PTOT Meeting ครั้งที่ 8


การสื่อสารเป็นสิ่งสำคัญ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการฝึกของผู้ป่วยได้ จึงควรพูดคุยซักถามปัญหาและอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจอย่างถ่องแท้

          ขอขอบคุณสำหรับผู้เข้าร่วมประชุมและความคิดเห็นจากทุกๆท่าน นะคะ หัวข้อในวันนี้ที่ได้คุยกันคือ " จะมีวิธีการสื่อสารระหว่างผู้บำบัดกับผู้ป่วยอย่างไรในการบำบัดรักษา"

          สืบเนื่องมาจากว่า มีผู้ป่วยบางรายได้บอกเล่าถึงการบำบัดรักษาของทางกิจกรรมบำบัด ว่ายังไม่ค่อยเข้าใจในตัวกิจกรรมที่ผู้บำบัดได้จัดให้ฝึก เช่น การฝึกฉีกกระดาษ เป็นต้น และ Staff OT มีน้อย ทำให้ดูแลผู้ป่วยไม่ทั่วถึง มักจะปล่อยให้ผู้ป่วยบางรายต้องฝึกเอง

          นักกิจกรรมบำบัดทั้งสามท่านจึงได้อธิบายต่อที่ประชุมว่า ทางคลินิกกิจกรรมบำบัดได้จัดผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ Improve และ Maintain ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะทำการฝึกแบบประกบตัวต่อตัวในผู้ป่วยกลุ่ม Improve ใช้เวลาครั้งหนึ่งประมาณ 45-50 นาที ส่วนผู้ป่วยกลุ่ม Maintain จะเข้าโปรแกรม OT Program หมายถึง การเลือกกิจกรรมที่ตัวผู้ป่วยเองสนใจอยากจะทำในสมุดภาพกิจกรรม (Catalogue activity) และทำการฝึกด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำจากนักกิจกรรมบำบัด ซึ่งตรงจุดนี้เองที่อาจจะทำให้เกิดความบกพร่องในการสื่อสารกันระหว่างผู้บำบัดกับผู้ป่วย ในเรื่องรายละเอียดและจุดมุ่งหมายในการฝึกของแต่ละกิจกรรม ผู้ป่วยจึงเกิดความคับข้องใจ และไม่เข้าใจว่าตนเองฝึกไปเพื่ออะไร 

           ดังนั้นจึงมีความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากอาจารย์และนักกายภาพบำบัดที่น่ารักทุกท่าน สรุปโดยรวมได้ดังนี้ นะคะ

  • บางครั้งผู้ป่วยนำเรื่องที่ไม่เข้าใจมาถามทาง PT ซึ่งทาง PT เองก็ไม่สามารถตอบได้หมด หรือไม่สามารถอธิบายรายละเอียดที่ลึกลงไปได้ จึงอยากจะให้ทาง OT ได้อธิบายให้ผู้ป่วยโดยกระจ่าง
  • การพูดคุยสื่อสาร เริ่มแรกจะสอบถามก่อนว่าผู้ป่วยเข้าใจมากน้อยแค่ไหนในโรคที่เป็นอยู่ จากนั้นก็จะคุยกันในเรื่องของปัญหา, แนวทางการรักษา (คุยไปพร้อมทั้งปฏิบัติไปด้วย) , พูดคุยกับญาติ ถ้าตรงไหนที่ผู้ป่วยไม่เข้าใจ ก็คอยสังเกตคอยเสริม และค่อยๆให้ข้อมูลเข้าไป
  • ในชั่วโมงการฝึกควรจะมีการกำหนดระยะเวลา และบอกจุดมุ่งหมายในการฝึกทุกครั้ง พร้อมทั้งให้มีการซักถามหรือตอบปัญหาของผู้ป่วยขณะที่ทำการฝึกด้วย
  • ความเข้าใจในกิจกรรมบำบัดของคนไทยยังมีน้อย จึงต้องสร้างความเชื่อมั่น และประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น ว่ากิจกรรมบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วย Improve ขึ้นได้อย่างไร

         

         จากนั้นได้เกิดประเด็นเสริมขึ้นมาในเรื่องของการส่งต่อผู้ป่วย การประเมินร่วมกันระหว่าง PT และ OT ซึ่งแต่ละท่านก็ได้ให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะกันมาว่าจะทำอย่างไรกันบ้าง เช่น

  • น่าจะให้ OT ได้มีโอกาสลงมา round ward PT เดือนละ 1 ครั้ง
  • อยากให้ PT และ OT ได้ประเมินปัญหาผู้ป่วยร่วมกัน
  • อยากให้ทาง OT แจ้งล่วงหน้าให้ทราบก่อน เพื่อจะได้เตรียมเคส และให้ทาง OT อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าจะช่วยบำบัดได้อย่างไรบ้าง
  • ผู้ป่วยที่จะส่งต่อไปยัง OT มักจะเป็นเคสที่ประเมินว่าทำกิจกรรมแล้วน่าจะมี Progress
  • ผู้ป่วยที่ฝึก ADL ได้ดีแล้ว อยากให้เจาะรายละเอียดให้ลงลึกมากขึ้นกว่าเดิม โดยถามความต้องการของผู้ป่วยเป็นหลัก
  • อยากให้มีการเซ็ตเวลาเลยว่า OT จะลงมาประเมินผู้ป่วยในช่วงเวลาไหน

          และในวันนี้ก็มี PT ท่านหนึ่งที่ต้องการส่งต่อผู้ป่วย loss sense ให้ OT ได้ทำการประเมิน ดังนั้นการประชุมครั้งต่อไปเราจะติดตามดูผลว่าจะเป็นอย่างไร นะคะ ใน PTOT Meeting ครั้งที่ 9 เวลา 8.00 - 9.00 น. วันศุกร์ที่ 30 พ.ย.ศกนี้

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 142212เขียนเมื่อ 27 ตุลาคม 2007 01:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอโทษที่เข้าร่วมประชุมไม่ได้เพราะติดสอนทุกเช้าวันศุกร์ จนถึงสิ้นเดือนพฤศจิกายน แต่ได้อ่านรายงานการประขุมแล้วดีใจที่งานดำเนินไปด้วยดี เป็นความโชคดีของผู้มารับบริการที่คลินิกคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ ที่ได้รับบริการอย่างสมบูรณ์แบบตามมาตรฐานสากล    ;-) 

ขอบคุณครับอาจารย์ชนัตต์ สำหรับการเยี่ยมชมและให้กำลังใจการเริ่มต้นทำงานเป็นทีมระหว่างนักกายภาพบำบัดและนักกิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัดฯ ม. มหิดล

ระบบการจัดการความรู้ของ PTOT Meeting ยังคงต้องดำเนินต่อไปและพยายามสร้างประเด็นและแนวคิดที่ช่วยเหลือผู้รับบริการอย่างเต็มที่ที่สุด

ผมและอาจารย์กิจกรรมบำบัดติดภารกิจงานภายนอกคณะและเข้าร่วมวิชา Rehabilitation ของน้อง ป. ตรี PT เลยไม่สามารถเข้าร่วม PTOT Meeting ได้ แต่จะคอยติดตามและเป็นกำลังใจให้น้องๆ PT OT เสมอครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท