การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย


ประโยชน์ของการจัดประสบการณ์

ความหมายและความสำคัญของเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัยตามความหมายของ The National Association for Education of

Young Children’s Early Childhood Education Guidelines (Seefeldt & Barbour. 1986 : Preface) ให้ความหมายว่าเด็กปฐมวัยหมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 ปี

            ส่วน มาสโซเกลีย (Massoglia. 1977 : 3) กล่าวว่า เด็กปฐมวัย (Early Childhood) เป็นคำที่ใช้เรียกเด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 6 ปี ซึ่งอยู่ในวัยที่คุณภาพของชีวิทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญากำลังเริ่มต้นพัฒนาอย่างเต็มที่หรรษา  นิลวิเชียร (2534 : 1, 51)  กล่าวว่า  เด็กปฐมวัยคือวัยตั้งแต่อายุ 2 ปีถึงอายุ 8 ปี และเรียนอยู่ในระดับชั้นอนุบาล หรือเรียนก่อนเกณฑ์บังคับ ยังครอบคลุมถึงเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่หนึ่งและชั้นประถมศึกษาปีที่สอง 

กล่าวโดยสรุป เด็กปฐมวัยหมายถึง เด็กที่มีอายุตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 8 ปี ทั้งในระบบและนอกระบบการศึกษา ซึ่งพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญากำลังพัฒนาอย่างเต็มที่

 

ความสำคัญของเด็กปฐมวัย

            เด็กเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งเป็นความหวังของครอบครัว เป็นผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและเป็นมนุษยชาติ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ อนาคตของประเทศชาติจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของเด็ก เด็กที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ มีพัฒนาการในทุก ๆ ด้าน ที่เหมาะสมกับวัย ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและจริยธรรม จะเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ

            เด็กในวัยเริ่มแรกของชีวิต หรือที่เรียกว่าเด็กปฐมวัยคือ วัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 ปี จัดได้ว่าเป็นระยะที่สำคัญที่สุดของชีวิต ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม บุคลิกภาพ โดยเฉพาะด้านสติปัญญา จะเจริญมากที่สุดในช่วงนี้ และพัฒนาการใด ๆ ในวัยนี้จะเป็นพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการในช่วงอื่น ๆ ของชีวิตเป็นอย่างมาก  ดังที่นักจิตวิทยาและนักการศึกษาได้กล่าวถึงความสำคัญของเด็กในวัยนี้ดังนี้            ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud, 1949) นักจิตวิเคราะห์ได้ย้ำให้เห็นว่า วัยเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์คือ ระยะ 5 ปีแรกของคนเรา ประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้รับในตอนต้น ๆ ของชีวิตจะมีอิทธิพลต่อชีวิตของคนเราตลอดจนถึงวาระสุดท้าย เขาเชื่อว่าการอบรมเลี้ยงดูในระยะปฐมวัยนันจะมีผลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต            เบนจามิน เอส บลูม (Benjamin S. Bloom, 1964) ได้รายงานผลการวิจัยของเขาในหนังสือชื่อความมั่นคงและเปลี่ยนแปลงในบุคลิกภาพของมนุษย์” (Stability and Change in Human Characteristics) หนังสือเล่มนี้ได้ทำให้นักศึกษาหลาย ๆ ท่านที่มีข้อสงสัยในเรื่องการพัฒนาเด็กปฐมวัยในระยะเริ่มแรกมีความเชื่อมั่นและเข้าใจว่า เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงขวบปีแรกจะพัฒนาร้อยละ 20 เมื่อมีอายุ 4 ปี จะพัฒนาด้านสติปัญญาถึงร้อยละ 50 และจากช่วงอายุ 4 – 8 ปี จะพัฒนาเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 30 รวมเป็น 80 % และที่เหลืออีก 20 % จะอยู่ในช่วง 8 – 17 ปี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสติปัญญาของมนุษย์มากว่า 3 ใน 4 จะได้รับการพัฒนาเมื่อเด็ก ซึ่งถ้าหากว่าไม่ได้รับการพัฒนาในด้านสติปัญญาอย่างถูกต้อง ความสามารถในการเรียนรู้อาจจะถูกยับยั้ง บลูมยังพบอีกด้วยว่าสิ่วแวดล้อมมีส่วนสำคัญที่จะทำให้พัฒนาการของบุคคลชะงักงันหรือเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งแสดว่า สิ่งแวดล้อมมีผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กในระยะ 6 ปีแรกของชีวิตมากกว่าในระยะอื่น ๆ             อีริคสัน (Erikson, 1967) กล่าวว่า วัยทารกตอนปลายเป็นช่วงที่บุคคลเรียนรู้เจตคติของความมั่นใจหรือไม่มั่นใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับการที่พ่อแม่ให้สิ่งที่เด็กต้องการ สำหรับอาหาร การเอาใจใส่ และความรักอย่างชื่นชม เจตคติเหล่านี้ซึ่งเด็กมีอยู่จะคงอยู่มากหรือตลอดชีวิตและสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจของคนทั่วไปและสถานการณ์ของบุคคลได้            โจ แอล ฟรอสท์ (Joe L. Frost, 1977)  กล่าวว่า เด็กในช่วง 4 – 5 ปีแรกของชีวิต เป็นช่วงเวลาที่ความเจริญงอกงามทางด้านร่างกายและจิตใจเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด นอกจากนี้ยังมีความรู้สึกที่ไวต่ออิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก            อลิซาเบธ เฮอร์ล๊อค (Elizabeth Hurlock, 1959) กล่าวว่า วัยเด็กนับได้ว่าเป็นวัยแห่งวิกฤติการณ์ในการพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นระยะสร้างพื้นฐานของจิตใจในวัยผู้ใหญ่ต่อไป บุคลิกภาพในวัยผู้ใหญ่แม้จะมีความแตกต่างไปจากวัยเด็กมาเท่าใดก็ตาม แต่จะเป็นความแตกต่างที่ถือกำเนินจากรากฐานในวัยเด็ก ซึ่งสอดคล้องกับริชาร์ด ซี สปินทอลล์ (Richard C. Spinthall, 1974)  กล่าวว่า ในช่วง 5 ปีแรกของมนุษย์เป็นช่วงวิกฤติของชีวิต เป็นระยะที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานของบุคลิกภาพ ซึ่งการพัฒนาบุคลิกภาพนั้นเด็กจะต้องการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงพฤติกรรมที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ที่ได้รับ โดยการตอบสนองนี้มีผลมาจากวุฒิภาวะทางร่างกาย สติปัญญา และประสบการณ์ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อม             จากความเห็นดังกล่าวพอสรุปได้ว่า ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์ เพราะเป็นช่วงที่พัฒนาการทุกด้านเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา การพัฒนาเด็กในช่วงวัยนี้จะเป็นการวางพื้นฐานทางด้านจิตใจ อุปนิสัยและความสามารถ ซึ่งจะมีผลต่อไปในอนาคตของเด็กและของชาติในที่สุด 

พัฒนาการเด็กปฐมวัย 4 – 5 ปี

                พฤติกรรมของเด็กที่แสดงออกที่โรงเรียนมีพื้นฐานมาจากพฤติกรรมที่เขาเคยปฏิบัติมาก่อนแล้ว  ก่อนอื่นเราจะต้องเข้าใจว่าเด็กมีความแตกต่างกันระหว่างบุคคลต่างกันเรื่องอายุ พื้นฐานทางครอบครัว และโอกาส            เด็กวัย 4 ขวบ  เด็กวัยนี้เริ่มทำอะไรได้เอง ไม่ต้องมีผู้ใหญ่คอยช่วย ดังนั้นเด็กวัยนี้ส่วนมากมีความเชื่อมั่น ชอบยืนยันความคิดของตนเองและชอบคุยโต รู้จักแสดงความห่วงใยผู้อื่น ความสนใจของเด็กวัยนี้มีกว้างขวางขึ้นและสามารถทำกิจกรรมได้นานขึ้น การใช้ภาษาเริ่มมีมากขึ้น รู้จักพูดคุยกับเพื่อน ๆ รู้จักใช้ภาษาเพื่อสนองความต้องการของตนเอง และใช้ภาษาเพื่อการแสดงออก ชอบถามและต้องการคำตอบจากผู้ใหญ่            เด็กวัยนี้สามารถเล่นกับเพื่อน ๆ ได้อย่างดี ต้องการของเล่นที่เป็นของใช้จริงในชีวิตประจำวัน และชอบเล่นบทบาทสมมติ ต้องการใช้เครื่อง เครื่องใช้ เช่น ค้อน เลื่อย กรรไกร แปรง ฯลฯ และอาจบอกได้ว่า เมื่อตนทำสิ่งนี้เสร็จแล้วจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามเด็กวัยนี้จะสนใจกระบวนการ (Process) ที่ตนทำมากกว่าผลที่จะได้รับ (Product) เด็กวัยนี้ชอบเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น โดยโอ้อวด แสดงอาการไม่พอใจ ก้าวร้าวหรือส่งเสียงดังเอ็ดตะโร กล้ามเนื้อเล็กทำงานประสานได้ดีขึ้น แต่กล้ามเนื้อใหญ่จะใช้ได้คล่องและดีกว่าการใช้กล้ามเนื้อเล็ก            เด็กวัยนี้จะเริ่มรู้จักแยกความแตกต่างระหว่างเรื่องจริง กับเรื่องเพ้อฝัน แต่ยังคงสับสนอยู่ เห็นได้ง่าย ๆ จากการดูโทรทัศน์ เรื่องความเก่งกล้าของซุปเปอร์แมน นินจาเต่าหรือโงกุน เด็ก ๆ วัย 4 ขวบก็ยังยืนยันว่าคนเองสามารถมีกำลังและเก่งเหมือนตัวเอกของภาพยนต์สำหรับเด็ก           

เด็กวัย 5 ขวบ  เด็กวัยนี้มีอิสระมากขึ้น มีความมั่นใจมากขึ้นและเข้าใจคำสั่งมากขึ้น แต่ก็ยังต้องการการยอมรับจากผู้อื่น ชอบเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกันและเพศเดียวกัน ดังนั้นการเล่นจึงมีลักษณะให้ความร่วมมือกับเพื่อน ๆ ดี เล่นได้นาน มีลักษณะค่อนข้างซับซ้อนขึ้น การใช้กล้ามเนื้อมือและการใช้สายตาประสานกันได้ดีขึ้น การบงคบส่วนลำตัวดีสามารถขว้างและรับลูกบอลได้ กระโดดเชือก วิ่งและใช้ทักษะอื่นกับผู้อื่นได้ สามารถใช้กรรไกรตัดตามที่ต้องการได้ดีขึ้นและชอบคิดสร้างประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ ชอบนิทาน ชอบโรงเรียน และสามารถจำตัวเลขและตัวอักษรตามลำดับได้ ถึงแม้ว่าเด็ก 5 ขวบจะมีแนวโน้มที่จะเชื่อฟังครู ให้ความร่วมมือ มีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น แต่ชอบพูดอวดโอ้ถึงความสำเร็จของตนเอง พูดเกินความจริงจนเกิดทะเลาะกัน การใช้ภาษาของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่างอิสระคือ สามารถเข้าใจและพูดได้ตามที่ตนรู้สึก สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องที่แต่งขึ้นโดยอธิบายให้เหตุผลได้ เด็ก 5 ขวบยังคงชอบเล่นบาทบาทสมมติ แต่ก็มีความสนใจสิ่งที่เป็นจริงในโลกนี้

 

สรุปได้ว่า เด็กวัย 4 – 5 ปี มีลักษณะที่แตกต่างกันดังที่กล่าวแล้วแต่มิได้หมายความว่าเมื่อเด็กอายุมากขึ้นอีกหนึ่งขวบจะมีลักษณะพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่การพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และเด็กแต่ละคนก็มีพัฒนาการที่แตกต่างเช่นกัน

 

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์  (Piaget)  ได้กล่าวถึง การเรียนรู้ของ

เด็กปฐมวัยว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากการทำงานของโครงสร้างทางปัญญา  (Schemata)  เป็นวิธีที่เด็กจะเริ่มต้นด้วยความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสิ่งแวดล้อม    และสิ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการมี  2  อย่างคือ1.   การขยายโครงสร้าง (Assimilation)  คือ  การที่บุคคลได้รับประสบการณ์หรือรับรู้สิ่งใหม่เข้าไปผสมผสานกับความรู้เดิม2.      การปรับเข้าสู่โครงสร้าง (Accommodation)  คือการที่โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนำเอาความรู้ใหม่ที่ได้ปรับปรุงความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อม

            เพียเจท์ (Piaget) เป็นผู้นำทฤษฎีนี้เน้นที่กระบวนการและเนื้อหาของการเล่นที่

ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา เพียเจท์ มองการเล่นเป็นกระบวนการพัฒนาทาง

สติปัญญา ซึ่งกระบวนการพัฒนาทางสติปัญญา และลักษณะของการเล่นนั้น จะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน    การเล่นของเด็กจะเริ่มจากการเล่นโดยใช้ประสาทสัมผัส ซึ่งจะมีพฤติกรรมในลักษณะที่เป็นการสำรวจจับต้องวัตถุ นับว่าเป็นการฝึกเล่นและพัฒนาการเล่นควบคู่ไปกับการพัฒนาทางสติปัญญาเป็นขั้นการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, 2541 : 16)            เพียเจท์ (Piaget, 1965 : 35 – 37)  ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็น  4  ขั้นคือ            1.  ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage)  อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 2 ปี  ในขั้นนี้เด็กจะรูจักใช้ประสาทสัมผัสทางปาก  หู  ตา ต่อสิ่งแวดล้อม  พฤติกรรมที่แสดงออกในรูปของการมีปฏิกิริยาตอบสนองสิ่งเร้า  ในระยะนี้จะสามารถจำได้ว่าวัตถุและเหตุการณ์บางอย่างเป็นอย่างเดียวกัน2.      ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ (Pre – Operational Stage)  อายุ  2 – 7  ปี  เป็นขั้นที่เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาพูดและเข้าใจเครื่องหมายต่าง ๆ หรือสภาพแวดล้อมรอบตัว สัญลักษณ์ต่าง ๆ เด็กจะสามารถสร้างโครงสร้างทางสติปัญญาแบบง่าย  ซึ่งเป็นการคิดพื้นฐานที่อาศัยการรับรู้เป็นส่วนใหญ่  สามารถแบ่งเป็น 2 ระยะคือ2.1    ระยะก่อนเกิดความคิดรอบยอด เป็นขั้นที่เด็กชอบสำรวจ ตรวจสอบ จะสนใจว่าทำไมเหตุการณ์ต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นและเกิดได้อย่างไร จะเริ่มใช้ภาษาและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์ และมีลักษณะต่าง ๆ คือ จะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง  มองไม่เห็นวัตถุที่เหมือนกันอาจมีบางส่วนต่างกัน  เด็กจะเริ่มคิดอย่างมีเหตุผลเป็นแบบตามใจตัวเอง และจะตัดสินสิ่งต่าง ๆ ตามที่มองเห็น2.2   ระยะการคิดแบบใช้ญาณหยั่งรู้ เป็นการคิดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างที่รวด

เร็วโดยไม่คำนึงถึงรายละเอียด  การคิดและการตัดสินใจจะขึ้นอยู่กับการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ ทำให้การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไปมา  และมีลักษณะคือ เข้าใจเรื่องจำนวน  เข้าใจเรื่องความคงที่ (Conservation)  เริ่มคิดได้ว่าของบางสิ่งยังคงเดิมไม่คำนึงถึงรูปร่างและจำนวนที่เปลี่ยนไป  เข้าสังคมได้มากขึ้น เลียนแบบบทบาทต่าง ๆ ส่วนพฤติกรรมยึดตนเองเป็นศูนย์กลางจะลดน้อยลง

3.      ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operational Stage)  อายุ 7 – 11  ปี  เป็นขั้นที่เด็กจะสามารถใช้เหตุผลกับสิ่งที่มองเห็น  และมองความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ  ได้ดีขึ้นเพราะเด็กจะพัฒนาโครงสร้างการคิดที่จะเป็นกับความสันพันธ์ที่สลับซับซ้อน เด็กในวัยนี้จะสามารถตัดสินใจได้อย่างมีเหตุผลมากขึ้นกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เด็กจะเห็นสภาพแวดล้อมว่าประกอบด้วยวัตถุและเหตุการณ์ต่าง ๆ แม้ว่าวัตถุที่มองเห็นจะเปลี่ยนไป            4.  ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal Operational Stage)  อายุ 11 ปีขึ้นไป  เป็นขั้นที่พัฒนาการทางความคิดของเด็กถึงขั้นสูงสุด  จะเข้าใจการใช้เหตุผลและการทดลองได้อย่างมีระบบ สามารถตั้งสมมติฐานและทฤษฎีอีกทั้งเห็นว่า ความจริงที่รู้ไม่สำคัญเท่าสิ่งที่อาจเป็นไปได้            เพียเจท์ (Piate, อ้างถึงใน Smith, 1997 : 20)  ได้พูดถึงวิธีการเรียนรู้  ว่ามีการเรียนรู้ที่เน้นการคิดของเด็กหรือกระบวนการมากกว่าคำตอบโดยให้เด็กมีการริเริ่ม  ความกระตือรือร้นต่อสิ่งแวดล้อม  หลีกเลี่ยงในการผลักดันเด็กให้เหมือนเช่นผู้ใหญ่  และเห็นบทบาทของครูเหมือนเป็นผู้แนะแนวแหล่งความรู้มากกว่าเป็นผู้บอกเด็กทุกอย่าง            เพียเจท์ (Piaget, 1970 : 52) อธิบายว่า มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ 3 ด้านคือ            1.  โลกทางกายภาพ (The physical world) มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความร้อน ความเย็น ความกระด้าง ความนุ่ม เป็นต้น            2.  โลกทางสังคม (The social world) มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับภาษา ศาสนา ความเชื่อเป็นต้น            3. การสร้างความสัมพันธ์ภายในจิตใจ (The construction of  mental  relationships) มีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการนับ จำนวน การอนุรักษ์ เป็นต้น และ Piaget ก็ยังกล่าวว่า การสร้างความสัมพันธ์ในใจ เรียกว่า การเรียนรู้ทางตรรกศาสตร์ ที่ต้องการสร้างการเรียนรู้ที่แยกประเภทและเป็นลำดับขั้น เด็กจะเป็นผู้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ทดลองด้วยตนเอง เช่น เมื่อเด็กเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อของสี คุณสมบัติของสีและวัตถุ  เรียกว่า Simple abstraction  ที่เชื่อว่า เด็กเรียนรู้กฎต่าง ๆ จากประสบการณ์ทางภาษา

ไวกอสกี้  (Vygotsky, อ้างถึงใน Smith, 1997 : 25) กล่าวว่า เด็กจะเกิดการเรียนรู้  พัฒนาสติปัญญาและทัศนคติเมื่อมีการปฏิสัมพันธ์และทำงานร่วมกับผู้อื่น  โดยที่การเรียนรู้ของเด็กจะเกิดขึ้นภายในการทำงานของ  Zone  of  proximal  development   ซึ่งเป็นสภาวะที่เด็กต้องเผชิญกับปัญหาที่ท้าทายแต่ไม่สามารถคิดแก้ปัญหาโดยลำพัง  แต่ถ้าได้รับการช่วยเหลือแนะนำจากผู้ใหญ่หรือเพื่อนที่มีประสบการณ์มาก่อน  เด็กจะสามารถแก้ปัญหานั้นและจะเกิดการเรียนรู้ได้

บรูเนอร์ (Bruner, 1969 : 85) เชื่อว่า ครูสามารถจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก

ปฐมวัยเพื่อให้เด็กเกิดความพร้อมที่จะเรียนได้ โดยต้องคำนึงถึงทฤษฎีพัฒนาการว่าเป็นตัวเชื่อมระหว่างความรู้และการสอน กล่าวคือพัฒนาการจะเป็นตัวกำหนดเนื้อหาความรู้และวิธีการสอน   หรือกิจกรรมการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับพัฒนาการและความสามารถของเด็กเป็นหลัก จึงได้แบ่งขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัยออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ            1.  ขั้นการเรียนรู้ด้วยการกระทำ (Enactive stage) เริ่มตั้งแต่แรกเกิด เป็นขั้นที่เด็กจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ด้วยการกระทำมากที่สุด มีการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยการสัมผัสจับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง รวมทั้งการที่เด็กใช้ปากกับวัตถุที่อยู่รอบ ๆ ตัว เพื่อให้รู้จักกับสิ่งเหล่านั้น            2.  ขั้นการเรียนรู้ด้วยภาพและจินตนาการ (Inconic stage)  จะเริ่มตั้งแต่อายุได้ 3 ปี เป็นขั้นที่เด็กเกี่ยวข้องกับความจริงมากขึ้น และเกิดความคิดจากการรับรู้เป็นส่วนใหญ่ที่ได้จากจินตนาการสนใจแสงสว่าง  เสียง  การเคลื่อนไหว  สนใจลักษณะต่าง  ๆ ของสิ่งแวดล้อมเพียงลักษณะเดียว  ใช้เหตุผลมากขึ้น            3.  ขั้นการเรียนรู้ด้วยสัญลักษณ์ (Symbolic stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 7 – 8 ปี ขึ้น เป็นขั้นที่เด็กคิดได้อย่างอิสระโดยการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือและการแสดงออกทางความคิด สามารถเข้าใจความสัมพันธ์ของสิ่งของ เข้าใจสัญลักษณ์  มีความเข้าใจที่กว้างขึ้น  สามารถเกิดความคิดรวบยอดในสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ซับซ้อนได้            จากทฤษฎีดังกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า การจัดประสบการณ์ให้เด็กเกิดการเรียนรู้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมใกล้ตัวเด็ก โดยการทำซ้ำ ๆ เพื่อให้เกิดทักษะและเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง             องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เด็กแตกต่างกัน มี 2 องค์ประกอบใหญ่  ๆ ด้วยกัน คือ (กมลรัตน์  หล้าสุวงษ์, 2528 : 107 – 108)1.      พันธุกรรมหรือกรรมพันธ์ (Heredity)นักจิตวิทยาที่เชื่อว่าพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดสติปัญญานั้น อธิบายว่าสติ

ปัญญาเป็นสิ่งที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด  โดยได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษมาทางสายโลหิตที่เรียกว่าถ่ายทอดทางจีนส์ (Genes) มีผลต่อมาจนเด็กเจริญเติบโต ดังนั้น ถ้าบรรพบุรุษมีสติปัญญาสูงหรือฉลาด ลูกหลานที่เกิดมาย่อมจะฉลาดไปด้วย เข้าตำราสุภาษิตไทยที่ว่าหนามแหลมไม่มีใครเสี้ยม   ตรงกันข้ามถ้าบรรพบุรุษมีสติปัญญาต่ำหรือโง่ลูกหลานที่เกิดมาก็ย่อมจะโง่ไปด้วย

 2.      สิ่งแวดล้อม (Environment)

สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสติปัญญามีนักจิตวิทยาที่เชื่อว่าสิ่ง

แวดล้อมเป็นตัวกำหนดสติปัญญา ส่วนใหญ่จะเป็นนักจิตวิทยาการศึกษาและนักจิตวิทยาสังคม พวกนี้จะไม่ให้ความสนใจชาติพันธุ์ หรือชาติกำเนิดของเด็ก     เท่ากับการให้สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ของเด็กตั้งแต่แรกเกิด เช่น การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ การเตรียมความพร้อมให้เด็กในการเรียนรู้ การให้ประสบการณ์ตรงและทางอ้อมเพื่อเสริมสร้างสติปัญญา เป็นต้น

อุษณีย์  อนุรุทธ์วงศ์ (โพธิสุข) (2545 : 9) กล่าวว่า สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เด็กมีสติปัญญาดีหรือรู้จักใช้สติปัญญาวิธีการเรียนรู้ของเด็กจากสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ส่งผลถึงความคิด จิตใจที่เป็นผลมาจากโครงสร้างของการใช้สมอง

            นักจิตวิทยาที่เชื่อถือองค์ประกอบดังกล่าว ได้ทำการศึกษาค้นคว้าไว้มากมายและให้ข้อสรุปในลักษณะเดียวกัน คือ พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดสติปัญญา อาทิ เจนเสน (Jensen) ศึกษาสติปัญญาของครอบครัวกัลลิแกค (Kzllikak) พบว่า นายกัลลิแกค แต่งานกับหญิงปัญญาอ่อนลูกหลานส่วนใหญ่ (90%) มีปัญญาอ่อน แต่เมื่อนายกัลลิแกคแต่งงานกับหญิงสติปัญญาปกติ ลูกหลานส่วนใหญ่ (90%) มีสติปัญญาปกติ

              จากองค์ประกอบทั้ง 2 องค์ประกอบ สรุปได้ว่า พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมต่างก็เป็นตัวกำหนดสติปัญญาหรือกำหนดศักยภาพของสมอง นั้น ไม่สามารถแยกว่าเป็นเพราะอิทธิพลของพันธุกรรมหรือสิ่งแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นเพราะทั้งสององค์ประกอบร่วมกัน

ความหมายของการจัดประสบการณ์

            การจัดประสบการณ์  หมายถึง การจัดกรศึกษาให้เด็กก่อนวัยเรียน หรือเด็กปฐมวัย เพื่อพัฒนาให้ครบทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา  มิได้มุ่งหวังให้อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น หรือเรียนรู้เนื้อหาวิชาต่าง ๆ แต่จะเป็นการปูพื้นฐานวิชาต่าง ๆ ให้ ในรูปกิจกรรมเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงเด็กจะเรียนรู้ได้ดีกว่า เช่นการสอนให้เด็กเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ อดทน ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ไม่อาจทำได้ด้วยการสอนด้วยคำพูดแต่จะเกิดจากการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม เป็นรูปธรรม

หลักการจัดประสบการณ์

            หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.. 2546  ได้กำหนดหลักการจัดประสบการณ์ไว้  ดังนี้

            1.  จัดประสบการณ์การเล่นและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง            2.  เน้นเด็กเป็นสำคัญ สนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และบริบทของสังคมที่เด็กอาศัยอยู่            3.  จัดให้เด็กได้รับพัฒนาโดยให้ความสำคัญทั้งกับกระบวนการและผลผลิต 

แนวการจัดประสบการณ์

            หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.. 2546 ได้ให้แนวทางการจัดประสบการณ์ คือ

                1.  จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการ คือเหมาะกับอายุ วุฒิภาวะ และระดับพัฒนาการ เพื่อให้เด็กทุกคนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ            2.  จัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับลักษณะการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้คือ เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สำรวจ เล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง            3.  จัดประสบการณ์ในรูปแบบบูรณาการ คือ บูรณาการทั้งทักษะและสาระการเรียนรู้            4.  จัดประสบการณ์ให้เด็กได้ริเริ่ม คิด วางแผน ตัดสินใจ ลงมือกระทำ และนำเสนอความคิดโดยผู้สอนเป็นผู้สนับสนุน อำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก            5.  จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กอื่น กับผู้ใหญ่ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในบรรยากาศที่อบอุ่น มีความสุขและเรียนรู้การทำกิจกรรมแบบร่วมมือในลักษณะต่าง ๆ กัน            6.  จัดประสบการณ์ให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสือและแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็ก            7.  จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและทักษะการใช้ชีวิตประจำวันตลอดจนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ            8. จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน ให้มีมุมเล่น หรือมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียนต่าง ๆ ให้เด็กได้มีโอกาสเล่นร่วมกับผู้


หมายเลขบันทึก: 143455เขียนเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2007 10:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ลองอ่านตาม Link นี้ดูน่ะค่ะ

http://www.nareumon.com/

ข้อมูลดีมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท