ทัศนคติของตุลาการ มีผลต่อการตัดสินคดีหรือไม่ ?


 

นิติพลวัตรในอเมริกาขณะนี้ คือเรื่องที่นายแซมมุเอล แอนโธนี อะลิโต (Samuel Anthony Alito) ผู้ได้รับการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดีบุช ขึ้นเป็นตุลาการศาลฎีกาแทนนางแซนดรา เดย์ โอ’คอนเนอร์ (Sandra Day O’Connor) ต้องขึ้นให้การต่อวุฒิสภา ตั้งแต่ ๙ – ๒๐ มค. ๐๖.

ทัศนคติของตุลาการ มีผลต่อการตัดสินคดีหรือไม่?” - - -> นี่คือโจทย์ที่ไม่มีใครโต้เถียงอีกต่อไปแล้วในอเมริกา เพราะคำตอบนั้นชัดเจนแล้วว่า “Yes.”

สำหรับไทย เรายังพยายามย้ำกันว่า ตุลาการคือผู้ที่นั่งพิจารณาคดี เหนือทัศนคติส่วนตัวทั้งมวล.  เราสั่งสอนกันว่า ตุลาการคือผู้ “บริสุทธิ์-ยุติธรรม” และปราศจากอคติทั้งปวง แต่ดูจะไม่เน้นวิจัยให้เห็นชัดว่า การสั่งสอนเช่นนั้น ได้ผลจริงจังเพียงใด.  ผู้ที่มีจิตใจเป็นธรรม คงยอมรับว่า แม้สังคมไทยจะยกย่องว่า ตุลาการคือวงการที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงน้อย แต่เราก็มักได้ยินเสียงต่อว่าต่อขานเสมอมาว่า ตุลาการไทยยึดถืออำนาจ & มักตัดโอกาสคู่ความ ในการสืบพยานสำคัญ หรือไม่จดคำเบิกความพยาน โดยใช้ทัศนคติส่วนตัวว่า “ไม่มีสาระสำคัญ ถึงจดไปก็จะไม่นำไปพิพากษา.”  เรายังแทบไม่วิจัยอะไร ในเชิงวิชาการ ที่พิสูจน์ทั้งบทบาทในทางบวก & ทางลบของตุลาการไทย.  นี่คือจุดบอดของไทย.

แต่ในอเมริกา จะพบว่ามีงานวิจัยหลายชิ้นซึ่ง Legal Dynamics ขอเสนอข้อมูล “Social Background of the Justices” (ภูมิหลังของตุลาการ) จากหนังสือใหม่ ๑,๒๓๙ หน้าโดย Kermit L. Hall, The Oxford Companion to the Supreme Court of the United States, 2nd Edition, 2005, pp. 935-936.

เดิมที มีผู้เห็นว่าภูมิหลังของตุลาการ ไม่เกี่ยวพัน กับการตัดสินคดี แต่ไม่มีการวิจัยมาพิสูจน์ เช่น Mr. Felix Frankfurter (๑๘๘๒ – ๑๙๖๕) ตุลาการศาลฎีกาสหรัฐฯ ตั้งแต่ ๑๙๓๙ – ๑๙๖๒.  เขาเชื่อว่า ผู้ที่ขึ้นเป็นตุลาการ จะวางทัศนะส่วนตัวไว้นอกบัลลังก์ ไม่ใช้ในการตัดสินคดี ทั้งนี้เพราะเหตุผล ๔ ประการ คือ (๑) มีการฝึกฝนอบรม (Training) (๒) มีจริยวัตรในวิชาชีพ (Professional Habits) (๓) มีวินัย (Self-Discipline) และ (๔) มีความตระหนักในหน้าที่ตัดสินคดี (Obligation).

แต่ได้มีนักวิชาการหลายคน ที่วิจัยเพื่อพิสูจน์ว่า ภูมิหลังของตุลาการ เกี่ยวพันโดยตรง กับการตัดสินคดี ทั้งนี้ ได้แก่งานวิจัยโดย (๑) Rodney Mott เมื่อทศวรรษ ๑๙๓๐, (๒) Herman Pritchett เมื่อทศวรรษ ๑๙๔๐, (๓) Bowen & Grossman เมื่อทศวรรษ ๑๙๖๐, และ (๔) C. Neal Tate เมื่อทศวรรษ ๑๙๘๐.

 

 

   หนังสือใหม่ ๒๐๐๕ จาก Oxford University Press หนา ๑,๒๓๙ หน้า ซึ่งมีข้อมูลทั้งหมดเรื่องศาลฎีกาสหรัฐอเมริกา ในลักษณะ Encyclopaedia เรียงหัวข้อตามอักษร A ถึง Z  ทั้งเรื่องระบบศาล, ประวัติ & ความคิดของตุลาการ, และคำพิพากษา      หนังสือ Saibankan Who’s Who (ใครเป็นใคร ในสถาบันตุลาการญี่ปุ่น) เพราะคนญี่ปุ่นยอมรับว่า ภูมิหลัง & ทัศนคติของตุลาการ มีผลต่อการตัดสินคดี เริ่มรวบรวมโดยนาย  Ikezoe Noriaki โดยสำนักพิมพ์เอกชน Gendai Jinbun-sha, 2002 เฉพาะตุลาการทุกศาล ราว ๑๕๕ คนในโตเกียว

 

 


 

The Pelican Brief
(คดีนกเพลิแค็น)


ในปี ๑๙๙๒ ตุลาการศาลฎีกาอเมริกัน ได้ถูกลอบสังหาร ๒ คนในวันเดียวกัน คือ ท่านผู้พิพากษา Abraham Rosenberg (วัย ๙๑) และท่านผู้พิพากษา Glenn Jensen (วัย ๔๘).  มหาชนอเมริกันต่างสนใจว่า ใครลอบฆ่าผู้พิพากษาของเขาถึง ๒ คน และทำไม แต่ไม่มีใคร ให้คำตอบได้.

ในปี ๑๙๙๒ ตุลาการศาลฎีกาอเมริกัน ได้ถูกลอบสังหาร ๒ คนในวันเดียวกัน คือ ท่านผู้พิพากษา Abraham Rosenberg (วัย ๙๑) และท่านผู้พิพากษา Glenn Jensen (วัย ๔๘).  มหาชนอเมริกันต่างสนใจว่า ใครลอบฆ่าผู้พิพากษาของเขาถึง ๒ คน และทำไม แต่ไม่มีใคร ให้คำตอบได้.

นักศึกษาสาวแห่ง Tulane Law School ผู้มีนามว่า Darby Shaw ได้ศึกษาค้นคว้าประวัติการตัดสินคดีของตุลาการ ๒ ท่าน & คดีที่ยังค้างอยู่.  เธอตั้งข้อสงสัยว่า เหตุจูงใจในการฆ่า ไม่น่าจะมาจากการเมือง แต่เป็นเรื่องธุรกิจ.  เธอได้เขียน “Legal Brief” (ข้อโต้แย้งแห่งกฎหมาย) ขึ้นมา และใช้ชื่อว่า “The Pelican Brief” หรือ “ข้อโต้แย้งจากนกเพลิแค็น.”

Darby Shaw มีข้อสมมติฐานว่า ฆาตกรรมทั้ง ๒ รายนี้ มีขึ้นเพราะบุคคลเดียวกัน คือ นาย Victor Mattiese เจ้าพ่อบ่อน้ำมัน ผู้กระหายจะได้สิทธิขุดน้ำมัน เหนือหนองน้ำที่อ่าวหลุยส์เซียนา.  หนองน้ำนั้น คือที่อาศัยของนก Pelicans (นกกระทุง) ที่ใกล้สูญพันธุ์ จึงเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่ห้ามพัฒนา.  นาย Victor Mattiese ได้ยื่นคำร้องต่อศาล เพื่อขอสิทธิพัฒนาบ่อน้ำมันเหนือหนองน้ำนั้น และคดีจะขึ้นสู่ศาลฎีกา ในเร็ววันนี้.

Darby Shaw วิจัยพบว่า ตุลาการทั้ง ๒ ท่านมีทัศนะเป็นนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และมีประวัติตัดสินให้นักอนุรักษ์ชนะคดีเสมอมา เธอจึงตั้งสมมติฐานว่า Victor Mattiese คือผู้ว่าจ้างสังหาร เพราะเขามีความสัมพันธ์ทางธุรกิจแนบแน่นกับท่านประธานาธิบดี.  การกำจัด ๒ ตุลาการนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จึงเปิดทางให้ท่านประธานาธิบดี ที่เป็นสหายรักของเขา แต่งตั้งตุลาการใหม่ ๒ คน เข้ามาตัดสินให้เขาชนะคดีได้.

Darby Shaw ได้ส่ง Legal Brief ของเธอให้อาจารย์รัฐธรรมนูญช่วยวิจารณ์.   เมื่ออาจารย์แห่ง Tulane Law School เห็นว่านี่คือข้อสมมติฐานที่มีน้ำหนัก จึงเอาไปให้เพื่อน FBI อ่านต่อ.  ผลปรากฏว่า ทั้งอาจารย์ (Thomas Callahan) & เพื่อน FBI ของเขา (Gavin Verheek) ต่างก็ถูกฆ่าตาย ในทันที.   Darby Shaw จึงต้องหลบซ่อนกบดาน & หันหน้าไปหาผู้สื่อข่าว Washington Post ผู้มีชื่อว่า Gray Grantham.

ทั้ง Darby Shaw และ Gray Grantham ได้ร่วมมือกันสืบสวนคดีนี้ & พิสูจน์ได้ว่า ข้อสมมติฐานของ Darby Shaw นั้นถูกต้อง.  ในระหว่างการพิสูจน์เรื่องนี้ Victor Mattiese ได้พยายามฆ่าปิดปาก Darby Shaw หลายครั้ง แต่เธอรอดพ้นจากการถูกฆ่ามาได้หวุดหวิดทุกครั้งไป จนในภายหลัง ท่านประธานาธิบดีต้องออกมาปฏิเสธความสัมพันธ์กับ Victor Mattiese เพราะจะนำความความหายนะ มาสู่ชีวิตทางการเมืองของเขา.

แม้ The Pelican Brief จะเป็นเพียงนวนิยายขายดีโดยนาย John Grisham แต่ก็สะท้อนให้เห็นชัดว่า:  “ทัศนคติของตุลาการ มีผลโดยตรง ต่อการตัดสินคดี.”

 

 


 

         
 ปกหนังสือ The Pelican Brief (1993)    รูปนก Pelican หรือนกกระทุง  หนังสือ The Pelican Brief  
 รูป Darby Shaw (Julia Roberts)      แปลไทยโดย  
 และ Gray Grantham      สันติ อิศโรวุธกุล,  
 (Denzel Washington)      แฟ้มเขย่าทำเนียบขาว,  
 ๒ ตัวนำในภาพยนตร์เรื่องนี้      ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑  

 

พิเชษฐ เมาลานนท์/นิลุบล ชัยอิทธิพรวงศ์/พรทิพย์ อภิสิทธิวาสนา/๑๐กพ๐๖

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14399เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2006 18:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท