จัดการการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ


ร่วมใจ ใส่ใจ วัดคุณภาพวัดจากใจคนทำงาน
หมายเลขบันทึก: 140981เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2007 20:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

http://gotoknow.org/blog/km3b/105828

ดูที่นี่ก็ได้ค่ะ

ปีนี้นำเสนอนวัตกรรมล้วนๆ แล้วจะนำมาลงแลกเปลี่ยนนะคะ

การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ที่คาสายสวนปัสสาวะในผู้ป่วยหญิง

                หอผู้ป่วย  3ข  เป็นหอผู้ป่วยศัลยกรรมที่มีคนไข้ผ่าตัดโรคหัวใจและหลอดเลือด  และผ่าตัดทั่วไปซึ่งเป็นการผ่าตัดใหญ่หลังการผ่าตัดเกือบทุกรายผู้ป่วยจะต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้  ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  ไม่สามารถไปอาบน้ำที่ห้องน้ำและไม่สามารถทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ได้ตามปกติ  มีโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะเนื่องจากผู้หญิงมีรูเปิดปัสสาวะกับรูทวารหนักใกล้กันมากกว่าผู้ชาย  ทำให้ผู้หญิงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะมากกว่าผู้ชาย  และเป็นเชื้อที่มาจากทางทวารหนัก  ดังนั้นถ้าทำความสะอาดไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดการติดเชื้ออันตรายต่อร่างกายเพิ่มขึ้น  เราจึงต้องแนะนำให้เจ้าหน้าที่และให้ญาติมีส่วนร่วมในการทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ที่คาสายสวนปัสสาวะให้ถูกวิธี

 

การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์โดนใช้น้ำยาทำความสะอาด  (น้ำสบู่ ล้างมือสีขาว)  โดยมีวิธีดังนี้

1.การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์อย่างถูกต้องผู้ป่วยหญิง  (ถ้าใช้น้ำยาความสะอาดแบ่งสำลีเป็น  6  ก้อน)

2.ใช้สำลีก้อนที่  1  เช็ดผ่านตรงกลางอวัยวะสืบพันธุ์แล้วทิ้งถุงพลาสติก

3.ใช้สำลีก้อนที่  2  เช็คแคมด้านนอกไกลตัวออกไปทางขาหนีบแล้วทิ้งลงถุงพลาสติก

4.ใช้สำลีก้อนที่  3  เช็ดแคมด้านใกล้ตัวออกไปทางขาหนีบแล้วทิ้งลงถุงพลาสติก

5.ใช้สำลีก้อนที่  4  และ  5  เช็คแคมด้านใน  (ถ้ามีสายสวนก็คือเช็ครอบๆ  สายสวนปัสสาวะ)ก่อนทิ้งลงถุงพลาสติก

6.ก้อนที่  6  เช็คสายสวนปัสสาวะห่างออกมาประมาณหนึ่งคืบแล้วทิ้งลงถุงพลาสติก  (ถ้าไม่มีสายสวนก็เช็คผ่านรูเปิดลงไปทางก้นแล้วทิ้งสำลีลงในถุงพลาสติก)

7.ใช้ผ้าสะอาดเช็ครอบๆ  อวัยวะสืบพันธุ์ให้แห้ง

 

ในกรณีที่ผู้ป่วยแพ้น้ำยาทำความสะอาดก็สามารถใช้น้ำสบู่แทนได้  โดยมีอุปกรณ์ดังนี้

1.หม้อนอน

2.สบู่

3.กะละมังน้ำสะอาด

4.ผ้าสะอาด

5.ถุงมือสะอาด

 

วิธีทำ

1.ให้ผู้ป่วยนอนหม้อนอน

2.ใช้สบู่ละลายน้ำ  แล้วล้างฟอกบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ราดผ่านไปทางก้น

3.ราดด้วยน้ำสะอาดตามโดยราดผ่านไปทางก้น

4.ใช้ผ้าสะอาดเช็ดรอบๆ บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ให้แห้ง

 

แนะนำไม่ให้ทาแป้งบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์

 

การให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติในการดูแลสายสวนปัสสาวะ  ( Foley’s Cath )

การให้ข้อมูล และการประชาสัมพันธ์ ต้องทำควบคู่กันไป สำหรับการเป็น Information

การให้คำแนะนำการดูแลสายในผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะและการติดตามการปฏิบัติงานของบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่คาสายสวนปัสสาวะ หอผู้ป่วย 3ข

Team UTI 3ข ดาวกระจายนั้น เริ่มตั้งแต่การประเมิน ( Assesment ) เมื่อรับใหม่ ดูแลขณะอยู่ในโรงพยาบาล วางแผนการจำหน่าย และต่อเนื่องไปจน เมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่ที่บ้าน

รวมถึงการให้คำปรึกษา การให้ข้อมูลทางโทรศัพท์
การประชาสัมพันธ์ ส่งข่าว แจ้งข่าว และรายงายและส่งต่อถ้ามีอุบัติการณ์ การติดเชื้อ หรือถ้ามีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ที่เข้ามานอนในโรงพยาบาล ( Admit ) ติดต่อกับ หอผู้ป่วยต่างๆ ในโรงพยาบาล และกับหน่วยงานอื่นๆ ที่สนใจ เพื่อนัดหมายทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ทำงาน และเพื่อ พัฒนากระบวนการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการตอดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ  

ขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติเมื่อมีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง
1. อธิบายให้ทราบถึงเหตุและผลของการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการขับถ่ายปัสสาวะ
2. สังเกต บันทึก สี ลักษณะ และจำนวนของปัสสาวะ
3. สวนคาสายยางปัสสาวะในกรณีที่ปัสสาวะไม่ออกหรือมีการคั่งค้างมาก
4 .ดูแลให้ได้รับสารน้ำสารอาหารให้เพียงพอ
5. ประเมินการปฏิบัติการกวาดล้าง UTI ตามแบบ check list  
6. รายงายและส่งต่อถ้ามีอุบัติการณ์ การติดเชื้อ หรือถ้ามีผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง Admit

ส่วนการกวาดล้าง UTI ในหอผู้ป่วย 3ข. ให้การแนะนำผู้ป่วยและญาติดังนี้

เมื่อมีผู้ป่วยที่ใส่สายสวนปัสสาวะ พยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลอธิบายให้ผู้ป่วยและญาติทราบถึงความจำเป็นที่ต้องใส่สายสวน ตรวจสอบพลาสเตอร์ติดสายที่ติดหน้าขาผู้ป่วยว่าหลุดหรือไม่พร้อมทั้งให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติในการดูแลสาย ไม่ให้สายหักพับงอ ไม่นอนทับสาย ถุงที่รองรับปัสสาวะต้องแขวนไว้ที่คานเตียงไม่ให้หย่อนลงมาลากกับพื้น  

พลาสเตอร์หลุดให้แจ้ง จ.น.ท.เพื่อติดใหม่ เสื้อผ้าผู้ป่วยต้องแห้งไม่เปียกชื้น


1. แจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงวัตถุประสงค์ และความจำเป็นที่ต้องใส่สายสวนเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ให้ข้อมูลญาติและผู้ป่วยว่า จำเป็นต้องหมั่นช่วยกันดูแล คือ ถุง ( รองรับน้ำปัสสาวะ ) ไม่ลากพื้น แขวนอยู่เหล็กข้างเตียง คนข้างเคียงช่วยดูแล Take care ง่ายๆ ทำความสะอาดร่างกาย และภายในซ่อนเร้น สังเกตให้เป็น ปริมาณมากมี สีไม่ขุ่นข้น ทุกคนช่วยกันติดตาม ทุกคำถามยินดีตอบ ขอขอบคุณท่านที่ร่วมมือ ท่านคือคนสำคัญ

2. ติด พลาสเตอร์หน้าขา สำหรับผู้ป่วยหญิง และติดพลาสเตอร์หน้าท้องในผู้ป่วยชาย
3. แขวนถุงน้ำเก็บปัสสาวะกับคานเตียง ถ้าแขวนกับไม้กั้นเตียงอาจทำให้ดึงรั้งเมื่อยกราวขึ้น
4. หักพับสายเมื่อยก ย้ายถุงสูงกว่าระดับผู้ป่วย เมื่อตะแคงตัวให้ยกถุงเปลี่ยนมาข้างด้านหน้า ผู้ป่วย
5. วัดไข้ และ V/S ทุก 4 ชม.
6. เช็ดรูเปิดท่อน้ำปัสสาวะด้วยสำลี Alcohol 70 % ทุกครั้งที่เปิด- ปิด เมื่อเทน้ำปัสสาวะออกจากถุงรองรับน้ำปัสสาวะ
7. ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ด้วยน้ำยาทำความสะอาด หรือน้ำสบู่ วันละ 2 ครั้ง และทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระเช็ดให้แห้ง ไม่ต้องโรยแงที่ขาหนีบ
8. ดูแลเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ไม่ให้เปียกชื้น ดื่มน้ำให้ได้มากกว่า 2 ลิตร  ถ้าไม่มีข้อจำกัด / ห้าม
9. สังเกตลักษณะ สี กลิ่น และปริมาณ บันทึกน้ำดื่ม / ปัสสาวะ ทุกเวร
สรุป
บางกรณีผู้ป่วยมีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะที่ติดเชื้อมาก่อนการนอนในโรงพยาบาล ดังนั้นโครงการให้ข้อมูลผู้ป่วยและญาติในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะจึงเกิดขึ้นเละเริ่มดำเนินการซึ่ง ผู้ป่วยและญาติให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และมี การแลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันระหว่างตัวผู้ป่วย และญาติ และเจ้าหน้าที่การจัดให้ความรู้ เป็นทั้งกลุ่มใหญ่ และกลุ่มย่อย และรายกรณี เราทีมผู้ดูแลจึงปรับทำตามความเหมาะสม ซึ่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ป่วยและทีมผู้ดูแล

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท