ธนาคารสวัสดิการออมบุญวันละบาท (ความฝันที่เป็นจริง)


เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2550 ได้มีการประชุมเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทเพื่อสวัสดิการชุม ถึงการทำงานที่ทุกกลุ่มจะช่วยกันคิดพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  การประชุมใช้เวลาไม่มากเลขาจำเป็นจึงนำการรายงานถึงการพัฒนาของเครือข่ายให้ในที่ประชุมทราบ และได้เสนอให้มีการพัฒนาที่จะทำให้ทุกกลุ่มได้ทำงานอย่างสะดวก ทุกต้อง รวดเร็ว และมีความมั่นใจมากขึ้น 

การพัฒนาให้เป็นธนาคารสวัสดิการเคยได้เข้ามาเขียนให้ทราบไปบ้างแล้ว และได้นำเรื่องนี้มาทดลองปฎิบัติก่อน คือกลุ่มที่มีสมาชิกมาก คือกลุ่มบ้านดอนไชย และกลุ่มแม่พริก จำนวนสมาชิกใน 2 กลุ่มนี้รวมกันแล้วประมาณ 4000 คน จึงคิดที่จะลดการทำงานที่ใช้การพิมพ์บันทึกสมุดเงินฝากเพื่อสวัสดิการในเล่มคู่ฝากของสมาชิกได้เลย

โปรแกรมนี้ใช้พัฒนาต่อเนื่องจากที่กลุ่มใช้อยู่แล้วเพียงแต่ทำต่อจากสิ่งที่กำหนดไว้ จึงมีกลุ่มที่สนใจจาก 2 กลุ่ม ก็เพิ่มขึ้นมาอีก 4 กล่ม เพราะทุกคนที่เป็นคนทำงานได้เล็งเห็นการพัฒนานี้เป็นมาตรฐานและง่ายต่อการปฏิบัติ โดยการพัฒนาครั้งนี้ใช้เงินทุนของเครือข่ายเป็นผู้ออกทุนการพัฒนาของแต่ละกลุ่มไปก่อนและให้กลุ่มใช้เงินคืนโดยไม่คิดดอกเบี้ยเลย

การทำงานแบบนี้ทุกคนที่เป็นคนทำงานในแต่ละกล่มและในเครือข่ายก็มีความพร้อมที่จะพัฒนาไปพร้อมกันทุกกลุ่ม กลุ่มไหนมีความพร้อมและช่วยกลุ่มอื่นที่ยังพัฒนาช้าก็ลงไปช่วยโดยไม่คิดค่าแรง เพราะพวกเราคิดว่าเป็นการช่วยคนในชุมชนที่พอจะช่วยกันได้

และเป็นเรื่องที่น่ายินดีอีกเรื่องคือว่า องค์กรสาธารณะประโยชน์ของเครือข่ายได้ผ่านการรับรองแล้ว 4 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 ออมบุญวันละหนึ่งบาทชุมชนบ้านดอนไชย (ตำบลล้อมแรด)

กลุ่มที่ 2 ออมบุญวันละหนึ่งบาทชุมชนบ้านแม่พริก (ตำบลแม่พริก)

กลุ่มที่ 3 ออมบุญวันละหนึ่งบาทชุมชนบ้านเหล่า (ตำบลล้อมแรด)

กลุ่มที่ 4 ออมบุญวันละหนึ่งบาทชุมชนบ้านแม่ตั๋ง (ตำบลพระบาทวังตวง)

คงเหลืออีก 4 กลุ่มที่จะเสนอเข้าไปอีกเพราะกลุ่มที่เหลือเป็นกลุ่มที่เหลือ 4 กลุ่ม และเป็นกลุ่มที่เริ่มมีการจัดสวัสดิการขึ้นแล้วในพื้นที่ขององค์กรที่ตั้งอยู่

เมื่อวันที่ 26 ทางเจ้าหน้าที่ พอช. ได้โทรมาสอบถามความเคลื่อนไหวของการทำงานของกลุ่มต้นแบบ ว่าการขยายให้ได้สมาขชิกเพิ่มมากขึ้นนั้นมีการขยายได้สมาชิกเพิ่มมากขึ้นได้อย่างไร

โจทย์ที่ถามตอบง่ายตามที่เลขาจำเป็นได้ปฏิบัติมา คือทำงานให้ยืดถือคุณธรรม 5 ประการไว้ ตามที่ทุกกองทุนในเครือข่ายออมบุญวันละหนึ่งบาทได้ทำกันมา

และอีกเรื่องคือการทำงานที่มีการให้เป็นหลักไม่มีการเลือกปฏิบัติของคนในชุมชนไม่ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนทำงานให้กลุ่มองค์กรเอง หรือคนในชุมชน เพราะทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นสมาชิกออมกันคนละ 1 บาทเท่ากัน ไม่ว่าคนนั้นจะมีเงินมากแค่ไหนก็ตาม

สิ่งที่ได้รับคือความเห็นใจซึ่งกันและกัน เอื้ออาทรต่อกัน และจะเกิดสังคมที่เข้มแข็งและยั่งยืนอยู่คู่ชุมชนต่อไป

นกน้อยทำรังแต่พอตัว

หมายเลขบันทึก: 142690เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2007 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องความโปร่งใส สามารถตรวจสอบการเงินต่างๆได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท