พลเมืองดีและการปกครอง2


-ระบอบเด็จการ-

Image hosting by Photobucket**เผด็จการทหาร**Image hosting by Photobucket

     รัฐบาลเผด็จการทหารส่วนมากจัดตั้งหลักจากรัฐประหารซึ่งล้มล้างอำนาจรัฐบาลชุดก่อนหน้า ตัวอย่างที่แตกต่างออกไปคือระบอบการปกครองซัดดัม ฮุสเซนในประเทศอิรักซึ่งเริ่มจากรัฐที่ปกครองโดยรัฐบาลพรรคเดียวโดยพรรคบะอัธ แต่เมื่อเวลาผ่านไปรัฐบาลดังกล่าวเปลี่ยนไปเป็นเผด็จการทหาร (ตามที่ผู้นำสวมเครื่องแบบทหารและกองทัพก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดในรัฐบาล)

     ในอดีต เผด็จการทหารมักจะอ้างความชอบธรรมให้แก่พวกเขาเองว่าเป็นการสร้างความสมานฉันท์แก่ชาติ และช่วยชาติให้พ้นจากภัยคุกคามของ "อุดมการณ์ที่อันตราย" อันเป็นการสร้างการข่มขวัญ ในละตินอเมริกา ภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์และ ทุนนิยม ถูกนำเป็นข้ออ้างในการรัฐประหาร คณะทหารมักจะกล่าวว่าพวกเขาเป็นพวกไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใด เป็นคณะที่มีความเป็นกลาง สามารถจัดการกับความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆได้ และกล่าวว่านักการเมืองที่มาจากประชาชนนั้นคดโกงและไร้ประสิทธิภาพ ลักษณะร่วมประการหนึ่งของรัฐบาลทหาร คือการประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

รัฐบาลทหารมักจะไม่เคารพต่อสิทธิมนุษยชน และมักใช้วิธีการปิดปากศัตรูทางการเมือง รัฐบาลทหารมักจะไม่คืนอำนาจจนกว่าจะมีการปฏิวัติโดยประชาชน

ละตินอเมริกา, อัฟริกา และ ตะวันออกกลาง เป็นพื้นที่ที่เป็นเผด็จการทหารบ่อยครั้ง เหตุผลหนึ่งคือทหารมีการประสานงานร่วมกัน และมีโครงสร้างของสถาบันที่เข้มแข็งกว่าสถาบันทางสังคมของประชาชน

ตั้งแต่ทศวรรษที่ 199 เผด็จการทหารเริ่มลดลง เหตุผลหนึ่งมาจากข้อเท็จจริงที่ว่า เผด็จการทหารไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และรัฐบาลทหารมักไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมประเทศไม่ให้เกิดการต่อต้านได้ นอกจากนี้ การสิ้นสุดสงครามเย็นที่มีผลให้สหภาพโซเวียตสลายตัว ทำให้ทหารไม่สามารถใช้ข้ออ้างเรื่องลัทธิคอมมิวนิสต์ในการอ้างความชอบธรรมของตนเองได้อีกต่อไป

                         **กรณีตัวอย่าง**

     รายการประเทศข้างล่างอาจจะไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอาจจะขาดข้อมูลก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2

ประเทศที่ปกครองโดยกองทัพในปัจจุบัน

 

รัฐที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการทหารในปัจจุบัน แสดงให้เห็นเป็นสีเขียวมะกอก
รัฐที่อยู่ภายใต้การปกครองแบบเผด็จการทหารในปัจจุบัน แสดงให้เห็นเป็นสีเขียวมะกอก
คำสำคัญ (Tags): #ระบอบเผด็จการ
หมายเลขบันทึก: 140590เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2007 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท