การก่อกำเนิดของ " ธนาคารออมสิน "


จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา  ธนาคารออมสินกับคนไทย   ธนาคารออมสินกับประเทศไทย  นั้น  ถือได้ว่าอยู่คู่กันมากว่าร้อยปี  ความผูกพัน  ความใกล้ชิด  ความเป็นพี่เป็นน้อง  เป็นญาติสนิทที่อยู่คู่กับคนไทย  เติบโตมาพร้อมกับประเทศไทย  คอยจูงมือกันเดิน  คอยพยุง คอยดึงมือเมื่อเพื่อนล้ม  และเป็นอะไรหลาย ๆ อย่าง

หลายคนในที่นี้คงจะจำกันได้ถึงภาพวันเก่า  ๆ ที่เมื่อตอนเด็ก ๆ จะนำกระปุกออมสินมาแคะ มาเเกะด้วยความเสียดายกระปุกอันเก่า  แต่ด้วยความรักในการออมจึงต้อง เอาเงินในกระปุกที่สะสมมาจากค่าขนม มาฝากธนาคาร  แล้วได้ก็กลับไปด้วยรอยยิ้มพร้อมกับกระปุกออมสินอันใหม่ 

ภาพของวันเด็ก  จะเห็นเด็ก ๆ มากันเต็มธนาคารจนแน่นไปหมด มากันเพื่อที่จะฝากเงินแล้วรับของขวัญของที่ระลึก  และภาพต่าง ๆ ที่ยังอยู่ในความทรงจำอีกมากมาย

.............................................................

วันนี้ผมจะพาทุกท่านเดินทางย้อนเวลากลับไปรำลึกถึง " ธนาคารออมสิน " จากอดีตจนถึงปัจจุบัน  ผมคิดว่า  ทุกท่านในที่นี้คงจะมีความทรงจำในวัยเด็กเกี่ยวกับธนาคารออมสินกันทุกคน...ผมเชื่ออย่างนั้นครับ  อิอิ ( ฮั่นแน่  รอยยิ้มของวัยเด็กของคุณ เปื้อนอยู่เต็มหน้าแล้วครับ อิอิ ) 

                       1
                         พระมหากษัตริย์ผู้ทรงต่อตั้งธนาคารออมสิน

“แบงค์ลีฟอเทีย”   ต้นแบบการออม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์ เพื่อให้ประชาชนรู้จักการประหยัดการเก็บออม มีสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทองของประชาชน ให้ปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย จึงทรงริเริ่มจัดตั้งคลังออมสินทดลองขึ้น  โดยทรงพระราชทานนามแบงค์ว่า “ลีฟอเทีย” ในปี พ.ศ. 2450 เพื่อทรงใช้ศึกษาและสำรวจนิสัยคนไทยในการออมเบื้องต้น พระองค์ทรงเข้าใจในราษฎรของพระองค์และทรงทราบดีว่าควรใช้กุศโลบายใดอันจะจูงใจคนไทยให้มองเห็นความสำคัญของการออม


กำเนิดธนาคารออมสิน

ยุคที่ 1
          คลังออมสิน สังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2456 – 2471  เพื่อให้คลังออมสินได้เป็นประโยชน์เกื้อกูลเผื่อแผ่ไปถึงราษฎรโดยทั่วกัน พระองค์จึงได้ทรงพระกรุณาฯ โปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการจัดตั้ง “คลังออมสิน” ขึ้น ในสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และพระราชทานพระบรมราชานุญาตประกาศใช้ “พระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456”
ประกาศใช้ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456


                                
                 ยุคที่ 1 คลังออมสิน ยุคสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ
                     กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ พ.ศ. 2456 – 2471

......................................................

ยุคที่ 2
          กองคลังออมสิน สังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2472 - 2489  ต่อมาในปี พ.ศ. 2472 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงมีพระราชดำริเห็นควรโอนกิจการคลังออมสินให้้ไปอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข กิจการได้เริ่มแพร่หลายและเป็นที่นิยมของ ประชาชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งนับได้ว่ากิจการคลังออมสินในช่วงระยะนี้เติบโตขึ้นมาก จึงเรียกได้ว่าเป็น“ยุคแห่งความก้าวหน้าของการคลังออมสินแห่งประเทศไทย”


 3
ยุคที่ 2 กองคลังออมสิน ยุคสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข
กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม พ.ศ. 2472 - 2489
(สำนักงานใหญ่คลังออมสินของรัฐบาลแห่งแรก ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ ฝั่งพระนคร เปิดทำการวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2477)

......................................

รากฐานความมั่นคง

ยุคที่ 3
          ธนาคารออมสิน สังกัดกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2490 – ปัจจุบัน  ต่อมาภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง รัฐบาลได้เห็นถึงคุณประโยชน์ของการออมทรัพย์และความสำคัญ ของคลังออมสินที่มีต่อการพัฒนาประเทศ จึงได้ยกฐานะของคลังออมสินขึ้นเป็นองค์การของรัฐ มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินธุรกิจภายใต้ “พระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ. 2489” มีการบริหารงานโดยอิสระ ภายใต้การควบคุมของ  คณะกรรมการ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง เริ่มดำเนินธุรกิจในรูปธนาคารออมสินตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2490 และคำว่า “คลังออมสิน” ก็ได้เปลี่ยนเป็นคำว่า “ธนาคารออมสิน” นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา



ยุคที่ 3 ธนาคารออมสิน ยุคสังกัดกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2490 – ปัจจุบัน

สำนักงานใหญ่ธนาคารออมสินในปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ ถ.พหลโยธิน บริเวณสี่แยกสะพานควาย เปิดทำการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2509

...............................................

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ธนาคารออมสินได้เปลี่ยนแปลงปรับปรุงพัฒนาระบบการดำเนินงานและการบริการ ในทุกด้านอย่างเป็นพลวัตร ธนาคารจึงได้ปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อรักษาฐานลูกค้ามากกว่า 26 ล้านบัญชี โดยระดมทรัพยากรในทุกด้านเตรียมการเพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์และรูปแบบการให้บริการที่ทันสมัยและครบวงจรยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการให้บริการที่สอดคล้องต่อความต้องการและครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกอาชีพ และทุกช่วงวัย

ปัจจุบันธนาคารออมสินมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นรัฐวิสาหกิจ ในรูปของสถาบันการเงินที่มีรัฐบาลเป็นประกัน อยู่ภายใต้ การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีสาขา 588 สาขาทั่วประเทศ มีอายุครบ 93 ปี เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2549 ที่ผ่านมาี้
                                                    ขอบคุณข้อมูลจาก ธนาคารออมสิน
.............................................

ปัจจุบันหลายท่านอาจจะยังคิดว่า ธนาคารออมสิน เป็นธนาคารเด็ก เก่า ไม่พัฒนา  แต่ถ้ามองดูดีดีแล้วจะพบว่า ปัจจุบันนี้ธนาคารออมสินได้เปลี่ยนแปลงไปมากถึงมากที่สุด  ซึ่งปัจจุบันธนาคารออมสินถือได้ว่าเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนรูปลักษณ์ เปลี่ยนและพัฒนาผลิตภัณฑ์  จนเป็นที่ให้การยอมรับจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เป็นแบบอย่างให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ได้ทำและพัฒนาตาม แต่จะว่าไปแล้วก่อนหน้านั้นทางธนาคารเองก็อาจจะด้อยเรื่องการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับธนาคารเท่าที่ควร  แต่ปัจจุบันนี้ก็ได้ปรับปรุงและพัฒนาทั้งด้านการประชาสัมพันธ์ไปจนถึงพัฒนาในทุก ๆ ด้าน

ด้วยบทบาทหน้าที่ จุดยืนของธนาคารออมสินเองซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นได้ชัดเจน  ธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลนโยบายการเงิน  ธนาคารออมสินดูแลนโยบายการคลัง   ณ ปัจจุบันนี้เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถของธนาคารออมสินเอง  ทางธนาคารฯ ได้แก้ไขข้อจำกัดด้านกฎหมาย พรก.ธนาคารออมสิน ให้สามารถทำนิติกรรมต่าง ๆ ได้กว้างและมากขึ้น เพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทย  ตามเจตนารมย์ที่ได้ตั้งไว้ 

การเปลี่ยนแปลงและการขยับตัวของธนาคารออมสินนั้นเป็นที่จับตามองจากนักการเงินการธนาคาร และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ด้านเศรษฐกิจ  และเกิดผลกระทบกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่อยู่ในประเทศไทย จนมีหนังสือพิมพ์ติดตามข่าวและให้ฉายาของการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นว่า  " ออมสิน  ไม่ใช่ยักษ์หลับอีกต่อไป "   เมื่อธนาคารออมสินมีการเปลี่ยนแปลงในด้านการพัฒนาในส่วนต่าง ๆ เกิดขึ้น สถาบันการเงินต่าง ๆ ก็ย่อมที่จะพัฒนาแข่งขันกันตามรูปแบบระบบเศรฐกิจแบบทุนนิยม

ด้วยปณิธานของธนาคารออมสินในปัจจุบันคือ

                      เป็นสถาบันที่มั่นคงของประเทศ  เพื่อการออม
                             การลงทุน  การสร้างเศรษฐกิจชุมชน
              การพัฒนาประเทศ  และการบริการทางการเงินครบวงจร
                                แก่ประชาชนทุกระดับทั่วประเทศ


ด้วยความที่ตัวผมเองชอบศึกศาประวัติศาสตร์ ตัวผมเองจึงรู้สึกได้เลยว่า  " ธนาคารออมสิน " คือพระเอกอีกคนหนึ่ง ( อาจเป็นพระเอกที่ไม่ค่อยจะชอบพูดเท่าไหร่ครับ )  ที่ออกมาช่วยประเทศชาติในทุกครั้งที่เกิดวิกฤติ  เกิดความไม่มั่นคง  เช่น  ครั้งหนึ่งในอดีตในยุคที่ประเทศชาติเกิดวิกฤติทางการเงินครั้งแรก ( ขออนุญาตไม่เอ่ยว่าเป็นยุคของใครเป็นนายกนะครับ เพื่อความสมานฉันท์ )     รัฐ ไม่มีเงินจ่ายเงินเดือนข้าราชการทั้งประเทศ รัฐไม่มีเงินที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาในด้านต่าง ๆ   ธนาคารออมสิน ด้วยการที่ยึดมั่นนโยบายการคลังของประเทศก็ได้ออกมาช่วยเหลือในทุก ๆ ด้าน จนประเทศชาติได้เติบโตและพัฒนามาจนถึงปัจจุบันนี้  

และล่าสุด วิกฤติทางการเงินของประเทศในปี 2540   ธนาคารออมสินเองก็ได้ออกมาช่วยประคับประคองประเทศให้พ้นอันตราย รวมทั้งได้ช่วยเหลือสถาบันการเงินหลัก ๆ ในประเทศไม่ให้ปิดตัว เข้าไปช่วยเหลือประคับประคองให้รอดพ้นวิกฤตินี้  และที่จะขาดไม่ได้คือพลังหัวใจของคนไทยทุกคนที่ร่วมกันฝ่าฟันมาด้วยกันจนถึงทุกวันนี้
....................................................

โปรดติดตามตอนต่อไป  

โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง ...  ว่า  ...

โปรดติดตามตอนต่อไป   อิอิ

 

หมายเลขบันทึก: 144656เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2007 22:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • สวัสดีค่ะน้องสายลม
  • จำได้ว่าพี่ฝากเงินกับธนาคารออมสินมาตั้งแต่เด็ก
  • ถึงวันเด็กทีไรต้องไปแย่งกันฝากเพื่อรับของฝากประจำ
  • ถึงตอนนี้พี่ก็ยังเก็บบัญชีและใช้บริการฝากธนาคารออมสิน
  • ขอบคุณที่ทำให้ได้รับรู้เกี่ยวกับธนาคารออมสินค่ะ

เข้ามาอ่าน ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากเลยค่ะ

คือสมัยเด็กๆ จำได้ ว่า สถานีวิทยุจะมีการเปิดเพลงของ ธนาคารออมสิน  ในตอนเช้าๆ   อยากได้เนื้อเพลงจัง  ที่จำได้มีอยู่ 2 เพลงที่ยังติดอยู่ในความจำบางส่วน

นกน้อยบินลอยร่อน สร้างคอนเอาไว้อยู่กิน

หนูน้อยต้องคอยถวิล   หมั่นฝากออมสินไว้กินต่อไป

เงิยทองเป็นของหายาก........................  เนื้อต่อมาจำไม่ได้แล้ว  จำได้แต่ว่าเพราะมาก

 

 

 ประโยคที่เป็นเพลงของธนาคารออมสินที่จำได้อีกคือ

"ออมสิน ออมสิน  ออมสิน เก็บออมไว้กินวันหน้า"

 

  • สมัยก่อนเมื่อตอนเป็นเด็กไม่เคยรู้จักธนาคารออมสินหรอก  ไม่มีโอกาสไปเปิดบัญชี  หรือไปฝากเงิน  เพราะไม่มีเงินเหลือพอที่จะไปฝาก
  • ถึงวันนี้มีงานมีการทำแล้วก็ยังไม่มีเงินฝากออมสินอยู่ดี...แต่มีความผูกพันกับออมสินมากขึ้น
  • ก็ไม่ใช่อะไรหรอกครับ....ก็ผมเอาเงินออมสินมาใช้ล่วงหน้าซะแล้ว!!!

สวัสดีครับน้องออมสิน เอ๊ย สายลม

บทความนี้กระตุกให้คิดถึงตอนเป็นเด็ก

ข้อคิดของคุณ tiya ที่เอาเพลงออมสินสมัยก่อนทำให้นึกภาพชัดขึ้น ที่ผมยังจำได้กระท่อนกระแท่นคือ

นกน้อยบินลอยร่อน จะสร้างรังนอนเอาไว้อยู่กิน หนูน้อยต้องคอยถวิล หมั่นฝากออมสินไว้กินต่อไป

เงินทองเป็นของหายาก จงอย่าจ่ายมากอยากซื้อร่ำไป เงินทองเก็บออมเอาไว้ เพราะเมื่อเติบใหญ่จะมีใช้มีกิน

ว่าแต่ว่า ใครนะที่เปลี่ยนลุ๊คออมสินมาเป็นสี ชมพู-ทอง เนี่ย....เช้ย..เชย...อิอิ

แล้วเวลาเปิดธนาคาร ใครนะที่บอกให้พนักงานเข้าแถวยกมือไหว้ลูกค้า รู้ไหม ตกใจนะตัวเอง...นึกว่าเข้าผิดที่....ฮา

แล้วเปลี่ยนสโลแกนหรือยังล่ะ จะฝากจะถอนเอาหมอนไปด้วย น่ะ...พนักงานออมสินคนหนึ่งบอกว่าเปลี่ยนแล้ว.....เปลี่ยนเป็น จะฝากจะถอนมีหมอนให้ด้วย.....ฮิฮิ....

มุขพวกนี้ผมเอาไปบรรยายให้พนักงานออมสินฟัง ฮากันน้ำตาเล็ด....

  • อิอิ P  มีแฟนพันธ์แท้ออมสินเพิ่มขึ้นอีกแล้วครับ อิอิ
  • ผมผูกพันกับธนาคารออมสินเหมือนกันครับ ตั้งแต่เด็ก จนถึงทุกวันนี้ 555555

อืม....

ขอบคุณค่ะ

ที่ทำให้ทราบที่มาของชื่อ  ออมสิน  เพิ่มเติม นอกจากจากรู้ว่าเกิดวันออมสิน  แล้ว

ที่แน่ๆธนาคารออมสินแก่กว่าตั้ง 70ปี นับจาก 1 เมษา 2456

อยากจะความกรุณาช่วยอธิบายความหมายของตราธนาคารออมสินให้ด้วยจะได้มั๊ยคะ คือ ต้องทำรายงานเกี่ยวธนาคารออมสิน จึงอยากทราบความหมายของตราธนาคารออมสินด้วยค่ะ ขอขอบคุณนะคะ

อยากทราบประวัติความเป็นมาของธนาคารออมสินเพราะอยู่คู่เมืองไทยเรามานานมากแล้วและหนูยังมีโอกาสได้เข้าไปฝึกงานที่ธนาคารออมสินด้วยสนุกมากเลยค่ะหนูเลยอยากจะเข้าไปสมัครทำงานเป็นพนักงานธนาคารออมสินค่ะ

ธาดา เวสารัชชนันท์

คนรุ่นปู่ย่าถึงจะทันครับ กระปุกออมสินของธนาคารออมสิน เปลี่ยนแบบทุกปี เด็กๆจะได้รับการปลูกฝังให้อดออม ไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ด้วยกุศโลบายกระปุกออมสินแบบต่างๆที่สวยงาม เพลงออมสินที่หลายท่านได้กล่าวถึงเป็นที่ติดหูของเด็กสมัยนั้น
“นกน้อยบินลอยร่อน เจ้าสร้างรังนอนเอาไว้อยู่กิน หนูน้อยต้องคอยถวิล หมั่นฝากออมสินไว้กินต่อไป เงินทองเป็นของหายาก จงอย่าจ่ายมากอยากซื้อร่ำไป หมั่นถนอมเก็บออมเอาไว้ เมื่อเติบใหญ่จะมีใช้มีกิน” สมัยนี้เป็นยุคบริโภคนิยม มีแต่สนับสนุนให้ใช้เงินให้เป็นหนี้ เพราะธนาคารได้ดอกเบี้ยจากผู้กู้ เพลงนี้คงไม่มีการเปิดให้เข้าหูเด็กๆอีกแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท