หัวหน้าพยาบาลคุยเรื่องQA


งานนี้ไม่หมูอย่างที่คิด

                  เมื่อเดือนสิงหาคม 50 หัวหน้ารับนโยบายเรื่อง QA จากจังหวัด   สืบเนื่องจากสมาคมพยาบาลต้องโรงพยาบาลนำร่องเรื่อง QA นำร่อง ผลการคัดเลือกจังหวัดมี 3 โรงพยาบาลคือ พี่ใหญ่สุด          รพ.กาฬสินธุ์ เป็นเจ้าภาพ และต้องผ่านการประเมินจากสมาคมในปีหน้า เดือนมีนาคม 2551

ทางสมาคมพยาบาลให้งบสนับสนุน โรงพยาบาลละ 2000 บาท เพื่อพัฒนาระบบงานภายในโรงพยาบาลตนเอง

พี่รส หัวหน้าฝ่ายฯ นำงบมาใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้ด้าน QA  โดยเชิญวิทยากรมาจาก รพ.กาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นเจ้าแม่งานนี้

      บรรยากาศและการบรรยาย สนุกสนุนตามประสาพี่ ๆ น้อง ๆชาวพยาบาล มีตัวอย่างงานคุณภาพเยอะมากมาดูอีกด้วย งานนี้ขอขอบคุณมาก ๆคะ

      เดือนตุลาคม 50 มีการกระจายความรู้ให้ผู้รับผิดชอบแต่ละงานเลือก หัวข้อในการทำ QA มีการพูดคุยกันก่อนระดับหัวหน้างาน

หัวหน้างานประสานและระดมสมองต่อระดับผู้ปฏิบัติในหน่วยงาน

การเลือกและขั้นตอน อาศัยการคุยกันแบบ สุนทรีย์ (ตามกลัก KM )หนีไม่พ้นเรื่อง high cost ,high volum,high risk

        การควบคุมคุณภาพการทำโดยใช้รูปแบบ 10 ขั้นตอน ของ JCAHO

1.ขั้นตอนมอบหมายผู้รับผิดชอบ ทำการคัดเลือกเจ้าหน้าที่ ที่มีความสนใจ ยกตัวอย่าง งานผู้ป่วยใน เลือกผู้รับผิดชอบเดิมจาก KPI หลักประจำตึก เพื่อยกระดับ CQI เป็น QA ต่อไป

-ร่วมมือกับหัวหน้าหอ กำหนดทิศทางควบคุมคุณภาพในหน่วยงาน

-ดำเนินการตามแผน กำหนดเสนองานเดือน พ.ย ในประเด็นที่ตกลง

2.ขั้นตอนการกำหนดขอบเขตการบริการ  เจ้าหน้าที่ช่วยกันกำหนดขอบเขตการบริการพยาบาล โดยเรานำ purpose ในแบบ unit profile มาทบทวนซ้ำ

3.ขั้นตอนการเลือกปัญหาการพยาบาล  โดยให้เจ้าหน้าที่ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น เสนอปัญหาในปีที่ผ่านมาว่า KPI ตัวไหนเป็นปัญหา แนวโน้มเป็นอย่างไร และพิจารณาจากสิ่งที่เห็นว่ามีผลกระทบมากที่สุดต่อคุณภาพการพยาบาลในหน่วยงาน

ประเด็นที่เราเลือก เรียงลำดับในหอผู้ป่วยใน คือ

1.ความคลาดเคลื่อนทางยา (การบริหารยาของพยาบาล)

2.อัตราการ re-admitted โดยไม่ได้วางแผนจากโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด อุจจาระร่วง (จาก high risk,high volum,high cost)

3.ระบบนัดแบบครบวงจร (เนื่องจากมีปัญหาผู้ป่วยไม่มาตามนัดปริมาณมาก)

4.ขั้นตอนระบุตัวชี้วัด  แต่ละท่านหาค้นคว้าเอกสารทางวิชาการ ตำรา อินเตอร์เนต มาตรฐานการพยาบาล

5.ขั้นตอนการตั้งเกณฑ์กำหนดระดับประเมินผล คณะกรรมการงานผู้ป่วยในพิจารณาความเหมาะสมของเกณฑ์กำหนดคุณภาพ โดยดูจาก KPI หลักของหน่วยงาน เปรียบเทียบกับโรงพยาบาลข้างเคียง  (บริบทใกล้เคียงกัน)

6.ขั้นตอนรวบรวมและจัดระบบข้อมูล  คณะกรรมการได้กำหนดแผนการดำเนินการและแผนการรวบรวมข้อมูลโดยระบุแหล่งข้อมูล ผู้เก็บรวบรวม ความถี่และเวลาที่เก็บข้อมูล ผู้วิเคราะห์ข้อมูล

ขั้นตอนที่ 7 - 10 กำลังเตรียมข้อมูล เพราะส่วนมากเป็นเรื่อง การปรับปรุงแนวทางการแก้ปัญหา และการดำรงคุณภาพ การสร้างมาตรฐานการปฏิบัติ และการรายงานผล หากข้อมูลเรียบร้อยจะนำมาอวดโฉมในเร็ววันค่ะ

<.>

 

หมายเลขบันทึก: 141689เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2007 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท