นวัตกรรมการให้ข้อมูลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด


เด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดเกิดความเพลิดเพลินไม่หวาดกลัว

 

โครงการนวัตกรรมการให้ข้อมูลในผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

หลักการ / เหตุผล:

จากการที่โรงพยาบาลได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลเพื่อให้เกิดการให้บริการผู้ป่วยที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การให้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาเจ็บป่วยมักหวาดกลัวแพทย์ พยาบาล รวมทั้งอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงพยาบาลซึ่งสร้างปัญหาและความยุ่งยากใจให้แก่ผู้ปกครองไม่น้อย การสร้างสื่อหนังสือสำหรับเด็กที่เป็นภาพและมีสีสันสวยงาม ข้อความสั้นๆ และสร้างความสนุกสนานตื่นเต้นท้าทาย จะช่วยให้ผู้ป่วยเด็กคุ้นเคย สนุกกับการฟังและดูภาพประกอบจากหนังสือและสื่อมัลติมีเดีย หอผู้ป่วย 3 ข มีผู้ป่วยเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดมากเป็นอันดับ 1 การให้ข้อมูลที่รงกับจำนวนความต้องการจึงมีความจำเป็นยิ่งเพื่อให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติตัวและลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ดังนั้น หนังสือและสื่อมัลติมีเดีย ที่มีภาพและเสียงสำหรับผู้ป่วยเด็กจะช่วยให้ผู้ปกครองและเด็กๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่สารมารถเข้าใจถึงอารมณ์และความรู้สึกของเด็กได้ ตลอดจนสร้างเสริมให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อโรงพยาบาลด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครองมีความรู้เข้าใจอันดีต่อโรงพยาบาล

2. ผู้ปกครองสามารถเล่าเรื่องประกอบภาพให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน

3. เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษาพยาบาล

การดำเนินงาน

    1. วางแผนสำรวจและศึกษาความต้องการข้อมูลในผู้ป่วยเด็กที่ป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

2. สร้างและพัฒนาคู่มือการให้ข้อมูลในผู้ป่วยเด็ก " โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด " แนวทางการให้ข้อมูลการตรวจสอบและประเมินผลสื่อการสอนและวิธีการสอน

3. ตรวจสอบการปฏิบัติของบุคลากร ระบบการให้ข้อมูลและการประเมินผล

4. ปรับปรุงพัฒนาวิธีการ แนวทางปฏิบัติ และระบบการให้ข้อมูลในผู้ ป่วยเด็ก

ดัชนีชี้วัดของหน่วยงานจำนวนผู้ป่วยเด็กและญาติได้รับข้อมูล ร้อยละ 100

ผลการดำเนินงาน:

1. ประสิทธิภาพของการบริการในหน่วยงาน คือ ข้อมูลตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการและมีคู่มือการให้ข้อมูลในผู้ป่วยเด็กหนังสือการ์ตูน และสื่อมัลติมีเดีย เรื่องโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

2.ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นและ ผู้ป่วยเด็กและญาติได้รับข้อมูลร้อยละ 100

  1. 3.ลดภาระการให้ข้อมูลผู้ป่วยเด็กและญาติ
  2. 4.ผู้ป่วยเด็กสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้ดีไม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่นข้อติด และ การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง

5.หลังได้รับข้อมูลสนใจในการรักษาความสะอาดปากฟัน และการฝึกหายใจร้อยละ86 ,( ก่อนได้รับข้อมูลร้อยละ72)

6.หลังได้รับข้อมูล เลือกซื้อและรับประทานผักผลไม้แทนขนมซองร้อยละ 82 ( ก่อนได้รับข้อมูลร้อยละ56)

ข้อเสนอแนะ

1.การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการให้ข้อมูลทำให้การปฏิบัติการได้ผลดีและควรพัฒนาปรับปรุงสื่อให้มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยเด็กชายด้วย

2.ควรมีการขยายผลการให้ข้อมูลตั้งแต่ระดับโรงพยาบาลชุมชน หรือห้องตรวจผู้ป่วยนอก

 

 

ชื่อ – นามสกุล นางวิลาวัณย์ อุ่นเรือน………………………………………………

ภาควิชาหน่วยงาน หอผู้ป่วย 3ข. รพ .ศรีนครินทร์ ……………………………………..

โทรศัพท์…3477 ,3518…………………………………………………

http://gotoknow.org/file/wilawan1/view/109059

หมายเลขบันทึก: 140947เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2007 19:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 09:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท