เทคโนโลยีและการศึกษาตลอดชีวิต


เทคโนโลยี

เทคโนโลยีสารสนเทศนับวันจะเข้ามามีบทบาทต่อการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาต่าง ๆ ด้วยเหตุที่โลกปัจจุบันพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว  ส่งผลให้กระบวนการเรียนการสอนต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันยุคสมัยตามไปด้วย  การเรียนรู้จากห้องเรียนหรือฟังคำบอกเล่าของผู้สอนผู้สอนเพียงผู้เดียวในห้องเรียนเหมือนอย่างในอดีตเป็นไปไม่ได้แล้ว   ผู้เรียนจะต้องรู้จักศึกษาค้นคว้าจากสื่อต่าง ๆ ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ผู้สอนก็ต้องมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนด้วยเช่นกัน 8.1  สภาพการของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการศึกษาพัฒนาการทางการศึกษาของประเทศไทยได้อาศัยความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสาร เป็นส่วนประกอบสำคัญในการพัฒนาการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทางไกล  ดังตัวอย่างที่มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชได้ใช้ประโยชน์จากระบบการสื่อสารในการจัดการศึกษา  สมัยแรกที่กิจการไปรษณีย์เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง  การสอนทางไกลก็จะไปเกี่ยวกับการบริการทางไปรษณีย์คือการเอาสิ่งพิมพ์ในรูปของตำราส่งไปทางไปรษณีย์เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนที่บ้าน  ต่อมาเมื่อวิทยุเข้ามามีบทบาทในการสื่อสาร มหาวิทยาลัยทางวิทยุก็เกิดขึ้น และใช้สื่อวิทยุซึ่งเป็นสื่อเสียงในการสอน และก็อาจมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย และเมื่อโทรทัศน์เข้ามามีบทบาทในการสื่อสารมวลชน ก็เกิดมีมหาวิทยาลัยที่สอนโดยใช้โทรทัศน์ร่วมกับเอกสาร สิ่งพิมพ์ มาถึงยุคปัจจุบันมีการพัฒนา การด้านการสื่อสารหลายๆ อย่าง โดยมีความคิดว่าจะไม่ขึ้นอยู่กับสื่อสารใดสื่อสารหนึ่งเท่านั้น เพราะจะทำให้ใช้ประโยชน์ไม่ได้เต็มที่  ต้องใช้การสื่อสารหลายๆ รูปแบบที่เรียกว่า "การใช้สื่อสารแบบประสม" (Multimedia)รูปแบบการเรียนการสอน และสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ กำลังได้รับการยอมรับมากที่สุด จากสถาบันการศึกษาคือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของอินเทอร์เน็ต อาศัยความรวดเร็วของในการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ช่วยลดข้อจำกัดในการศึกษานอกสถานที่ เพราะไม่ว่าผู้เรียนจะอยู่ที่ใด ก็สามารถเรียนได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่ ขณะเดียวกันอินเทอร์เน็ต สามารถทำให้เกิดการโต้ตอบ ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน เสมือนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ประเด็นสำคัญที่สำคัญอีกประการก็คือ การลดค่าใช้จ่ายในการเรียนรู้ ที่ต่ำกว่าการเรียนด้วยวิธีปกติ บทเรียนนี้ไม่จำกัดเฉพาะโรงเรียนที่ชื่อเสียงเท่านั้นยังสามารถใช้ร่วมกับผู้เรียนในภูมิภาคต่างๆ ลดความแตกต่างระหว่างช่องว่างของโอกาสในการเข้าถึงองค์ความรู้ ถูกย่อให้แคบลงด้วยเทคโนโลยี 8.2  เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการสังคมปัจจุบันเป็นสังคมสารสนเทศ  การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างไร้พรมแดน แม้กระทั่งคนพิการ ก็สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยในการเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องมือสื่อสารพิเศษให้กับคนพิการแต่ละประเภท  เช่น  แต่เดิมคนตาบอดสื่อสารกันด้วยเสียงพูด หรืออ่านหนังสือ  เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้วยหนังสือเสียงที่บันทึกเทปไว้เป็นเรื่องๆ หรือ อ่านหนังสือที่พิมพ์ด้วยอักษรเบรลล์   ซึ่งมีความหนามากและมีปัญหาเรื่องเนื้อที่ใช้ในการเก็บ ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ก่อให้เกิดการการพัฒนา แป้นคีย์คอมพิวเตอร์ สำหรับคนตาบอด การสังเคราะห์เสียงพูด เพื่อช่วยอ่านหนังสือ และการรู้จำตัวอักษรเพื่อการอ่าน ตัวอย่างของเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้ ส่งผลให้คนตาบอดสามารถเรียนรู้ทุกเรื่องได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว รวมทั้งด้านการป้อนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์และการแสดงผลผ่านคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้คนตาบอดได้รับสิทธิเท่าเทียมกับทั่วไปในด้านการศึกษา การติดต่อสื่อสาร  ซึ่งในที่สุดสังคมเราก็จะได้พลเมืองที่มีคุณภาพพัฒนาประเทศชาติต่อไป 8.2.1  เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการทางการมองเห็นคนพิการทางการมองเห็น หมายรวมถึง คนตาบอด (Blind)  คนสายตาเลือนราง (Low Vision) หรือคนหูหนวก-ตาบอด (Deaf-Blind) ปัญหาของคนกลุ่มนี้คือ การมองไม่เห็นหรือมองเห็นเลือนราง  เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่สามารถ ทดแทนสายตาของเขาได้จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การดำรงชีวิตของพวกเขามีศักยภาพเท่าเทียมกับคนทั่วไป  อุปกรณ์ขั้นพื้นฐานที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ นาฬิกาพูดได้ เครื่องคิดเลขพูดได้ เป็นต้น  8.2.1.1  โน้ตบุ้คคนตาบอด (Portable Notetakers)เป็นอุปกรณ์ที่คนตาบอดสามารถพกพาไปไหนมาไหน เพื่อทำงานนอกสถานที่ได้ เช่นเดียวกับโน้ตบุ้คคนตาดี แต่มีลักษณะพิเศษคือ แป้นพิมพ์เป็นแป้นพิมพ์เบรลล์ และสามารถแปลงรหัสเบรลล์ เป็นอักษรธรรมดาได้ มีลักษณะพิเศษคือสามารถอ่านออกเสียงได้ และมีฟังก์ชันการทำงานเหมือนเครื่องบันทึกส่วนบุคคล (Organizer) 8.2.1.2  เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition -OCR) เครื่องนี้มีความสามารถในการอ่านอักขระและกราฟิกของสิ่งพิมพ์ อักษรเบรลล์  ผู้ใช้สามารถต่ออุปกรณ์นี้กับอุปกรณ์อ่านอักษรเบรลล์และสามารถอ่านได้  บอกรูปแบบหน้า  ลักษณะรูปภาพของหนังสือไปแต่ละหน้าเหมือนกับมองเห็นหนังสือได้จริง ๆ 8.2.1.3  โปรแกรมอ่านหน้าจอ (Screen Reading Program) โปรแกรมนี้สามารถแปลงไฟล์คอมพิวเตอร์ให้เป็นเสียงสังเคราะห์เพื่ออ่านข้อความที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และยังสามารถช่วยให้คนตาบอดใช้คอมพิวเตอร์ได้เหมือนคนปกติทุกอย่าง  เพราะทราบว่าจะทำงานที่โปรแกรมไหนและเลือกฟังก์ชันได้ตามเสียงสังเคราะห์ที่ได้ยิน ปัจจุบันมีผู้พัฒนาโปรแกรมที่ใช้ได้ทั้งแมคอินทอช (Macintosh) และวินโดว์ (Windows)8.2.1.4  การบรรยายภาพในการดูวิดีทัศน์  (Descriptive Video Service) เป็นการบรรยายภาพในการดูวีดีทัศน์โดยที่ไม่รบกวนเสียงในภาพยนตร์   การบริการเช่นนี้จะช่วยให้คนตาบอดสามารถรับรู้ภาพแวดล้อม ในภาพยนตร์ด้วยการบรรยายภาพประกอบทำให้ได้อรรถรสเช่นเดียวกับทั่วไป8.2.1.5  อุปกรณ์การสื่อสารทางโทรศัพท์ (Telephone Communication Devices -TDD)สามารถต่อเข้ากับแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ทั้งธรรมดาและแป้นอักษรเบรลล์   สามารถแสดงข้อมูลได้ทั้งอักษรเบรลล์  และภาษามือได้อุปกรณ์นี้ยังสามารถช่วยให้คนหูหนวกและคนตาบอดติดต่อสื่อสารกันได้8.2.1.6  โทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television- CCTV) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้คนที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นสามารถมองเห็นภาพหรือตัวอักษร โดยการขยายสิ่งพิมพ์ให้ใหญ่ขึ้น  ปัจจุบัน CCTV เพิ่มคุณสมบัติใหม่คือที่สามารถแสดงเวลา วันที่ ได้ 8.2.2  เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับการดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพความบกพร่องของร่างกาย  โดยมีเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ในการเสริมสร้างศักยภาพในการเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้ดังนี้8.2.2.1  แป้นพิมพ์ที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพความพิการ (Ergonomic Keyboards) การที่คนพิการทางร่างกายจะใช้คอมพิวเตอร์ได้นั้น  ต้องมีการดัดแปลงแป้นพิมพ์ให้เข้ากับความพิการของแต่ละคน   เช่นมีการปรับขนาด ความสูง มุม ให้พอดีกับความต้องการของแต่ละบุคคล  อาจจะมีการปรับตัวอักษรบนแป้น ให้วางตามความถี่ของการใช้เพื่อเพิ่มความเร็วในการพิมพ์8.2.2.2  การสั่งงานคอมพิวเตอร์ด้วยเสียง (Speech Recognition) เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ใช้เลือกวิธีการที่จะป้อนข้อมูลเสียงให้กับคอมพิวเตอร์  โดยที่เครื่องจะรับคำสั่งจาก เสียงพูดของผู้ใช้ เช่น คำสั่งการใช้งานเบื้องต้นของ DOS หรือ Windows ซึ่งเป็นประโยชน์กับคนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหวอย่างมากที่สามารถใช้เสียงพูดในการสั่งงานได้เลย 8.2.2.3  โปรแกรมที่ช่วยในการพิมพ์งาน (Word prediction) เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการพิมพ์งาน โดยสามารถลดจำนวนจังหวะการพิมพ์ เพราะโปรแกรมสามารถเดาว่าคำที่จะพิมพ์นั้นเป็นคำอะไร เพียงแต่ผู้ใช้คีย์อักษรขึ้นต้นเท่านั้นโปรแกรมจะเลือกกลุ่มคำศัพท์ ที่ขึ้นต้นด้วยอักษรนั้นๆ มาให้โปรแกรมนี้จะอำนวยความสะดวกอย่างมาก8.2.2.4  โปรแกรมแสดงคีย์บอร์ดบนจอภาพ (On Screen Keyboard) เป็นโปรแกรมแสดงคีย์บอร์ดบนจอภาพ  สำหรับคนพิการที่มีปัญหาในการใช้คีย์บอร์ดปกติหรือเมาส์  โดยโปรแกรมจะแสดงรูปจำลองของคีย์บอร์ดไปปรากฏบนจอภาพคอมพิวเตอร์  คนพิการสามารถเลือก Layout ได้ตามความต้องการ  เช่น  เรียงตัวอักษรตามกลุ่มคำ  หรือเรียงตัวอักษรให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ของแต่ละบุคคล  ซึ่งสามารถใช้กับเมาส์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ได้ 8.2.3  เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการทางการได้ยินคนพิการทางการได้ยิน หมายถึง คนที่หูหนวกและหูตึง  ซึ่งไม่สามารถได้ยินเสียงหรือได้ยินไม่ชัด ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อการพูดด้วยเทคโนโลยีอย่างง่ายๆ ที่นำมาใช้สำหรับคนพิการทางการได้ยิน ส่วนใหญ่ ก็จะเป็นการใช้เพื่อการเตือน (warning) เช่น การใช้แสงไฟเมื่อมีเสียงโทรศัพท์ดัง หรือ นาฬิกาปลุกที่สั่นได้ หรือ สัญญาณเตือนภัยที่เป็นแสงไฟเป็นต้น8.2.3.1  อุปกรณ์ช่วยการได้ยินระบบ FM (FM Application System) เป็นอุปกรณ์ช่วยการได้ยินในกรณีที่มีเสียงแวดล้อมดังรบกวน อุปกรณ์นี้จะช่วยลดเสียงรบกวนได้ไม่ว่าระยะทางระหว่างผู้พูดและผู้ฟังจะใกล้หรือไกล  อุปกรณ์นี้ทำงานโดยผู้ฟังจะพกตัวรับสัญญาณ (receiver) และผู้พูดจะพกไมโครโฟนติดตัว และผู้ฟังสามารถปรับสัญญาณเสียงของผู้พูดได้เช่นกัน 8.2.3.2  โทรศัพท์สำหรับคนหูหนวก (Telecommunication Devices for the Deaf – TDD) เป็นโทรศัพท์ที่ใช้งานโดยคนหูหนวก  ซึ่งคนหูหนวกสามารถสื่อสารได้โดยใช้โทรศัพท์ซึ่งใช้วิธีการพิมพ์ข้อความเข้าไปแทนเสียง  ส่วนทางด้านผู้รับก็จะเห็นภาพของด้านผู้ส่งหรือสามารถพิมพ์ข้อความที่ส่งมาได้ 8.2.3.3  โทรสาร (Fax Machine หรือ Visual Paging Systems) อุปกรณ์นี้สามารถนำไปให้คนพิการทางการได้ยินใช้งานได้   เพราะสื่อสารกันด้วยข้อความและภาพเท่านั้น  โดยไม่ต้องใช้เสียงเมื่อมีสัญญาณเรียกเข้าเครื่องเพจเครื่องก็จะสั่นแทนที่จะส่งสัญญาณเตือน  นอกจากนั้นเครื่องนี้ยังได้ออกแบบให้สามารถเขียนโต้ตอบกันได้ในเวลาจริง  คือทั้งสองฝ่ายมีเครื่องรับ-ส่งคนละตัวและส่งข้อความผ่านสายโทรศัพท์  ข้อความที่เขียนจะไปปรากฏทางฝ่ายผู้รับด้วย 8.2.4  เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับคนพิการทางสติปัญญาคนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญานั้นเห็นได้จากการเรียนรู้ในวิชาเฉพาะต่างๆ ได้ช้า ทำให้ใช้เวลาเรียนรู้นานกว่าคนปกติ ดังนั้นสิ่งที่จะนำมาช่วยในขั้นพื้นฐานก็คือ การจัดเวลาเรียนให้เหมาะสม ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาช่วยได้ก็คือ โปรแกรมทางการศึกษาในรูปแบบต่างๆ โดยมีการกระตุ้นให้เกิดการอยากเรียนรู้ด้วยสีสัน เพลง และเสียงพูด เช่นบทเรียนมัลติมีเดียในปัจจุบัน นอกจากนี้ก็อาจนำเอาเทคโนโลยีอื่นๆ มาช่วย เช่น การรู้จำตัวอักษร, การรู้จำเสียงพูด, เครื่องอ่านอักขระ หรือ โปรแกรมอ่านหน้าจอ สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีสมาธิ และมีความสนใจในการเรียนรู้มากขึ้น 8.3  การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษากระบวนการเรียนการสอนในปัจจุบัน มีความจำเป็นอย่างสูงที่จะต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการด้วยเหตุว่าข้อมูลข่าวสารที่จะนำเข้ามาสู่ห้องเรียนในปัจจุบันส่วนใหญ่แล้วจะเป็นข้อมูลที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์  กระบวนการสอนของผู้สอนและวิธีการศึกษาของผู้เรียนก็จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  ในแต่ละสถานศึกษาจะต้องมีการสร้างสรรค์ความรู้และพัฒนาให้การศึกษามีความเหมาะสมกับสถานการและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาปัจจุบันตามสถานศึกษาต่างๆ ได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างมากมาย รวมทั้งใช้คอมพิวเตอร์ในงานบริหารของโรงเรียน   นอกจากนี้ฐานข้อมูลยังทำให้ข้อมูลเป็นระบบที่ผู้ใช้จากฝ่ายต่าง ๆ สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ด้วยความมั่นใจในความปลอดภัย และทำให้ผู้บริหารมีความเชื่อมั่นว่าข้อมูลที่ได้รับนั้นถูกต้องด้วย ตัวอย่างในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในด้านการศึกษา เช่น โปรแกรมที่เกี่ยวกับการจัดทำประวัติผู้เรียน โปรแกรมระบบทะเบียนประวัติผู้สอนอาจารย์  โปรแกรมวิเคราะห์ข้อสอบ,คัดคะแนนสอบ,ตรวจข้อสอบ  โปรแกรมการจัดทำตารางสอน โปรแกรมในงานห้องสมุด โปรแกรมรายงานการลงทะเบียนเรียน เป็นต้นนอกจากนี้รูปแบบของการสื่อสารที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการและความเหมาะสมในการนำมาใช้  เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  การเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ต (E-learning)  มัลติมีเดีย (Multimedia)  อิเล็กทรอนิกส์บุ๊ค (E-book)  ระบบการเรียนการสอนทางไกล  (Distance Learning) วิดีคอนเฟอร์เรนซ์  วีดิทัศน์ตามคำขอ (VDO-On-Demand) เป็นต้น2  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา 8.3.1  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  (Computer Assisted Instruction -CAI)คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อการเรียนการสอนที่นำเอาเทคโนโลยีรวมกับการออกแบบโปรแกรมมาช่วยสอน   โปรแกรมช่วยสอนมีลักษณะการทำงานในรูปแบบของสื่อประสม (Multimedia) คือใช้สื่อร่วมกันมากกว่า 1 ชนิด เช่น ตัวอักษร ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับ คอมพิวเตอร์ มีการประเมินผลเพื่อสนองตอบให้กับผู้เรียนอย่างรวดเร็ว ด้วยลักษณะพิเศษของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้เองจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในวงการการศึกษา                8.3.1.1  ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

  1.  สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้
  2. ดึงดูดความสนใจผู้เรียน โดยใช้เทคนิคการนำเสนอที่น่าสนใจด้วยกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว แสง สี เสียง สวยงามและเหมือนจริง
  3. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และสามารถเข้าใจเนื้อหาได้เร็ว ด้วยวิธีที่ง่ายๆ เรียนเป็นขั้นตอนจากง่ายไปหายากอย่างเป็นระบบ
  4. ผู้เรียนมีการโต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์กับคอมพิวเตอร์ และบทเรียนฯ มีโอกาสเลือก ตัดสินใจ และได้รับการเสริมแรงจากการได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที
  5. ช่วยให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้สูง เพราะมีโอกาสปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ซึ่งจะเรียนรู้ได้จากขั้นตอนที่ง่ายไปหายากตามลำดับ
  6. ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสนใจ และความสามารถของตนเอง
  7. เกิดทัศนคติที่ดีต่อการเรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อตนเอง มีการแก้ปัญหา และฝึกคิดอย่างมีเหตุผล
  8. ลดเวลาการสอนของผู้สอนในการเรียนวิชาที่มีการฝึกทักษะ  ซึ่งจำเป็นต้องเสียเวลาในการสอนในช่วงเวลานี้เป็นอย่างมาก  เพราะผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
  9. ลดช่องว่างการเรียนรู้ระหว่างโรงเรียนในเมือง และชนบท เพราะสามารถใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ได้ เมื่อมีอุปกรณ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
8.3.2  การเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ต

 

 

 
คำสำคัญ (Tags): #เทคโนโลยี
หมายเลขบันทึก: 140589เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2007 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท