อาการบาดเจ็บของนักแบดมินตัน


โรค Tennis Elbow ส่วนมากจะเกิดกับคนที่อายุ มากกว่า 30 ปี (ซึ่งก็หมายความว่า แก่แล้วนั่นเอง -_-'')

อาการบาดเจ็บที่เกิดกับนักแบดมินตันและพบได้บ่อย คือ อาการอาการบาดเจ็บที่เกิดจากการอักเสบของเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอก เรียกว่า Tennis elbow ซึ่ง อาการบาดเจ็บบริเวณนี้ จะสามารถพบได้ทั้งด้านนอกและด้านในของข้อศอก

สาเหตุของการเจ็บข้อศอก
1. ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ทำงานซ้ำๆ มากเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อมีการบาดเจ็บสะสม ทำให้มีอาการเจ็บที่ตำแหน่งดังกล่าว

2. การใช้ข้อศอกเป็นจุดหมุนในการตีมากเกินไป

3. อาการเจ็บพวกนี้สามารถเกิดได้กับ กีฬาที่ใช้ แร๊กเก็ตทุกชนิด

อาการบาดเจ็บของ Tennis Elbow
1. มีอาการเจ็บบริเวณข้อศอกด้านนอก อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อยกของ บิดแขนหรือกำมือแน่น บางครั้งจะมีอาการปวดร้าวไปที่แขนและมือได้

2. เมื่อกดบริเวศข้อศอกด้านนอกแล้วจะรู้สึกเจ็บ ถ้าคว่ำมือหรือกระดกข้อมือ ในขณะเหยียดศอกจะรู้สึกเจ็บ

 

การรักษา
การรักษาโดยไม่ผ่าตัด
1. จะต้องปรับกิจกรรมการใช้งานของแขนและมือ โดยหลีกเลี่ยงการทำงานที่ทำให้เกิดอาการปวด โดยเฉพาะการขยับข้อมือขึ้นลงซ้ำๆ กระดกข้อมือแรงๆ และกำมือแน่นๆ เช่น การบิดผ้าแรงๆ เป็นต้น

2. การใช้น้ำแข็งประคบ เพื่อลดอาการปวดและการอักเสบควรจะประคบ 2-3 ครั้งต่อวัน โดยเฉพาะหลังจากการใช้งานหรือเล่นกีฬา ใช้ถุงน้ำแข็งหรือก้อนน้ำแข็งถู หรือนวดไปบนตำแหน่งที่ปวดครั้งละ 20-30 นาที

3. การรับประทานยาลดอักเสบ ที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ ได้ผลดีมากในการลดการอักเสบและอาการปวด แต่อาจมีผลข้างเคียงได้ จึงควรกินยาตามคำแนะนำของแพทย์

4. การทำกายภาพบำบัด เพื่อลดอาการปวดและบวมของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ได้แก่ การวางแผ่นร้อน การทำอัลตร้าซาวน์ ร่วมกับการทำการยืดกล้ามเนื้อและบริหารกล้ามเนื้อ (Stretching and strengthening exercise) ซึ่งสามารถทำได้เองที่บ้านตามคำแนะนำของแพทย์

5. การใส่อุปกรณ์รัดตรงบริเวณต้นแขน (Tennis elbow cuff) โดยรัดกล้ามเนื้อที่ต้นแขนไว้ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวไม่ได้เต็มที่ ทำให้ลดแรงกระชากของเอ็นกล้ามเนื้อที่จุดยึดเกาะกับกระดูก เป็นการป้องกันไม่ให้มีการบาดเจ็บซ้ำ ช่วยให้การอักเสบไม่เป็นมากขึ้น

6. การฉีดยาเสตียรอยด์เข้าตรงบริเวณจุดยึดเกาะเส้นเอ็นของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะลดอาการอักเสบได้ดี แต่ไม่ควรทำมากกว่า 3-4 ครั้งต่อปี เพราะอาจทำให้เส้นเอ็นขาดได้

การรักษาโดยการผ่าตัด
จะทำก็ต่อเมื่อใช้วิธีในข้างต้นมาแล้ว ไม่ได้ผลจะใช้วิธีผ่าตัดโดยการเลื่อนหรือตัดบริเวณที่เกาะของเอ็นที่ใช้กระดกนิ้วมือ ข้อมือ ให้ยาวขึ้น ซึ่งหลังจากผ่าตัดแล้วต้องออกกำลังกายให้กล้ามเนื้อส่วนนี้แข็งแรง

การป้องกัน
1. ขนาดของกริ๊ป(ด้ามจับ) ไม้แบดมินตันต้องไม่ใหญ่จนเกินไป

2. การขึ้นเอ็นต้องไม่ตึงจนเกินไป

3. การใช้ไม้ที่มีน้ำหนักเบา

4. การวอร์มอัพ (ยืดกล้ามเนื้อบริเวณนี้) ก่อนเล่นกีฬา

ข้อมูลจาก internet (ขอบคุณ โรงพยาบาลกรุงเทพ และข้อมูลใน website ต่างๆ)
หมายเลขบันทึก: 142666เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2007 09:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2014 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

Tennis elbow cuff   ส่วนมากกล้ามเนื้อส่วนนี้เป็นกับคนเล่นเทนนิส   เค้าก็เลยเรียกชื่อแบบนี้ 

ถ้าเจ็บหนักขนาดนี้ ก็ควรหยุดเล่น หรือพบแพทย์ก็จะดีนะครับ   เพราะอาการบางอย่าง  เราเห็นว่าเจ็บเพียงเล็กน้อย    ฝืนเล่นต่อด้วยความเมามันในเกมกีฬา ก็อาจพาให้ลายเป็นการบาดเจ็บเรื้อรังได้ครับ 

(หนึ่งความเห็นจากผู้ที่เคยเล่นเทนนิสครับ)

 

น้องยศผอมลงเยอะเลยนะจ๊ะ ได้ข่าวว่าออกกำลังกายทุกวัน ผสมกับทำงานหนักที่กองแผน ดี ๆ ๆ จะได้หล่อ ๆ อิอิ

ตอบคุณ ko
ขอบคุณ คุณ ko สำหรับความรู้เพิ่มเติมนะครับ

ตอบพี่น้อง
ส่วนเรื่องผอมลง เป็นเพราะว่า ตั้งใจลด ควบคุมอาหารอย่างจริงจัง และออกกำลังกายเนี่ยแหละครับ
เลยทำให้ลดลง ^^

ขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็นนะครับ

  • สวัสดีค่ะ น้องยศ
  • พี่มีอาการเจ็บหรือปวดที่ข้อศอกด้านนอก ยิ่งถ้ากดลงไปจะปวด ก็เกิดจากการเล่นแบดมินตันนี่แหละ มีอยู่ช่วงหนึ่งทีพี่แทบจะใช้แขนยกของไม่ได้ ก็เลยหยุดเล่นแบดมินตัน และใช้วิธีนวดคลายกล้ามเนื้อและจับเส้นก็ดีขึ้น อาการเจ็บที่ข้อศอกก็ลดลง
  • ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความรู้

อยากได้ท่ายืดกล้ามเนื้อบริเวณนี้ครับ ตอนนี้กำลังมีปัญหาอยู่ ขอบคุณครับ

พี่คับถ้าผมใช้ไม้ได้หรือป่าวคับสำหรับเด็กอายุ12 เอ็น20 85g ไม้power

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท