คนรู้ใจ
นาย ธนัฐตรัยภพ ลางคุลานนท์

เรื่องที่ 2 ยาเสพติดไม่หมดไป


ปัญหายาเสพติดไม่หมดไป สาเหตุ แนวทางแก้ไข

           ปี2548 ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชา ให้เป็นตัวแทนหน่วยงานสาธารณสุข ไปทำงานที่ ศูนย์ต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด(ศตส.อ.)อำเภอหนึ่ง   ปฏิบัติงานอยู่ร่วม 6 เดือน ต่อมามีการประกาศ สามารถเอาชนะในสงครามยาเสพติดได้แล้วในที่สุด......................จนเมื่อมีการปฏิรูปการปกครอง อดีตนายกทักษิณต้องลี้ภัยต่างประเทศ.......พบว่ามีข่าวหนาหู ยาเสพติดกำลังกลับมาอีกแล้ว...................ผมขอบอกว่า

เราไม่ได้เอาชนะยาเสพติด.....แม้ว่าจะประกาศว่าชนะไปแล้ว เพราะปัจจัยเกื้อกูลให้ยาเสพติดดำรงอยู่นั้น ยังไม่หมดไป

             ปัจจัยนั้นมีอยู่ในทั้งสามองค์ประกอบสำคัญของปัญหายาเสพติดคือ กลุ่มผู้เสพ(Demand)  กลุ่มผู้ค้า(Supply)  และกลุ่มผู้เสี่ยง(Potential Demand)

             ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้เสพ(Demand)                  

              การคบหาสมาคมกับเพื่อนชั่ว จากการสัมภาษณ์ผู้มารับการบำบัดแบบ กาย จิต สังคมบำบัด ในพื้นที่ที่เคยรับผิดชอบอยู่ ตลอดจนได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกลับมาเสพยาซ้ำ พบว่า  การเลือกคบคนดี จะทำให้ปลอดภัยจากการเสพยาเสพติด เพื่อนชั่วคือตัวชักนำให้เสพยาเสพติด  (มีหลายคนเข้าใจไปว่า ในครอบครัวทะเลาะกัน หรือครอบครัวแตกแยก ทำให้เด็กและเยาวชนต้องเป็นทาษยาเสพติดนั้น ไม่ใช่เลย ในกลุ่มผู้ติดยาที่ผมดูแลอยู่)   เพื่อนชั่วในที่นี้ขยายความหมายถึง กลุ่มเด็กและเยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้มีอิทธิพลด้านจิตใจของเด็กและเยาวชน      ที่มีคว่ามเกี่ยวข้องกับยาเสพติดโดยอาจติดยาอยู่เดิม หรือค้ายา หรือต้องการครอบงำบงการ   ชักนำ โน้มน้าว บังคับ หรือขืนใจให้ต้องลิ้มลอง  หรือเสพยาเสพติด  แม้เพียงครั้งเดียวก็ติดยาแล้วครับ  

              การปกครองไม่แยกแยะคนดีคนชั่ว ในหลวงมีพระราชดำรัสว่า "เราไม่สามารถทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ แต่ต้องให้คนดีได้ปกครองคนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้" ดังนั้น ตัวผู้บริหาร ต้องนำความรู้ด้านบริหารมาใช้ ในการแยกแยะคนดี กับคนไม่ดีครับ ในระดับหมู่บ้านชุมชน ผู้บริหารคือผู้ใหญ่บ้าน-ผู้นำชุมชน จะทำได้แค่ไหนในการส่งเสริมคนดีให้ดูแลควบคุมคนไม่ดี แต่ในหน่วยงานภาครัฐ ทำได้เพราะมีบทบาทอำนาจโดยตรง เว้นเสียแต่ผู้บริหารจะเป็นคนไม่ดีเสียเอง อันนี้ผู้บริหารระดับสูงขึ้นไปก็ต้องดูแล  มันมีปัญหาอยู่ว่า ในระบบราชการ จะรับรู้ และจะดูแลลูกน้องอย่างไร ถ้ายังไม่จัดระบบการแสดงความคิดเห็นและการร้องเรียน ที่เป็นความลับและปลอดภัยต่อผู้ร้องเรียน ยกตัวอย่าง สมมุติว่าผู้บังคับบัญชาระดับอำเภอในหน่วยงานหนึ่งไม่ดีล่ะ ลูกน้องระดับอำเภอจะไปแจ้งระดับจังหวัดซึ่งดูแลระดับอำเภออยู่นี้ อย่างไรเขาจึงจะปลอดภัย อย่าลืมว่า มาเป็นหัวหน้าระดับอำเภอได้ต้องมีเส้นสายในระดับจังหวัดเป็นพวกพ้องพอสมควร การมีเกณฑ์มาตรฐานเรื่องการรับเรื่องร้องเรียนในแบบGood Governanceนั้น ในทางปฏิบัติการเปิดกล่องอ่านจะกระทำในชั้นความลับต่างกัน  หรือ..จะแจ้งลงกล่องผู้ว่าฯ อย่างเดียวเลยพอไม๊...

           การอบรมบ่มนิสัย นอกจากการปกครองดูแลแล้ว  การศึกษา การอบรมบ่มนิสัย เป็นปัจจัยหลักของครอบครัวที่ขาดไม่ได้ มีเป็นจำนวนมากที่พ่อแม่ไม่ได้ใส่ใจลูก หรืออยู่ไกลเกินดูแล เช่น พ่อแม่ทำงานนอกบ้านเป็นส่วนใหญ่มีเวลาอยู่กับลูก  ไม่จัดเวลาให้ลูก  หรือส่งลูกไปอยู่หอพักแล้วไม่มีการติดตามกวดขัน...แบบนี้คงต้องจัดสรรเวลาให้คำแนะนำลูกให้สม่ำเสมอเรื่องระวังภัยยาเสพติด และภัยสังคมอื่นๆที่รอเบียดเบียนอยู่รอบตัว หากเห็นว่าลูกหลานทำในสิ่งที่ผิด ไม่ควรทำ ต้องบอกว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะอะไร คือต้องบอกว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรดีไม่ดี อันนี้ก็ยากอยู่ครับ มีเป็นจำนวนมากที่คนดูแลเด็กเป็นคนไม่ดีเสียเอง เช่น ชอบนินทาคน อิจฉาตาร้อนเก่ง หรือบ้าอำนาจแบบเบียดเบียนคนอื่น   กรณีนี้เด็กที่อยู่ใกล้จะซึมซับสิ่งแบบนี้ลงไป ก็คงช่วยลำบากล่ะ    การจัดให้เด็กได้ไปโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ หรือไปโบสถ์วันอาทิตย์ตามหลักศาสนาต่างๆ แบบนี้อาจเป็นช่องทางให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่ดีๆบ้าง แต่ก็นั่นละ จัดเวลาให้เขาอย่างไร  

           จิตวิญญาณต้องให้ผู้ชำนาญดูแล ผู้นำด้านจิตวิญญาณ ยังไม่แสดงบทบาทเต็มที่อย่างเป็นระบบ เช่นพระสงฆ์ นักบวช หรือผู้นำในศาสนาต่างๆ จะต้องดูแลโดยจัดแบ่งพื้นที่รับผิดชอบให้ครอบคลุมหลังคาเรือน แล้วมีแผนออกปฏิบัติการจิตวิทยา และอบรมสั่งสอน เพื่อให้พ้นภัยยาเสพติด ตลอดจนภัยสังคม ด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจในตัวเด็กและเยาวชนให้เข้มแข็ง บางอำเภอได้ยินว่ามีเป็นวิทยากร ผมยังไม่เห็นนะในอำเภอที่เคยทำงาน....อาจเพราะท่านรับนอกเขตก็ได้?  แต่ในอีกวิถีทางหนึ่ง ...โรงเรียนวิวัฒน์พลเมือง ควรจัดการเชิงรุก ในด้านป้องกันไม่ให้เยาวชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด.....

           การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ กศน.หรือ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นช่องทางของรัฐที่มีอยู่แล้ว ถ้าจัดการให้เข้าถึงในเชิงรุกมากกว่านี้ ด้วยการประสานกับอบต.เทศบาล ชุมชน หมู่บ้าน ให้เด็กและเยาวชนมีประสบการณ์ทางการประกอบสัมมาอาชีพ จะเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลแทนที่จะปล่อยปละให้เด็กเล่นเกมส์อย่างในทุกวันนี้

           การสอดส่องดูแลร่วมกันระหว่างครูและผู้ปกครอง ยังจัดทำเครือข่ายดูแลเด็กแบบหละหลวม ไม่ชัดเจนด้วยไม่ตระหนักในปัญหายาเสพติด ที่มักกำบังอยู่ในแหล่งซ่องสุม จำพวกร้านเกมส์ บาร์เครื่องดื่ม จุดรวมพลคนจร ทำนองนี้ อันนี้ผมไม่ได้ว่าผู้ประกอบการไม่ดีนะครับ ผมว่าในประเด็นเครือข่ายครูผู้ปกครอง ที่ขาดแผนบูรณาการกับภาคส่วนอื่นในการสอดส่องดูแล....ใช่ไม๊

           การบริหารยุทธศาสตร์  ยุทธศาสตร์หลักคือบำบัดผู้เสพ แต่กระบวนการ กลยุทธ์ กลวิธี ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงเอาซะเลย ในส่วนอำเภอมักมองว่าหมอเป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ ก็ใช่...หมอดูแลเรื่องบำบัด แต่คุณต้องเป็นคนดึงเอาพวกติดยามาให้เราบำบัด ไม่ใช่ให้เราไปหาเอาเองตามรายชื่อที่ตำรวจส่งมาให้..มันสั่งการแบบมักง่ายเกินไปคุณ คิดบ้างว่าไปทำ "พลังแผ่นดิน" หมดงบประมาณไปเท่าไร นั่นล่ะคือตัวผู้ที่เขาจะนำพาคนติดยาไปหาหมอ..หมอเขาพร้อมให้การบำบัดอยู่แล้ว..............เรื่องมันมีที่มาว่า....  เมื่อ..ยกมืออาสาข้าพเจ้ารับผิดชอบการบำบัด ....แต่ไม่รู้จักพูดต่อว่า ต้องการความร่วมมือจากส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างไร.....ต้องกระทำในรายละเอียดการบำบัดอย่างไร หมออนามัย/โรงพยาบาลชุมชนถึงจะไม่ถูกยิงตาย  เมื่อไม่ได้แจงรายละเอียด พอมาถึงอำเภอก็พอกัน........ มีความสอดคล้องตรงนี้เหมือนผีกับโลง     ส่วนคนทำคือหมออนามัย/รพช......ไปเสี่ยงกันเอา   เหมือนกับกลุ่มบังคับบำบัด ที่เป็นบทบาทของก.ยุติธรรม ที่เขามีอาสาสมัครคุมประพฤติติดตามอยู่แล้ว ยังไปยกมือข้าพเจ้าอีกเหมือนเดิม  ......กลายเป็นอนามัยต้องไปตามดูแลบังคับบำบัดอีก .....ผมชี้ช่องโหว่ของการประสานงานให้ปานนี้แล้ว  แน่นอนว่าไม่มีใครกล้าบอกชัดกว่านี้อีกแล้วเพราะจะกลัวไม่ได้เป็น สสอ. ....ชัดเจนกับความจริงที่เคยเป็น  และต่อไปถ้าไม่แก้ไขก็จะเป็นแบบนี้อีก แล้วสมรรถนะในการค้นหาคนเสพมาบำบัดก็จะไม่ดี   แผงรายชื่อก็จะมีในมือตำรวจเหมือนเดิมไม่ลดลงด้วยวิธีบำบัด

              พื้นที่เข้าถึงเมื่อไร?  อีกส่วนหนึ่งคือพื้นที่แห่งอำนาจ เขตเทศบาล  ในขณะที่อำเภอมีการแสวงหากันทุกตำบลเพราะนายอำเภอสั่งกำนันผู้ใหญ่บ้านได้ แต่สั่งนายกเทศมนตรีไม่ได้ จึงกลับกลายเป็นว่า ช่องโหว่มหาศาลในพื้นที่เขตเทศบาลนี้เอง ที่ไม่มีการ"กวาดต้อน" มารายงานตัวหรอกนะ ในช่วงที่เขากำหนดให้รายงานตัวน่ะ แล้วคิดว่าปลอดยาเสพติดรึครับ   คนทำการบำบัดน่ะพร้อม แต่เทวดาที่จะประสานเทศบาลกับอำเภอ ปิดรอยเชื่อมทั้งหมดให้ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่ปฏิบัติการเดียวกันนี่...ท่านจะเสด็จมาโปรดได้เมื่อไร อย่างที่รู้เพราะการปกครองดูแลที่พึ่งพิงฐานเสียงประชาชน ทำอะไรลำบาก คงต้องประสานหน่วยงานภายนอกเป็นผู้จัดการ.....ใครกล้าหาญพอ! 

           ปัจจัยในกลุ่มผู้ค้า(Supply)

              การเลือกยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม อันนี้ออกตัวตรงๆว่า ตำรวจรู้ดีกว่าผมนะครับ เอาเท่าที่เคยได้ยินได้ฟังมา ว่า ปัจจัยที่เกื้อหนุนการค้าก็คือผู้เสพ ผู้เสี่ยง และปัจจัยส่งเสริมให้มีการค้า เพราะมีการผลิต การนำเข้า การสนับสนุนจากผู้มีอิทธิพล (ดังที่หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่าอดีตนักการเมืองค้ายา) ตลอดจนความสะดวกในการคมนาคม    แนวทางตามยุทธศาสตร์เดิมคือทำลายการค้า ผู้ค้าพวกนี้เมื่อถูกระบุตัวได้พบว่า มีการนำไปเข้า"ล้างสมอง"ในโรงเรียนวิวัฒน์พลเมืองด้วยส่วนหนึ่ง  ในคุกอีกส่วนใหญ่  ผมมีความเห็นสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า การทำลายการค้านั้นมีหลายวิธี  การใช้กลไกราคาเป็นวิธีหนึ่งที่ผมสนใจติดตาม(แต่ยังไม่ถูกใช้)  ก็  ถ้ายาบ้า4เม็ดหนึ่งบาท มีขายที่ร้านสะดวกซื้อทุกแห่ง ก่อนซื้อลงทะเบียนให้เหมือนกับซิมมือถือ เพื่อให้ไปรายงานตัวกับสถานีอนามัย/โรงพยาบาลใกล้บ้าน ให้ใช้ตามคำแนะนำของหมอ และเข้าระบบกายจิตสังคมบำบัดไปด้วย แบบนี้เป็นแนวทางที่ผมเห็นด้วย ตลาดถูกทำลายลง ผู้ค้าเก่าจะหมดไปเองเพราะขายสู้ผู้ค่าใหม่คือร้านสดวกซื้อไม่ได้ครับ..! ผู้เสพก็ได้บำบัดทุกคน แล้วทำให้ชุมชนรู้ปัญหาของตนด้วยว่า ปัญหาสังคมในชุมชนอยู่ตรงไหน ถึงได้มีการเสพยา จะร่วมกันแก้ไขป้องกันยังไง อย่างเปิดเผยโดยระบบ เห็นไหมครับว่า เปิดเผยทำง่ายกว่าปกปิด.(แนวทางเดิมที่ถูกใช้เพื่อทำลายตลาดด้วยการกำจัดผู้ค้า - วิสามัญฆาตกรรมนั้น มีความชัดเจนแล้วว่า ขาดจริยธรรม ไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา และถูกนำไปเป็นโอกาสในการกำจัดขวากหนามทางการเมือง ซึ่งผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง )

              การเข้มงวดตรวจสอบ  อาจน่าเบื่อสำหรับผู้ปฏิบัติ แต่ได้ผลลัพท์ดียิ่งทั้งปราบ และปรามครับ เพียงแต่ผู้ใหญ่ยังเฉยๆรอดูรัฐบาลมีแนวทางอย่างไร! ผมพูดอย่างนี้เพราะถ้าปฏิบัติการเข้มงวดจริง ตามสถานีขนส่งต่างๆ ศูนย์การเดินทางต่างๆ ต้องมีมาตรการตรวจสอบต่อเนื่องครับ!  ก็รู้กันอยู่ว่าการคมนาคมมันสะดวก การตรวจเจอเป็นผลงานของท่าน เครื่องมือตรวจสอบที่ได้ผลควรนำมาใช้เช่น สุนัขตำรวจ สุนัขทหาร (ที่ฝึกการดมกลิ่นยาบ้ามาจนเชื่อถือได้แล้ว..ไม่ใช่เอะอะอะไรก็ตรวจหาสารในปัสสาวะ...ตรวจน่ะตรวจได้ แต่ต้องทำตามระบบการตรวจที่มีในกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน) อาจช่วยผ่อนแรงผู้ปฏิบัติงานลงได้มาก คนทำตรงนี้ก็ควรได้รับสวัสดิการเพิ่มให้เขาแม้ว่าเป็นหน้าที่รับผิดชอบ แต่ก็เป็นแรงใจ ไม่มีเงินก็คำชมเชยก็ยังดี อย่าเหมือนบางหน่วยงาน ส่งลูกน้องมาทำงานแต่หัวหน้าไม่เคยโผล่ไปดูแล พอนายใหญ่มาตรวจเยี่ยม ดันมีคนมาพูดว่า ทำไมไม่บอกหัวหน้ามา(เสนอหน้า)   แบบนี้น่าเบื่อ....อีกแล้ว  กลับไปอ่านพระราชดำรัสที่กล่าวถึงอีกเถอะนะ เจ้าปะคุณ

             ปัจจัยในกลุ่มผู้เสี่ยง(Potential Demand)

             กิจกรรมเสริมสร้างโอกาส กลุ่มเสี่ยงคือเด็กและเยาวชนครับ โชคดีที่มีโครงการ Tobe Number One แต่ว่า...ปัญหาคือ ความไม่เข้าใจในการปฏิบัติตามโครงการนี้...        จะรอให้พระองค์ท่านเสด็จมาจัดเกิจกรรมTobe Number One ให้ถึงในพื้นที่ทุกครั้งเลยหรือครับ ถึงจะเรียกว่า มีกิจกรรม ถึงจะมีเหรียญแจกสมาชิก .....เข้าใจใหม่ได้มั๊ยว่า   Tobe Number One นั้นหมายถึง การผสมผสานกิจกรรม ที่สนับสนุนส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แสดงตัวออกมา จะเพื่อรับการบำบัดหรือเพื่อระงับการค้ายาก็ตามที่ ซึ่งมีวิธีการที่ชัดเจนโดยจับกระแสความนิยมของกลุ่มเป้าหมาย เป็นตัวรวบรวมกลุ่มเป้าหมาย มาให้แสดงตัวและ"ล้าง"ความคิดพึ่งพายาเสพติด ออกไป ดึงเอา"ภูมิคุ้มกัน" ต่อต้านยาเสพติด มาใส่ในหัวใจของพวกเขา

              ดังนั้น กระแสความนิยมจึงไม่ใช่เพียงแค่การจัดคอนเสริทปีละครั้ง แต่ในทุกกิจกรรมที่เยาวชนสนใจ ต้องผนวกเอาเรื่องการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดเข้าไป และเน้นผลลัพท์สำคัญ คือการแสดงตัวออกมา ตามสโลแกน Tobe Number One งานบุญบ้าน งานประจำปี งานบวช เหมาหมดถ้ามีเยาวชนร่วม  นี่ต่างหากคือกิจกรรมและเป้าประสงค์ผลลัพท์ที่ต้องการ  ......พอเขาแสดงตัวออกมาก็อย่าซวดลวดไปจับกุมหรือตามไปขึ้นบัญชีดำเขาในหมู่บ้านให้เป็นที่อับอายล่ะ  แต่ต้องจัดการอย่างมีระบบ มีแผนและการประสานแผนก่อนปฏิบัติ ให้เข้าใจตรงกันทุกฝ่าย ทุกระดับ  รองรับการแสดงตัว โดนเน้นที่บรรยากาศที่เป็นมิตร มีความอบอุ่นและมีการยอมรับนับถือในกลุ่มเพื่อนเยาวชนด้วยกัน พ่อแม่ผู้ปกครองไม่เสียหน้า หมู่บ้านชุมชนยอมรับด้วยการให้ความรักความเมตตาสงสารและอยากช่วยเหลือ เห็นหรือยังว่า มันจะสนับสนุนให้มีความต่อเนื่อง ด้วยเหตุที่ทุกฝ่ายยอมรับได้นี่เอง โปรดทำความเข้าใจด้วย

            สรุป  ในทั้งสามองค์ประกอบ ได้เสนอแนะความคิดเห็น แนวทางปฏิบัติไว้แล้ว แน่นอนครับว่า ยังคงต้องการประสานความร่วมมือและความคิดเห็นจากทุกท่านเพิ่มเติม เพื่อให้มีความเหมาะสมในแต่ละสังคม แต่ละพิ้นที่ เพราะ "ภูมิสังคม"แตกต่างกัน แต่ท่านก็จะเห็นได้ว่า การประสานแผนงาน ทุกระดับ ทุกภาคส่วน เพื่อให้มีกิจกรรมต่อเนื่องตลอดเวลา ด้วยงบประมาณที่กำหนดไว้ชัดเจน และปฏิบัติการเต็มพื้นที่ มีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะบ่งบอกถึงโอกาสในการเอาชนะสงครามยาเสพติด อย่าให้แนวรบด้านนี้ต้องยืดเยื้ออีกต่อไปเลย

หมายเลขบันทึก: 143843เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2007 22:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สุขภาพกับสิ่งแวดล้อม
  1. สุขภาพกับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม หมายถึงสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้ และอาจเป็นสิ่งที่ มนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น คน อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ค่านิยม ครอบครัว เศรษฐกิจ การศึกษา การเมือง ภาษา สภาพภูมิอากาศ เป็นต้น ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกับสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเกิดโดยธรรมชาติ เช่น ป่า อากาศ แม่น้ำลำธารฯ หรือสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้าง ขึ้น เช่น โรงงาน ฯ สิ่งแวดล้อม เหล่านี้ล้วนเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะผลกระทบต่อ สุขภาพทั้งทางด้านดีและด้านไม่ดี ความจำเป็นในการจัดสภาพแวดล้อมของครอบครัว 1. ให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ 2. ให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้อยู่อาศัยทั้งจากสัตว์ที่มีพิษ และจากโรคภัยไข้เจ็บ 3. เป็นการฝึกตนเองให้รักความสะอาด มีระเบียบ และมีความคิดสร้างสรรค์ 4. เป็นที่ชื่นชอบของแขกผู้มาเยือน ลักษณะของสภาพบ้านเรือนที่เอื้อต่อสุขภาพ บ้านที่อาศัยได้อย่างสุขสบายทั้งกายและใจ ควรจะเป็นบ้านที่สะอาดถูกสุขลักษณะไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่มีขนาดเล็ก หรือขนาดใหญ่ก็ตาม ทุกคนที่อยู่ในบ้านมีส่วนสำคัญในการทำบ้านให้น่าอยู่ได้ทุกคน บ้านเรือน ที่ถูกสุขลักษณะต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยควรมีลักษณะดังนี้

เพิ่มเติมข้อมูลสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาความเคลื่อนไหวของการค้าการเสพยาเสพติดในเขตจังหวัดขอนแก่น.....

จากการสังเกตเมื่อใช้รถใช้ถนนผ่านไปมาในเมืองขอนแก่น ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีการมั่วสุมของพวกวัยรุ่น วัยไม่รุ่น ในมุมมืดใกล้พระธาตุขามแก่นสิโรดม หน้าศาลากลางจังหวัดขอนแก่น.....ต่อมาอาจถูกผลักดันให้ย้ายถิ่น จึงไปพบเห็นอยู่ตามริมถนน แถวบึงทุ่งสร้าง ตอนนี้ที่ทำสวนสุขภาพ แต่พวกนี้จะจอดรถซุ่มอยู่เลยไปทางวัดบ้านดอน ทางเข้าบ้านโนนชัย ซอยอนามัยโนนชัยของเทศบาลนครขอนแก่นนั่นหละ...

ต่อมาขยับที่ไปเรื่อยตามริมบึง โดยถอยห่างออกไป ถ้าเราอยู่ทางด้านสวนสุขภาพ คนพวกนี้จะไปจอดรถซุ่มอยู่ด้านเลยทางเข้าวัดบ้านดอน โนนชัย เขตเทศบาลนครขอนแก่น เลยออกไปทางบ้านร้างสามหลัง บริเวณที่เลยสนามเครื่องบินเกออกไปนิดหน่อย

เคยมีรถมอเตอร์ไซค์ของตำรวจ ไปเยี่ยมในซอยบ้านร้าง ให้เห็นอยู่ครั้งหนึ่ง...

แต่คนพวกชอบจอดรถซ่มนี้ก็ยังคงรักษาสถานที่ไว้อย่างเหนียวแน่น........

สังเกตดูไม่ใช่พวกหาปลา พวกชอบใส่เบ็ดริมบึง (ซึ่งพวกนี้ก็ไม่ทราบว่าติดใจอะไรหนักหนา ฝนตกแดดออก หรือมืดค่ำแค่ไหน ฉันก็จะปักหลักริมบึงนี่แหละ...)แต่เป็นรถมอไซค์ชายวัยรุ่น คอยคุยกับพวกที่มาจอดรถซุ่มตามขอบถนน ซึ่งเป็นเพศชายเหมือนกัน แสดงว่า

1.สนทนาธรรม

2.ไม่ขายยา ก็ขายบริการทางเพศ โสเภณีชายทำนองนี้

ทั้งสองข้อคุณจะเลือกข้อไหนก็ไม่ทรายได้

นอกจากนี้ยังกระทำพฤติกรรมปกติของพวกนี้ คือขับรถวนไปเวียนมา เปิดไฟส่องหน้าคนขับรถผ่านไปมารายอื่นๆ อันเป็นการพิสูจน์ทราบฝ่ายนั่นเอง....สงสัยมีโทรศัพท์แต่ไม่ใช้...หรือใช้แล้วผมไม่ได้รับ เลยต้องมาขับรถเวียนๆไปๆมาๆดูว่าพวกไหน

สรุปว่า พวกชอบจอดรถซุ่มๆอยู่ รอมอเตอร์ไซค์มาหาแบบนี้ คงมีอิทธิพลพอสมควร เพราะไม่ได้มีการย้ายหลักแหล่งเลย

1.เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ทราบ

2.เจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ แต่ไม่ทำอะไร เพราะไม่ได้ทำให้ใครเดือนร้อน เพียงแต่รำคาญ

หรือ รอให้มีเรื่องก่อนจึงล้อมคอก....ข้อนี้ถนัดนัก

3.ส่วย....

จึงเขียนไว้เป็นหลักฐานทางอักษร ให้ดูกันเป็นการเพิ่มเติมให้หนักแน่นว่า ยาเสพติดไม่หมดไป และนับวันยังเพิ่มอำนาจขึ้นเพราะความไม่ต่อเนื่อง เพราะเงิน เพราะอะไรก็ตาม

สักวันหนึ่งคงทำให้ลูกหลานเราได้ติดยาหรือเข้าคุกกันถ้าไม่ทำอะไรลงไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท