"คุณครูของหนู" โครงการเด็กไทยหัวใจรักการอ่าน กับ มูลนิธิสื่อชาวบ้าน (มะขามป้อม)


มะขามป้อม เฮฮา ได้สาระ แบบมีส่วนร่วม คือ สโลแกนในการทำงานของพวกเขา
     เพิ่งมีโอกาสได้สัมผัสกับมูลนิธินี้เป็นครั้งแรก  ...  ความรู้สึกที่ได้ยินครั้งแรกก็คือทำไมต้องใช้ชื่อนี้....."มะขามป้อมเป็นผลไม้ทางภาคอีสาน" (ชื่อติดดินดี)  รับประทานครั้งแรกจะรู้สึกฝาดๆอมเปรี้ยว  แต่พอดื่มน้ำเข้าไปเท่านั้นแหละ......แม่เจ้าประคุณเอ๊ย!  น้ำที่สัมผัสรสลิ้นเราช่างหวานและก็ช่างอร่อยเช่นนี้  มะขามป้อมมีวิตามินซีสูง  มีสรรพคุณเป็นยา  ซึ่งก็เป็นความหมายโดยนัยที่ตรงกับการทำงานของพวกเขา  พวกเขาจะเสนอเรื่อราวหรือละะครแปลกๆแต่กลับสนุกสนาน  ยิ่งดูไปก็ยิ่งได้สารประโยชน์ที่จะเอาไปใช้ได้ในชีวิต  เสมือนเป็นยาพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและชุมชน
.............มารู้จักเรื่องราวของมูลนิธินี้กันเถอะ........
       มูลนิธินี้เริ่มมาจาก
   โครงการสื่อชาวบ้าน   หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ กลุ่มละครมะขามป้อม  เกิดขึ้นเมื่อ  พ.ศ.2523  จนกระทั่งจดทะเบียนเป็นมูลนิธิสื่อชาวบ้าน(มะขามป้อม)   ในปี พ.ศ.2547
        มูลนิธินี้เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร  ทำงานโดยใช้ละครเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำเสนอประเด็นปัญหาต่างๆในสังคม  เช่น  เอดส์  สิ่งแวดล้อม  สิทธิของประชาชน  ฯลฯ  และใช้กระบวนการละครเป็นเครื่องมือในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ  เพื่อสร้างพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับผู้คนในสังคมทั้งเยาวชน  ชาวบ้าน  องค์กรทั้งภายในประเทศและระดับนานาชาติ  ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาสังคมอย่างแท้จริง  และมุ่งส่งเสริมพลังของภาคประชาชนเป็นหลัก                 
     พวกเขาทำงาน
โดยกลุ่มอาสาสมัครที่ยึดแนวคิดในการทำงานที่ว่า    "  มะขามป้อม   เฮฮา  ได้สาระ  แบบมีส่วนร่วม"  (Mad  Knowledge  Participation)  คือสโลแกนในการทำงานของพวกเขา
    
เมื่อรู้จักที่มาของมูลนิธินี้แล้ว  อยากให้ท่านรู้ต่อไปว่าพันธกิจหลักของเขาคืออะไร  ซึ่งมีอยู่   3  พันธกิจ  ดังนี้ 
    
1. เพื่อพัฒนาสื่อสำหรับประชาชนโดยนำเสนอข่าวสาร  ความรู้และประเด็นปัญหาทางสังคมผ่าน  กิจกรรมสาระบันเทิงในรูปแบบที่เหมาะสม  และง่ายต่อการทำความเข้าใจของประชาชน
    
2. เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและความรู้ระหว่างชุมชน  โดยใช้สื่อทางวัฒนธรรม
    
3. เพื่อสนับสนุนการทำงาน  ถ่ายทอด  เผยแพร่  เทคนิคการใช้สื่อให้กับบุคคล  กลุ่มบุคคล  และองค์กรต่างๆให้สามารถผลิตสื่อเพื่อการพัฒนาได้ด้วยตนเอง
    
ฝ่ายงานต่างๆของมูลนิธิสื่อชาวบ้าน  (มะขามป้อม)  มีอยู่  5  ฝ่ายด้วยกัน  คือ1.  ฝ่ายละครชุมชน
        หากละครคือแหล่งรวมศิลปะแขนงต่างๆ
        และชุมชนคือแหล่งรวมศาสตร์สำคัญของชีวิต
        ละครชุมชนก็จะเป็นสื่อกลางผสานกันของศาสตร์และศิลป์ในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร  สร้างความบันเทิง  สร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนโดยชุมชน  และเพื่อชุมชน  พวกเขาทำงานกับชุมชนทั้งโดยทางตรงและผ่านองค์กรต่างๆไปสู่เยาวชนซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาให้ชุมชนของตนให้เข้มแข็งต่อไปในอนาคต
2.  ฝ่ายละครการศึกษา        พวกเขาผลิตละครที่มีคุณค่า  ส่งเสริมความคิด  จินตนาการ  และจิตใจที่ดีงามให้กับเด็กและเยาวชน  โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสถานศึกษาทั่วประเทศ  มีทั้งการนำละครเข้าไปแสดงและเปิดอบรมเชิงปฏิบัติการทำกิจกรรมส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์  (creative  Thinking)  เทคนิคการเล่านิทาน  (Story   Telling)          ละครสร้างสรรค์  (creative  Drama)     ละครในการศึกษา  (Drama  in  Education)  หุ่นสร้างสรรค์  (Creative  Puppet)3.  ฝ่ายการแสดง        มีทั้งละครเต็มรูปแบบ  (Major  Production)  ที่ผสมผสานเทคนิคละครร่วมสมัย  (Contemporary)  กับงานศิลปะพื้นบ้านและวัฒนธรรมชุมชนเข้าไว้ด้วยกัน  เพื่อนำเสนอประเด็นปัญหาให้กับผู้ชมกลุ่มเป้าหมายทั้งในชุมชน  หมู่บ้าน  สถานศึกษา  หรือในโรงละคร4.  ฝ่ายต่างประเทศและศูนย์เชียงดาว        มูลนิธินี้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการแลกเปลี่ยนด้านทักษะ  ความรู้และความคิดกับนักละครจากต่างประเทศ  ในโครงการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้  Study  Tour  พวกเขามีโอกาสได้จัดการแสดงไปยังต่างประเทศเพื่อเผยแพร่แนวคิด  โดยมีศูนย์กลางการทำงานอยู่ที่มะขามป้อมศูนย์เชียงดาว  จ.เชียงใหม่  และที่นั่นยังเป็นศูนย์ที่จะประสานงานในการทำงานกับละครชุมชนโดยใกล้ชิดในพื้นที่อีกด้วย5.  ฝ่ายศูนย์ข้อมูลและเผยแพร่

        มูลนิธิเปิดบริการทางด้านข้อมูลด้านละครเพื่อการพัฒนาของมะขามป้อมให้แก่บุคคลทั่วไป  ด้วยระบบการสืบค้นที่ทันสมัย  ในรูปแบบของรายงานการดำเนินโครงการ  งานวิจัย  สื่อโทรทัศน์  และสื่อประเภทต่างๆ
..........นี่คือข้อมูลเบื้องต้นของมูลนิธิสื่อชาวบ้าน  (มะขามป้อม)  
      แล้วพวกเขามาทำอะไร  กับใคร  ที่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม  เขต 1  โปรดติดตามในบันทึกต่อไปค่ะ....สวัสดีค่ะ

หมายเลขบันทึก: 142558เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2007 15:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 18:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท