เครื่องมือสำหรับการเติบโต ของผู้ศึกษานพลักษณ์


การฝึกฝนทั่วไป ด้วยการเชื่อมโยงกับกลุ่ม หรือเข้าร่วมการเรียนการสอน ที่จะทำให้เราย้ำเตือนตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่าว่า เรามักจะถูกสะกดจิตตัวเองด้วยบุคลิกภาพ ภาพลักษณ์ของเราเอง การฝึกฝนจะเปิดโอกาสให้เราตื่นจากการเดินตกร่องหลุมที่เราสร้างขึ้นมาอย่างยาวนานในชีวิตของเรา


ดิฉันไปอ่านเจอข้อความใน enneagraminstitute.com เห็นว่าเป็นการเขียนเชิง how to ได้เห็นภาพ และนำไปปฏิบัติได้ พอๆกับการใช้คำว่า "มีสติ" ที่พวกเราแวดวงนพลักษณ์มักจะให้คำตอบกับผู้ที่ศึกษานพลักษณ์แล้วถามว่า  แล้วเราจะเติบโต หรือ พัฒนา หรือ ก้าวข้าม ความเป็นลักษณ์ของเราอย่างไร

 คำตอบที่ได้ก็มักจะเป็นไปในทำนองว่า ก็ให้รู้ตัวให้ทัน เป็นปัจจุบันขณะ ซึ่งถ้าตอบแบบนี้สำหรับผู้ที่ไม่เคยฝึกปฏิบัติธรรม หรือ ฝึกเจริญสติ ก็มักจะงง งง ว่า แล้วมันทำอย่างไร

ดิฉันเลยถือโอกาสเรียบเรียงมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไว้ที่นี่

หากท่านใดทดลองได้ผลเป็นอย่างไร ก็อย่าลืมแวะเวียนมาเล่าให้ฟังกันบ้างนะคะ

7 เครื่องมือสำหรับการเติบโต ของผู้ศึกษานพลักษณ์

1. แสวงหาความจริง สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับผู้ที่สนใจการพัฒนาตนเอง คือ การพัฒนา “ความรักในความจริง”

- การแสวงหาความจริง คือ ความกระตือรือล้นในเรื่องที่ว่า อะไรเกิดขึ้นในตัวเราเองและรอบๆ ตัวเรา โดยไม่ใส่ใจสิ่งที่เราเคยชินหรือสิ่งที่เราตอบตัวเองโดยอัตโนมัติเกี่ยวกับบุคลิกภาพของรา

- ถ้าเราสังเกตตัวเองดีพอ เราจะเห็นชุดของความคิด ของคำตอบที่เราอธิบายพฤติกรรมของเรา และคนอื่นอย่างเหนียวแน่น นั่นคือ วิธีที่เราพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่อยู่ลึกไปกว่านั้นในตัวเราเอง

- ตัวอย่าง ชุดความคิดสำเร็จรูปเช่น “ฉันโกรธพ่อจริง” แต่ความจริงที่อยู่ลึกไปกว่านั้นอาจจะเป็น “ฉันรักพ่อจริงๆ และต้องการความรักจากพ่อ” ... 2 ระดับของความจริงนี้อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะยอมรับ เช่น ยากที่จะยอมรับได้ว่า มีความรักอยู่เบื้องหลังความโกรธ

- หากเรายอมรับความจริงในปัจจุบันขณะ เราจะสามารถยอมรับอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในตัวเรา เพราะเรารู้ว่านั่นไม่ใช่ทั้งหมดของตัวเรา

- ความเป็นจริงมีองค์ประกอบจากทั้งปฏิกิริยาจากความกลัว และสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในจิตวิญญาณของเรา ขณะที่เราตอบโต้ไปอย่างไม่รู้ตัว (อัตโนมัติ) ทำให้เรามองไม่เห็นความจริง


2. ไม่ทำอะไร
- ขั้นตอนของการเติบโตทางจิตวิญญาณ บางครั้งดูเหมือนเป็นภาวะ 2 ด้านของเหรียญเดียวกัน ทางแก้ภาวะที่ตรงข้ามนี้คือ “ไม่ทำอะไร” เมื่อเราเข้าใจการ “ไม่ทำอะไร” เมื่อเราเห็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคอย่างแท้จริงนั่นคือ การก้าวข้ามไปสู่การตระหนักรู้ที่ยิ่งใหญ่ เมื่อนั้นเราจะเห็นการแสดงออกซึ่งตัวตนผ่านบุคลิกภาพของเรา

- ทั้งการไม่ปล่อยให้ตัวเองตอบโต้ไปอย่างอัตโนมัติ และทั้งไม่กดมันไว้ เราเริ่มที่จะเข้าใจเหตุที่ทำให้มันเกิดขึ้น หากเราจับทันสิ่งที่ปิ้งแว๊บของความจริงขณะนั้นได้ จะเป็นจุดสำคัญของบทเรียนแห่งการเติบโต


3. เจตจำนงที่จะเปิดกว้าง

- บทบาทดั้งเติมที่บุคลิกภาพของเราปิดกั้นธรรมชาติอันเป็นความจริงแท้ของตัวเรา สร้างเป็นข้อจำกัดให้กับการมีประสบการณ์ชีวิตของเรา ด้วยการปิดกั้นการตระหนักรู้ในหลายส่วนที่เป็นตัวเรา ที่มันจะดูขัดกับภาพลักษณ์ของตัวเราเอง

- ด้วยการผ่อนคลายร่างกาย ทำจิตให้สงบ และปล่อยให้หัวใจสัมผัสกับความละเอียดอ่อนในแต่ละสถานการณ์ เราจะเปิดกว้างสู่คุณภาพด้านใน และทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เราเติบโต

- ทุกขณะล้วนเป็นโอกาสแห่งแสงสว่างในชีวิตเรา สนับสนุนเรา ถ้าเราอยู่ตรงนั้นที่จะเห็นมัน เราจะพบว่ามีของขวัญมากมายในชีวิต แต่พวกเราส่วนใหญ่พลาดโอกาสนั้นไป เพราะเราเอาแต่จดจ้องภาพยนตร์ความเคลื่อนไหวของจิต (อดีต) แทนที่จะเรียนรู้และเชื่อมั่นกับปัจจุบันขณะและคุณค่าของการตระหนักรู้ เราควรจะเรียนรู้ที่จะปิดการฉายภาพยนตร์ และเริ่มที่จะดำรงอยู่ความสนใจที่เราเป็นหนึ่งในตัวแสดงนั้น


4. เปิดรับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม
- ยิ่งเราสนับสนุนการพัฒนาตัวตนเราเท่าไร ก็ยิ่งง่ายที่เราจะก้าวหน้า

- พวกเราดำรงชีวิตหรือทำงานอยู่ในเงื่อนไขหรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย การเติบโตทางจิตวิญญาณจึงเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยหรือมันจะยิ่งยากขึ้น

- เราส่วนใหญ่ไม่สามารถแยกออกมาจากชีวิตแห่งการทำงาน และครอบครัวของเราเองได้ง่ายนัก แม้ว่าจะทุกข์ทรมานอยู่กันมันก็ตาม เราอาจจะหากลุ่ม หรือ เข้ารับการอบรม หรือนำตัวเราเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่จะก่อให้เกิดการพัฒนา การสนับสนุน ซึ่งอาจจะหมายถึงการจัดโครงสร้างชีวิตในแต่ละวันให้ปลีกออกมาจากกรอบ และค้นหาจิตวิญญาณของตัวเอง


5. เรียนรู้จากทุกๆ สิ่ง

- ครั้งหนึ่งเมือเราเกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาจิตวิญญาณ เราเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเป็นปัจจุบันขณะ นั่นคือ เราได้สัมผัสกับสิ่งที่ถูกต้องแล้ว และอะไรก็ตามที่เกิดขึ้นในหัวใจ คือ วัตถุดิบสำหรับการเติบโต


6. ปลูกเมล็ดพันธ์แห่งรักที่แท้จริงให้กับชีวิต

- มีคำกล่าวอยู่มากมายว่า เราไม่สามารถที่จะรักคนอื่นได้ หากเรายังไม่สามารถรักตัวเอง นั่นหมายความว่าอย่างไร เรามักจะคิดว่ามีสิ่งที่เราต้องทำเพื่อให้เราบรรลุถึงความสำเร็จและการนับถือตนเอง หรือการทำให้ตนเองพึงพอใจในความรู้สึกว่า “ดี” หากแต่ว่าหัวใจสำคัญของการรักตัวเองอย่างแท้จริง คือ การใส่ใจต่อการเติบโต ไม่ใช่การหลีกหนีจากความไม่สบายกาย สบายใจ หรือสภาพที่ก่อให้เกิดคับข้องใจ ความเจ็บปวด

- เราต้องรักตัวเองเพียงพอที่จะไม่ละเลยตัวเอง เราละเลยตัวเราเองอย่างไรหรือ ... ก็คือ การไม่อยู่กับปัจจุบันอย่างเต็มที่ในชีวิตของตัวเอง เราปล่อยให้ตัวเองจมจ่อมอยู่กับ ความกังวล ความเครียด ความกระวนกระวายใจ จิตนาการเลิศหรู แล้วก็แยกออกจากตัวเอง ออกจากความ รู้สึก และท้ายสุด ออกจากความเป็นจริงของชีวิต ของธรรมชาติ

- ความรักที่แท้จริงต่อตัวเอง ได้รับการสนับสนุนจากการมีกัลยาณมิตรที่ร่วมพัฒนาในกระบวนการเชิงคุณภาพทางจิตวิญญาณเช่นเดียวกันกับเรา

7. การฝึกฝน

- ครูทางจิตวิญญาณหลายคนให้ความสำคัญกับรูปแบบการฝึกฝนบางอย่าง เช่น การฝึกสมาธิ การสวดมนต์ โยคะ หรือการทำสมาธิโดยการเคลื่อนไหวรูปแบบอื่นๆ (เต้นรำ ร้องเพลง ฯลฯ)

- สิ่งที่จำเป็นคือ เราต้องจัดการเวลาของเราขึ้นมาในแต่ละวัน ที่จะให้โอกาสตัวเองสัมผัสกับความเป็นจริงของชีวิตให้ลึกซึ้งขึ้น

- การฝึกฝนทั่วไป ด้วยการเชื่อมโยงกับกลุ่ม หรือเข้าร่วมการเรียนการสอน ที่จะทำให้เราย้ำเตือนตัวเองครั้งแล้วครั้งเล่าว่า เรามักจะถูกสะกดจิตตัวเองด้วยบุคลิกภาพ ภาพลักษณ์ของเราเอง การฝึกฝนจะเปิดโอกาสให้เราตื่นจากการเดินตกร่องหลุมที่เราสร้างขึ้นมาอย่างยาวนานในชีวิตของเรา

- และเราจะได้เรียนรู้ว่าในทุกๆ การฝึกฝนเราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และทุกครั้งที่เราละเลยการฝึกฝนเราก็พลาดโอกาสในการข้ามพ้นตัวตน หรือโอกาสในการพัฒนาตนเอง

หมายเลขบันทึก: 140405เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2007 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 23:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท