ก็ต้องพยายามหาให้ได้

 

 

เป็นกิจกรรมที่ดีอีกกิจกรรมหนึ่งค่ะ...

ดูบรรยากาศน่าเกรงขามมาก

ที่สำนักวิทยบริการ มมส. ทำ หลักสูตรเร่งรัด และให้ไปฝีกในชีวิตประจำวันเอง เลยยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่

จึงเข้ามาหาข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ...

โอ้จอชมันยอดมาก.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท