สารปนเปื้อนในอาหาร


Phthalates & ESBO

 สารปนเปื้อนในอาหารนั้นเกิดจากหลายสาเหตุหลายปัจจัย ส่วนหนึ่งเป็นสารปนเปื้อนที่มาจากสารเคมีในพลาสติกที่เป็นภาชนะบรรจุอาหาร

Phthalates & ESBO (Epoxidised soy bean oil) เป็นสารเคมีที่ใช้เป็นสารเจือปน หรือเป็น Plasticizers ที่เติมลงไปใน Polymers หรือการผลิตพลาสติกประเภท PVC (Polyvinyl chloride) เพื่อทำให้พลาสติกมีความยืดหยุ่นและอ่อนนุ่มขึ้น

 สารกลุ่ม Phthalates & ESBO จะไม่ยึดติดกับ Polymers ของพลาสติก เพียงแต่จะแทรกอยู่ระหว่างโมเลกุลพลาสติก ดังนั้นสารดังกล่าวจึงอาจหลุดออกจากภาชนะบรรจุลงสู่อาหารและสิ่งแวดล้อมได้ โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากสารทั้งสองชนิดละลายได้ในไขมันและน้ำมัน

สหภาพยุโรปได้กำหนดกฎระเบียบว่าด้วยวัสดุและสิ่งของที่ใช้สัมผัสอาหาร (Food contact materials) มี ๓ กลุ่มคือ

  1. ภาชนะบรรจุอาหาร (Food packaging)
  2. เครื่องใช้ในครัวเรือน (Kitchen articles)
  3. เครื่องจักรและวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร

นอกจากนี้สหภาพยุโรปได้ทบทวนแก้ไขมาตรการและกฎระเบียบด้านวสัดุและสิ่งของที่ใช้สัมผัสอาหารที่เกี่ยวข้องกับภาชนะบรรจุพลาสติกที่ใช้สารกลุ่ม Phthalates ที่ในสหภาพยุโรปมีใช้ในปริมาณมาก ๕ ชนิดคือ

  1.  DINP; di (iso-nonyl) phthalate
  2.  DEHP; di (2-ethylhexyl) phthalate
  3.  DBP; dibythyl phthalate
  4.  DIDP; di (iso-decyl) phthalate
  5.  BBP; butyl benzyl phthalate

ซึ่งในปี 2550 สหภาพยุโรปตรวจพบการตกค้างของสารกลุ่ม Phthalates 3 ชนิดคือ DINP, DIDP และ DEHP ในสิ่งค้ากลุ่มเครื่องปรุงรสที่มีไขมันและน้ำมันเป้นส่วนประกอบหรือเครื่องปรุงรสไทย ได้แก่ พริกแกงสำเร็จรูป, ซอส และเต้าเจี้ยวที่บรรจุขวดแก้วมีฝาผิดซึ่งพบในช่วงปริมาณ 190-580 มก./กก. (ppm.)

            กฎระเบียบว่าด้วยวัสดุและสิ่งของที่ใช้สัมผัสอาหารถูกประกาศ ณ วันที่ 2 เมษายน 2550 โดยสหภาพยุโรปได้กำหนดระดับสาร ESBO ที่อนุญาตให้หลุดลอกออกมาและตกค้างในอาหารดังนี้

-          อาหารทั่วไป ระดับสาร ESBO ไม่เกิน 60 มก./กก.

-          อาหารเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี ระดับสาร ESBO ไม่เกิน 30 มก./กก.

ซึ่งกฎระเบียบนี้จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป และ และสหภาพยุโรปได้จัดระบบการแจ้งเตือนสินค้าอาหารและอาหารสัตว์ (Rapid alert for food and feed system; RASFF) ในประเทศสมาชิกด้วย แหล่งข้อมูล : http://www.nfi.or.th/bi/th/home/default.asp  
หมายเลขบันทึก: 142950เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2007 08:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ตามเข้ามาเรียนรู้ครับ..​ขอบพระคุณมากครับ สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจ ... จะมาติดตามเป็นประจำครับ...

แวะมาเยี่ยมครับ

เขียนเรื่องกอล์ฟ กับ เรื่องการบริหารร้านขายยาด้วยน่ะครับ รออ่านอยู่ครับพี่

เขียนเรื่องกอล์ฟ มันต้องไปเล่นด้วยถึงจะมีเรื่องเขียน

ส่วนการบริการร้านยาน่าจะอยู่ blog ชุมนุมร้านยานะขอรับ

เข้ามารอไปตีกอล์ฟ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท