คุณเป็นนักจัดการปัญหาประเภทใด


คุณเป็นคนแบบไหน

         ตามที่ได้อ่านหนังสือวิธีการแก้ปัญหาในงาน ตามแบบฉบับญี่ปุ่น เห็นเขาแบ่งประเภทบุคคล ออกเป็น 4 ประเภท อันนี้น่าสนใจ อาจเป็นประเภทกับเราในฐานะการบริหารงาน น่านำมาชักจูงปรับเปลี่ยนแนวความคิดดู หรือพยายาม ..พยาย๊าม...ปรับคนของเรา

ประเภทที่1 ชอบปฏิเสธตนเอง "อัตตาปฏิปักษ์"

ลักษณะ ขาดความเชื่อมั่น มองโลกในแง่ลบ คิดว่าตนไม่มีความสามารถ คอยกังวลว่ามีปัญหามากมาย แก้เท่าไรก็ไม่หมด

นักแก้ปัญหาที่มีฝีมือ คนประเภทนี้ ต้อง เปลี่ยนทัศนคติใหม่ คือ ต้องเลิกมองโลกในแง่ร้าย เลิกดูถูกตนเอง กล้าเผชิญปัญหา

ที่สำคัญ ที่สุด คือ ฝึกเป็นคนไม่กลัวความล้มเหลว แต่กลับพร้อมรับกับความเป็นจริงทุกรูปแบบ

ประเภทที่ 2 ชอบผลักความรับผิด

ลักษณะ   ไม่เคยยอมรับผิดเลยว่า ตนเองหรือส่วนของงานตนเป็นต้นเหตุของปัญหา แต่ทางตรงข้าม จะตำหนิติเตียนบุคคลอื่น หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็หันไปโทษ เครื่องมือ อุปกรณ์ วิธีการ

ขณะเดียวกัน คนประเภทนี้จะเกาะติดทุกสถานการณ์ พร้อมวิพากณ์คนอื่น ๆ เสมือนตนเชี่ยวชาญ

ปัญหาจะแก้ไขไม่ได้เลยหากว่าล้มเหลวตั้งแต่ก้าวแรก นั่นคือ ปัญหาต้องถูกแก้ไขที่ต้นเหตุก่อน แต่หากคนที่เป็นต้นเหตุแห่งปัญหาไม่ยอมรับเสียแล้ว การแก้ไขก็จะไม่เกิดขึ้น

ดังนั้น เราต้องเปลี่ยนแปลงทัศนคติดแบบชอบ "ผลักความผิด" ก่อนแล้วหันมามองปัญหาอย่างตรงไปตรงมา เน้นการค้นหาว่าเหตุแห่งปัญหาอยู่ตรงไหนและจะแก้ไขได้อย่างใดมากกว่าจะมุ่งไปที่ว่า ปัญหานั้นเป็นของใคร และใครคือต้นเหตุของปัญหา

ประเภทที่ 3 นักหลบปัญหาแบบนกกระจอกเทศ

ลักษณะ ธรรมชาตินกกระจอกเทศ คือ เมื่อเผชิญปัญหาชั้นแรกต้องวิ่งหนีเอาตัวรอด แต่เมื่อจวนตัว คิดว่าหนีไม่พ้นเอาหัวปักลงพื้นทราย ไม่ให้ตนได้รู้ปัญหาต่อไป

พฤติกรรม คือ พวกนี้เชื่อมั่นว่า กฏ ระเบียบและมาตรฐานปฏิบัติในปัจจุบันนั้นดีแล้ว เพียงแต่ทำตามกฏ ระเบียบอยู่เสมอ และไม่กล้าไปแตะเรื่องใด ๆ ซึ่งจะนำมาเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย 

การปรับเปลี่ยน ต้องเปลี่ยนทัศนคติ ให้กลายเป็นคนกล้าเผชิญกับปัญหา และต้องยอมรับว่ามีทะเลแห่งปัญหาล้อมรอบตัวเขาอยู่และหนทางจะอยู่รอดคือ การลงมือแก้ไขปัญหาไปทีละอย่าง ๆ ต่อเนื่อง การปล่อยให้หมักหมมทิ้งไว้ จนในที่สุดก็หมดปัญญาที่จะแก้ไข แล้วก็หาทางออกด้วยการตัดช่องน้อยแต่พอตัวแบบนกกระจอกเทศนั้นเป็นวิธีการที่ผิด

กล่าวอีกนัยหนึ่ง พวกเขาจะต้องยกระดับจิตสำนึกต่อการแก้ปัญหาให้สูงขึ้นพร้อม ๆ กันกับการสร้างจิตสำนึกต่อการพัฒนาให้มากขึ้นอีกด้วย

ประเภทที่ 4 นักผจญปัญหา

เป็นบุคคลประเภทเดียวที่มีความพร้อมในการแก้ปัญหา พวกเขาจะหันหน้าเข้าหาปัญหา ค้นหาสาเหตุ ลงมือค้นหามาตรการแก้ไขและป้องกันมิให้เกิดซ้ำ แล้วทำการแก้ปัญหานั้น ๆ อย่างเด็ดขาด

  การที่เราสามารถแก้ปัญหาได้ครั้งหนึ่งประโยชน์ที่ได้ไม่แต่เฉพาะผลของการแก้ปัญหาเท่านั้น แต่ผลสะท้อนกลับสู่ตัวผู้แก้นั้นเอง คือ ได้เสริมประสบการณ์และสร้างความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ช่วยตอกย้ำเจตคติ และเสริมทัศนคติที่ดี ต่อการเป็นนักแก้ปัญหาที่ดีต่อไปอีกด้วย

คนในองค์กรของคุณเป็นอย่างไรบ้างคะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 140889เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2007 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013 14:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท