ตอนที่ 18(2) ปลูกปอเทืองก่อนปลูกผัก


ปุ๋ยพืชสด

ตอนที่ 18(2) ปลูกปอเทืองไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดเพื่อปลูกผัก                             

              ต้องการลดความอ้วน หรือถ้าต้องการสุขภาพแข็งแรง ก็ให้กินผักเยอะๆ  เพราะผักใบเขียว และผักสีต่างๆ นั้นจัดอยู่ในอาหารหลักหมู่ที่ 3 ซึ่งเราจำเป็นจะต้องรับประทานทุกวันเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนตามความต้องการของร่างกาย โดยอาหารจำพวกผักต่างๆ นี้จะให้คุณค่าสารอาหารในเรื่องของวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร

                 ดีเหมือนกันนะไม่ต้องไปใช้ยาเคมีมากินให้อันตราย เพราะมีตัวอย่างแล้วที่ทานยาเคมีที่หาซื้อมารักษาโดยไม่ปรึกษาแพทย์แล้วเกิดหัวใจวาย หรือเป็นลมอาการย่ำแย่ สู้กินผักควบคู่กับการออกกำกลังกาย และควบคุมอาหารดีกว่า  แต่มีหลายท่านบอกว่าเวลากินผักละกลัวสารพิษตกค้างที่เกษตรกรใช้ในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชจังเลย  เหตุการณ์นี้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักศิลาดาน    อำเภอมโนรมย์  จังหวัดชัยนาท เขาบอกว่าสบายมากเพราะเรียนรู้การปลูกผักจากการเรียนรู้ตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรมาแล้ว (ไม่อยากคุยนี่ละผลงานของเกษตรตำบล กรมส่งเสริมการเกษตรละ) ถ้าดินดีแล้วอะไรๆ ก็ดีหมดจึงใช้   การปลูกปอเทืองเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด                  

                "ท่านผู้อ่านครับ งานนี้ต้องขอยกนิ้วโป้งให้  พี่ตี๋ นายสมบัติ   ทะนงจิตรไพศาล   นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร 4  ที่นำเรื่องส่งมาให้นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ               

                การปลูกปอเทืองเพื่อเป็นปุ๋ยพืชสด  กว่าจะปลูกผักได้ต้องเสียเวลาหน่อยนะแต่คุ้มครับ คือต้องปลูกปอเทืองโดยใช้ เมล็ดปอเทือง  อัตรา  5  กก./ไร่  ปลูกไม่ยากเพียงไถดะหลังจากเก็บเกี่ยวพืชผักเพราะยังมีความชื้นอยู่ในดินแล้วจึงหว่าน  จำดำเนินการไถกลบในระยะช่วงออกดอกเพราะเป็นช่วงที่ธาตุอาหารสูง  ปล่อยทิ้งไว้ให้เน่าย่อยสลายดีแล้วปลูกผักตาม  ซึ่งเกษตรกรจะปลูกสลับกับพืชผัก 

                 ข้อดีของปอเทืองคือ  ปลูกง่าย  โตเร็ว  ทนแล้ง  สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล , เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินและธาตุไนโตรเจน , ทำให้ดินร่วนซุย  อุ้มน้ำได้ดีขึ้น  รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน  เป็นวิธีการปฏิบัติที่ง่าย  เมื่อเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก ทำง่าย ๆ แต่เกษตรกรต้องเสียสละสักนิด เพราะต้องลงทุนค่าแรง และค่าเตรียมดินตั้งแต่ไถดะปลูกปอเทือง ไถกลบ แล้วยังไถเมื่อปลูกผักอีก แต่บอกได้เลยว่าคุ้มจริงๆ  เพราะเมื่อดินอุดมสมบูรณ์ดีแล้วผลที่ตามมาคือ

  • ลดการใช้ปุ๋ยเคมี
  •  พืชผักแข็งแรง ต้อนทานต่อโรคแมลง
  •  ลดการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
  •  ลดมลภาวะที่เป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม
  •  ลดสารพิษตกค้างในพืชผัก ปลอดภัยทั้งเกษตรกร และผู้บริโภค
  •  ปลูกพืชผักอย่างยั่งยืน

           ผู้เขียนขอรับรองว่า ถ้าทำแบบนี้ได้ดีจริงๆ และคุ้มครับ ประหยัดด้วย และถ้าดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีเมียเพียงคนเดี๋ยว รับรองมีความสุข และรวยๆๆๆ แน่ และยั่งยืน ครับ

หมายเลขบันทึก: 141807เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • หวัดดีครับ คุณ chudchainat
  • น่าสนใจดี แต่ภาคใต้มีพื้นที่ปลุกผักน้อย และไม่ค่อยเหมาะ เท่าที่ควร จึงไม่นิยมปลูกกันครับ
  • ขอบคุณ

อยู่ชัยนาท แต่ไม่รู้จะขอเมล็ดพันธ์ได้ที่ไหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท